เตหน่ากูในปัจจุบัน

ในอดีต เครื่องดนตรีเตหน่ากูถูกใช้ในการให้ความเพลิดเพลิน และสำหรับหนุ่มชาวกะเหรี่ยงที่จะใช้ประกอบการเกี้ยวพาราสีเท่านั้น

ต่อมาศิลปินและปราชญ์ได้นำมาใช้ในการขับเคลื่อนเรื่องราวทางวัฒนธรรมกับคนพื้นราบให้เกิดความเข้าใจวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยงในทางที่ถูกต้อง เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมและเป็นที่รู้จักเครื่องดนตรีเตหน่ากูในเวลาต่อมาผู้ศึกษาสรุปเนื้อหาที่นายทองดี ธุระวร ศิลปินเตหน่ากูได้กล่าวกล่าวถึงเครื่องดนตรีเตหน่ากูในยุคปัจจุบันไว้ได้ดังนี้

เครื่องดนตรี เตหน่ากู เป็นที่รู้จักแก่สังคมในเมืองได้ไม่นานเพราะแต่ก่อนเป็นเพียงเครื่องดนตรีที่ถูกใช้ในการเล่นประกอบการเล่าเรื่อง การเกี้ยวพาราสีและเพื่อความบันเทิงใจเท่านั้น ซึ่งจะเกิดขึ้นในชุมชนชาวกะเหรี่ยงที่ยังคงวิถีชีวิตดั้งเดิม จนกระทั่งในปี พ.ศ.2537 เป็นช่วงที่วัฒนธรรมกะเหรี่ยงเริ่มเสื่อมสลาย ชนเผ่าถูกรัฐกล่าวหาว่า “ทำลายป่า”ทางรัฐจึงได้มีนโยบายไล่คนออกจากป่า ซึ่งมีผลกระทบต่อชาวกะเหรี่ยงที่มีวิถีชีวิตพึ่งป่า

ในสถานการณ์ดังกล่าวเป็นเหตุผลให้ศิลปินและปราชญ์ชาวกะเหรี่ยงหลายท่านออกจากบ้านป่าเพื่อบอกเล่าเรื่องราววิถีชีวิตการดำรงอยู่กับธรรมชาติ โดยใช้กลยุทธ์ที่เรียกว่า “จากป่าสู่เมือง”เนื้อหาในเพลงจะเปลี่ยนไปจากเดิมที่บอกเล่าเรื่องราวประวัติศาสตร์และวิถีชีวิตเป็นลักษณะของการระบายความรู้สึกและขอความเห็นอกเห็นใจ ซึ่งทำให้ความสำคัญในเนื้อเพลงของบทเพลงอาจถูกลดทอนลงดนตรีกลายเป็นเครื่องมือในการต่อสู้กับรัฐ เพื่อจะได้มาซึ่งความอยู่รอดของชุมชนชาวกะเหรี่ยงต่อมา องค์กรพัฒนาเอกชนได้ร่วมมือกับศิลปินและปราชญ์ชาวกะเหรี่ยงจัดกิจกรรมการแสดงดนตรีเพื่อเป็นสื่อและเวทีให้คนข้างล่างได้เรียนรู้วิถีชีวิตคนกับป่าของกะเหรี่ยง ว่าแท้จริงแล้วคนกับป่าอยู่ด้วยกันได้ศิลปินหลายท่านได้ออกจากบ้านป่าพร้อมเครื่องดนตรีเตหน่ากู เพื่อเป็นตัวแทนของชุมชนและเครื่องดนตรีเตหน่ากูก็เป็นที่รู้จักในสังคมเมืองตั้งแต่นั้นมา

พัฒนาการเตหน่ากู

การเล่นเครื่องดนตรีเตหน่ากูประยุกต์กับเครื่องดนตรีปัจจุบัน