ทฤษฎีที่นำมาประยุกต์ใช้ในการทำงาน

ทฤษฎีการบริหารจัดการ PDCA

         จากการฝึกประสบการณ์วิชาชีพที่สำนักทะเบียนและบัตรอำเภอห้วยแถลง ได้มีการนำทฤษฎีที่ได้ ศึกษามาปรับใช้ในการทำงาน คือ ทฤษฎี PDCA จะอธิบายถึงหลักทฤษฎี ดังนี้

         PDCA เป็นแนวคิดหนึ่ง ที่ไม่ได้ให้ความสำคัญเพียงแค่การวางแผนแต่แนวคิดนี้เน้นให้การ ดำเนินงานเป็นไปอย่างมีระบบ มีเป้าหมายให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องแนวคิด PDCA ได้รับการ พัฒนาขึ้นเป็นครั้งแรกโดย Walter Shewhart ซึ่งถือเป็นผู้บุกเบิกการใช้สถิติสำหรับวงการ อุตสาหกรรมและต่อมาและต่อมาวงจร PDCA ได้เป็นที่รู้จักแพร่หลายมากขึ้น เมื่อปรมาจารย์ด้าน การบริหารคุณภาพอย่าง W. Edwards Deming ได้นำมาเผยแพร่ให้เป็นเครื่องมือสำหรับการ ปรับปรุงกระบวนการวงจรนี้จึงมีอีกชื่อหนึ่งว่า “Deming cycle”

การประยุกต์องค์ความรู้จากทฤษฎี PDCA ในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ

         การวางแผน (Plan-P) เป็นสิ่งแรกที่มีความสำคัญในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ โดยการวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันคาดการณ์ไปล่วงหน้าสิ่งแรกที่ควรทำ คือ การจัดตารางงานโดยการแบ่งงานและจัดลำดับความสำคัญเพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่น มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และการกำหนดแนวทางที่คาดว่าน่าจะดีที่สุดโดยผ่านกระบวนการคิดก่อนทำ สามารถใช้อธิบายกระบวนการวางแผนในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ เมื่อได้รับงานที่สั่งจากเจ้าหน้าที่แล้วข้าพเจ้าจะทวนคำสั่งว่าสิ่งที่ข้าพเจ้าเข้าใจนั้นถูกต้องหรือไม่ จากนั้นจะหากระบวนการวิธีที่ดีที่สุดในการทำงานเพื่อความรวดเร็วและลดข้อผิดพลาดโดยพิจารณาการวางแผนงานว่าเป็นงานของใครทำเพื่อ อะไร ทำที่ไหน ทำเมื่อไหร่ และจัดลำดับความสำคัญของงานในการวางแผนการทำงานนั้นมีความยืดหยุ่นได้เสมอเพื่อให้เกิดการปฏิบัติงานที่ได้ผลที่สำคัญคือการฟังคำสั่งที่ชัดเจนเสียก่อนจากนั้นก็ลงมือปฏิบัติตามคำแนะนำและแผนที่ได้วางไว้

         สรุปการประยุกต์องค์ความรู้จากการวางแผน ได้ดังนี้

                 1. การรับฟังคำแนะนำ และการชี้แนะ

                 2. การวางแผนให้สอดคล้องกับการทำงาน

                 3. เมื่องานที่ได้รับมอบหมายมีจำนวนมาก จำเป็นต้องเรียงลำดับก่อนหลังเพื่อให้เป็น ระเบียบต่อการทำงาน และงานนั้นเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด

                 4. มีการซักถามเพิ่มเติมเพื่อความมั่นใจก่อนทำงาน


         การดำเนินงาน (Do-D) เป็นการลงมือดำเดินงานตามแผนที่เราวางไว้ การทำงานตามแผนก็ ควรมีความยืดหยุ่นในเชิงปฏิบัติ มีการรับฟังคำสั่ง คำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในหน่วยงาน เพราะเจ้าหน้าที่มีประสบการณ์ในการทำงานมาก่อน

         สรุปการประยุกต์องค์ความรู้จากการดำเนินงาน ได้ดังนี้

                 1. มีการดำเนินงานตามขั้นตอน

                 2. การปฏิบัติงานมีการประสานงานกับผู้ที่เกี่ยวข้องกับงาน

                 3. ทำงานเสร็จตามวัน เวลาที่กำหนด


การตรวจสอบ (Check-C) เป็นการประเมินว่า การทำงานเป็นไปตามแผนที่ได้วางไว้ หรือไม่หรือมีงานที่สามารถปฏิบัติได้ตามแผน โดยมีวิธีการตรวจสอบขั้นต้นด้วยตนเองว่ามีข้อบกพร่องเป็นไปตามแผนหรือไม่หากมีข้อบกพร่องก็ปรับปรุงแก้ไขในขั้นตอนต่อไป แต่หากไม่มีก็ส่งงานให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบอีกรอบ และนำไปแก้ไขปรับปรุง

         สรุปการประยุกต์องค์ความรู้จากการตรวจสอบ ได้ดังนี้

                 1. กำหนดวิธีตรวจสอบ เช่น บันทึกและตรวจสอบรายละเอียดข้อมูล

                 2. ดำเนินการแก้ไขปรับปรุง


         การปรับปรุงแก้ไข (Action A) เมื่อตรวจสอบแล้วการทำงานของเรานั้นมีปัญหาอยู่เราต้อง ปรับปรุงแก้ไข เช่น การทำงานที่ผิดพลาด สื่อสารไม่ชัดเจน ก็ควรทำการแก้ไขในทันทีเพื่อความ รวดเร็วในการทำงาน เมื่อทำการแก้ไขเสร็จก็ทำการตรวจสอบอีกรอบแล้วสรุปปัญหาเพื่อเป็น แนวทางในการวางแผนในครั้งต่อไป

         สรุปการประยุกต์องค์ความรู้จากการปรับปรุงแก้ไข ได้ดังนี้

                 1. แก้ไขปัญหาและพัฒนางานที่ดีอยู่แล้ว

                 2. นำผลที่ได้ ส่งให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบอีกครั้ง

                 3. เป็นแนวทางในการวางแผนในครั้งต่อไป เพื่อให้ในครั้งต่อไปทำได้ดียิ่งขึ้น


ทฤษฎี SWOT

ความหมายของ SWOT การวิเคราะห์ SWOT หรือ SWOT Analysis เป็นเครื่องมือในการประเมินสถานการณ์ขององค์กร ซึ่ง จะช่วยผู้บริหารกำหนดจุดแข็งและจุดอ่อนจากสภาพแวดล้อมภายใน โอกาสและอุปสรรคจากสภาพแวดล้อม ภายนอก ตลอดจนผลกระทบที่มีศักยภาพจากปัจจัยเหล่านี้ต่อการทำงานขององค์กร หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า

SWOT Analysis หมายความถึงการวิเคราะห์และประเมินว่าองค์กรมีจุดแข็ง (Strengths) จุดอ่อน (Weakens) โอกาส (Opportunities) และอุปสรรค (Threats) อย่างไรเพื่อที่จะนำไปใช้ในการวางแผนและกำหนดกลยุทธ์ ขององค์กรต่อไป SWOT มาจากตัวย่อภาษาอังกฤษ 4 ตัวจากคำว่า Strengths Weaknesses Opportunities และ Threats โดยมีรายละเอียดอักษรย่อ ดังนี้

Strengths คือ จุดแข็ง หมายถึง ความสามารถและสถานการณ์ภายในองค์กรที่เป็นบวก ซึ่งองค์กร สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการทำงานเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์หรือหมายถึง การดำเนินงานภายในที่องค์กร ทำได้ดี

Weaknesses คือ จุดอ่อน หมายถึง สถานการณ์ภายในองค์กรที่เป็นลบและด้วยความสามารถ ซึ่งองค์กร ไม่สามารถนำมาใช้เป็นประโยชน์ในการทำงานเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์หรือหมายถึงการดำเนินงาน ภายในองค์กรที่ทำได้ไม่ดี

Opportunities คือ โอกาส หมายถึง ปัจจัยและสถานการณ์ภายนอกที่เอื้ออำนวยให้การทำงานของ องค์กรบรรลุวัตถุประสงค์หรือ หมายถึง สภาพแวดล้อมภายนอกที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินการขององค์กร

Threats คือ อุปสรรค หมายถึง ปัจจัยและสถานการณ์ภายนอกที่ขัดขวางการทำงานขององค์กรไม่ให้ บรรลุวัตถุประสงค์หรือหมายถึง สภาพแวดล้อมภายนอกที่เป็นปัญหาต่อองค์กร

 

จากการฝึกประสบการณ์ทำให้ข้าพเจ้าได้รู้จุดแข็ง จุดอ่อน และโอกาส อุปสรรค ต่างๆ ที่เกิดจากการฝึกประสบการณ์ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

S หรือ STRENGTHS จุดแข็ง  ข้าพเจ้าจึงมีความพร้อมในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครั้งนี้ และทำงานที่เจ้าหน้าที่สั่งให้ปฏิบัติด้วย ความเต็มใจ เต็มกำลังความสามารถ และพร้อมเรียนรู้งานใหม่ ๆ ตลอดเวลา

1.  สามารถปรับตัวเองให้เข้ากับงานบริการได้และกับสถานที่

2.  ตั้งใจทำงานเมื่อได้รับมอบหมาย และตรวจสอบความถูกต้องของงาน

3.  มีความกระตือรือร้นเมื่อจะต้องปฏิบัติงานแทนเจ้าหน้าที่เมื่อยามจำเป็นได้เป็นอย่างดี

4. เชื่อฟังคำแนะนำจากผู้ควบคุมดูแลการฝึกประสบการณ์และพยายามศึกษาค้นคว้า การปฏิบัติงานจากเจ้าหน้าที่อย่างสม่ำเสมอ


W หรือ WEAKNESSES จุดอ่อน การทำงานกลุ่มงานทะเบียนและบัตร ดำเนินการตาม กฎหมายว่าด้วยบัตรประจำตัวประชาชนกำกับการดูแลการปฏิบัติงานบัตรประจำตัวประชาชนของสำนักทะเบียนท้องถิ่นพัฒนาและปรับปรุงระบบการให้บริการประชาชนของอำเภอปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นหรือที่ได้รับมอบหมายซึ่งการทำงานต้องเป็นขั้นตอน รวดเร็ว และเกิดข้อผิดพลาดน้อยที่สุด เพราะเป็นการบริการประชาชนที่ต้องการทำบัตรประจำตัว ประชาชน จึงต้องทำให้ถูกต้องตามระบบเพื่อความรวดเร็ว และให้ข้องมูลที่ถูกต้องเมื่อมีข้อสงสัย

1.   ยังขาดความคล่องแคล่วเมื่อประชาชนมาจำนวนมากบางทีอาจผลิตบัตรไม่ทันทำ ให้เกิดการรอบัตรนานกว่าปกติ


O หรือ OPPORTUNITIES โอกาส ข้าพเจ้าได้เรียนรู้งานระดับอำเภอและรู้จักกับข้าราชการ พนักงานที่มีความรู้ และได้ปฏิบัติงานอย่างเต็มที่ เพราะทางที่ว่าการอำเภอห้วยแถลงนั้นมีบุคลาการที่ มีความรู้ และมีเครื่องมือที่ใช้ในสำนักงานที่ทันสมัยและพร้อมทุกอย่าง จึงทำให้งานออกมาอย่างมี ประสิทธิภาพสูงสุด

1.   มีความรู้จากการฝึกงานเพิ่มขึ้นโอกาสที่สอบเข้าทำงานระบบราชการ

2.  มีวิธีแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี  

3.  มีกระบวนการในการถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน

4.  มีโอกาสในการพูดทำให้กล้าแสดงออกกล้าตอบคำถาม เมื่อประชาชนมีข้อสงสัย


T หรือ THREATS อุปสรรค การปฏิบัติงานย่อมมีอุปสรรคทั้งนั้น ข้าพเจ้าฝึกประสบการณ์ วิชาชีพ ณ ที่ว่าการอำเภอห้วยแถลง ซึ่งเป็นหน่วยการปกครองระดับที่สองรองมาจากจังหวัดอยู่ ภายใต้สังกัดกระทรวงมหาดไทย จึงเป็นเหตุจะต้องทำงานอย่างระมัดระวัง และต้องมีความรอบคอบ ในการทำงานเพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดระหว่างการทำงาน

  1.   ความรู้และความเข้าใจในงานที่สั่งยังมีไม่มาก

2.  การติดต่อสื่อสารกับประชาชนไม่ตรงกันทำให้การทำงานเกิดความล่าช้า

3. กลุ่มงานทะเบียนมีประชาชนมาใช้บริการจำนวนมาก และ ประชาชนบางรายมาใช้บริการหลายรายการจึงทำให้ใช้เวลาในการนำเนินการล่าช้า