ด้านสถานที่สำคัญ

สถานที่สำคัญ

อ้างอิง https://th.wikipedia.org/wiki/

1.วัดน้อยใน

ที่ตั้ง เลขที่ 48 ซอยชัยพฤกษ์ 22 ถนนชัยพฤกษ์ แขวงตลิ่งชัน เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร 10170 ประเภทวัดราษฎร์ นิกายมหานิกาย

งานประจำปีที่สำคัญคืองานเทศน์มหาชาติในปลายเดือน 10 เริ่มจัดมาตั้งแต่ พ.ศ. 2520 วัดมีโรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ (วัดน้อยใน) ในพระราชูปถัมภ์ฯ ตั้งอยู่ในที่ดินวัด

วัดสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2305 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาครั้งหลังสุดเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2525 สันนิษฐานว่าเป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลาย ครอบครัวของนางน้อยซึ่งเป็นหญิงหม้าย มีบุตรสาว 2 คน คือ ผึ้งและจีด พร้อมด้วยพระสงฆ์รูปหนึ่งคือ พระอาจารย์หน่าย ซึ่งเป็นพระวิปัสสนา และข้าทาสบริวารของนางน้อยได้อพยพโดยทางเรือจากบ้านป่าถ่าน เกาะเมืองอยุธยา จนมาถึงบริเวณนี้ นางน้อยเห็นว่าบริเวณนี้เป็นป่ารกปราศจากผู้คน จึงจับจองที่ทำมาหากิน และทางตอนใต้ที่ดินมีวัดร้างตั้งอยู่ มีโบสถ์เก่าและวิหารรูปเรือสำเภา

ในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชที่บ้านเมืองสงบแล้ว มีผู้คนมาอาศัยอยู่ในบริเวณนี้มากขึ้น นางน้อยกับพระอาจารย์หน่ายและชาวบ้านได้ร่วมกันบูรณะวัดร้าง มีพระอาจารย์หน่ายเป็นสมภาร มีพระสงฆ์มาสมัครเป็นศิษย์เพื่อเรียนวิปัสสนากรรมฐานกันมากมาย จนเมื่อสิ้นพระอาจารย์หน่ายกับนางน้อย นางผึ้งบุตรสาวคนโตผู้ไปได้สามีอยู่ที่บางเขนก็ได้สร้างวัดหนึ่ง แล้วจะตั้งชื่อวัดว่า "วัดน้อย" ตามชื่อมารดา แต่นางจีดผู้เป็นน้องไม่ยินยอม เพราะอยากจะให้วัดที่มารดาบูรณะมีชื่อว่าวัดน้อยเช่นกัน ทั้งสองคนตกลงกันไม่ได้ พระอาจารย์จีนผู้เป็นสมภารต่อจากพระอาจารย์หน่าย ได้ตัดสินใจให้วัดที่นางผึ้งสร้างใหม่มีชื่อว่า "วัดน้อยนอก" ส่วนวัดที่นางน้อยผู้เป็นมารดาได้บูรณะมีชื่อว่า "วัดน้อยใน"

อาคารเสนาสนะ อุโบสถหลังเก่ารื้อถอนเมื่อปี พ.ศ. 2524 แล้วสร้างอุโบสถหลังใหม่ขึ้น ณ ตำแหน่งเดิม มีพิธีวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2525 เป็นอุโบสถทรงไทย มุงกระเบื้องดินเผาเคลือบ มีช่อฟ้า ใบระกา และหางหงส์ หน้าบันทั้งด้านหน้าและด้านหลังประดับตกแต่งด้วยลวดลายปูนปั้นต่าง ๆ มีเครื่องหมาย "พร" ประดับมงกุฎอันเป็นพระนามย่อของสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี พระประธานในอุโบสถหล่อขึ้นใหม่ตามแบบพระพุทธรูปสุโขทัย เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง 3 ศอก 9 นิ้ว ลงรักปิดทอง ประดิษฐานบนฐานชุกชีปิดทองประดับกระจก มีนามว่า พระพุทธวชิรสุวัทนาสิริโสภาบพิตร

เจดีย์ตั้งอยู่ด้านหลังอุโบสถ เป็นเจดีย์ทรงระฆังแบบอยุธยาขนาดใหญ่ทาสีทองทั้งองค์ ศาลาการเปรียญเป็นอาคารไม้ทรงไทยยกพื้น ศาลาบำเพ็ญกุศลตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเมรุ ศาลาริมน้ำอยู่ริมคลองบางกอกน้อย สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2533 ประดิษฐานรูปเหมือนของอดีตเจ้าอาวาส 2 รูป คือ พระครูวิทยานุกูล (มั่ง อินฺทสโร) และพระอธิการนิ่ม โกวิโท

อ้างอิง :https://th.wikipedia.org/wiki/วัดชัยพฤกษมาลาราชวรวิหาร

2.วัดชัยพฤกษมาลาราชวรวิหาร

ที่ตั้ง เลขที่ 2 ถนนชัยพฤกษ์ แขวงตลิ่งชัน เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร 10170 ประเภทระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร นิกายมหานิกาย

ดชัยพฤกษมาลาสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2300 ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา จนช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์กลายเป็นวัดร้างโดยในช่วงสร้างกรุรัตนโกสินทร์ในรัชกาลที่ 1 ได้โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ใหญ่ (ร.2) รื้ออิฐวัดชัยพฤกษ์ไปสร้างกำแพงพระนครส่วนที่พระองค์ทรงเป็นนายด้าน (ควบคุมงาน) จนในรัชสมัยรัชกาลที่ 2 โปรดให้ปฏิสังขรณ์วัดชัยพฤกษ์ขึ้นใหม่เป็นการทดแทนวัดเดิมที่ถูกรื้อโดยมีพระราชดำริให้พระบาทสมเด็พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก่อนทรงผนวชเป็นแม่กองดำเนินการสร้างวัชัยพฤกษ์ จนในสมัยรัชกาลที่ 3 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกวัดชัยพฤกษ์เข้าในบัญชีพระอารามกฐินหลวงพระราชทานและโปรดให้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะทรงพระผนวช เสด็จฯ มาทรงจุดเทียนพรรษาและถวายพระกฐินทุกปี ในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงบริจาคพระราชทรัพย์และโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส เป็นแม่ข่ายดำเนินการซ่อมสร้างจนแล้วเสร็จ พร้อมกับพระราชทานสร้อยนามวัดว่า วัดชัยพฤกษมาลา ทั้งยังจัดทำสวน ขุดคูรอบวัด สร้างพระอุโบสถและพระวิหารเดิมให้แล้วเสร็จ สร้างศาลาการเปรียญ ก่อพระเจดีย์ใหญ่พร้อมด้วยพระเจดีย์ทิศ 4 มุม หอสวดมนต์ หอระฆัง สะพานท่าน้ำ วัดชัยพฤกษมาลาได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาครั้งหลังสุดเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514

อาคารเสนาสนะและปูชนียวัตถุ พระอุโบสถหลังเก่าสร้างในสมัยรัชกาลที่ 2 และบูรณปฏิสังขรณ์ในสมัยรัชกาลที่ 4 พระอุโบสถมีขนาดกว้าง 7.56 เมตร ยาว 19.20 เมตร หน้าบันของพระอุโบสถเป็นลวดลายปูนปั้น หน้าบันประธานเป็นภาคครุฑยุดนาค (พระราชลัญจกรในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย) อยู่ท่ามกลางลายพุดตานใบเทศ ส่วนหน้าบันของมุขหน้า-หลัง เป็นพระมหามงกุฎ (พระราชลัญจกรรัชกาลที่ 4) แวดล้อมด้วยลายพุดตานใบเทศ มีหลวงพ่อโต (พระพุทธชัยพฤกษธิกามหาบพิตร) เป็นพระพุทธรูปสมัยอยุธยา พระประธานในพระอุโบสถหลังเดิม พระอุโบสถหลังใหม่มีหน้าบัน เป็นรูปครุฑพ่าห์ ซึ่งเป็นพระราชลัญจกรของรัชกาลที่ 2 และที่มุขลดของหน้าบันมีปูนปั้นเป็นรูปพระมหามงกุฎ ซึ่งเป็นพระราชลัญจกรของรัชกาลที่ 4 ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปประธาน เป็นพระพุทธชินราชจำลอง มีนามว่า พระพุทธชัยมงคล ภปร. พระวิหาร มีร่องรอยจิตรกรรมฝาผนังเดิม เขียนเป็นลายประจำยามรักร้อย ด้วยสีแดงและสีเขียวบนพื้นสีเหลือง พระเจดีย์สร้างในสมัยรัชกาลที่ 4 มีลักษณะของเจดีย์ประธานเป็นเจดีย์ทรงระฆังกลมขนาดใหญ่ มีเจดีย์บริวาร 4 มุม โดยโปรดเกล้าฯ ให้หม่อมเจ้าเพิ่ม ลดาวัลย์ปฏิสังขรณ์เมื่อ พ.ศ. 2378 ต่อมาเจดีย์องค์นี้เป็นที่บรรจุอัฐิของราชสกุลลดาวัลย์ และมีบางส่วนของพระบรมอัฐิของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวประดิษฐานอยู่ด้วย และวัดยังมีพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ภายในบริเวณวัดยังมีโรงเรียนกุศลศึกษา ซึ่งเป็นโรงเรียนที่วัดอุปถัมภ์มาแต่เดิม

อ้างอิง :https://th.wikipedia.org/wiki/วัดไก่เตี้ย

3.วัดไก่เตี้ย

ที่ตั้ง เลขที่ 11 ซอยบรมราชชนนี 33 ถนนบรมราชชนนี แขวงตลิ่งชัน เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร 10170 ประเภทวัดราษฎร์ นิกายมหานิกาย

ประวัติการตั้งวัดมีสองข้อมูล สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติระบุว่า วัดไก่เตี้ยสร้างขึ้นราว พ.ศ. 2320 ในปลายสมัยกรุงธนบุรี ขณะที่ประวัติวัดทั้งฉบับกรมการศาสนาและของวัดระบุตรงกันว่า เจ้าพระยารัตนาพิพิธ (สน) สมุหนายก ต้นสกุล สนธิรัตน์ สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 บ้างระบุว่าปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ในรัชกาลที่ 1 แต่หนังสือพระประวัติและพระนิพนธ์ สมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส กล่าวว่าผู้สร้างคือพระนรินทราราชเสนี (เผื่อน) บิดาของท่านผู้หญิงอ่อน ภริยาเจ้าพระยารัตนาพิพิธ

วัดได้รับการพัฒนาครั้งใหญ่เมื่อ พ.ศ. 2511 มีการสร้างบูรณปฏิสังขรณ์อาคารเสนาสนะและได้จัดแบบแปลนของวัดใหม่ กล่าวคือ ได้รื้ออุโบสถหลังเดิมที่สร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เนื่องจากเป็นไม้และผุพังลง โดยได้ก่อสร้างขึ้นใหม่เป็นคอนกรีต มีพิธียกช่อฟ้าเมื่อ พ.ศ .2512 โดยจอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น และผูกพัทธสีมาเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2514

อาคารเสนาสนะ อุโบสถหลังใหม่ สร้างแทนอุโบสถเดิมที่รื้อไปเมื่อ พ.ศ. 2511 กว้าง 20 เมตร ยาว 40 เมตร หน้าบันทำเป็นพระพุทธรูปประทับนั่ง ปางสมาธิ ด้านล่างมีรูปไก่อยู่ในวงกลม (คาดว่าทำขึ้นตามชื่อวัด) ลวดลายเดิมหน้าบันเป็นลายกนกและพรรณพฤกษา พระประธานในพระอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย ฐานมีจารึกว่าหล่อขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1989 คาดว่าอัญเชิญลงมาจากหัวเมืองเหนือในรัชกาลที่ 1 พร้อมกับพระพุทธรูปพันกว่าองค์ที่ประดิษฐานตามพระอารามหลวงของกรุงรัตนโกสินทร์

วิหาร เชื่อว่าสร้างพร้อมอุโบสถหลังเดิม หน้าบันของวิหารเป็นไม้จำหลัก หน้าบันของมุขด้านล่างเป็นลายเครือเถากนกออกปลายเป็นเทพนม ตรงกลางเป็นครุฑ ส่วนหน้าบันด้านบน ตรงกลางสลักเป็นรูปวิมานท่ามกลางลายกนก (ปัจจุบันใช้เป็นกุฏิเจ้าอาวาส) มีพระพุทธฉาย ตั้งอยู่ระหว่างอุโบสถและวิหารภายในเขตกำแพงแก้ว วัดมีหอระฆัง ตั้งอยู่ด้านข้างศาลาการเปรียญ เป็นหอระฆังเก่า ก่ออิฐถือปูน สูง 2 ชั้น หอพระไตรปิฎก เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน 2 ชั้น ลักษณะรูปแบบศิลปกรรมสมัยรัชกาลที่ 3 ที่เชิงชายสลักไม้เป็นลายค้างคาวแบบจีน

อ้างอิง : https://th.wikipedia.org/wiki/วัดนครป่าหมาก

4.วัดนครป่าหมา

ที่ตั้ง เลขที่ 65 ถนนชัยพฤกษ์ แขวงตลิ่งชัน เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร 10170 ประเภทวัดราษฎร์ นิกาย มหานิกาย

สร้างขึ้นเมื่อราวปี พ.ศ. 2400 แต่เดิมชาวบ้านมักเรียกว่า วัดใน ในอดีตได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อพ.ศ.2430ได้รับพระราชทาวิสุงคามสีมาครั้งล่าสุดเมื่อ 19 มีนาคม พ.ศ. 2550

อาคารเสนาสนะอุโบสถสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2520 หน้าบันปูนปั้นเป็นภาพพระพุทธรูปปางมารวิชัย ท่ามกลางเครือเถาลายกนก อุโบสถหลังเดิมเป็นทรงเก่าสมัยอยุธยาแต่ได้รับการปฏิสังขรณ์ใหม่ภายในประดิษฐานพระประธาน เป็นพระพุทธรูปหินทรายปางสมาธิ ขนาดหน้าตัก 4 ศอกเศษ คาดว่าสร้างขึ้นสมัยอยุธยาตอนต้นส่วนพระพุทธรูปขนาดย่อมเบื้องซ้าย-ขวาพระประธานมีลักษณะพระพักตร์ที่มีเค้าศิลปะลพบุรีภายในอุโบสถมีภาจิตรกรรมฝาผนัง ช่างสมัยปัจจุบัน เขียนขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2547 ผนังด้านข้างเป็นภาพพุทธประวัติ ผนังด้านหน้าเขียนภาพประเพณี 12 เดือน

ศาลาการเปรียญ กว้าง 11 เมตร ยาว 30 เมตร ชั้นบนเป็นอาคารไม้ ชั้นล่างเป็นคอนกรีต มีป้ายว่าเป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรม แต่ปัจจุบันใช้เป็นสถานที่ให้บริการนวดและอบสมุนไพร มีการเปิดสอนหลักสูตรการนวดแผนไทย ศาลาร้อยปี หลวงปู่ท้วม หลวงปู่นาค อยู่ทางด้านเหนือของอุโบสถ ภายในประดิษฐานรูปเหมือนอดีตเจ้าอาวาส 2 รูป คือ หลวงปู่ท้วมและหลวงปู่นาค

อ้างอิง : https://www.google.com/ศาลเจ้าพ่อจุ้ย

5.ศาลเจ้าพ่อจุ้

ที่ตั้ง แขวงตลิ่งชัน เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร

ศาลเจ้าพ่อจุ้ย ชื่อศาลเป็นที่มาของชื่อเกาะศาลเจ้า คำว่า จุ้ย เป็นภาษาจีนหมายความว่าน้ำ สะท้อนถึงวิถีชีวิตของชาวบ้านที่ใช้ชีวิตอยู่ริมคลองผูกพันกับสายน้ำ โดยทุกปีจะมีงานบูชาเทพเจ้าแห่งน้ำที่ศาลเจ้าพ่อจุ้ยแห่งนี้


อ้างอิง : https://dpwatnoinai.ac.th/

6.โรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์(วัดน้อยใน) ในพระราชูปถัมภ์ฯ

ที่ตั้ง 167 หมู่4 ถ.ชัยพฤกษ์ แขวงตลิ่งชัน เขตตลิ่งชันกรุงเทพมหานคร เปิดสอนในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 - มัธยมศึกษาปีที่ 6

อ้างอิง : https://www.google.com/โรงเรียนวัดไก่เตี้ย

7.โรงเรียนวัดไก่เตี้ย (สวัสดิ์ประชานุกูล)

ที่ตั้ง 11 ถนน ชัยพฤกษ์ แขวง ตลิ่งชัน เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร 10170 เปิดสอนในระดับอนุบาล-ชั้นประถมศึกษา

อ้างอิง : https://www.google.com/โรงเรียนวัดชัยพฤกษมาลา

8.โรงเรียนชัยพฤกษ์มาลา (นนทสิริราษฎร์บำเพ็ญ)

ที่ตั้ง 124 ซอยชัยพฤกษ์ 4 แขวงตลิ่งชัน เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร 10170 เปิดสอนในระดับอนุบาล-ชั้นประถมศึกษา

อ้างอิง : https://www.google.com/โรงเรียนชุมทางตลิ่งชัน

9.โรงเรียนชุมทางตลิ่งชัน

ที่ตั้ง 207 ซอยสวนผัก 29 แยก 2-1-2 แขวงตลิ่งชัน เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร 10170 เปิดสอนในระดับอนุบาล-ชั้นประถมศึกษา

อ้างอิง:http://saronline.bangkok.go.th/web/portal.htm?mode=searchschoolDetail&id=699

10.โรงเรียนวัดตลิ่งชัน (ปิ่นทองสัณฐาคาร)

ที่ตั้งเลขที่ 98 ถนนชักพระ แขวงตลิ่งชัน เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร รหัสไปรษณีย์ 10170 เปิดสอนในระดับอนุบาล-ชั้นประถมศึกษา

อ้างอิง : http://www.bangkok.go.th/healthcenter49/

11.ศูนย์บริการสาธารณสุข 49 วัดชัยพฤกษมาลา

ตั้งอยู่เลขที่่ 7/2 หมู่ 4 แขวงตลิ่งชัน เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร 10170

อยู่ริมคลองมหาสวัสดิ์ บนที่ดินของวัดชัยพฤกษมาลาเนื้อที่ประมาณ 250 ตารางวา เดิมชื่อศูนย์บริการสาธารณสุขตลิ่งชัน อาคารที่ทำการเป็นตึก 2 ชั้น หลังคาทรงไทย เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 1 กรกฏาคม 2525 ต่อมาเมื่อปีงบประมาณ 2556 สำนักงานเขตตลิ่งชัน ได้เปลี่ยนแปลงเลขที่ตั้งใหม่ เป็นเลขที่ 271 แขวงตลิ่งชัน เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานครปี 2557 ได้ปรับปรุงอาคารชั้นล่างขยายห้องบัตรโดยปิดทางเข้าด้านหน้าตัวอาคารศูนย์ฯ และเปิดทางเข้าใหม่ด้านข้างตัวอาคารเป็นด้านหน้าศูนย์ฯ แทน ขยายพื้นที่การให้บริการ ทำทางลาดสำหรับผู้พิการ ผู้สูงอายุ และในปี 2559 ปรับปรุงอาคารชั้นบนและห้องปฏิบัติงานต่าง ๆ ตลอดจนห้องพักแทพย์ ห้องอาหาร และห้องประชุม

อ้างอิง : https://www.google.com/ศูนย์โยเร

12.มูลนิธิบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ด้วยกิจกรรมทางศาสนา สาขาธนบุรี

ที่ตั้งถนน สวนผัก แขวงลิ่งชัน เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร 10170