การฝึกประสบการณ์วิชาชีพทางรัฐประศาสนศาสตร์

จัดทำโดย



นักศึกษาสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ รุ่น 61

เกศมณี พิมพ์งาม

มธุรดา เกษร

สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์

ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ คือ การทำงานเสมือนจริง

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ เป็นกิจกรรมที่สำคัญยิ่งในกระบวนการเรียนการสอนวิชาชีพ วิชาการสาขาต่าง ๆ เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยงานต่าง ๆ มุ่งให้นักศึกษาได้ฝึกงานในลักษณะงานที่ตรงตามสาขาวิชาชีพที่ตนเองกำลังศึกษาอยู่ นักศึกษาจะได้พัฒนาความรู้ ความสามารถทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ควบคู่กันไปในสภาวะแวดล้อมที่เป็นจริง ช่วยให้นักศึกษาได้รับประสบการณ์ตรงด้วยตนเอง

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ดำเนินการไปเพื่อ

  • เพื่อให้ผู้เรียนมีโอกาสเรียนรู้และได้รับประสบการณ์ชีวิตการทำงานที่แท้จริง

  • เพื่อให้ผู้เรียนได้เตรียมความพร้อมก่อนที่จะจบออกไปทำงาน

  • เพื่อให้ผู้เรียนได้รู้จักการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมภายนอกห้องเรียน/มหาวิทยาลัย

  • เพื่อให้ผู้เรียนนำประสบการณ์ที่ได้รับจากการฝึกฯมาประยุกต์ใช้ในการทำงานต่อไป

โดยผู้เรียนจะต้อง

  • เข้ารับการปฐมนิเทศ ปัจฉิมนิเทศ และการสัมมนาทุกครั้ง

  • ต้องฝึกปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมาย เพื่อให้เกิดความรู้ ความสามารถ และสร้างเสริมประสบการณ์แก่ตนเอง

  • ต้องบันทึกการฝึกฯ ของตนเองเป็นประจำทุกวัน ลงในแบบบันทึกการฝึกฯ ประจำทุกวัน (มีรูปภาพเป็นหลักฐานในการฝึกแต่ละกิจกรรม)

  • มีความสนใจ ตั้งใจปฏิบัติงาน และมีความรับผิดชอบในหน้าที่การงานที่ได้รับมอบหมาย

  • สร้างความสัมพันธ์อันดีกับบุคลากรในหน่วยงานฝึกฯ และผู้ที่เกี่ยวข้อง

  • มีความร่วมมือที่ดีกับหน่วยงานในการฝึกฯ

  • ประพฤติตนอยู่ในระเบียบข้อบังคับของหน่วยงานฝึกฯ

  • ประพฤติตนอยู่ในระเบียบวินัยของมหาวิทยาลัย

การลงเวลาปฏิบัติงาน

  • ต้องปฏิบัติงานให้ทันตามเวลาที่หน่วยงานฝึกฯ กำหนดและไม่กลับก่อนเวลาที่หน่วยงานฝึกฯ กำหนด

  • ต้องเซ็นชื่อลงเวลามาและกลับ ในบันชีลงเวลาปฏิบัติงานตามที่สาขาวิชาฯกำหนดไว้ หรือปฏิบัติตามวิธีการลงเวลามาและกลับ ตามที่หน่วยงานที่เข้ารับการฝึกฯ กำหนดให้ปฏิบัติ

  • หากมีเหตุจำเป็นต้องลาหยุดการฝึกฯ ต้องชี้แจงเหตุผลและใช้แบบที่สาขาวิชาฯ กำหนดให้เท่านั้น

  • การแต่งกายของนักศึกษา ต้องแต่งตามระเบียบของมหาวิทยาลัยฯ หรือตามที่หน่วยงานฝึกฯ กำหนด

การเตรียมความพร้อมของนักศึกษา เพื่อแก้ไขปัญหา

  • ความรู้ด้านระบบงานสารบรรณและทักษะการใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรม Microsoft Word และ Microsoft Excel

  • ระบบงานสารบรรณและการจัดการสำนักงาน

  • ความสามารถในการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์สำนักงาน

  • ทักษะการคิดวิเคราะห์และวิธีการแก้ไขปัญหาในการทำงาน

  • ความรู้เกี่ยวกับการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ

  • การมีมนุษยสัมพันธ์กับผู้อื่น

ความสามารถในการประยุกต์หลักการ ทฤษฎี และเทคนิคต่างๆ ด้านการบริหารงานภาครัฐสู่ภาคการปฏิบัติ ประกอบด้วย

  • การบริหารงานภาครัฐแนวใหม่

  • การบริหารเชิงยุทธศาสตร์

  • เทคนิคการบริหาร

  • การบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี

  • การพัฒนาภาวะผู้นำในองค์การภาครัฐ

  • กระบวนการกลุ่มและการทำงานเป็นทีม

  • การบริหารการเงินการคลัง

  • การบริหารพัสดุ

  • การคุมคามทางเพศ

  • จริยธรรมเจ้าหน้าที่ของรัฐ

  • การบริหารงานบุคคลภาครัฐ

  • วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองและความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่

  • การทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ

  • การเมืองกับการบริหาร

  • การบริหารงานภาครัฐแนวใหม่ของไทย

การประเมินผลการฝึกฯ

ความมีระเบียบวินัย

  • ปฏิบัติตามคำสั่ง กฎ อย่างเคร่งครัด

  • แต่งกายสุภาพเรียบร้อยและถูกต้องตามระเบียบ

  • เข้ารับการฝึกงานตรงต่อเวลาและสม่ำเสมอ

  • อดทนและขยันขันแข็งในการทำงาน

  • กิริยา วาจา สุภาพอ่อนน้อม มีสัมมาคารวะ

ลักษณะพฤติกรรมในการปฏิบัติงาน

  • การเชื่อฟังคำแนะนำของหัวหน้างาน

  • การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในการทำงาน

  • เจตคติที่มีต่องานและหน่วยงาน

  • ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการปรับปรุงการทำงาน

  • ความตั้งใจและเอาใจใส่ในการทำงาน

วิธีการปฏิบัติงานและผลงาน

  • ทำงานถูกต้องตามขั้นตอน

  • ใช้เครื่องมืออุปกรณ์อย่างระมัดระวังและถูกต้อง

  • มีมนุษยสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน

  • ผลงานถูกต้องตามรูปแบบและหลักเกณฑ์

  • งานเสร็จเรียบร้อยภายในเวลากำหนด

สมุดบันทึกการฝึก

  • ความสม่ำเสมอและเป็นปัจจุบันในการปฏิบัติงาน

  • เนื้อหาสาระครบถ้วนสมบูรณ์ ชัดเจน

  • ความสะอาดและเป็นระเบียบเรียบร้อยของสมุดบันทึก

  • การระบุคุณค่าและประโยชน์ที่ได้รับมีความละเอียดและชัดเจน

  • ความละเอียดถี่ถ้วนในการบันทึกผลการปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย