1. มีจำนวนนักศึกษาที่รับผิดชอบตามเกณฑ์ที่สำนักงาน กศน. กำหนด (ครู กศน.ตำบล/แขวง 1 คน ต่อ นักศึกษา 40 คน)

2. มีจำนวนนักศึกษาที่รับผิดชอบมากกว่า 40 คน

ระดับประถมศึกษา จำนวน 8 คน

ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

จำนวน 13 คน

ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 24 คน

3. มีการวิเคราะห์ศักยภาพของกลุ่มเป้าหมายและสำรวจความต้องการของนักศึกษาเพื่อร่วมจัด วิธีการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับนักศึกษา

4. มีการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้รายสัปดาห์ บันทึกการเรียนรู้ และจัดทำข้อมูลการลงทะเบียน ของนักศึกษาและแจ้งให้นักศึกษารับทราบโดยทั่วกัน

5. มีการจัดทำปฏิทินการพบกลุ่มทั้งภาคเรียน และแจ้งให้นักศึกษารับทราบโดยทั่วกัน

6. นักศึกษาไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของนักศึกษาทั้งหมดที่รับผิดชอบในภาคเรียนนั้น เข้าร่วมกิจกรรม พัฒนาผู้เรียน 20 ชั่วโมงขึ้นไป (ให้นับรวมกิจกรรมที่สถานศึกษาดำเนินการและ ครู กศน.ตำบล ดำเนินการ)

----------------------------------------------นักศึกษา กศน.ตำบลป่าบง เข้าร่วมไม่ถึง ร้อยละ 70-------------------------------------------------------------------------------------

7. นักศึกษาไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของนักศึกษาทั้งหมดที่รับผิดชอบในภาคเรียนนั้น เข้าสอบปลายภาค มากกว่าหนึ่งรายวิชาขึ้นไป (กรณีที่นักศึกษาลงทะเบียนเรียนในภาคเรียนนั้นเพียงหนึ่งรายวิชาและเข้าสอบปลาย ภาคเรียนรายวิชานั้น ให้นับเป็น 1)

8. นักศึกษาร้อยละ 75 ของนักศึกษาที่คาดว่าจะจบที่รับผิดชอบในภาคเรียนนั้น เข้าทดสอบ ทางการศึกษาระดับชาติ (N-NET) และ E-Exam (สามารถนับรวมกันได้)

กศน.ตำบลป่าบง มีจำนวนผู้เข้าสอบ - ขาดสอบ คิดเป็นร้อยละ 83.33

9. นักศึกษาร้อยละ 80 ของนักศึกษาทั้งหมดที่รับผิดชอบในภาคเรียนนั้น มี username และ password และมีการเข้าใช้สื่อการเรียนรู้จากรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาผ่านเว็ปไซต์www.etvthai.tv

บันทึกข้อความETV2.pdf

10. มีการช่วยเหลือผู้เรียน เช่น บันทึกผลการติดตาม การขาดเรียนของนักศึกษาที่ไม่มาพบกลุ่ม

มีการติดตามผู้เรียนทางไลน์ส่วนตัวรายบุคคล

มีการติดตามผู้เรียนผ่านเฟสบุ๊ครายบุคคล

มีการติดตามผู้เรียนผ่านกลุ่มแชท กศน.ตำบล

11. มีบัญชีลงเวลาของนักศึกษาและบัญชีลงเวลาของครูผู้สอน

FormatFactory PicPDF 19335+19336+19337+19338+19339+19340+19341.pdf

12. มีรายงานการประเมินคุณธรรมจริยธรรมของนักศึกษา

กศน.ตำบลป่าบง มีการประเมินคุณธรรมผู้เรียน โดยมีผลการประเมินคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมและคุณลักษณะที่ดี คิดเป็นร้อยละ 100

13. มีบันทึกการตรวจรายงานกิจกรรม กพช. ของนักศึกษา

14. จัดนักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมกับหน่วยงานอื่นที่ประสานขอความร่วมมืออย่างน้อย 2 กิจกรรม ต่อภาคเรียน

1.โครงการกิจกรรม ข่วงวัฒนธรรม ประจำปี 2565 กศน.ตำบลป่าบง นำนักศึกษาา ร่วมโครงการอบรมเชิงปฎิบัติการจ่วงรักษ์วัฒนธรรมอำเภอสารภี จัดโดย อบจ.จังหวัดเชียงใหม่ ในวันที่ 31 กรกฎาคม 2565. ณ วัดศรีโพธาราม ต.ยางเนิ้ง อ.สารภี จ.เชียงใหม่

2.นักศึกษา กศน.ตำบลป่าบง เข้าร่วมโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิต ประจำปีพุทธศักราช 2565 ปีที่ 25

วันที่ 30 กรกฎาคม 2565 กิจกรรมธรรมะสัญจร ณ วัดไชยสถาน ตำบลป่าบง อ.สารภี จ.เชียงใหม่

15. มีการวิจัยชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างน้อย 1 เรื่องต่อภาคเรียน

เนื้อหาบทที่1-5.pdf

16. มีการใช้สื่อ เทคโนโลยี ในการจัดการเรียนการสอน

การนำเทคโนโลยีมาเป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนการสอน

กศน.ตำบลป่าบงมีการนำเทคโนโลยีมาเป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนการสอน คือ 1. การใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 2.การสอนออนไลน์ผ่าน Google meet

3.การใช้แอพพลิเคชัน smart me ในการสอนบันทึกรายรับ รายจ่าย 4. การใช้แอพพลิเคชัน ปลูกกัญ ในการให้ความรู้เรื่องกัญชา 5. การเรียนรู้ด้วยบทเรียนออนไลน์

1. การใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

2.การสอนออนไลน์ผ่าน Google meet

3.การใช้แอพพลิเคชัน smart me

4. การใช้แอพพลิเคชัน ปลูกกัญ ในการให้ความรู้

เรื่องกัญชา

5. การเรียนรู้ด้วยบทเรียนออนไลน์


17. นักศึกษาร้อยละ 90 ของนักศึกษาทั้งหมดที่รับผิดชอบในภาคเรียนนั้น มีคุณธรรมจริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะที่ดี ตามที่สถานศึกษากำหนด

กศน.ตำบลป่าบง มีการประเมินคุณธรรมผู้เรียน โดยมีผลการประเมินคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมและคุณลักษณะที่ดี คิดเป็นร้อยละ 100

18. นักศึกษาร้อยละ 80 ของนักศึกษาทั้งหมดที่รับผิดชอบในภาคเรียนนั้น - มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ และแลกเปลี่ยน ความคิดเห็นร่วมกับผู้อื่น - มีความสามารถในการสร้างสรรค์งาน ชิ้นงาน หรือนวัตกรรม - มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล - มีสุขภาวะทางกายและสุนทรียภาพ - มีความสามารถในการอ่าน การเขียน

----------------------------------------------นักศึกษา กศน.ตำบลป่าบง อยู่ในเกณฑ์ไม่ถึง ร้อยละ 80 ---------------------------------------------------------------------------------

19. ผู้จบการศึกษานำความรู้ ทักษะพื้นฐานที่ได้รับไปใช้ หรือประยุกต์ใช้