ชนิดของผ้าไหม

- ผ้ายก เป็นผ้าไหมที่ทอลายในตัว โดยใช้เส้นพุ่งพิเศษเป็นดิ้นเงินดิ้นทอง ทอกันแพร่หลายในภาคเหนือที่จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูนและภาคใต้ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่รู้จักกันแพร่หลายในชื่อของ “ไหมพุมเรียง”

- ผ้าจก เป็นผ้าที่ใช้วิธีการเก็บและทอเช่นเดียวกับผ้าขิด แต่มีการทำลวดลาย ด้วยการเพิ่มเส้นพุ่งพิเศษเข้าไปเป็นช่วงๆไม่ติดต่อกันทำให้สามารถ สลับสีและลวดลายได้ ลักษณะผ้าจึงมีสีสันและลวดลายมากกว่าผ้าที่ได้จากการทำขิด แหล่งผลิตผ้าจกที่มีชื่อเสียง ได้แก่ สุโขทัย เชียงใหม่ ราชบุรี อุตรดิตถ์ ผ้าที่มีการทำขิดหรือจกที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก เช่น ผ้ากาบบัว ซึ่งเป็นผ้าเอกลักษณ์ของจังหวัดอุบลราชธานี

- ผ้าแพรวา เป็นผ้าทอที่มีลักษณะลวดลายผสมกันระหว่างลายขิดและจกบนผืนผ้า ผ้า “แพรวา” หมายถึง ผ้าที่มีความยาวประมาณวา เพื่อใช้เป็นสไบ แพรวาเป็นผ้าซึ่งใช้ในงานพิธีต่างๆ ตามวัฒนธรรมของชาวภูไท เอกลักษณ์ดั้งเดิมจะมีสีแดงเป็นพื้นปัจจุบันได้มีการดัดแปลงลักษณะของผืนผ้าทั้งความกว้างและความยาวและใช้สีสันตามสมัยนิยม

- ผ้ามัดหมี่ มีกำเนิดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การมัดหมี่แพร่หลายทั่วไปทั้งภาคกลางและภาคเหนือ ส่วนใหญ่ผ้ามัดหมี่จะมัดเฉพาะเส้นไหมพุ่งผ้ามัดหมี่ที่มีชื่อเสียง ได้แก่ ผ้าหางกระรอก ผ้าโฮล ผ้าปูมผ้ามัดหมี่ แบ่งได้ 2 ชนิด คือ ผ้า 2 ตะกอ และผ้า 3 ตะกอ มีลักษณะผ้าเนื้อแน่นและด้านหน้าเงางามกว่าด้านหลัง

- ผ้าไหมเกาะหรือล้วง เป็นลายผ้าไหมที่ทอจากคนไทยลือที่อาศัยอยู่ทางภาคเหนือของประเทศ เช่น จังหวัดน่าน และพะเยา ลักษณะลายผ้า เรียกว่า ลายน้ำไหล ซึ่งหมายถึงเป็นลักษณะของสายน้ำไหล ลวดลายเรียบง่าย แต่ทำได้ยากยิ่ง ทำด้วยเทคนิคพิเศษที่สืบทอดกันมา ซึ่งอาศัยเวลานานการทำลวดลายโดยจะมีแถบลายแคบๆ บริเวณกึ่งกลางของผ้า

-ผ้าไหมพื้น เป็นผ้าไหมที่ทอลายขัดโดยใช้เส้นยืน และเส้นพุ่มธรรมดาตลอดกันทั้งผืน ผ้าที่ออกมาจะเป็นผ้าสีพื้นเรียบไม่มีลายโดยใช้เส้นยืนและเส้นพุ่งเป็นสีเดียวกันหรือใช้สีต่างกันก็ได้ เป็นผ้าที่นิยมใช้กันทั่วไป ซึ่งผ้าไหมไทยที่ส่งออกต่างประเทศ

จัดทำโดย

นาย นราธิป กะการดี ม.3/10 เลขที่ 25