วัดพระธาตุขิงแกง

การจุดประทีปตีนกา เพื่อบูชา พระธาตุขิงแกง ในวันยี่เป็ง (เพ็ญเดือนสิบสอง)

สวยงามสง่า บูชาพระธาตุเจ้า

รูปทรงพระธาตุเป็นศิลปะล้านนา ผสมผสานกับศิลปะไทใหญ่

ขึ้น 15 ค่ำเดือน 5 หรือทางเหนือเรียกเดือน 7 เป็ง จะมีประเพณีสรงน้ำพระธาตุขิงแกง ประจำทุก ๆ ปี

วัดพระธาตุขิงแกง ตำบลพระธาตุขิงแกง อำเภอจุน จังหวัดพะเยาเป็นพระธาตุคู่บ้าน คู่เมืองของอำเภอจุน จังหวัดพะเยา ภายในพระธาตุฯได้บรรจุพระเกศาธาตุ และพระธาตุกระดูกเท้าข้างขวา ของพระพุทธเจ้า เอาไว้.พุทธสานิกชนท่านใด มาไหว้สา และขอพรมักจะสมปรารถนา ที่มีคนขอพรบ่อย ๆ มักจะเป็นเรื่องความสำเร็จในหน้าที่การงาน หรือการขอพรเกี่ยวกับการมีบุตร สำหรับคู่สมรสที่มีบุตรยาก วัดพระธาตุขิงแกง วัดเก่าแก่ที่สาคัญของอาเภอจุน ดินแดนที่ครั้งหนึ่งเป็นเมืองโบราณสมัยเดียวกับเมืองพะเยา พระธาตุขิงแกงแห่งนี้เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของอาเภอจุน องค์พระธาตุได้บรรจุพระเกศาธาตุและพระธาตุกระดูกเท้าข้างขวาของพระพุทธเจ้าไว้ มีตานานพระธาตุขิงแกงจากพระธรรมตานานพระธาตุขิงแกงดังนี้ ปางเมื่อพระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ในเชตวันอาราม เมืองสาวัตถี เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้สัพพัญญูได้ ๑๕ พรรษา ในค่าคืนหนึ่งพระพุทธองค์ทรงบรรทมในคันธกุฏิ ในพระเชตวัน เวลาใกล้รุ่งทรงดาริว่าบัดนี้เราก็มีอายุได้ ๖๐ ปีแล้ว แล้วเมื่ออายุ ๘๐ ปี ก็จักปรินิพพานและควรที่เราจะอธิษฐานธาตุให้ย่อยเป็น ๓ ประการ ให้คนและเทวดาแจกไว้เป็นที่บูชา เสมือนแทนตัวเราเมื่อยังอยู่นี้เถอะ เหล่าพุทธอายุน้อยนักสัตว์ทั้งหลายอันล่วงแล้ว แต่ก่อนได้อธิษฐานธาตุให้ย่อยแล้วได้ไปไว้ตั้งยังสถานที่ใด เราก็จักทานายยังสถานที่นั้น พระพุทธองค์ทรงดาริว่าเราควรจะไปโปรดสรรพสัตว์ทั้งหลายและตั้งศาสนาไว้ในมัชฌิมาประเทศ กับปัจจัยประเทศและเมื่อนั้นพระพุทธองค์ผู้ประกอบด้วยพระมหากรุณาธิคุณ หลังออกพรรษาแล้ว พระองค์พร้อมด้วยพระอรหันต์ทั้งหลาย มีพระโสณเถระ พระรัตนเถระ และพระอานันท์เถระ เป็นบริวาร มีพระอินทร์เป็นผู้กางฉัตร ตามเสด็จพระพุทธองค์และยังมีพระเจ้าอโศก เจ้าเมืองกุสินารายญ์ ถือรองเท้าทิพย์ และไม้เท้าเสด็จตามอุปฐากพระพุทธองค์ เสด็จออกจาป่าเชตวันมาตามลาดับในวันแรม ๑ ค่า เดือนอ้าย พระพุทธเจ้าก็เสด็จออกจากเมืองสาวัตถีมาโดยลาดับ มาสู่นับพรมรับข้าวบิณฑบาตแม่ครัวแล้ว พระองค์ก็เลียบขึ้นมาตามฝั่งแม่น้าระมิงค์ เสด็จถึงที่นั้นประทานพระเกษาธาตุ แล้วก็เสด็จมาถึงดอยสุเทพ มาสู่บุปผาราม ฝาง เชียงดาว แล้วไปตับเต่าถึงสบฝาง ฉันข้าวข้างแม่น้า และเลียบฝั่งแม่น้าเสด็จขึ้นไปแสนหวีถึงวิเทหนคร อยู่จาพรรษาที่นั้น เทศนาเนมิราช สุทินราชและนาราถจปัณณะ หลังจากออกพรรษาแล้วก็เสด็จมาเมืองลือ ประทานพระเกษาธาตุเมืองสิงหะ แล้วเสด็จมาประทานพระเกศาธาตุที่จอมทอง แล้วมาเมืองพยาด มาเมืองเชียงแสนเสด็จไปดอยตุง แล้วไปภูเขาปูแก้ว และไปจอมกิตติ ไปสบจันผาประทับรอยพระบาทที่นั่น และแล้วพระองค์ก็ยืนห่มจีวรแล้วไปประทับนอนอยู่เหนือก้อนหินก้อนหนึ่ง จากนั้นก็เสด็จไปยอดดอยแห่งนั้น และตรวจดูสัตว์โลก ทั้งหลาย จึงเสด็จไปสันทรายประทับรอยพระบาทที่นั่น จึงเสด็จมาหัวด้วน ทรงเหยียบพระบาทให้ยักษ์อุปฐาก จึงเสด็จไปจอมแว่ดูปงปู่เต้า และเมืองพะเยา ยังมียักษ์ตนหนึ่งมันไม่ได้กินอาหารมานานเจ็ดวันแล้ว พบเห็นพระพุทธเจ้ามันหมายจะจับกินแต่ไล่พระองค์ไม่ทันไล่จนหมดแรง ณ ที่นั้นพระพุทธเจ้าก็ได้เอาฝ่าเท้าเหยียบก้อนหินก้อนหนึ่ง พอยักษ์เห็นรอยเท้าพระพุทธองค์แล้วมันก็กล่าวว่า “ชายผู้นี้มีเรี่ยวแรงนักหนอ เหยียบจนยุบเป็นรอย เหตุนี้เราจึงกินมันไม่ได้” และแล้วพระพุทธองค์ก็ปรากฏให้ยักษ์เห็นพระองค์ จึงทาให้พระธาตุขิงแกงมีรูปปั้นยักษ์ยืนอยู่บริเวณพระธาตุ เพื่อคอยดูแลปกป้องพระธาตุแห่งนี้ และด้านหน้าพระวิหารจะพบกับรอยพระพุทธบาทขนาดใหญ่ดังตานานที่กล่าวไว้

ประะเพณีสรงน้ำพระธาตุขิงแกง อำเภอจุน จังหวัดพะเยา โดย..รายการพากิน พาเที่ยว เผยแพร่โดย ...ยุทธภูมิ นามวงค์


คำขวัญตำบลพระธาตุขิงแกงศักดิ์สิทธิ์พระธาตุขิงแกงแหล่งวัฒธรรมล้ำค่าอนุรักษ์ป่าตะเคียนงามทำการเกษตรพอเพียง

ภาพมุมสูงโดย...Drone today Ep1

แผนที่วัดพระธาตุขิงแกง ตำบลพระธาตุขิงแกง อำเภอจุน จังหวัดพะเยา


ข้อมูลเนื้อหา เรื่องราว เขียนโดย... นายชัฏ จันทะวงค์ ครู กศน.ตำบลพระธาตุขิงแกง

ภาพถ่ายประกอบ / วีดีโอประกอบ โดย...รายการพากิน พาเที่ยว โดย...ยุทธภูมิ นามวงค์ / Drone today Ep1 / นายชัฏ จันทะวงค์ / นางสาวจีรวรรณ พันธุระ