เรื่องที่ 5

ประวัติและคำสอนศาสนาพราหมณ์-ฮินดู

ศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู เกิดในเอเชียใต้ คือ ประเทศอินเดียเมื่อประมาณ 1400 ปีก่อนคริสตศักราช เกิดจากพวกอารยันที่อพยพเข้ามาในประเทศอินเดีย เป็นศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดในโลก พระเวทเป็นคัมภีร์ของศาสนาพราหมณ์ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นศาสนาอินดูจนถึงปัจจุบัน มีคู่มือ “พราหมณะ” คือคำอธิบายลัทธิพิธีกรรมต่างๆของพระเวทแต่เดิมมี 3 อย่างเรียกว่า “ไตรเภท” ได้แก่ ฤคเวท ยชุรเวท และสามเวท และยังมี พระเวทรองอีก 4 อย่าง เรียก “อุปเวท” มีอยุรเวท คานธรรมเวท ธนุรเวท และสถาปัตยเวท

คําสอนที่สําคัญของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู

หลักธรรมสำคัญของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู

มีหลัก 10 ประการ คือ

1. ธฤติ ได้แก่ ความมั่นคง ความเพียร ความพอใจในสิ่งที่ตนมี

2. กษมา ได้แก่ ความอดทน ความอดกลั้นและมีเมตตากรุณา

3. ทะมะ ได้แก่ การข่มจิตมีให้หวั่นไหวไปตามอารมณ์

4. อัสเตยะ ได้แก่ การไม่ลักขโมย

5. เศาจะ ได้แก่ การทำตนให้สะอาดทางกายและใจ

6. อินทรียนิครหะ ได้แก่ การชมการระงับอินทรีย์ 10 คือ ตา หู จมูก ลิ้น ผิวหนัง มือ เท้า ทวารหนัก ทวารเบา และลำคอ ให้เป็นไปในทางที่ถูกต้องอยู่ในขอบเขต

7. ธี ได้แก่ การมีสติ ปัญญา

8. วิทยา ได้แก่ ความรู้ทางปรัชญา

9. สัตยา ได้แก่ ความจริง คือ ความซื่อสัตย์สุจริต

10. อโกธะ ได้แก่ ความไม่โกรธ

ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เผยแพร่เข้ามาในประเทศไทย

ศาสนาพราหมณ์ เข้ามาในประเทศไทยในยุคสมัยสุโขทัย จนถึงกรุงศรีอยุธยา และกรุงรัตนโกสินทร์ยังคงได้รับการยอมรับนับถือจากพระมหากษัตริย์ และปฏิบัติต่อกันมา คือ

1. พระราชพิธีบรมราชาภิเษก

2. การทำน้ำอภิเษก

3. พระราชพิธีจองเปรียง (เทศกาลลอยกระทง)

4. พระราชพิธีตรียัมปลาย

5. พระราชพิธีมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ


การเผยแพร่ศาสนา

ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู

ศาสนาเก่าแก่ที่สุดในโลก ประมาณ 5000 ปี ได้เจริญรุ่งเรืองและในประเทศอินเดียในประเทศบังกลาเทศ มีผู้นับถือศาสนา พราหมณ์ - ฮินดู ประมาณ 10.5% ส่วนในประเทศอินโดนีเซียมี ผู้นับถืออยู่บ้าง 3%