จุดเด่นของหมู่บ้าน

“นาสะแบง แหล่งจักสาน ลานโพธิ์ศักดิ์สิทธิ์ ผลิตผ้าทอมือ เลื่องลือดอนปู่ตา สายธาราลำน้ำโพง”

ประเพณี/วัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ :

๑ ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี เทศกาล ภูมิปัญญาท้องถิ่น

การจัดงานบุญประเพณี จัดตามความเชื่อที่ยึดถือปฏิบัติกันมา งานบุญประเพณีที่สำคัญ จัดทำบุญประเพณีตาม ฮีต 12 ครอง 14 หรือตามจารีตประเพณี สิบสองเดือน ดังนี้

๑. ประเพณีบุญกุ่มข้าว ชาวบ้านจะนำข้าวสาน ข้าวเปลือกเข้าไปถวายพระสงฆ์ที่วัด

๒. บุญเบิกบ้าน เป็นความเชื่อของชาวบ้านถือกันว่าก่อนที่จะลงทำไร่ไถนา จะต้องทำบุญเบิกบ้าน บอกกล่าวผีบ้านผีเรือน ผีไร่ผีนาก่อนเพื่อให้ได้ผลผลิตดีขึ้น

๓. บุญข้าวจี่ ชาวบ้านจะจี่ข้าวเหนียวที่ทำเป็นปั้นเท่ากำปั้นไปวัด บ้างก็จะทำข้าวเกรียบ ข้าวโป่งและย่างไปวัดในเดือนสามเพราะเชื่อว่าจะได้อานิสงค์อย่างแรงกล้า

๔. บุญผะเหวด เป็นการสรรเสริญพระเวสสันดร ซึ่งเป็นหนึ่งในสิบทศชาติของพระพุทธเจ้าผู้ที่ชาวบ้านเคารพนับถือ และกราบไหว้สักการะบูชาอยู่เสมอ

๕. บุญสงกรานต์ ชาวบ้านจะรวมกันจัดงานพิธีสรงน้ำพระพุทธรูป และพระสงฆ์ และรวมทั้งการรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุด้วย ชาวบ้านจะรวมตัวกันในลานวัดเล่นน้ำ และการละเล่นต่าง ๆ ร่วมกัน เช่น งูกินหาง ชักกะเยอ หมากเก็บ หมากเหม่ง เป็นต้น และจะมีพิธีการตบประทาย พิธีกรรมนี้จะจัดขึ้นหลังจากวันสงกรานต์ ถัดไปประมาณ 1-3 วัน แล้วแต่สมควรเพื่อร่วมกันก่อกองทรายและขนทราย เข้าวัด เพราะเชื่อกันว่าเวลาเราเข้าไปในวัดเราจะเหยียบเอาทรายออกจากวัดทาให้ทรายลดจำนวนลง จำเป็นต้องมีการขนทรายเข้าวัดเพื่อให้วัดสูงขึ้น

๖. บุญบั้งไฟ ชาวบ้านจะจัดพิธีการแห่บั้งไฟไปรอบหมู่บ้านพร้อมกันเป็นขบวนที่ยิ่งใหญ่เลยก็ว่าได้ จะมีการฟ้อนรา มีขบวนผาแดง นางไอ่ และวันรุ่งขึ้นก็จะมีการจุดบั้งไฟโดยแบ่งออกเป็นหมู่บ้าน ตัวแทนของตำบลโนนเปือย ถ้าบั้งไฟไม่ขึ้นก็จะถูกโยนสมาชิกลงตมเพื่อไถ่โทษเป็นต้น

๗. บุญเข้าพรรษา ชาวบ้านก็จะกันไปทำบุญตักบาตร ถวายผ้าอาบน้ำฝน และเทียนเข้าพรรษา ให้แก่พระสงฆ์ นุ่งขาวห่มขาวถือศีล ชำระล้างจิตใจละอบายมุข

๘. บุญข้าวประดับดิน ชาวบ้านจะพากันตื่นตั้งแต่ไก่โห่ เพื่อนำข้าวไปฝังดิน เพื่อเป็นการขอขมา แม่พระธรณี และเจ้าที่เจ้าทาง ให้นำโชคดีมาให้

๙. บุญข้าวสาก หรือที่เรียกอีกอย่างว่าบุญสลาก คือการทำบุญของชาวบ้านที่นี่จะจับฉลากชื่อพระสงฆ์ ใครถูกพระรูปใดก็ให้นำเครื่องไทยทานถวายแด่พระรูปนั้นโดยไม่เจาะจงรูปใดรูปหนึ่ง เพื่อให้บุญกุศลทั่วถึงทุกคน

๑๐. บุญกฐิน หลังจากออกพรรษาแล้วหมู่บ้านจะจัดงานบุญกฐินเพื่อถวายผ้าสบงจีวร เครื่องไทยทานต่าง ๆ

๑๑. พิธีไหว้ปู่ตา ชาวบ้านจะกำหนดพิธีโดย “จ้ำ” (ผู้เฒ่าผู้แก่ผู้ที่สืบทอดเพื่อเป็นตัวแทนของชาวบ้านในการสื่อสารกับปู่ตาของหมู่บ้าน) โดยจะนำลำต้นหรือกาบกล้วยมาทำเป็นกระทงสามเหลี่ยมแล้วใส่ข้าวขาว เหลือง ตำพริก เกลือ อาหารที่ใส่ได้ ตะไคร้ใช้แทนคน และสิ่งของภายในบ้าน และผ้าซิ่น ผ้าขาวม้า หรือผ้าโสร่ง อย่างละ ๑ ผืน และไก่นึ่ง ๑ ตัว เหล้าขาว ๑ กั๊ก เพื่อใช้ในการประกอบพิธีกรร

๑๒. บุญออกพรรษา ชาวบ้านจะร่วมกันทำบุญตักบาตรเทโว ประเพณีลอยโคมลม โคมไฟ และลอยประทีปสักการะพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

๑๓. ลอยกระทง เพื่อขอขมาแม่คงคา เป็นต้น

ทำบุญฟังธรรม

บุญข้าวสาก

บุญออกพรรษา

บุญออกพรรษา

ลงแขกทำนา

ประเภทอาหารคาวเฉพาะถิ่น :

การทำข้าวต้มหมั้ด

แกงเขียวหวานไก่ใส่หน่อไม้

ส้มตำนาสะแบง

ลาบเลือด

จุดภาพถ่าย Landmark ในหมู่บ้าน

ศูนย์ดำรงห์ธรรมบ้านนาสะแบง

สถานที่สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ปู่ตา

ธรรมชาติที่สวยงาม

ดอกไม้ต้นสะแบง

ทุ่งนาสีเขียว

ลำห้วยโพง