วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์และผลผลิตของโครงการ


1. หลักการและเหตุผล /ความต้องการของชุมชน/ สภาวะปัญหา

จากการได้ลงสำรวจพื้นที่จริงในแขวงตลิ่งชัน พบว่าภายในชุมชนนั้นมีปัญหาหลักๆคือในเรื่องของด้านเศรษฐกิจ ขาดรายได้ เพราะว่าผู้คนส่วนใหญ่ในชุมชนประสบปัญหาการว่างงาน เนื่องจากเชื้อโรคไวรัสโควิด-19 ทางแขวงตลิ่งชันจึงเล็งเห็นปัญหาของชุมชนในส่วนนี้ จึงได้จัดทำกิจกรรมเพื่อสร้างรายได้ให้กับประชนในแขวงตลิ่งชัน ทางแขวงตลิ่งชันสนใจที่จะส่งเสริมการยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชน (ขนมไทย ทองพับ ทองม้วน หมี่กรอบ และกรอบรูป) เนื่องจากผู้อยู่อาศัยในชุมชนโดยส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความชำนาญในการออกแบบและพัฒนาสินค้าแฟชั่น จึงมีความต้องการได้รับการถ่ายทอดความรู้ด้านการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยมุ่งเน้นผลิตภัณฑ์ประเภทสินค้าแฟชั่นเพื่อสร้างรายได้แก่ชุมชน รวมถึงการส่งเสริมประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ชุมชน (ขนมไทย ทองพับ ทองม้วน หมี่กรอบ และกรอบรูป) เพื่อให้ผลิตภัณฑ์สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. วัตถุประสงค์ของโครงการ/กิจกรรมในการดำเนินการ

2.1 เพื่อพัฒนาทักษะการประกอบอาชีพที่ช่วยเพิ่มมูลค่าและสร้างความแตกต่างให้แก่ผลิตภัณฑ์ (อาทิเช่น ทักษะด้านการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ทักษะด้านการประชาสัมพันธ์สินค้าและบริการ เป็นต้น) และสร้างรายได้ในครัวเรือน

2.2 แก้ปัญหาผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

3. รูปแบบกิจกรรมที่จะเข้าไปดำเนินการในพื้นที่

3.1 กิจกรรมการพัฒนาศักยภาพตำบล

3.2 อบรมเชิงปฏิบัติการในหลักสูตร “การทำขนมไทย” ได้แก่ ทองม้วน ทองพับ หมี่กรอบ

3.3 อบรมเชิงปฏิบัติการในหลักสูตร “การถ่ายภาพเพื่อประชาสัมพันธ์และความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบ ผลิตกรอบรูป”

4. ประเภทกิจกรรมที่จะเข้าไปดำเนินการในพื้นที่

4.1 การพัฒนาสัมมาชีพและสร้างอาชีพใหม่ (การยกระดับสินค้า OTOP/อาชีพอื่นๆ)

คิดเป็นร้อยละ 80 ของกิจกรรมทั้งหมด

4.2 การสร้างและพัฒนา Creative Economy (การยกระดับการท่องเที่ยว)

คิดเป็นร้อยละ 0 ของกิจกรรมทั้งหมด

4.3 การนำองค์ความรู้ไปช่วยบริการชุมชน (Health Care/เทคโนโลยีด้านต่างๆ)

คิดเป็นร้อยละ 20 ของกิจกรรมทั้งหมด

4.4. การส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อม/Circular Economy (การเพิ่มรายได้หมุนเวียนให้แก่ชุมชน) ให้แก่ชุมชน

คิดเป็นร้อยละ 0 ของกิจกรรมทั้งหมด

5. ขอบเขตกิจกรรม

ชื่อโครงการ โครงการการพัฒนาศักยภาพทักษะการประกอบอาชีพ และส่งเสริมการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมให้กับประชาชนเพื่อยกระดับเศรษฐกิจรากอย่างสร้างสรรค์และยั่งยืน ในพื้นที่แขวงตลิ่งชัน เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร

6. ตัวชี้วัด ผลผลิตและผลลัพธ์ของโครงการ/กิจกรรมในการดำเนินการ (อธิบายถึงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกี่ยวข้องกับการยกระดับสินค้า OTOP /การยกระดับการท่องเที่ยวการบริการชุมชน หรือการเพิ่มรายได้รูปแบบอื่นให้แก่ชุมชน ที่มีความชัดเจน ทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ)

1) ผลลัพธ์เชิงปริมาณ

- ประชาชนผู้เข้าร่วมโครงการได้รับการพัฒนาทักษะและสามารถนำไปประกอบอาชีพได้ จำนวนไม่น้อยกว่า 20 คน

- ผลิตภัณฑ์ได้รับการยกระดับมาตรฐานสินค้า OTOP ในพื้นที่ให้สูงขึ้นอย่างน้อย 1 ระดับ จำนวน 3 ผลิตภัณฑ์

2) ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ

- ประชาชน/ผู้เข้าร่วมโครงการฯ มีความพึงพอใจในการดำเนินกิจกรรมระดับดี หรือร้อยละ 80

- ประชาชน/ผู้เข้าร่วมโครงการฯ มีรายได้เพิ่มขึ้น ไม่น้อยกว่า 20