การเสียกรุงศรีอยุธยา
การเสียกรุงศรีอยุธยาเกิดขึ้นทั้งหมด 2 ครั้ง
ครั้งที่1 เกิดขึ้นจากปัญหาความขัดแย้งระหว่างไทยกับพม่า เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช (ครองราชย์ พ.ศ. 2077-2089) พระมหากษัตริย์องค์ที่ 13 แห่งกรุงศรีอยุธยา
เนื่องจากพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้กษัตริย์พม่ามีประสงค์จะปราบมอญให้หมดสิ้น จึงส่งกองทัพรุกไล่มอญมาจนถึงเมืองเชียงกรานอยู่ถึงแม้จะไม่มีใครแพ้ชนะ แต่ทำเกิดเหตุการณ์ก็สร้างความขุ่นเคืองพระทัยให้แก่พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้เป็ฯอย่างมากและเป็นจุดเริ่มต้นของความขัดแย้งระหว่างไทยกับพม่าด้วย ต่อมาในรัชสมัยสมเด็จพระมหา-จักรพรรดิพระมหากษัตริย์องค์ที่ 15 แห่งกรุงศรีอยุธยาพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ยกกองทัพเข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์มาตั้งทัพอยู่ที่ชานพระนคร การสงครามครั้วนี้ไทยต้องสูญเสียสมเด็จพระศรีสุริโยทัยพระมเหสีในสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ซึ่งแต่งองค์เป็นชายติดตามไปในสนามรบด้วย วีรกรรมครั้งนี้พระองค์ทรงได้รับการยกย่องว่าเป็นวีรกษัตรีย์
ที่มา: https://www.nectec.or.th/schoolnet/library/create-web/10000/history/10000-10995.html
ครั้งที่ 2 การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง หรือ สงครามคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง เป็นความขัดแย้งทางทหารครั้งที่สอง ระหว่างราชวงศ์อลองพญาแห่งพม่า กับราชวงศ์บ้านพลูหลวงแห่งสยามในสมัยอาณาจักรอยุธยา ในการทัพครั้งนี้ กรุงศรีอยุธยาซึ่งเป็นราชธานีสยามยาวนานเกือบสี่ศตวรรษได้เสียแก่พม่าและถึงกาลสิ้นสุดลงไปด้วย เหตุการณ์ได้เกิดขึ้นเมื่อวันอังคาร ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 5 ปีกุน ตรงกับวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2310 ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าเอกทัศแห่งอาณาจักรอยุธยา และพระเจ้ามังระแห่งอาณาจักรพม่า
ยุทธนาการนี้เป็นผลพวงของสงครามพระเจ้าอลองพญาเมื่อ พ.ศ. 2303 และก่อตัวขึ้นใน พ.ศ. 2308 เมื่อพม่าส่งกองทัพเข้ารุกรานอยุธยาเป็นสองทางแบบคีม ทัพพม่าพิชิตการป้องกันของฝ่ายอยุธยาที่ประกอบด้วยกำลังอันเหนือกว่าแต่ขาดการประสานงานกันได้ และเริ่มปิดล้อมกรุงศรีอยุธยานาน 14 เดือน กระทั่งเดือนมีนาคม พ.ศ. 2310 พระเจ้าเอกทัศทรงยอมเป็นประเทศราชของพม่า แต่พม่าประสงค์ให้ยอมแพ้อย่างไม่มีเงื่อนไข ในที่สุด กองทัพพม่าหักเข้าพระนครได้เป็นครั้งที่สองในประวัติศาสตร์ แล้วทำลายล้างพระนคร ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างไทย-พม่าเสื่อมลงจนถึงปัจจุบัน
ที่มา: http://119.46.166.126/digitalschool/p5/hi5_2/lesson2/content1/more/18.php