แหล่งเรียนรู้

แหล่งเรียนรู้ นวัตกรรมและเทคโนโลยี่

ประวัติความเป็นมาของแหล่งเรียนรู้

การทอผ้านับว่าเป็นศิลปะอย่างหนึ่งที่ผู้เป็นช่างทอจะต้องมีความสามารถในการใช้ สีของเส้นด้ายประกอบกันให้เกิดความสวยงามเหมาะสม และการแต่งแต้มสีทำให้เกิด ลวดลาย การย้อม โดยเฉพาะผ้าที่เรียกว่า "ผ้ามัดหมี่" หากผู้ใดได้จับชมแล้วยากที่จะ วางลงได้ การทอผ้านับเป็นสถาปัตยกรรมอีกด้วย เพราะช่างทอผ้าต้องออกเเบบลายผ้าของ

ตนเองขึ้นมา โดยการนำลักษณะต่าง ๆ ของธรรมชาติเช่น ดอกไม้ ดาว เดือน สัตว์ ของใช้ มาคิดประดิษฐ์ประดอยเป็นลายผ้า จนมีชื่อเรียกตามลักษณะของสิ่งเหล่านั้น เฃ่น ดอกแก้ว บ่าง กระเบี้ย (ผีเสื้อ) รันร่ม ขอคำเดือน ขิด สำรวจ(จรวด) หงส์ และมีการพัฒนาลายผ้าจากที่คิดให้มีความซับซ้อนสวยงามยิ่งขึ้น เช่น ลายขอซ้อนน้อย(เล็ก) ซ้อนใหญ่ ลายด่านน้อย ด่านกลาง ด่านใหญ่ หงส์น้อย ลายหงส์ใหญ่ การสืบทอด การถ่ายทอด ในสมัยโบราณผู้คนเรียนรู้หนังสือน้อยหรือแทบไม่ได้ศึกษาเล่าเรียนเลย โดยเฉพาะผู้หญิง ซึ่งต้องมีหน้าที่ในงานบ้านเลี้ยงลูก ทำงานทอผ้า เพื่อใช้ในการนุ่งห่มของคนในครอบครัวหลังจากเวลาว่างจากการทำไร่ทำนา อาศัยเวลากลางคืนบ้าง เวลาหยุดพักเพื่อรอคอยการเก็บเกี่ยวผลผลิตบ้าง นับว่าเป็นงานหนักพอสมควรสำหรับหญิงไทย เพราะเมื่อเลิกงานประจำวันแล้วยังต้องมาประกอบอาหารดูแล

ลูก ๆ และสามีให้รับประทานอาหารจนอิ่มและเข้านอนแล้ว ตนเองก็ยังมิได้พักผ่อนหลับ นอนยังต้องนั่งเก็บฝ้าย (เก็บสิ่งเจือปนออกจากปุยฝ้าย) เข็นฝ้าย ดีดฝ้าย มัดหมี่ เพื่อเตรียมไว้เมื่อว่างเว้นจาการทำงานจริง ๆ แล้วจึงจะทำการทอผ้า

การถ่ายทอดเทคโนโลยีต่าง ๆ ในสมัยนั้น ต้องอาศัยความจำจากการปฎิบัติ จึงทำให้เกิดความชำนาญ ไม่มีการบันทึกเป็นภาพหรือลายลักษณ์อักษรแต่อย่างใด ถ่ายทอดจากแม่สู่ลูก หรือเครือญาติใกล้ชิด จึงเปรียบเสมือนเป็นการสืบสายเลือดเลยก็ว่าได้ การทอผ้าแต่โบราณจะใช้ไยไหม และใยฝ้ายเป็นวัตถุดิบหลักในการทอผ้า เพราะไม่มีเส้นใย สังเคราะห์อื่นใดที่จะมาแทนเส้นใยไหมและฝ้ายได้ดี บางกลุ่มบางสถานที่ได้ นำวัสดุอื่นมาใช้ เช่น ป่าน ใบสับปะรด ใบเตยหนามปอ มาทำเป็นวัสดุในการทอผ้า แต่ก็ไม่ได้รับความนิยมเพราะ ไม่เกิดความนิ่ม ทำให้ระคายเคืองร่างกาย สู้ใยไหมและฝ้ายไม่ได้

กลุ่มทอผ้าตำบลบ้านบากมี2หมู่บ้าน หมู่ที่ 6 บ้านหนองแซงมีสมาชิกที่มีทักษะฝีมือในการทอ 24คน บ้านหนองแดง หม่ที่ 8 มีสมาชิก24 มีตลาดรองรับผ้าทอ จำหน่ายทั้งในพื้นที่ ออกแสดงงานในระดับอำเภอ และป็นของฝาก ของที่ระลึก ให้กับแขกผู้มาเยือน แต่ทั้งนี้กลุ่มยังมีความต้องการเรียนรู้เรื่องการเพิ่มเติมอีกหลากหลายด้าน อาทิ

การดำเนินโครงการเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยกศน.อำเภอศรีสมเด็จ ได้จัดหลักสูตรต่างๆให้กับกลุ่มอาชีพบ้านหนองแซงและบ้านหนองแดง การทอผ้าฝ้ายหลักสูตร 60 ชั่วโมง การทอผ้าโสร่งหลักสูตร 60 ชั่วโมง การทอผ้าลายสก๊อด หลักสูตร 60 ชั่วโมง

เนื่องจากการเรียนรู้นั้นเกิดจากความต้องการในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวบ้านเอง ไม่ว่าจะเป็นด้านพัฒนาอาชีพของตนเอง ต่อยอดอาชีพจากการทอเป็นการตัดเย็บ และก้าวสู่วิสาหกิจชุมชนด้านการตัดเย็บ การมีส่วนร่วมในด้านพัฒนาสวัสดิการสังคมชุมชน และการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาดั้งเดิมของตนเองไว้ได้อย่างลงตัว จึงเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าในท้องถิ่น ซึ่งกศน.ตำบลบ้านบากได้นำมาใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านอาชีพ ศิลปวัฒนธรรม ให้กับนักศึกษาและผู้สนใจอย่างต่อเนื่อง

สถานที่ตั้งที่ทำการกลุ่ม บ้านหนองแซงหมู่ที่ 6 ตำบลบ้านบาก ละติจูด 15.9789592 ลองติจูด 103.5038547 นางอุลัย มัตริ ประธานกลุ่ม

สถานที่ตั้งที่ทำการกลุ่ม บ้านหนองแซงหมู่ที่ 8 ตำบลบ้านบาก ละติจู 15.9838703 ลองติจูด 103.503236นางหนูแดง ชาญการี ประธานกลุ่ม


นายอดุลย์ ภูมิวิชชุภิญ ผู้บันทึกข้อมูล