หลักกฎหมายปกครอง

1. ขวัญศิริ อู่พิทักษ์ 2. ปัณณวีร์ บัวชัย 3. พิชชา แก้วยศ 4. เพียงแข กิติตาล

นักศึกษาสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

1. 640112801133@bru.ac.th 2. 640112801146@bru.ac.th 3. 640112801148@bru.ac.th 4. 640112801150@bru.ac.th

23 กุมภาพันธ์ 2567

       กฎหมายปกครองเป็นสาขาหนึ่งของกฎหมายมหาชนโดยกฎหมายมหาชนนั้นเป็นกฎหมายที่รวบรวมกฎเกณฑ์ทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจรัฐหรือระหว่างนิติบุคคลในกฎหมายมหาชนกับเอกชนในขณะที่กฎหมายเอกชนนั้นเป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกัน เช่น กฎหมายแพ่ง เป็นต้น

ศาลปครอง คืออะไร

         ศาลปกครองเป็นองค์กรที่มีความเป็นมายาวนานและมีความสำคัญต่อการให้ความยุติธรรมแก่ประชาชนและเป็นกลไกสำคัญในการบริหารประเทศโดยทำหน้าที่พิจารณาข้อพิพาททางปกครองระหว่างราษฎรกับรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐด้วยกันเองซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นองค์กรที่ใช้อำนาจตุลาการได้อย่างมีประสิทธิภาพในการให้ความเป็นธรรมแก่ประชาชนโดยเฉพาะประเทศในแถบภาคพื้นยุโรปที่ถือว่าเป็นประเทศต้นกำเนิดรูปแบบของการพิจารณาคดีปกครองด้วยระบบศาล

ศาลปกครองมีนักวิชาการให้ความหมายไว้โดยสรุปดังนี้

 รติกร เจือกโว้น (2559 : 41) การพิจารณาวินิจฉัยคดีปกครองในประเทศไทย เริ่มมีตั้งแต่อดีตเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน แต่ในสมัยแรก อำนาจในการพิจารณาวินิจฉัยคดีปกครองรวมอยู่ที่พระมหากษัตริย์และฝ่ายปกครองต่อมาได้เปลี่ยนมาอยู่ที่ฝ่ายตุลาการหรือศาลยุติธรรมเป็นหลักแต่ในขณะนั้นรูปแบบของศาลไทยยังอยู่ในระบบศาลเดี่ยวคือมีศาลยุติธรรมเป็นองค์กรหลักทำหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวง รวมถึงคดีปกครองด้วย ภายหลังนักกฎหมายและนักการเมืองต่างมีแนวความคิดว่าคดีปกครองเป็นคดีที่มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากคดีทั่วไปจึงได้เสนอแนวคิดให้มีการจัดตั้งศาลปกครองขึ้น แนวคิดดังกล่าวมีการพัฒนาอย่างชัดเจนมาตั้งแต่ช่วงปีพ.ศ. 2475 โดยได้มีการจัดตั้งกรรมการร่างกฎหมายตามพระราชบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. 2476 และกรรมการเรื่องราวร้องทุกข์ตามพระราชบัญญัติเรื่องราวร้องทุกข์ พ.ศ. 2492 ขึ้นเพื่อเป็นที่ปรึกษากฎหมายและเป็นองค์กรชี้ขาดข้อพิพาททางปกครองแต่ในการดำเนินงานก็ยังประสบกับปัญหาทำให้ไม่สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพภายหลังจึงได้มีการตราพระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. 2522 และจัดตั้งคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ควบคู่กับคณะกรรมการร่างกฎหมายเพื่อทำหน้าที่วินิจฉัยข้อพิพาททางปกครอง แม้ว่าจะมีความพยายามในการจัดตั้งศาลปกครองเรื่อยมาแต่การจัดตั้งศาลปกครองก็ยังไม่เกิดผลสำเร็จ จนกระทั่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช2540 ด้มีบทบัญญัติให้จัดตั้งศาลปกครองขึ้นโดยกำหนดระยะเวลาการจัดตั้งศาลปกครองให้แล้วเสร็จภายในสองปีนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญและได้บัญญัติรายละเอียดเกี่ยวกับศาลปกครองไว้ด้วยผลก็คือได้มีการตราพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองพ.ศ. 2542 และรูปแบบของศาลไทยจึงเปลี่ยนเป็นระบบศาลคู่ซึ่งศาลปกครองจะแยกต่างหากและเป็นอิสระจากระบบศาลยุติธรรมอย่างเด็ดขาดนับแต่นั้นมา

      บวรศักดิ์ อุวรรณ (2558 : 20) อธิบายว่าไว้กฎหมายปกครองเป็นกฎหมายที่กำหนดสถานะและความสัมพันธ์ ระหว่างองค์กรของรัฐฝ่ายปกครองด้วยกันและความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรของฝ่ายปกครองกับประชาชน

อริยพร โพธิใส (2557 : 133) ให้ความหมายของศาลปกครองว่าศาลปกครอง คือ ศาลที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มีอำนาจหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีปกครอง ซึ่งเป็นคดีพิพาทระหว่างหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชนหรือคดีพิพาทระหว่างหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกันเองอันเนื่องมาจากการใช้อำนาจทางปกครองการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ การปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร การกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือเป็นคดีพิพาทอันเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง

กล่าวโดยสรุปศาลปกครองคือ องค์กรที่ใช้อำนาจตุลาการเช่นเดียวกับศาลยุติธรรมแต่จะทำหน้าที่พิจารณพิพากษาหรือมีคำสั่งในคดีที่เรียกว่า คดีปกครอง ศาลปกครองนั้นจะมีอำนาจหน้าที่ในการวินิจฉัยชี้ขาดคดีพิพาทที่เกิดระหว่างหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชนหรือระหว่างหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกันเอง

หน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐใดบ้างที่อาจถูกฟ้องคดีต่อศาลปกครอง

      หน่วยงานทางปกครอง” หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ราชการส่วนภูมิภาคราชการส่วนท้องถิ่นรัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ และให้ความหมายรวมถึงหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครองหรือให้ดำเนินกิจการทางปกครอง

       หน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐใดบ้างที่อาจถูกฟ้องคดีต่อศาลปกครองมีนักวิชาการให้ความหมายโดยสรุปไว้ดังนี้

       ณัฐกฤช มุสิกะโสภณ(2558 : 187) ในอดีตการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีของศาลในประเทศไทยใช้ระบบศาลเดี่ยวคือ ระบบที่ให้ศาลยุติธรรมมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาททุกประเภท ต่อมาในปี พ.ศ. 2540 ได้มีการปฏิรูปการเมืองโดยคณะกรรมการปฏิรูปการเมืองและคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ขึ้นและได้มีการปรับปรุงระบบศาลไทยจากระบบศาลเดี่ยวมาเป็นระบบศาลคู่ คือ ระบบที่ให้ศาลยุติธรรมมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทเฉพาะคดีแพ่งและคดีอาญาเท่านั้น ส่วนคดีปกครองแยกให้ศาลปกครองเป็นศาลที่มีอำนาจในการวินิจฉัยคดีดังกล่าว เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างประโยชน์สาธารณะกับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนและเพื่อแยกระบบของผู้พิพากษาและแยกองค์กรศาลปกครองออกจากระบบศาลยุติธรรมจึงมีการตราพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ขึ้น พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ได้ให้นิยาม “หน่วยงานทางปกครอง” หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ และให้ความหมายรวมถึงหน่วยงาน ที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครองหรือให้ดำเนินกิจการทางปกครอง

       ชาญชัย แสวงศักดิ์ (2564 : 197) โดยได้อธิบบายไว้ว่าปกติการฟ้องคดีปกครองต่อศาลปกครองจะไม่มีหลักเกณฑ์ ที่ชับช้อนให้เป็น ภาระแก่ประชาชนผู้ประสงค์จะฟ้องคดี และการดำเนินคดีในศาลปกครองก็ค่อนข้างยืดหยุ่น เพื่อให้การแสวงหาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐาน มีความถูกต้องและครบถ้วนที่สุดแต่อย่างไรก็ตามในทางปฏิบัติมีปัญหาที่มักเกิดขึ้นและทำให้การฟ้องคดีและการดำเนินคดีในศาลปกครอง ล่าช้าเป็นที่เสียหายแก่ผู้ฟ้องคดีอยู่หลายประการ ซึ่งผู้ฟ้องคดีควรระมัดระวัง

       อักขราทร จุฬารัตน (2560 : 81) ได้กล่าวไว้ดังนี้

(1).หน่วยราชการที่เป็นราชการส่วนกลางได้แก่กระทรวง ทบวง  กรม

(2).หน่วยราชการที่เป็นราชการส่วนภูมิภาค ได้แก่ จังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน

(3).องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ได้แก่ เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล องค์การบริหารส่วนจังหวัด กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา

(4).รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติ เช่น การรถไฟแห่งประเทศไทย การประปานครหลวง หรือรัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกา เช่น องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ แต่ไม่รวมถึงรัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นในรูปของบริษัทหรือบริษัทมหาชนจำกัด เช่น บริษัทการบินไทยจำกัด (มหาชน) ฯลฯ

(5).หน่วยงานของรัฐที่มิได้เป็นส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจหรือที่เรียกกันว่าองค์การมหาชน  เช่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ฯลฯ

(6).หน่วยงานเอกชนที่ได้รับมอบหมายจากรัฐให้ใช้อำนาจทางปกครองหรือให้ดำเนินกิจการทางปกครอง  เช่น แพทยสภา สภาทนายความ สำนักงานช่างรังวัดเอกชน ฯลฯ

(7).หน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญ  เช่น สำนักงานศาลปกครอง สำนักงานศาลยุติธรรมยุติ ฯลฯ

เจ้าหน้าที่ที่อาจถูกฟ้องคดีต่อศาลปกครองมีดังนี้

ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีพิพาทระหว่างเอกชนกับเจ้าหน้าที่ของรัฐในกรณีที่เป็นข้อพิพาททางปกครอง  ดังนั้น เจ้าหน้าที่ของรัฐที่อาจถูกฟ้องคดีต่อศาลปกครองได้นั้นมีอยู่ 9 ประเภท ดังนี้

(1) ผู้บริหารหรือข้าราชการในกระทรวง ทบวง กรม เช่น รัฐมนตรีปลัดกระทรวง อธิบดี ผู้อำนวยการกอง ฯลฯ

(2) ผู้บริหารหรือข้าราชการในจังหวัด  อำเภอ เช่น ผู้ว่าราชการจังหวัด ราชพัสดุจังหวัด นายอำเภอ ฯลฯ

(3) ผู้บริหารหรือพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  เช่น นายกเทศมนตรี ปลัดองค์การบริหารส่วน ตำบล อำนวยการเขตต่างๆของกรุงเทพมหานคร ฯลฯ

(4) ผู้บริหารหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ  เช่น ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย ฯลฯ

(5) ผู้บริหารหรือพนักงานขององค์การมหาชน  เช่น ผู้อำนวยการองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ผู้อำนวยการโรงพยาบาลบ้านแพ้ว ฯลฯ

(6) ผู้บริหารหรือเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานเอกชนที่ได้รับมอบหมายจากรัฐให้ใช้อำนาจทางปกครองหรือให้ดำเนินกิจการทางปกครอง เช่น นายกสภาทนายความ ฯลฯ

(7) ผู้บริหารหรือเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญ เช่น เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม ฯลฯ

(8) คณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาทหรือคณะกรรมการที่มีกฎหมายให้อำนาจในการออกกฎ  คำสั่งหรือมติใดใดที่มีผลกระทบต่อบุคคล เช่น คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามกฏหมายต่างๆ คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการ สภามหาวิทยาลัย สภาท้องถิ่น คณะกรรมการสรรหากรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ เป็นต้น

(9) บุคคลที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแลของหน่วยงานทางปกครองหรือ เจ้าหน้าที่ของรัฐดังกล่าวข้างต้น เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เจ้าหน้าที่ของเอกชนที่ได้รับมอบหมายให้จัดทำบริการสาธารณะ เป็นต้น

กล่าวโดยสรุป หน่วยงานทางปกครองที่อาจถูกฟ้องคดีต่อศาลปกครองได้ ได้แก่ กระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ และให้ความหมายรวมถึงหน่วยงาน ที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครองหรือให้ดำเนินกิจการทางปกครอง

คดีปกครองประเภทใดที่อาจฟ้องต่อศาลปกครองได้

   การฟ้องคดีปกครองได้บัญญัติหลักเกณฑ์วิธีการไว้ใน พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 และอีกส่วนหนึ่งกำหนดไว้ในระเบียบของที่ประชุมใหญ่ ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2543

คดีปกครองคือ คดีที่เป็นข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชน หรือข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานทางการปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกันเอง ดังต่อไปนี้ 

ธีรพรรณ ใจมั่น (2559 : 241) ได้อธิบายไว้ว่าคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางการปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐออกกฎ คำสั่ง หรือการกระทำอื่นใดโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เช่น กรณีผู้ฟ้องคดีเห็นว่าพนักงาน ดังนี้

1. ท้องถิ่นปฏิเสธไม่ออกใบอนุญาตก่อสร้างโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือกรณีผู้ฟ้องคดีเห็นว่าผู้บังคับบัญชามีคำสั่งลงโทษทางวินัยโดยไม่เป็นธรรม เป็นต้น

2. คดีพิพาทเกี่ยวกับหน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามกฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร เช่น กรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นละเลยต่อหน้าที่ไม่ตรวจตรา และออกคำสั่งให้เจ้าของอาคารรื้อถอนที่ก่อสร้าง หรือต่อเติมไม่ได้รับอนุญาต กรณีเจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการออกโฉนดที่ดินล่าช้าเกินสมควร เป็นต้น

3.คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิด หรือความรับผิดชอบอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ อันเกิดจากการใช้อำนาจล่าช้าเกินสมควร เช่น การที่เจ้าพนักงานที่ดินออกคำสั่งเพิกถอนโฉนดที่ดินโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทำให้ผู้ฟ้องคดีได้รับเสียหาย และผู้ฟ้องคดีเรียกค่าเสียหายดังกล่าว หรือการฟ้องเรียกคำทดแทนการเวนคืน หรือการรอนสิทธิจากการวางท่อประปา หรือเสาไฟฟ้าแรงสูงเป็นต้น

4.คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง เช่น ข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาจ้างเอกชน ก่อสร้างถนน อาคาร เรียน หรือข้อพิพาทเกี่ยวกับการเรียกเก็บค่าสัมปทานตามสัญญาสัมปทานทำไม้ป่าชายเลน หรือสัญญาที่หน่วยงานทางปกครองทำกับข้าราชการที่ได้รับอนุญาตให้ลาศึกษาต่อเป็นต้น

5.คดีที่มีกฎหมายกำหนดให้หน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าของรัฐต้องฟ้องคดีต่อศาลเพื่อบังคับให้บุคคลกระทำการหรือละเว้นการกระทำ

6.คดีที่กฎหมายกำหนดให้อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง เช่น กรณีที่ฟ้องขอให้เพิกถอนคำชี้ขาด หรือบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง เป็นต้น

อมร จันทรสมบูรณ์ (2559 : 690-691) ได้อธิบายโดยสรุปไว้ ดังนี้

1. ผู้ฟ้องคดี ต้องเป็นผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย หรืออาจจะเตือดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้จากการกระทำหรือการงดเว้นการกระทำของทางราชการ หรือเป็นผู้ที่มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสัญญา

2. ระยะเวลาการฟ้องคดี ต้องฟ้องภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ซึ่งโดยหลัก คือ ภายใน 90 วันนับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการฟ้องคดี

3. คำฟ้อง ไม่มีแบบฟอร์มบังคับโดยเฉพาะ เพียงแต่มีเงื่อนไขว่าต้องใช้ถ้อยคำสุภาพและต้องมีเนื้อหาสาระให้เข้าใจได้ว่าเป็นคำฟ้อง ซึ่งประกอบด้วยชื่อและที่อยู่ของผู้ฟืองคดีและของหน่วยงานที่เป็นเหตุแห่งการฟ้องคดี

4. การขอให้มีการแก้ไขเยียวยาในเบื้องต้นก่อนนำเรื่องมาฟ้องศาลปกครอง หากในเรื่องที่จะฟ้องคดีนั้นมีกฎหมายกำหนดให้ต้องดำเนินการอย่างใดเพื่อแก้ไขความเดือดร้อนหรือเสียหายนั้นเสียก่อน ผู้ฟ้องคดีก็ต้องดำเนินการเช่นนั้นให้เสร็จสิ้นแล้วจึงจะมีสิทธิมาฟ้องคดีต่อศาลได้

ชาญชัย แสวงศักดิ์(2565 : 89) กล่าวไว้ว่า คดีปกครองที่อาจฟ้องต่อศาลปกครองได้มีอยู่ 6 ประเภทดังต่อไปนี้

 (1) คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ  ออกกฎ คำสั่งทางปกครอง

หรือใช้อำนาจกระทำการทางปกครองโดยชอบด้วยกฎหมาย

(2) คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ  ละเลยหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร

(3) คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ

(4) คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง

(5) คดีที่มีกฎหมายกำหนดให้หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐต้องฟ้องคดีต่อศาลเพื่อบังคับให้บุคคลกระทำการหรือละเว้นกระทำการ หกคดีที่มีกฎหมายกำหนดให้อยู่ในเขตอำนาจศาลปกครอง

กล่าวโดยสรุป คดีที่จะฟ้องต่อศาลปกครองได้นั้นกรณีนี้เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือหน่วยงานทางปกครองละเลยต่อหน้าที่ หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควรเจ้าหน้าที่ หรือหน่วยงานกระทำละเมิดต่อบุคคลอื่นคดีเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองคดีที่กฎหมายกำหนดให้หน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ทางปกครอง มาฟ้องคดีต่อศาลปกครองคดีที่เกี่ยวกับเรื่องที่กฎหมายกำหนดให้อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง

คดีปกครองใดที่ไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง

       มีคดี 3 ประเภทที่กฎหมายบัญญัติมิให้อยู่ในอำนาจของศาลปกครองได้แก่ การดำเนินการเกี่ยวกับวินัยทหาร การดำเนินการของคณะกรรมการตุลาการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ และคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลชำนัญพิเศษสังกัดศาลยุติธรรม ได้แก่ ศาลเยาวชนและครอบครัว ศาลแรงงาน ศาลภาษีอากร ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ศาลล้มละลาย หรือศาลชำนัญพิเศษอื่น อนึ่ง การฟ้องคดีตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (1) หรือมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (2) พร้อมกับเรียกค่าเสียหายฐานละเมิดตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (3) ไปด้วย ย่อมทำได้ ในกรณีเช่นนี้ศาลจะมีอำนาจพิพากษาทั้งตามมาตรา 72 วรรคหนึ่ง (1) หรือมาตรา 72 วรรคหนึ่ง (2) และมาตรา 72 วรรคหนึ่ง (3)

คดีปกครองใดที่ไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครองมีนักวิชาการให้ความหมายไว้ดังนี้

       รติกร เจือกโว้น (2559 : 163-165) ได้กว่าวถึงคดีประเภทใดที่ไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครองประเภท ของคดีที่ไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครองคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลชำนัญพิเศษ ได้แก่ ศาลเยาวชนและครอบครัว ศาลแรงงาน ศาลภาษีอากร ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ศาลล้มละลายหรือศาลชำนัญ พิเศษอื่น ผู้ฟ้องคดีต้องยื่นฟ้องต่อศาลชำนัญพิเศษนั้น ๆ จะไปยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองไม่ได้

       ชาญชัย แสวงศักดิ์ (2558 : 81) กล่าวไว้ว่า คดีที่ ไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครองนั้น ได้แก่ คดี 6 ประเภทดังต่อไปนี้

(1) คดีที่มีคู่กรณีเป็นหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งมีลักษณะเป็นคดีปกครอง แต่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง บัญญัติยกเว้นไว้ ไม่ให้อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง ซึ่งมีอยู่ 3 ประเภท คือ

(ก) การดำเนินการเกี่ยวกับวินัยทหาร ไม่ว่าจะเป็นการลงทันแก่ผู้กระทำผิดต่อวินัยทหาร หรือเป็นการดำเนินการทางวินัยอย่างอื่น ไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง เพราะพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง บัญญัติยกเว้นไว้

(ข) การดำเนินการของคณะกรรมการตุลาการตามกฏหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ ซึ่งมิใช่เป็นการพิจารณาพิจารณาพิพากษาคดี แต่เป็นการบริหารงานบุคคลของผู้พิพากษาศาลยุติธรรม เช่น การแต่งตั้งโยกย้าย การเลื่อนตำแหน่ง การลงโทษทางวินัย ซึ่งแม้จะมีลักษณะการใช้อำนาจทางปกครอง แต่ก็ไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง เพราะพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองบัญญัติยกเว้นไว้

(ค) คดีที่อยู่ในอำนาจของศาลชำนัญ พิเศษต่างๆที่อยู่ในระบบศาลยุติธรรมซึ่งได้จัดตั้งขึ้น ก่อนที่จะมีการจัดตั้งศาลปกครอง ได้แก่

- คดีที่อยู่ในอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัว

- คดีที่อยู่ในอำนาจของศาลแรงงาน เช่น คดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานหรือตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างงานของพนักงานรัฐวิสาหกิจ การลงโทษทางวินัยแก่พนักงานรัฐวิสาหกิจ ฯลฯ

- คดีที่อยู่ในอำนาจของศาลภาษีอากร เช่น การโต้แย้งคำสั่งเกี่ยวกับการประเมิน การขอคืนค่าภาษีอากร ฯลฯ

- คดีที่อยู่ในอำนาจของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ เช่น คดีพิพาทเกี่ยวกับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ฯลฯ

- คดีที่อยู่ในอำนาจของศาลล้มละลาย เช่น การโต้แย้งการดำเนินการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ฯลฯ

(2) คดีที่มีกฎหมายตัดอำนาจศาลปกครองไว้โดยเฉพาะ เช่น พระราชกำหนด บริษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ. 2544 บัญญัติว่า มิให้นำกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองมาใช้บังคับแก่การดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของบริษัทบริหารสินทรัพย์ไทยและการออกระเบียบหรือข้อบังคับคำสั่ง คำวินิจฉัยการอนุญาต และการกระทำอื่นใดของคณะกรรมการ และคณะกรรมการการบริหารอันเกี่ยวกับเกี่ยวกับการบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพตามพระราชกำหนดนี้

(3) คดีที่คู่กรณีมิใช่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ

(4) คดีที่คู่กรณีเป็นหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐแต่การกระทำที่พิพาทดังกล่าวเป็นการกระทำส่วนตัวมิใช่เป็นการปฎิบัติหน้าที่หรือคดีที่พิพาทมิใช่คดีปกครอง

(5) คดีที่ มิใช่คดีปกครอง เช่น คดีแพ่ง คดีอาญา ซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรมหรือการดำเนินกระบวนกระบวนการยุติธรรมทางอาญา

(6) คดีฟ้องขอให้ศาลปกครองลงโทษทางวินัยหรือลงโทษทางอาญาแก่ เจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งการลงโทษทางวินัยเป็นเรื่องที่อยู่ในอำนาจของผู้บังคับบัญชาหรือการลงโทษทางอาญาเป็นอำนาจของศาลยุติธรรม ไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง

       ศรุต นิติรัช (2563 : ออนไลน์ ) กว่าว่าเงื่อนไขการฟ้องคดีปกครองประกอบไปด้วย 6 เงื่อนไขหลัก ๆ

1. เงื่อนไขเกี่ยวกับผู้มีสิทธิฟ้องคดี และความสามารถของผู้ฟ้องคดี ตามมาตรา 42 ผู้ที่ได้รับความเดือนร้อนหรือเสียหาย หรืออาจจะเดือดร้อน หรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเสี่ยงได้ อันเนื่องมาจาก

2. เงื่อนไขเกี่ยวกับคำขอในคำฟ้องให้ศาลมีคำบังคับ เพื่อแก้ไขความเดือนร้อนเสียหาย ตามมาตรา 72

3. เงื่อนไขเกี่ยวกับการเยียวยา แก้ไขความเดือดร้อนเสียหายแก่ผู้ฟ้องคดี

4. เงื่อนไขเกี่ยวกับคำฟ้องและเอกสารที่ยื่นต่อศาล (เป็นเรื่องของเสมียน)

5. เงื่อนไขเกี่ยวกับระยะเวลาในการฟ้องคดี

6. เงื่อนไขเกี่ยวกับข้อห้ามในการฟ้องคดีต่อศาลปกครอง มี 4 กรณี ศาลปกครองจะไม่รับฟ้องไว้พิจารณา ได้แก่ ฟ้องช้ำ ฟ้องช้อน ดำเนินกระบวนพิจารณาช้ำ และการห้ามฟ้องเจ้าหน้าที่ทำละเมินในการปฏิบัติหน้าที่ ตาม ม.5 แห่งความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539

กล่าวโยสรุป การจำแนกประเภทของคดีปกครองของแต่ละประเทศนั้นมีความแตกต่างกัน แยกได้ดังนี้ คือ แยกตามเนื้อหาของกรณี พิพาท เช่น กรณีของระบบกฎหมายไทย ตามมาตราหกวรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองพ.ศ. 2542 และแยกโดยพิจารณาจากคำขอของผู้ฟ้องคดี เป็นสำคัญ เช่น กรณีของกฎหมายเยอรมันและกฎหมายฝรั่งเศส

ฟ้องคดีต่อศาลปกครองต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขใดบ้าง

       ต้องเป็นผู้เดือดร้อนเสียหายหรืออาจเดือดร้อนหรือเสียหายโดยไม่อาจหลีกเลี่ยงได้อันเนื่องจากการกระทำหรืองดเว้นการกระทำของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง กล่าวคือ ในคดีที่ฟ้องเพิกถอนกฎหรือคำสั่ง หรือคดีละเลยล่าช้าตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (1) และ (2) ใช้หลักผู้เสียหายอย่างกว้าง คือเพียงแต่ได้รับความกระทบกระเทือนจากการกระทำนั้น ส่วนคดีละเมิด หรือคดีสัญญาทางปกครองตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (3) และ (4) ใช้หลักผู้เสียหายอย่างแคบ คือต้องเป็นคู่สัญญาหรือผู้ถูกกระทำละเมิดโดยตรงสำหรับคดีสัญญา นอกจากเป็นคู่สัญญาแล้วยังต้องถูกโต้แย้งสิทธิแล้วเท่านั้น

 ฟ้องคดีต่อศาลปกครองต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขใดบ้างนักวิชาการได้ให้ความหมายไว้ดังนี้

ณัฐกฤช มุสิกะโสภณ (2558 : 91) ได้กล่าวอธิบายไว้เป็นข้อ ๆ ดังนี้

       1. ผู้มีสิทธิฟ้องคดีปกครอง

2. ต้องดำเนินการแก้ไขความเดือดร้อนเสียหายก่อนจะนำคดีมาฟ้อง (กรณีมีกฎหมายกำหนดขั้นตอนหรือวิธีการแก้ไขความเดือดร้อนเสียหาย)

3. ผู้ฟ้องคดีต้องจัดทำคำฟ้องตามที่กฎหมายกำหนด คำขอท้ายฟ้องต้องระบุให้ชัด คำขอนั้นต้องเป็นเรื่องที่กฎหมายให้อำนาจศาลสั่งได้ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 72 ได้แก่

- สั่งให้เพิกถอนคำสั่ง

- สั่งให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามหน้าที่ภายในเวลาที่ศาลปกครองกำหนด

- สั่งให้ใช้เงิน (เช่น ให้ชำระค่าสินไหมทดแทนจำนวนหนึ่งให้แก่ผู้เสียหายเพื่อการละเมิดหรือให้ชำระค่าทดแทนแก่ผู้ที่ถูกเวนคืนที่ดิน)

       ทศพล ศิริสัมพัน์ (2565 : 78) ในการดำเนินคดีปกครองของศาลปกครองนั้น เป็นการแสวงหาข้อเท็จจริง และพยานหลักฐานที่เป็นเอกสารเสียเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นในระหว่างการดำเนินคดีปกครอง การติดต่อสื่อสารกัน 11 ทางไปรษณีย์จึงเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งเท่าที่ผ่านมา สำนักงานศาลปกครองพบว่ามีปัญหาเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสาร ระหว่างศาลกับคู่กรณีหรือบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องอยู่หลายประการ ดังนี้ 3.1 ผู้ฟ้องคดี ผู้ถูกฟ้องคดี หรือบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องมีหนังสือติดต่อถึงศาลปกครองหรือส่งเอกสารถึงศาล ปกครองโดยไม่ได้แจ้งหมายเลขคดีมาด้วย จึงทำให้สำนักงานศาลปกครองในฐานะผู้รับเรื่องไม่ทราบว่าหนังสือหรือ เอกสารดังกล่าวนั้น เป็นส่วนหนึ่งของคดีหมายเลขที่เท่าใด ซึ่งทำให้ไม่สามารถเสนอหนังสือหรือเอกสารนั้นให้แก่ ตุลาการ เจ้าของสำนวนเพื่อสั่งการใดๆ ได้ในทันที เพราะต้องใช้เวลาและบุคลากรในการตรวจ สอบอีกมาก ดังนั้น จึงเป็นเหตุให้คดีปกครองคดีนั้นล่าช้า 3.2 ผู้ฟ้องคดี ผู้ถูกฟ้องคดี หรือบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องมีหนังสือตอบหมายหรือคำสั่งของตุลาการเจ้าของ สำนวน โดยจ่าหน้าของถึงชื่อของตุลาการเจ้าของสำนวนผู้นั้นโดยตรง 3.3 ผู้ฟ้องคดี ผู้ถูกฟ้องคดี หรือบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องได้ย้ายที่อยู่หรือที่ตั้งสำนักงาน แต่ไม่ได้มีหนังสือแจ้ง ให้สำนักงานศาลปกครองทราบ กรณีเช่นนี้ย่อมทำให้สำนักงานศาลปกครองไม่อาจดำเนินการติดต่อส่งหมายหรือ คำสั่งของศาลให้ได้ จึงอาจทำให้คดีปกครองคดีนั้นล่าช้าหรือเสียหายได้ กล่าวโดยสรุป จากที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น จะเห็นได้ว่าหากผู้ฟ้องคดีผู้ถูกฟ้องคดีหรือบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง มีความเข้าใจและระมัดระวังในเรื่องต่างๆดังที่ได้กล่าวมาแล้วศาลปกครองก็จะสามารถอำนวยความยุติธรรมให้แก่ผู้ ฟ้องคดีและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

       ชูชัย งามวสุลักษณ์ (2564 : 28 – 29) ได้กล่าวไว้ ดังนี้

                 1. พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539

                 2. พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540

                 3. พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539

                 4. พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542

       กล่าวโดยสรุป การฟ้องคดีต่อศาลปกครองต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข คือ เป็นผู้มีสิทธิ์ฟ้องคดีต่อศาลปกครอง ได้ดำเนินการแก้ไขความเดือดร้อนหรือเสียหายตามขั้นตอนหรือวิธีการที่กฎหมายกำหนดแล้วจัดทำคำฟ้องตามที่กฎหมายกำหนด ยื่นคำฟ้องภายในระยะเวลาที่กำหนด

ฟ้องคดีต่อศาลปกครองต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลหรือไม่ 

     การฟ้องคดีปกครองต่อศาลปกครองไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล แต่หากเป็น การฟ้องคดีเพื่อขอให้ศาลปกครองมีคําพิพากษาหรือคําสั่งให้หน่วยงานทางปกครองใช้เงินอันสืบเนื่องจาก คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทําละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐการใช้อํานาจตามกฎหมาย หรือจากกฎ คําส่ังทางปกครอง หรือคําส่ังอื่นหรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามท่ีกฎหมายกําหนดหรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควรหรือคดีพิพาทเก่ียวกับสัญญาทางปกครองคู่กรณีต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลตามทุนทรัพย์

ฟ้องคดีต่อศาลปกครองต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลหรือไม่นักวิชาการได้ให้ความหมายไว้ดังนี้

“การเสียค่าธรรมเนียมศาล” ก็ถือเป็นเงื่อนไขการฟ้องคดีปกครองที่สําคัญซึ่งผู้ฟ้องคดี มีภาระหน้าท่ีต้องปฏิบัติเช่นเดียวกัน ส่วนจะมีหลักเกณฑ์อย่างไรนั้น และพระราชบัญญัติจัดต้ังศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้บัญญัติเกี่ยวกับกระบวนการท่ีจะอํานวยความสะดวกในการ เข้าถึงกระบวนการยุติธรรมทางปกครองหรือไม่ อย่างไร บทความนี้จะทําให้ท่านรู้และเข้าใจ และฟ้องคดี ต่อศาลปกครองได้อย่างถูกต้อง

       ชาญชัย แสวงศักดิ์ (2560 : 178) กล่าวไว้ดังนี้ การฟ้องคดีปกครองนั้น กฎหมายวางหลักไว้ว่า ผู้ฟ้องคดีไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล เช่น ฟ้องคดีขอให้ศาลสั่งเพิกถอนกฎหรือคำสั่งทางปกครองที่ชอบด้วยกฎหมาย ฟ้องคดีขอให้สั่งห้ามการกระทำทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ฟ้องคดีขอให้ศาลสั่งให้หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐปฎิบัติหน้าที่ที่กฎหมายกำหนด ผู้ฟ้องคดีไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลแต่อย่างใด แต่ถ้าเป็นการฟ้องคดีขอให้ศาลสั่งให้มีการใช้เงินหรือส่งมอบทรัพย์สินอันสืบเนื่องจากคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง จะต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล ในอัตราร้อยละ 2.5 ของทุนทรัพย์ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท โดยให้ชำระเป็นเงินสดหรือเป็นแคชเชียร์เช็ค ตั๋วแลกเงินธนาคาร หรือดราฟธนาคาร โดยสั่งจ่ายในนาม “ เงินค่าธรรมเนียมและเงินค่าปรับของสำนักงานศาลปกครอง… (ระบุชื่อสำนักงานศาลปกครองที่ไปยื่นฟ้อง เช่น สำนักงานศาลปกครองกลาง สำนักงานศาลปกครองเชียงใหม่ )

ฐิติพร ป่านไหม (2559 : 56) การเสียค่าธรรมเนียมศาล ก็ถือเป็นเงื่อนไขการฟ้องคดีปกครองที่สำคัญซึ่งผู้ฟ้องคดี มีภาระหน้าที่ต้องปฏิบัติเช่นเดียวกัน ส่วนจะมีหลักเกณฑ์อย่างไรนั้น และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง ได้บัญญัติเกี่ยวกับกระบวนการที่จะอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมทางปกครองหรือไม่ อย่างไร บทความนี้จะทำให้ท่านรู้และเข้าใจและฟ้องคดีต่อศาลปกครองได้อย่างถูกต้องโดยปกติการฟ้องคดีปกครองต่อศาลปกครองไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล แต่หากเป็นการฟ้องคดีเพื่อขอให้ศาลปกครองมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้หน่วยงานทางปกครองใช้เงินอันสืบเนื่องจากคดีพิพาท อันเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่รัฐ อันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย หรือจากกฎ คำสั่งทางปกครอง หรือคำสั่งอื่นหรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่ กฎหมายกำหนดหรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควรหรือคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาปกครองตาม มาตรา 9 วรรค (1) (3) และ (4) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง คู่กรณีต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลตามทุนทรัพย์ในอัตราร้อยละ 2.5 ของทุนทรัพย์แต่ไม่เกิน 200,000 บาท

       มยุรา อินสมตัว (2563 : 64) อธิบายการเสียค่าทำเนียมศาลไว้ว่า กรณีเรื่องค่าธรรมเนียมศาลโดยการฟ้องคดีปกครองกฎหมายมีได้กำหนดให้ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลเว้นแต่เป็นการฟ้องคดีเพื่อขอให้สั่งให้ใช้เงินหรือส่งมอบทรัพย์สินอันสืบเนื่องจากคดีพิพาทตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (3) หรือ (4) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ผู้ฟ้องคดีจะต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลตามทุนทรัพย์ที่ระบุไว้ในตาราง 1 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง สำหรับคดีที่มีคำขอให้ศาลปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณราคาเป็นเงินได้การชำระค่าธรรมเนียมศาลให้ครบถ้วนหรือการขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลทั้งหมดหรือบางส่วนและกรณีที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ดำเนินคดีโดยยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลทั้งหมดหรือ บางส่วนจึงเป็นงื่อนไขสำคัญในการฟ้องคดีต่อศาลปกครอง และเป็นเหตุอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่ศาลยกขึ้นพิจารณาไม่รับคำฟ้องได้ในกรณีที่ผู้ ฟ้องคดีหรือผู้ ถูกฟ้องคดีในคดีที่มีการฟ้องแย้งไม่ชำระค่าธรรมเนียมศาลให้ครบถ้วน

       กล่าวโดยสรุป การฟ้องคดีปกครองต่อศาลปกครองไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล แต่หากเป็น การฟ้องคดีเพื่อขอให้ศาลปกครองมีคําพิพากษาหรือคําสั่งให้หน่วยงานทางปกครองใช้เงินอันสืบเนื่องจาก คดีพิพาทเก่ียวกับการกระทําละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐการใช้อํานาจตามกฎหมาย หรือจากกฎ คําส่ังทางปกครอง หรือคําส่ังอื่นหรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามท่ีกฎหมายกําหนดหรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควรหรือคดีพิพาทเก่ียวกับสัญญาทางปกครองคู่กรณีต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลตามทุนทรัพย์

ยื่นคำฟ้องคดีปกครองได้ที่ใด 

       ศาลปกครองมี 2 ชั้นศาล คือ ศาลปกครองชั้นต้นและศาลปกครองสูงสุด การฟ้องคดีปกครองโดยทั่วไปจะต้องยื่นฟ้องต่อศาลปกครองชั้นต้นที่มีเขตอำนาจซึ่งกฎหมายกำหนดให้ยื่นฟ้องต่อศาลที่ผู้ฟ้องคดีมีภูมิลำเนาหรือที่มูลคดีเกิดแต่ถ้าเป็นการฟ้องคดีพิพาทเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายของพระราชกฤษฎีกา  หรือกฎที่ออกโดยคณะรัฐมนตรี หรือโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ให้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองสูงสุดโดยตรงไม่ต้องยื่นฟ้องต่อศาลปกครองชั้นต้นก่อน

1)​หลักเกณฑ์ทั่วไปในการยื่นคำฟ้อง

​​          1.1) ​การฟ้องด้วยตนเอง โดยปกติแล้วผู้ฟ้องคดีต้องไปยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองด้วยตนเอง แต่เพื่อความรวดเร็วและความสะดวกแก่ผู้ฟ้องคดี กฎหมายให้ผู้ฟ้องคดีมอบฉันทะให้ผู้อื่นมายื่นฟ้องคดีแทนได้ แต่ต้องแนบใบมอบฉันทะให้ฟ้องคดีไปพร้อมกับคำฟ้องด้วย 

​      1.2)​ การฟ้องโดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ผู้ฟ้องคดีสามารถยื่นคำฟ้องโดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนได้ ซึ่งหลักการยื่นคำฟ้องโดยส่งทางไปรษณีย์ เป็นหลักการใหม่ที่แตกต่างไปจากหลักการยื่นคำฟ้องคดีต่อศาลยุติธรรม ทั้งนี้เนื่องจากกฎหมายต้องการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนผู้ฟ้องคดีที่จะไม่ต้องเดินทางมาเพื่อฟ้องคดีด้วยตนเอง และเพื่อความรวดเร็วในกระบวนการพิจารณาให้เกิดความยุติธรรม แต่การยื่นคำฟ้องโดยส่งทางไปรษณีย์ดังกล่าวผู้ฟ้องคดีจะต้องลงทะเบียนด้วย เพราะการลงทะเบียนจะมีการบันทึกวันที่ส่งลงในเอกสารอันจะเป็นประโยชน์ต่อการนับอายุความ เนื่องจากกฎหมายให้ถือว่าวันส่งคำฟ้องแก่เจ้าพนักงานไปรษณีย์เป็นวันที่ยื่นคำฟ้องต่อศาลปกครอง

       ชาญชัย แสวงศักดิ์ (2566 : 95)กล่าวไว้ว่า ศาลปกครองมี 2 ชั้นศาล คือ ศาลปกครองชั้นต้นและศาลปกครองสูงสุด การฟ้องคดีปกครองโดยทั่วไปจะต้องยื่นฟ้องต่อศาลปกครองชั้นต้นที่มีเขตอำนาจซึ่งกฎหมายกำหนดให้ยื่นฟ้องต่อศาลที่ผู้ฟ้องคดีมีภูมิลำเนาหรือที่มูลคดีเกิดแต่ถ้าเป็นการฟ้องคดีพิพาทเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายของพระราชกฤษฎีกา  หรือกฎที่ออกโดยคณะรัฐมนตรี หรือโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ให้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองสูงสุดโดยตรงไม่ต้องยื่นฟ้องต่อศาลปกครองชั้นต้นก่อน

       อำพน เจริญวินทร์ (2560 : 275) ได้กล่าวไว้ว่าคำฟ้อง คือ การที่ผู้ฟ้องคดีเสนอข้อหาด้วยการฟ้องคดีต่อศาลปกครองชั้นต้นหรือศาลปกครองสูงสุดไม่ว่าจะได้เสนอในขณะที่เริ่มคดีโดยทำเป็นคำฟ้องหรือคำร้องหรือเสนอในภายหลังโดยทำเป็นคำฟ้องเพิ่มเติมหรือแก้ไขหรือฟ้องแย้งหรือโดยการร้องสอดเข้ามาในคดีไม่ว่าด้วยความสมัครใจหรือถูกบังคับบังคับโดยศาลหรือโดยมีคำขอให้พิจารณาคดีใหม่

       ณัฐกฤช  มุสิกะโสภณ (2563 : 36)กล่าวไว้ว่า การยื่นคำฟ้องต่อศาลปกครองสูงสุด

​โดยที่ศาลปกครองสูงสุดมีแห่งเดียว ซึ่งตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร ดังนั้น ศาลปกครองสูงสุดจึงมีเขตอำนาจทั่วราชอาณาจักร การยื่นคำฟ้องคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลปกครองสูงสุด ไม่ว่าผู้ฟ้องคดี

จะมีภูมิลำเนาในจังหวัดใด มูลคดีจะเกิดในจังหวัดใดก็ตามก็ต้องยื่นคำฟ้องต่อศาลปกครองสูงสุดซึ่งตั้งอยู่ที่กรุงเทพมหานคร

       กล่าวโดยสรุป ศาลปกครองมี 2 ชั้นศาล คือ ศาลปกครองชั้นต้นและศาลปกครองสูงสุด การฟ้องคดีปกครองโดยทั่วไปจะต้องยื่นฟ้องต่อศาลปกครองชั้นต้นที่มีเขตอำนาจซึ่งกฎหมายกำหนดให้ยื่นฟ้องต่อศาลที่ผู้ฟ้องคดีมีภูมิลำเนาหรือที่มูลคดีเกิดแต่ถ้าเป็นการฟ้องคดีพิพาทเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายของพระราชกฤษฎีกา  หรือกฎที่ออกโดยคณะรัฐมนตรี หรือโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ให้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองสูงสุดโดยตรงไม่ต้องยื่นฟ้องต่อศาลปกครองชั้นต้นก่อน

สรุป

ในการฟ้องคดีต่อศาลประชาชนต้องเข้าใจในเบื้องต้นก่อนว่าเป็นคดีประเภทไหนและอยู่ในอำนาจของ ศาลไหน เพื่อที่จะใช้สิทธิตามกฎหมายได้ถูกต้อง คดีที่ฟ้องต่อศาลปกครองไม่ได้ก็อาจต้องไปฟ้องยังศาล ยุติธรรมต่อไป การจัดตั้งศาลปกครองจึงมีผลที่สำคัญประการหนึ่งคือทำให้คดีแพ่งบางเรื่องที่เคยฟ้องที่ศาล ยุติธรรมต้องมาฟ้องที่ศาลปกครองแทน 

หน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่รัฐที่อาจถูกฟ้องคดีต่อศาล ปกครอง คือบุคคลที่กระทำผิดกฏหมายหรือกระทำโดยมิชอบด้วยกฏหมาย และทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย ในการฟ้องคดีต่อศาลปกครองนั้น ต้องพิจารณาว่าคดีประเภทใดบ้างที่อยู่ในขอบเขตของอำนาจศาลปกครอง หรือที่จะสามารถฟ้องต่อศาลปกครองได้ ซึ่งในคดีที่จะถูกสั่งฟ้องนั้นจะเกี่ยวกับการกระทำของรัฐที่กระทำโดยมิ ชอบด้วยกฏหมาย 

คดีที่ไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครองอาจจัดแบ่งได้ 2 กลุ่ม คือ คดีปกครองที่กฎหมาย กำหนดไม่ให้อยู่ในอำนาจของศาลปกครองและคดีที่มิใช่คดีปกครอง โดยหลักหลักมี 6 ประเภท ได้แก่ คดีที่มี คู่กรณีเป็นหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมีลักษณะเป็นคดีปกครอง คดีที่มีกฎหมายตัดอำนาจ ศาลปกครองไว้โดยเฉพาะ คดีที่คู่กรณีมิใช่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ คดีที่คู่กรณีเป็น หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ คดีแพ่งหรือคดีอาญา และคดีที่ฟ้องขอให้ศาลปกครองลงโทษทาง วินัยหรือลงโทษทางอาญาแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ 

การยื่นฟ้องต่อศาลปกครองนั้นผู้ฟ้องคดีควรต้องตรวจดูเงื่อนไข ฟ้องคดีก่อนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการเป็นผู้เสียหาย การได้อุทธรณ์หรือแก้ไขเยียวยาตามวิธีการที่ กฎหมายกำหนดแล้วคำฟ้องมีรายการครบถ้วนครบตามจำนวนผู้ฟ้องคดีคำขอต้องชัดเจนและเป็น คำขอที่ศาลสั่งได้ และได้ฟ้องคดีภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดในการฟ้องคดีบางคดีอาจจะต้องมีการเสีย ค่าธรรมเนียม แต่ถ้าผู้ฟ้องคดีไม่มีทรัพย์สินเพียงพอที่จะเสียค่าธรรมเนียมศาลหรือถ้าได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียม ศาลได้รับความเดือดร้อนเกินสมควร ศาลปกครองอาจอนุญาตให้ดำเนินคดีโดยให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล ทั้งหมดโดยเฉพาะบางส่วนก็ได้





เอกสารอ้างอิง