ภูมิปัญญาท้องถิ่น /ภูมิปัญญาชาวบ้าน

ศูนย์กสิกรรมไร้สารพิษฯ ดำเนินการโดยลุงอำนาจ หมายยอดกลาง วังน้ำเขียว

วังน้ำเขียวนอกจากจะเป็นแหล่งของธรรมชาติป่าไม้ ผลไม้นานาพันธุ์ สัตว์ป่ามากหลายแล้ว ยังมีหนึ่งสิ่งที่เป็นอันซีนที่จะพูดถึงไม่ได้เลยคือ การทำกสิกรรมไร้สารพิษ การปลูกผักไร้สาร การทำเกษตรอินทรีย์เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง “ศูนย์กสิกรรมไร้สารพิษอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา ครับ

ก่อนอื่นเรามารู้จักศูนย์กสิกรรมไร้สารพิษฯ กันพอสังเขปกันดีกว่า ศูนย์กสิกรรมไร้สารพิษฯ ได้ก่อตั้งเมื่อ วันที่ 9 ตุลาคม 2541 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รับโครงการส่งเสริมกสิกรรมไร้สารพิษ อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา ไว้เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อช่วยเหลือราษฎรในการพัฒนาอาชีพการเกษตรแบบไร้สารพิษและอนุรักษ์ต้นน้ำ ตามที่เกษตรกรกลุ่มกสิกรรมไร้สารพิษ อำเภอ วังน้ำเขียว ขอพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณ และได้จัดตั้งกลุ่มกสิกรรมไร้สารพิษขึ้น หลักการและทฤษดีที่ได้รับฟังมา จากศูนย์กสิกรรมไร้สารพิษ นำโดย คุณลุงอำนาจ หมายยอดกลาง ซึ่งท่านเป็นปราชญ์ชาวบ้าน อำเภอวังน้ำเขียว และได้คิดแนวคิด “เชื่อมโยง ถักทอ ต่อยอด” ที่ได้รับรางวัลต่างๆ มากมาย ระดับประเทศ อาทิเช่น รางวัลเครือข่ายประเภท ภูมิปัญญา/ ปราชญ์ชาวบ้าน และรางวัลอื่นๆ อีกมากมาย และท่านก็เป็นประธาน ศูนย์กสิกรรมไร้สารพิษอีกด้วย ท่าน ให้แนวคิดหรือแนวทางปฏิบัติ ที่ว่า “ทฤษฏีการพัฒนาของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวนั้น สามารถนำมาปฏิบัติให้เห็นเป็นรูปธรรมได้ และที่วังน้ำเขียวจะเป็นตัวอย่างของการอนุรักษ์และพัฒนาโดยการเกื้อกูลกันระหว่าง คนและธรรมชาติ” “จากแนวคิด..และความเชื่อของการประกอบส่วน คน สัตว์ พืช ที่มีความสมบูรณ์จะต้องประกอบส่วน นำพาไปสู่การเชื่อมโยง ทักทอ และต่อยอด ให้เกิดการแบ่งบัน ผูกพัน ให้สรรพสิ่งล้วนเกิดการบูรณาการ สมดุลจนถึงวิถีพอเพียง มั่นใจในหลักธรรมคำสอนองค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า “อาหารเป็นหนึ่งในโลก” เพราะการให้อาหาร คือการให้ชีวิต มีวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งศูนย์ฯ เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้สมาชิกตระหนักถึงมหันตภัยจากการใช้สารเคมี หันมาทำการเกษตรโดยไม่ใช้สารเคมี สนับสนุนให้เกษตรกรรวมกลุ่มจัดตั้งองค์กรชุมชน และดำเนินกิจกรรมตามแนวพระราชดำริฯ เศรษฐกิจพอเพียง สามารถนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมจาก ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาผสมผสานในการประกอบอาชีพ มีส่วนร่วมในการปกป้อง อนุรักษ์ และพัฒนาวัฒนธรรมประเพณี ทรัพยากรธรรมชาติตลอดจน สิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นของตน การแสวงหาเครือข่ายและประสานงานความร่วมมือในรูปพหุภาคี และเพื่อเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้และถ่ายทอดประสบการณ์ให้แก่ประชาชน และองค์กรอื่นๆ ต่อไป

เห็นไหมล่ะครับว่า เราสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ พร้อมๆกับการเกื้อกูลกัน ระหว่าง คน สัตว์ และพืช ใช่ไหมครับ นอกจะสร้างรายได้ดีแล้ว ยังมีความปลอดภัยต่อทุกชีวิต และยังน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 มาปรับประยุกต์ใช้อีกด้วยนะครับ หวังว่าทุกท่านจะได้มีโอกาสไปชมดูนะครับ ว่างๆทุกท่านลองแวะมาเที่ยวกันนะครับ พวกเรายินดีต้อนรับทุกท่านเสมอครับผม


ผู้เขียน นายจริยะ ปัญญา

ขอขอบคุณ รูปภาพ https://www.facebook.com/piyo.thitha