การประยุกต์ใช้ทฤษฎี

การวางแผน (Plan - P) เป็นสิ่งแรกที่มีความสำคัญในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ โดยการวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันคาดการณ์ไว้ล่วงหน้า สิ่งแรกที่ควรทำ คือการจัดตารางงาน โดยการแบ่งงานและจัดลำดับความสำคัญ เพื่อให้การทำงานเป็นไปได้อย่างราบรื่น มีประสิทธิภาพ มากยิ่งขึ้น และกำหนดแนวทางที่คาดว่าน่าจะดีที่สุดโดยผ่านกระบวนการคิดก่อนทำ สามารถอธิบาย กระบวนการที่ใช้วางแผนในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ เมื่อได้รับงานที่สั่งนอกจากเจ้าหน้าที่แล้ว ข้าพเจ้าจะทวนคำสั่งว่าสิ่งที่ข้าพเจ้าเข้าใจนั้นถูกต้องหรือไม่จากนั้นจะหากระบวนการวิธีที่ดีที่สุด ในการทำงานเพื่อความรวดเร็วและลดข้อผิดพลาดโดยพิจารณาการวางแผนงานว่าเป็นงานของไคร ทำเพื่ออะไร ทำที่ไหน ทำเมื่อไหร่ และจัดลำดับความสำคัญของงาน และในการวางแผนการทำงาน นั้นมีความยืดหยุ่นได้เสมอ เพื่อให้เกิดการปฏิบัติงานได้ผล ที่สำคัญคือการฟังคำสั่งให้ชัดเจน เสียก่อนจากนั้นก็ลงมือปฏิบัติตามคำแนะนำและแผนที่ได้วางไว้

สรุปการประยุกต์ต้องความรู้จากการวางแผนได้ดังนี้

๑. การรับฟังคำแนะนำและการชี้แนะ

๒. การวางแผนให้เหมาะสมและสอดคล้องกับงาน

๓. กำหนดความรับผิดชอบ

๔. เมื่องานที่ได้รับมอบหมายมีจำนวนมาก เรียงลำดับงานก่อนหลังเพื่อเป็น

ระเบียบในการทำงาน และงานนั้น สำเร็จตามระยะเวลาที่กำหนด

๕. มีการซักถามเพื่อความแน่ใจก่อนทำงาน

การดำเนินงาน ( DO = D ) เป็นการลงมือดำเนินงานตามแผนที่เราวางไว้ การทำงาน ตามแผนก็ควรมีความยืดหยุ่น ในเชิงปฏิบัติ รับฟังคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในหน่วยงาน เนื่องจากเจ้าหน้าที่มีประสบการณ์ในการทำงานมาก่อน

สรุปการประยุกต์องความรู้จากการดำเนินงานได้ดังนี้

๑. มีการดำเนินงานตามขั้นตอน

๒. การปฏิบัติงานนั้นมีการประสานงานกับผู้ที่เกี่ยวข้องกับงาน

๓. สามารถทำงานให้เสร็จตามวันเวลาที่กำหนดการตรวจสอบ (Check -C)

การตรวจสอบ (Check = C) เป็นการประเมินว่าการทำงานเป็นไปตามแผนที่วางไว้หรือไม่ หรือมีงานที่สามารถปฏิบัติได้ตามแผน โดยมี

วิธีการตรวจสอบขั้นต้นด้วยตนเองว่ามีข้อบกพร่อง หรือเป็นไปตามแผนหรือไม่ หากมีข้อบกพร่องก็แก้ไข

ปรับปรุงในขั้นตอนต่อไป แต่หากไม่มี ก็ส่งงานให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบอีกรอบ และนำไปแก้ไขปรับปรุง

สรุปการประยุกต์องความรู้จากการตรวจสอบได้ดังนี้

๑. กำหนดวิธีการตรวจสอบ เช่น บันทึกและตรวจสอบรายละเอียดข้อมูลแต่

ละโครงการ

๒. การตรวจสอบนั้นถูกต้องเหมาะสม

๓. การทำงานนั้นเป็นไปตามแผน ดูจุดแข็ง จุดอ่อนในการทำงาน

๔. ดำเนินการแก้ไขปรับปรุง

การปรับปรุงแก้ไข (Action = A) เมื่อตรวจสอบแล้วการทำงานของเรานั้นมีปัญหาอยู่ เราต้องปรับปรุงแก้ไข เช่น การฉีกคำ สื่อสารไม่ชัดเจน การพิมพ์ดีดคำ ก็ควรทำการแก้ไขในทันที เพื่อความรวดเร็วในการทำงาน เมื่อทำการแก้ไขเสร็จก็ทำการตรวจสอบอีกรอบ แล้วสรุปปัญหา เพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนในครั้งต่อไป

สรุปการประยุกต์องค์ความรู้จากการตรวจสอบได้ดังนี้

๑. แก้ไขปัญหาและพัฒนางานที่ดีอยู่แล้ว

๒. นำผลที่ได้ส่งให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบอีกครั้ง

๓. ใช้เป็นแนวทางในการวางแผนครั้งต่อไปเพื่อยกระดับมาตรฐานให้สูงขึ้น