หน่วยงาน

องค์การบริหารส่านวตำบลกูสวนแตง

ประวัติความเป็นมา 

ประวัติความเป็นมา

    เหตุที่ได้ชื่อ  “กู่สวนแตง”  เพราะเมื่อสมัยก่อนลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นที่ราบสูงลักษณะของดินเป็นดินปนทราย สภาพภูมิอากาศแห้งแล้งในฤดูร้อนอากาศร้อนมาก  พื้นที่ส่วนใหญ่ทำการเกษตรและอยู่ห่างจากตัวเมืองบุรีรัมย์ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 84 กิโลเมตร จึงมีคนเริ่มเข้ามาอยู่อาศัยเพื่อทำมาหากิน และตั้งเป็นชุมชนมากขึ้นและมีเส้นทางเกวียนที่ใช้เป็นเส้นทางสัญจรไปมาระหว่างเมืองบุรีรัมย์กับชุมชน  มีคนพูดกันติดปากว่า “กู่สวนแตง”  เพราะทำเลที่ตั้งอยู่ใกล้ปรางค์กู่สวนแตง  และเมื่อมีการจัดระเบียบการปกครองท้องที่ขึ้น จึงได้รวบรวมเอาหมู่บ้านต่างๆขึ้นเป็นตำบล“ กู่สวนแตง ”ในปัจจุบันโดยใช้ชื่อตำบลจากบ้านกู่สวนแตง  หมู่ที่ 1 

       ตำบลกู่สวนแตงเป็นตำบล 1 ใน 5 ตำบลของอำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์  จังหวัดบุรีรัมย์ เริ่มแรก   อยู่ในความปกครองของตำบลหนองแวง  อำเภอพุทไธสง    จังหวัดบุรีรัมย์   เมื่อปี  พ.ศ. 2528    ตำบลกู่สวนแตง ได้แยกการปกครองออกจาก   ตำบลหนองแวง  อำเภอพุทไธสง   เมื่อปี  พ.ศ. 2535  ตำบลกู่สวนแตง   ได้แยกเขตการปกครองออกจากอำเภอพุทไธสง  มาอยู่กิ่งอำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์   ได้รับการประกาศจากกระทรวงมหาดไทยแยกเขตการปกครองเป็นตำบลกู่สวนแตง  ปัจจุบันแบ่งการปกครองออกเป็น 12  หมู่บ้าน  และได้รับยกฐานะจากสภาตำบลบ้านกู่สวนแตง เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลกู่สวนแตงเมื่อวันที่ 23    กุมภาพันธ์   2540

          สภาพทั่วไป 

ประวัติความเป็นมา

เหตุที่ได้ชื่อ “กู่สวนแตง” เพราะเมื่อสมัยก่อนลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นที่ราบสูงลักษณะของดินเป็นดินปนทราย สภาพภูมิอากาศแห้งแล้งในฤดูร้อนอากาศร้อนมาก พื้นที่ส่วนใหญ่ทำการเกษตรและอยู่ห่างจากตัวเมืองบุรีรัมย์ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 84 กิโลเมตร จึงมีคนเริ่มเข้ามาอยู่อาศัยเพื่อทำมาหากิน และตั้งเป็นชุมชนมากขึ้นและมีเส้นทางเกวียนที่ใช้เป็นเส้นทางสัญจรไปมาระหว่างเมืองบุรีรัมย์กับชุมชน มีคนพูดกันติดปากว่า “กู่สวนแตง” เพราะทำเลที่ตั้งอยู่ใกล้ปรางค์กู่สวนแตง และเมื่อมีการจัดระเบียบการปกครองท้องที่ขึ้น จึงได้รวบรวมเอาหมู่บ้านต่างๆขึ้นเป็นตำบล“ กู่สวนแตง ”ในปัจจุบันโดยใช้ชื่อตำบลจากบ้านกู่สวนแตง หมู่ที่ 1

ตำบลกู่สวนแตงเป็นตำบล 1 ใน 5 ตำบลของอำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์ จังหวัดบุรีรัมย์ เริ่มแรก อยู่ในความปกครองของตำบลหนองแวง อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ เมื่อปี พ.ศ. 2528 ตำบลกู่สวนแตง ได้แยกการปกครองออกจาก ตำบลหนองแวง อำเภอพุทไธสง เมื่อปี พ.ศ. 2535 ตำบลกู่สวนแตง ได้แยกเขตการปกครองออกจากอำเภอพุทไธสง มาอยู่กิ่งอำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์ ได้รับการประกาศจากกระทรวงมหาดไทยแยกเขตการปกครองเป็นตำบลกู่สวนแตง ปัจจุบันแบ่งการปกครองออกเป็น 12 หมู่บ้าน และได้รับยกฐานะจากสภาตำบลบ้านกู่สวนแตง เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลกู่สวนแตงเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2540

ข้อมูลทั่วไป

ทำเลที่ตั้งตำบล ตำบลกู่สวนแตง เป็น 1 ใน 5 ตำบล ในเขตอำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์ จังหวัดบุรีรัมย์ มีอาณาเขตพื้นที่อยู่ติดกันท้องถิ่นใกล้เคียง 4 ส่วน คือ เทศบาลตำบลบ้านใหม่ไชยพจน์,ตำบลหนองแวง, ตำบลหนองเยือง, กิ่งอำเภอเมืองยาง จังหวัดนครราชสีมา ดังนี้

-ทิศเหนือ จรด เทศบาลบ้านใหม่ไชยพจน์

-ทิศตะวันออก จรด ตำบลหนองแวงและตำบลหายโศก อำเภอพุทไธสง

-ทิศตะวันตก จรด ตำบลหนองเยือง

-ทิศใต้ จรด ตำบลละหานปลาค้าว  อำเภอเมืองยาง

ดยตำบลกู่สวนแตงอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์ จังหวัดบุรีรัมย์ ไปทางทิศใต้เป็นระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร

เขตปกครอง รวม 12 หมู่บ้าน คือ

 และมีอาณาเขตดังนี้

ทิศเหนือ จากถนนดินสายโรงพยาบาลบ้านใหม่ไชยพจน์ บ้านดงยาง ม.2 - บ้านยางทะเล(ติดแนวเขตตำบลหนองเยือง) บริเวณพิกัด SB 630645 ไปตามถนนดินทางทิศตะวันออก (ติดกับแนวเขตใต้ปรางค์กู่สวนแตง) จนตัดกับถนนลาดยางสายปรางค์กู่สวนแตง – บ้านกู่สวนแตง ม. 1 บริเวณพิกัด SB 966355 ตามถนนลาดยางไปจนถึงหนองขาม,หนองกู่ฯ บริเวณพิกัด SB 963705 จดกับถนนลาดยาง รพช. สายบ้านหนองแวง-บ้านโนนไฮ บริเวณพิกัดSB 690465 ตามคลองส่งน้ำไปทางทิศตะวันออกจนถึงฝายน้ำฯ บริเวณพิกัด SB 693046

ทิศตะวันออก จากฝายบริเวณพิกัด SB 693046 ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ตามลำเหมืองเก่า จนถึงลำห้วยตะกั่ว บริเวณพิกัด SB 103649 จากลำห้วยตะกั่วไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ไปตามลำห้วยตะกั่วจนตัดกับสะพาน คสล. กรมโยธาธิการ (ถนนลาดยางสายตำบลหนองแวง - บ้านบาก) บริเวณพิกัด SB 966394 ไปตามลำห้วยตะกั่วทางทิศตะวันออกเฉียงใต้จนสุดเขตลำห้วยตะกั่วไหลรวมกับลำสะแทด บริเวณพิกัด SB 693064

ทิศใต้ จากจุดลำห้วยตะกั่วไหลรวมกับลำสะแทด บริเวณพิกัด SB 693064 ไปทางทิศตะวันตกตามลำสะแทดจนถึงฝายบ้านหนองเรือ บริเวณพิกัด SB 104537 จากฝายไปทางทิศตะวันตกติดลำสะแทดจนถึงปากทางน้ำเข้ากุดน้ำใส บ้านบาก บริเวณพิกัด SB 693400 ตามลำสะแทดไปทางตะวันตกจนถึงสะพาน คสล.ถนนลาดยางสาย รพช. สายหนองแวง-บ้านโนนไฮ บริเวณพิกัด SB 966937 ตามลำสะแทดไปทางทิศตะวันตก จนถึงเขตที่นาและแนวป่า (เป็นลำเหมืองเก่าทิศตะวันตกเฉียงใต้ บ้านโนนไฮ) บริเวณพิกัด SB 966900

ทิศตะวันตก จากบริเวณพิกัด SB 966900 ไปทางทิศเหนือตามคันนาใหญ่และป่าจนถึงถนนดินสายบ้านโนนไฮ - บ้านไทรทอง ตำหนองเยือง บริเวณพิกัด SB 744805 ไปตามถนนหินคลุกเก่าทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือตัดกับแนวป่า บริเวณพิกัด SB 704458 ตามแนวป่าบ้านทุ่มไปทางทิศเหนือจนถึงป่าโคก ดอนเถียงนา บ้านดงยาง บริเวณพิกัด SB 104574 ไปตามถนนดินเส้นทางเข้าโคกดอนเถียงนา ไปทางทิศเหนือจนตัดกับถนนหินคลุกสายบ้านดงยาง ตำบลกู่สวนแตง - บ้านยางทะเล ตำบลหนองเยือง บริเวณพิกัด SB 103404 ไปตามถนนหินคลุกสายบ้านดงยาง – บ้านยางทะเล – โรงพยาบาลบ้านใหม่ฯ ไปทางทิศเหนือจนถึงจุดตัดกับถนนดิน บริเวณพิกัด SB 630645

เนื้อที่ ตำบลกู่สวนแตง มีพื้นที่ตำบลตามประกาศกระทรวงมหาดไทยประมาณ 18,125 ไร่ หรือ 21 ตารางกิโลเมตร เป็นเขตปกครององค์การบริหารส่วนตำบลกู่สวนแตง โดยมีเนื้อที่แยกเป็นรายหมู่บ้านดังนี้

เขตปกครอง รวม 12 หมู่บ้าน คือ

หมู่ที่ 1 บ้านกู่สวนแตง

หมู่ที่ 2 บ้านดงยาง

หมู่ที่ 3 บ้านบาก

หมู่ที่ 4 บ้านทุ่ม

หมู่ที่ 5 บ้านโนนไฮ

หมู่ที่ 6 บ้านหนองสองห้อง

หมู่ที่ 7 บ้านโคกจิกน้อย

หมู่ที่ 8 บ้านหนองเรือ

หมู่ที่ 9 บ้านประดู่

หมู่ที่ 10 บ้านน้อย

หมู่ที่ 11 บ้านนาฝาย

หมู่ที่ 12 บ้านหลุบทุ่ม

1.2 ลักษณะภูมิประเทศ

พื้นที่ตำบลกู่สวนแตงส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม รองลงมาจะเป็นที่ดอนอยู่ทางทิศเหนือของตำบล ส่วนทางทิศใต้เป็นที่ลุ่มติดกับลำสะแทด มักจะเกิดน้ำท่วมในฤดูน้ำหลาก และพบป่าทามอยู่ทั่วไป แต่มีความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างสูง

1.3 ลักษณะภูมิอากาศ

ตำบลกู่สวนแตงจัดอยู่ในพื้นที่ที่มีลักษณะภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน (Tropical monsoon climate) ซึ่งแบ่งเป็น 3 ฤดู คือ ฤดูฝนโดยปกติจะเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม โดยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดผ่านทะเลและมหาสมุทร ทำให้มีอากาศชุ่มชื้นและฝนตกชุก ส่วนฤดูหนาวจะเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ โดยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งจะพัดเอาความหนาวเย็นและความแห้งแล้งมา สำหรับฤดูร้อนจะเริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายนซึ่งจะมีอากาศร้อนอบอ้าว

1.4 ลักษณะของดิน

ทรัพยากรดินส่วนใหญ่ที่ใช้ในการเกษตรกรรมค่อนข้างจะมีปัญหาด้านความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำมีเนื้อดินเป็นดินทรายปนดินร่วน ดินร่วนปนทราย บางบริเวณยังมีข้อจำกัดของดินที่เป็นปัญหาอื่นๆอีกหลายประการ ซึ่งถ้าเกษตรกรขาดความเอาใจใส่บำรุงรักษา เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินจะทำให้ดินมีแนวโน้มเสื่อม

โทรมลงทุกปี อีกทั้งพื้นที่เกษตรกรรมส่วนใหญ่ปลูกพื้นไร่ หญ้าขึ้นได้ง่าย เกษตรกรใช้วิธีการกำจัดด้วยเคมีจึงเพิ่มปัจจัยที่จะนำมาซึ่งการเสื่อมโทรมของดิน

1.5 ลักษณะของแหล่งน้ำ

มีเนื้อที่แหล่งน้ำประมาณ 1,959 ไร่ หรือร้อยละ 7.21 ของเนื้อที่ตำบลซึ่งประกอบไปด้วยแหล่งน้ำธรรมชาติและแหล่งน้ำจัดสร้าง ส่วนแหล่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญ ได้แก่ ลำสะแทดและห้วยตะกั่ว แหล่งน้ำจัดสร้าง ได้แก่ หนองหกเหลี่ยม หนองสองห้อง หนองหลุบทุ่ม หนองเรือ หนองสระ หนองกู่ หนองนาฝาย หนองเขวา กุดแขนเสื้อ กิบแกบ หนองทุ่ม กุดน้ำใส หนองขาม หนองปลาปาก หนองหำบาด

1.6 ลักษณะของไม้และป่าไม้

พื้นที่ป่าไม้ มีเนื้อที่ประมาณ ๕๐๐ ไร่หรือร้อยละ ๒.๗๕ ของเนื้อที่ตำบลซึ่งส่วนใหญ่ประกอบไปด้วย ป่าผลัดใบสมบูรณ์

2. ด้านการเมืองการปกครอง

2.1 เขตปกครอง รวม 12 หมู่บ้าน คือ

หมู่ที่ 1 บ้านกู่สวนแตง ผู้ปกครอง นายอดุลย์เดช วิสาธร กำนันตำบล

หมู่ที่ 2 บ้านดงยาง ผู้ปกครอง นายณภัทร กลางสวัสดิ์ ผู้ใหญ่บ้าน

หมู่ที่ 3 บ้านบาก ผู้ปกครอง นายเอกพจน์ ทาไธสง ผู้ใหญ่บ้าน

หมู่ที่ 4 บ้านทุ่ม ผู้ปกครอง นายไกรสร ทวนไธสง ผู้ใหญ่บ้าน

หมู่ที่ 5 บ้านโนนไฮ ผู้ปกครอง นายวสันต์ ทิ้งไธสง ผู้ใหญ่บ้าน

หมู่ที่ 6 บ้านหนองสองห้อง ผู้ปกครอง นายชัยวัฒน์ ทัดไธสง ผู้ใหญ่บ้าน

หมู่ที่ 7 บ้านโคกจิกน้อย ผู้ปกครอง นายไพบูลย์ อรัญวัธน์ ผู้ใหญ่บ้าน

หมู่ที่ 8 บ้านหนองเรือ ผู้ปกครอง นายอังคาร เพ็งพิศ ผู้ใหญ่บ้าน

หมู่ที่ 9 บ้านประดู่ ผู้ปกครอง นายสมจิต เลียวไธสง ผู้ใหญ่บ้าน

หมู่ที่ 10 บ้านน้อย ผู้ปกครอง นายครรชิตพล เทียนไธสง ผู้ใหญ่บ้าน

หมู่ที่ 11 บ้านนาฝาย ผู้ปกครอง นายสมบูรณ์ กันหา ผู้ใหญ่บ้าน

หมู่ที่ 12 บ้านหลุบทุ่ม ผู้ปกครอง นายประยูร ศรีวงษา ผู้ใหญ่บ้าน

2.2 การเลือกตั้ง

- ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง รวมทั้งสิ้น 2,926 คน

- องค์การบริหารส่วนตำบลกู่สวนแตงจัดการเลือกตั้งโดยใช้ตำบลเป็นเขตการเลือกตั้ง หมู่บ้านเป็นหน่วยการเลือกตั้ง จัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวนหมู่บ้านละ 2 คน รวม 1๒ หมู่บ้าน 2๔ คน เป็นฝ่ายนิติบัญญัติ และประชาชนทั้งตำบลเลือกนายกองค์การบริหารส่วนตำบล 1 คน เป็นตัวแทนของประชาชนเข้ามาบริหารงานในองค์การบริหารส่วนตำบลเรียกว่าฝ่ายบริหาร สถิติและข้อมูลการเลือกตั้ง ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งนายกและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลกู่สวนแตง ครั้งล่าสุด เมื่อ

วันอาทิตย์ที่ 19 ตุลาคม 2556 เลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบล มีผู้มาใช้สิทธิ 1,985 คน คิดเป็นร้อยละ 76.84 บัตรดี 1,506 ใบ คิดเป็นร้อยละ 75.87 บัตรเสีย 341 ใบ คิดเป็นร้อยละ 17.18 บัตรไม่ประสงค์ลงคะแนน 138 ใบ คิดเป็นร้อยละ 6.95

- เลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล มีผู้มาใช้สิทธิ 1,985 คน คิดเป็นร้อยละ 85.79 บัตรดี 1,844 ใบ คิดเป็นร้อยละ 92.90 บัตรเสีย 77 ใบ คิดเป็นร้อยละ 3.88 บัตรไม่สงค์ลงคะแนน 64 ใบ คิดเป็นร้อยละ 3.22

3. ประชากร

3.1 ข้อมูลประชากร

จำนวนประชากรและความหนาแน่นประชากร จากข้อมูลของสำนักทะเบียนราษฎร์ของอำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์ จังหวัดบุรีรัมย์ เมื่อเดือนกรกาคม 2564 ของตำบลกู่สวนแตง มีจำนวนทั้งสิ้น 3,962 คน จำแนกเป็นชาย 1,973 คน หญิง 1,989 คน มีความหนาแน่นเฉลี่ย 188.52 คน ต่อตารากิโลเมตร และมีจำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น 1,043 ครัวเรือน