ศาลปกครองน่าศึกษา

1) ภานุวัฒน์ หลักแก้ว, (2)กมลทิพย์  พลแก้ว, (3) ประพัสษา ทานรัก, (4) สุวีรยา  ประภาสัย, (5) อัสนี เกรัมย์

สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

(1)  640112801126@bru.ac.th, (2) 640112801131@bru.ac.th (3) 640112801145@bru.ac.th ,(4) 640112801163@bru.ac.th

,(5) 640112801168@bru.ac.th

21 กุมภาพันธ์  2567

         ศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีปกครองโดยเฉพาะอันไม่อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรมหรือศาลอื่นการจัดตั้งศาลปกครองขึ้นในประเทศไทยนั้น ได้มีการดำเนินการและพัฒนามาเป็นเวลานานแล้ว โดยสามารถแบ่งช่วงสำคัญในการวิวัฒนาการออกเป็นสี่ช่วง ดังนี้ คือช่วงแรก นับตั้งแต่ วันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2417 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตราพระราชบัญญัติเคาร์ซิลออฟสเตด คือ ที่ปฤกษาราชการแผ่นดินขึ้น เพื่อเป็นที่ปรึกษาในการบริหารราชการแผ่นดินในบทความนี้จะได้กล่าวถึงศาลปกครองคืออะไร หน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐใดบ้างที่อาจถูกฟ้องคดีต่อศาลปกครอง และ คดีปกครองที่อาจฟ้องต่อศาลปกครองได้  รวมถึงการฟ้องคดีต่อศาลปกครองต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลหรือไม่และเราสามารถยื่นคำฟ้องคดีปกครองได้ที่ใด  ดังนี้

ศาลปกครองคืออะไร

            ศาลปกครอง มีนักวิชาการให้ความหมายโดยสรุป ดังนี้

            ชาญชัย แสวงศักดิ์ (2547:156) ให้ความหมายศาลปกครองว่า  เป็นศาลที่จัดตั้งขึ้นใหม่เป็นเอกเทศจากศาลยุติธรรม มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีปกครอง ปัจจุบัน ระบบศาลของประเทศไทย เป็นระบบที่เรียกว่า"ศาลคู่" ประกอบด้วย "ศาลยุติธรรม" ซึ่งเป็นศาลที่มีอำนาจในการ พิจารณาพิพากษาคดีแพ่ง คดีอาญา และคดีอื่นๆ ที่ไม่อยู่ในอำนาจของศาลอื่น และ "ศาลปกครอง" ซึ่งเป็นศาลที่มีอำนาจในการพิจารณา พิพากษา "คดีปกครอง"

          อริยพร โพธิใส (2557 : 133) ให้ความหมายของศาลปกครองว่า ศาลปกครอง คือ ศาลที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มีอํานาจหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีปกครอง ซึ่งเป็นคดีพิพาทระหว่างหน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชน หรือคดีพิพาทระหว่างหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกันเอง อันเนื่องมาจากการใช้อํานาจทางปกครอง การละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ การปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร การกระทําละเมิด หรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือเป็นคดีพิพาทอันเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง            

           ฤทัย หงส์สิริ (2566 : 4) ให้ความหมายของศาลปกครองว่า ศาลที่มีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีปกครอง อันได้แก่ คดีหรือข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกัน หรือระหว่างหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชนอันเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยหลักศาลปกครองเป็นศาลอีกระบบหนึ่ง แยกต่างหากจากศาลยุติธรรม มีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีหรือข้อพิพาทระหว่างบรรดาหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ด้วยกัน หรือระหว่างหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่กับประชาชน ที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ ไม่ใช่คดีหรือข้อพิพาทระหว่างประชาชนด้วยกัน หรือคดีที่เกี่ยวกับเรื่องส่วนตัวของเจ้าหน้า

            กล่าวโดยสรุป ศาลปกครอง หมายถึง ศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีปกครองตามที่กฎหมายบัญญัติอัน ได้แก่ คดีพิพาทที่เกิดจากการกระทำทางปกครองไม่ว่าจะเป็นคดีที่เป็นข้อพิพาทระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแลของรัฐบาลกับเอกชนหรือระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแลของรัฐบาลด้วยกั

หน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐใดบ้างที่อาจถูกฟ้องคดีต่อศาลปกครอง

         ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีปกครอง ได้แก่คดีปกครองที่เกิดจากการใช้อำนาจ โดยมิชอบของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งอาจเป็นข้อพิพาทระหว่างเอกชนฝ่ายหนึ่งกับหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอีกฝ่ายหนึ่งหรืออาจเป็นข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกันเอง         

         ชาญชัย แสวงศักดิ์ (2547:159) หน่วยงานทางปกครองใดบ้างที่อาจถูกฟ้องคดีต่อศาลปกครองศาลปกครองมีอำนาจพิพากษาคดีพิพาทระหว่างเอกชนกับหน่วยงานทางปกครอง ในกรณีเป็นข้อพิพาททางปกครอง ดังนั้นหน่วยงานทางปกครองที่อาจถูกฟ้องคดีต่อศาลปกครองได้มีอยู่ ๗ ประเภท คือ

         1. หน่วยราชการส่วนกลาง เช่น กระทรวง ทบวง กรม

         2. หน่วยราชการส่วนภูมิภาค เช่น จังหวัด อําเภอ ตําบล

         3. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น เทศบาล อบต. เมืองพัทยา

         4. รัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา

         5. องค์การมหาชน

         6. หน่วยงานเอกชนที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อํานาจทางปกครอง

         7. หน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญ เช่น สํานักงานศาลปกครองไม่รวมถึงรัฐสภา ศาล และคณะกรรมการการเลือกตั้ง

         จิรนิติ หะวานนท์ (2560 :ออนไลน์) ได้อธิบายว่า หน่วยงานทางปกครองจึงประกอบด้วย ราชการ ส่วนกลาง ได้แก่ กระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ราชการส่วน ภูมิภาค ได้แก่ จังหวัด อำเภอ ตำบลและหมู่บ้าน ราชการส่วนท้องถิ่น ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยาองค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาลประเภทต่างๆ องค์การบริหารส่วนตำบล รัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ และให้ความหมายรวมถึงหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครองหรือให้ดำเนินกิจการทางปกครองด้วยเจ้าหน้าที่รัฐคือ บุคคลที่เข้ามาทำแทนองค์การฝ่ายปกครอง มี 2 ลักษณะ 1.เป็นผู้แทนนิติบุคคล 2.ทำโดยอำนาจของตำแหน่งที่ตนครอง ข้าราชการ เจ้าพนักงาน เจ้าหน้าที่ของรัฐ คณะบุคคลในรูปแบบคณะกรรมการต่างๆ

         สำนักงานศาลปกครอง ( 2557 : 13-16 )  ได้อธิบายว่า หน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่รัฐที่อาจถูกฟ้องคดีต่อศาลปกครองได้นั่น ได้แก่ 

          1. หน่วยราชการส่วนกลาง เช่น กระทรวง กรม

          2. หน่วยราชการส่วนภูมิภาค เช่น จังหวัด อําเภอ  

          3. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น เทศบาล อบต.

          4. รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา

          5. องค์การมหาชน

          6. หน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญ  เช่น สํานักงานศาลปกครอง

          7. หน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อํานาจทางปกครอง เช่น สภาทนายความ 

         เจ้าหน้าที่ของรัฐที่อาจถูกฟ้อง ได้แก่ ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง ในหน่วยงานทางปกครอง คณะกรรมการที่มีอํานาจออกคําสั่ง รวมถึงบุคคลที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือกํากับดูแลของหน่วยงานเหล่านั้น

         กล่าวโดยสรุป   หน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อาจถูกฟ้องคดีต่อศาลปกครอง ได้แก่ 1. หน่วยราชการส่วนกลาง เช่น กระทรวง ทบวง กรม   2. หน่วยราชการส่วนภูมิภาค เช่น จังหวัด อําเภอ ตําบล 3. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น เทศบาล อบต. 4. รัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นโดย พระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา 5. องค์การมหาชน  6. หน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญ เช่น สํานักงานศาลปกครอง 7. หน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อํานาจทางปกครอง และเจ้าหน้าที่ของรัฐ ได้แก่ ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง ในหน่วยงานดังกล่าวข้างต้น

คดีปกครองที่อาจฟ้องต่อศาลปกครองได้    

            การฟ้องคดีต่อศาลปกครองได้ แต่การดำเนินคดีในศาลปกครองมีขั้นตอน วิธีการตลอดจนบทบาทของคู่กรณีและของศาลมีความแตกต่างไปจากการดำเนินคดีในศาลยุติธรรม ซึ่งเป็นระบบที่เราคุ้นเคยกันอยู่ กล่าวคือ การดำเนินคดีในศาลปกครองในกระบวนการพิจารณาแบบไต่สวนเพื่อแสวงหาข้อเท็จจริงในคดี (ใช้เอกสารเป็นหลัก) ส่วนการดำเนินคดีในศาลยุติธรรมใช้กระบวนการพิจารณาแบบกล่าวหาเพื่อแสวงหาข้อเท็จจริง (ในการเบิกความของพยานบุคคลเป็นหลัก) ดังนั้น ผู้ที่จะฟ้องคดีต่อศาลปกครองจึงจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินการฟ้องคดีต่อศาลปกครองและเพื่อจะนำไปสู่การยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองได้อย่างถูกต้อง

          ชาญชัย แสวงศักดิ์  (2547:165)  คดีที่อาจฟ้องต่อศาลปกครองได้ 6 ประเภท ดังนี้

          1. คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐออกกฎ คําสั่ง หรือใช้อํานาจทางปกครองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย

         2. คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกําหนด

         3. คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทําละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ

        4. คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง

        5. คดีที่มีกฎหมายกําหนดให้หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐต้องฟ้องคดีต่อศาลเพื่อบังคับให้บุคคลกระทําการหรือละเว้นกระทําการ

        6. คดีที่มีกฎหมายกําหนดให้อยู่ในเขตอํานาจของศาลปกครอง

       ณัฐวุฒิ สุขแสวง  (2561 : ออนไลน์ )  ในการฟ้องคดีต่อศาลปกครองนั้น ศาลปกครองจะรับคดีไว้พิจารณาก็เฉพาะคดีที่อยู่ใน เขตอำนาจของศาลปกครองตามประเภทคดีที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้ง ศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 เท่านั้น

          1. คดีเกี่ยวกับการปกครองและการบริหารราชการแผ่นดิน เช่น กรณีการเลือกตั้ง การบริหารงานบุคคลของข้าราชการ 

         2. คดีเกี่ยวกับการพัสดุและสัญญาทางปกครอง เช่น กรณีการจัดซื้อจัดจ้าง การทําสัญญาจ้างเหมาบริการของหน่วยงานรัฐ

         3. คดีเกี่ยวกับการควบคุมอาคารและการระงับเหตุเดือดร้อนรําคาญ

         4. คดีเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล สวัสดิการ และการประกอบวิชาชีพ

         5. คดีเกี่ยวกับที่ดิน

         6. คดีเกี่ยวกับการเวนคืนและการกระทําละเมิด

         7. คดีเกี่ยวกับกิจการคมนาคม โทรคมนาคม วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์

         การฟ้องคดีต่อศาลปกครองนั้น ซึ่งคดีเหล่านี้เป็นตัวอย่างคดีที่ศาลปกครองได้รับฟ้องมาไว้พิจารณาตั้งแต่เปิดทําการเมื่อปี 2544

            สำนักงานศาลปกครอง ( 2557 :19-26)  ได้อธิบายคดีปกครองที่อาจฟ้องต่อศาลปกครองได้ว่า คดีปกครองที่เกี่ยวข้องกับที่ดิน ได้แก่ คดีเพิกถอนคําสั่งเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับที่ดิน, คดีฟ้องหน่วยงานที่ดินละเลยต่อหน้าที่, คดีเพิกถอนคําสั่งคณะกรรมการการเช่านา และคดีเพิกถอนคําสั่งไม่ออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน คดีปกครองที่เกี่ยวข้องกับการคมนาคมและขนส่ง ได้แก่ คดีพิพาทเกี่ยวกับงานทะเบียนของกรมขนส่งทางบก และคดีพิพาทเกี่ยวกับการกําหนดเส้นทางและอัตราค่าโดยสาร     คดีปกครองอื่นๆ ยังครอบคลุมเรื่องการควบคุมอาคารและผังเมือง, การจัดสรรที่ดิน, การบริหารบุคคล, สวัสดิการข้าราชการ เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคดีที่ฟ้องให้เพิกถอนคําสั่งของเจ้าหน้าที่รัฐหรือหน่วยงานราชการต่างๆ

           กล่าวโดยสรุป  คดีปกครองที่อาจฟ้องต่อศาลปกครองได้ ดังนี้ คดีปกครองที่อาจฟ้องต่อศาลปกครองได้มี 6 ประเภท ได้แก่ คดีเกี่ยวกับการออกกฎหรือใช้อํานาจของเจ้าหน้าที่รัฐโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย คดีเกี่ยวกับการละเลยต่อหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐ คดีเกี่ยวกับการกระทําละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐ คดีเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง คดีที่กฎหมายกําหนดให้ฟ้อง และคดีที่อยู่ในเขตอํานาจของศาลปกครอง

คดีประเภทใดที่ไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง

          โดยปกติ คดีที่เอกชนจะฟ้องต่อศาลปกครองนั้นได้แก่ คดีพิพาทระหว่างหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชน เนื่องจากการกระทำทางปกครองหรือการใช้อำนาจทางปกครอง ซึ่งในระยะแรกที่ศาลปกครองกลางเพิ่งเปิดทำการ ประชาชนอาจจะยังไม่ทราบได้แน่ชัดว่าเรื่องใดสามารถฟ้องต่อศาลปกครองได้ และเรื่องใดที่ฟ้องต่อศาลปกครองไม่ได้ ดังนั้นจึงมีคดีจำนวนหนึ่งที่ศาลปกครองกลาง ไม่อาจรับคำฟ้องไว้พิจารณาได้แม้จะเป็นกรณีที่น่าเห็นใจสักเพียงใดก็ตาม ซึ่งอาจสร้างความสงสัยและความคับข้องใจแก่ผู้ฟ้องคดีอยู่บ้าง

          ชาญชัย แสวงศักดิ์  (2547:168)  คดีประเกทใดบ้างที่ไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครองคดีที่ไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครองนั้น ได้แก่ คดี ๖ ประเภทดังต่อไปนี้

         1. คดีที่มีคู่กรณีเป็นหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ ของรัฐ ซึ่งมีลักษณะเป็นคดีปกครอง แต่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาดปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกดรองฯ บัญญัติยกเว้นไว้ ไม่ให้อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง

         2. คดีที่มีกฎหมายตัดอำนาจศาลปกครองไว้โดยเฉพาะ เช่นพระราชกำหนดบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ. ๒๕๔๔ บัญญัติว่า มิให้นำกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองมาใช้บังคับแก่การดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) และการออกระเบียบหรือข้อบังดับคำสั่ง คำวินิจฉัยการอนุญาต และการกระทำอื่นใดของคณะกรรมการ และคณะกรรมการบริหารอันเกี่ยวกับการบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพตามพระราชกำหนดนี้

         3. คดีที่ดูกรณีมีใช่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ   เช่น สหกรณ์ออมทรัพย์ , ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขจังหวัด , รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นในรูปของบริษัทหรือบริษัทมหาชนจำกัดเช่น ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท ทำอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งไหม่ จำกัด

         4. คดีที่คู่กรณีเป็นหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐแต่การกระทำที่พิพาทดังกล่าวเป็นการกระทำส่วนตัว มิใช่เป็นการปฏิบัติหน้าที่หรือดดีที่พิพาทมิใช่คดีปกครอง 

         5. คดีที่มิใช่คดีปกครอง เช่น คดีแพ่ง คดีอาญา ซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรมหรือการดำเนินกระบวนการยุติธรรมทางอาญา

         6. คดีที่ฟ้องขอให้ศาลปกครองลงโทษทางวินัยหรือลงโทษทางอาญาแก่ เจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งการลงโทษทางวินัยเป็นเรื่องที่อยู่ในอำนาจของผู้บังคับบัญชาหรือการลงโทษทางอาญาเป็นอำนาจของตาลยุติธรม ไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง

         สำนักงานศาลปกครอง ( 2557 : 30 )  ได้อธิบายว่า คดีที่ไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครองอาจจัดแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ คดีปกครองทีกฎหมายกำหนดไม่ให้อยู่ในอำนาจของศาลปกครองและคดีที่มิใช่คดีปกครอง โดยมีทั้งหมด 6 ประเภทดังต่อไปนี้

          1. คดีปกครองที่กฎหมายยกเว้นไว้ เช่น คดีเกี่ยวกับวินัยทหาร คดีที่อยู่ในอํานาจของศาลชํานัญพิเศษอื่นๆ 

          2. คดีที่มีกฎหมายตัดอํานาจศาลปกครองโดยเฉพาะ เช่น คดีเกี่ยวกับ บสท.

          3. คดีที่คู่กรณีไม่ใช่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ

          4. คดีที่คู่กรณีเป็นหน่วยงานทางปกครองฯ แต่ไม่ได้ใช้อํานาจทางปกครองหรือดําเนินกิจการปกครอง

          5. คดีแพ่งหรือคดีอาญาที่อยู่ในอํานาจของศาลยุติธรรม  

          6. คดีที่ขอให้ศาลปกครองลงโทษทางวินัยหรือทางอาญา

            พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒(ราชกิจจานุเบกษา เล่ม116, 2542 :5) คดีที่ไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง ตามมาตรา 9 วรรค2  1. การดำเนินการเกี่ยวกับวินัยทหาร  2. การดำเนินการของคณะกรรมการตุลาการกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ     3. คดีที่อยู่ในอำนาจของศาลชำนัญพิเศษ   ได้แก่ ศาลเยาวชนและครอบครัว , ศาลแรงงาน , ศาลภาษีอากร , ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ

          กล่าวโดยสรุป  คดีที่ไม่อยู่ในอํานาจของศาลปกครองได้ดังนี้ 1. คดีที่เกี่ยวกับวินัยทหาร 2. คดีที่เกี่ยวกับตุลาการศาลยุติธรรม 3. คดีที่อยู่ในอํานาจของศาลชํานัญพิเศษ เช่น ศาลเยาวชนและครอบครัว ศาลแรงงาน ศาลภาษีอากร ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ 4. คดีที่มีกฎหมายตัดอํานาจศาลปกครองไว้โดยเฉพาะ เช่น คดีเกี่ยวกับ บสท. 5. คดีที่คู่กรณีไม่ใช่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ 6. คดีที่คู่กรณีเป็นหน่วยงานทางปกครองฯ แต่ไม่ได้ใช้อํานาจทางปกครองหรือดําเนินกิจการทางปกครอง 7. คดีแพ่งหรือคดีอาญาที่อยู่ในอํานาจของศาลยุติธรรม 8. คดีที่ขอให้ศาลปกครองลงโทษทางวินัยหรือทางอาญา

ฟ้องคดีต่อศาลปกครองต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขใดบ้าง

        ผู้ที่ได้รับความเดือดร้อน หรือเสียหาย หรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้ อันเนื่องจากการกระทำ หรือการงดเว้นการกระทำของหน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง หรือกรณีอื่นใดตามมาตรา ๙ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ สามารถดำเนินการฟ้องคดีต่อศาลปกครองได้ แต่ต้องปฎิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนด   

         สำนักงานศาลปกครอง ( 2557 : 35-36 )  คดีที่ศาลปกครองมีอำนาจรับไว้พิจารณาพิพากษาได้นั้นนอกจากจะต้องเป็นคดีปกครองแล้ว ยังจะต้องปรากฏด้วยว่า ผู้ฟ้องคดีได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการฟ้องคดีครบถ้วนแล้ว ดังนี้

         1. ผู้ฟ้องคดีต้องเป็นผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายจากการกระทําของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ

        2. ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนหรือวิธีการโต้แย้งคัดค้านที่กฎหมายกําหนดไว้ก่อน เว้นแต่บางกรณีที่สามารถฟ้องโดยตรงได้

        3. ต้องทําคําฟ้องตามรูปแบบและรายละเอียดที่กําหนด เช่น ระบุคู่กรณี ข้อเท็จจริง คําขอ เป็นต้น

        4. ต้องยื่นฟ้องภายในระยะเวลาที่กําหนด ซึ่งแตกต่างกันไปตามประเภทของคดี เช่น 90 วัน, 1 ปี, 5 ปี, 10 ปี เป็นต้น

         นอกจากนี้ ศาลอาจรับคดีที่ฟ้องเกินกําหนดมาพิจารณาได้ หากเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม

        พฤกษ์ เดชาเกร็ด (2550 : ออนไลน์) เงื่อนไขเกี่ยวกับระยะเวลาการฟ้องคดีปกครอง การฟ้องคดีปกครอง ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 กำหนดระยะเวลาการฟ้องคดีต่อศาลปกครองไว้ 4 กรณี คือ

         1. การฟ้องคดีตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (1) และ (2) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542

         2. การฟ้องคดีตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (3) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542

         3. การฟ้องคดีตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (4) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542

        4. การฟ้องคดีตามมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542การฟ้องคดีที่มีเหตุจำเป็นอื่น เช่น กรณีที่ผู้ฟ้องคดีได้ยื่นหนังสือต่อผู้ถูกฟ้องคดีขอให้ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่แล้วมีเจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีติดต่อและรับว่าจะดำเนินการแก้ไขเยียวยาให้กับผู้ฟ้องคดีมาโดยตลอด ทำให้เชื่อว่าผู้ถูกฟ้องคดีจะดำเนินการให้อันเป็นผลให้ผู้ฟ้องคดียื่นเรื่องร้องทุกข์เลยกำหนดเวลา จึงเป็นกรณีจำเป็นที่ต้องรับไว้พิจารณาตามมาตรา 52 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542

        วรวุธ มีจิตต์ ( 2557: ออนไลน์ )  1.เงื่อนไขการการออกคำบังคับได้ (ตามมาตรา 72 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542)ซึ่งแยกได้ 2 กรณี  คือ

                   (ก.) ต้องเป็นคำขอที่ศาลออกคำบังคับให้ได้เช่น ขอให้ดำเนินการทางวินัย  ในกรณีนี้ศาลไม่อาจกำหนดคำบังคับได้ 

                   (ข.) ต้องเป็นกรณีที่มีความจำเป็นต้องมีคำบังคับของศาลจึงจะเยียวยาความเดือดร้อนได้

         2.ได้มีการแก้ไขเยียวยาความเดือดร้อนเสียหายครบขั้นตอนแล้ว (ตามมาตรา 42 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542) ในกรณีที่การออกคำสั่งทางปกครองใด  กฎหมายกำหนดให้ผู้ได้รับความเดือดร้อน เสียหาย  มีสิทธิอุทธรณ์  หรือร้องทุกข์  ซึ่งก่อนฟ้องต้องดำเนินการอุทธรณ์หรือร้องทุกข์ก่อน

         3.ต้องเป็นคำฟ้องที่สมบูรณ์มีเนื้อหาครบถ้วน  ซึ่งระบุในมาตรา 45

        กล่าวโดยสรุป ฟ้องคดีต่อศาลปกครองต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขได้ดังนี้

        1. ผู้ฟ้องคดีต้องเป็นผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายจากการกระทําของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ

        2. ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนหรือวิธีการโต้แย้งคัดค้านที่กฎหมายกําหนดไว้ก่อน เว้นแต่บางกรณีที่สามารถฟ้องโดยตรงได้

       3. ต้องทําคําฟ้องตามรูปแบบและรายละเอียดที่กําหนด เช่น ระบุคู่กรณี ข้อเท็จจริง คําขอ เป็นต้น 

       4. ต้องยื่นฟ้องภายในระยะเวลาที่กําหนด ซึ่งแตกต่างกันไปตามประเภทของคดี

       นอกจากนี้ ศาลอาจรับคดีที่ฟ้องเกินกําหนดมาพิจารณาได้

ฟ้องคดีต่อศาลปกครองต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลหรือไม่      

         ค่าธรรมเนียมการยื่นฟ้องของศาลปกครองเป็นค่าใช้จ่ายที่ศาลกำหนดสำหรับการยื่นเอกสารทางกฎหมายและการเริ่มดำเนินคดีทางปกครอง โดยทั่วไปค่าธรรมเนียมเหล่านี้จะต้องชำระโดยฝ่ายที่เกี่ยวข้องในคดีนี้ และได้รับการออกแบบเพื่อให้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการบริหารที่เกี่ยวข้องกับการจัดการคดี จำนวนค่าธรรมเนียมในการยื่นฟ้องอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับลักษณะของคดี เขตอำนาจศาล และศาลเฉพาะที่เกี่ยวข้อง และการฟ้องคดีต่อศาลปกครองต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลหรือไม่นั้น สรุปได้ดังนี้      

         ชาญชัย เเเสวงศักดิ์ (2545:176)  ได้อธิบายถึงการฟ้องคดีปกครองต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลหรือไม่ ว่าฟ้องคดีปกครองนั้น กฎหมายวางหลักไว้ว่า ผู้ฟ้องคดีไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล เช่น ฟ้องคดีขอให้ศาลสั่งเพิกถอนกฎหรือคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ฟ้องคดีขอให้สั่งห้ามการกระทำทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ฟ้องคดีขอให้ศาล สั่งให้หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติหน้าที่ที่กฎหมายกำหนด ผู้ฟ้องคดีไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลแต่อย่างใดแต่ถ้าเป็นการฟ้องคดีขอให้ศาลสั่งให้มีการใช้เงินหรือส่งมอบทรัพย์สินอันสืบเนื่องจากคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง จะต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล ในอัตราร้อยละ๒.๕ ของทุนทรัพย์ แต่ไม่เกิน๒๐๐,๐๐๐ บาท โดยให้ชำระเป็นเงินสดหรือเป็นแคชเชียร์เช็ค ตั๋วแลกเงินธนาคาร หรือดร้าฟธนาคาร โดยสั่งจ่ายในนาม "เงินค่าธรรมเนียมและเงิน ค่าปรับของสำนักงานศาลปกครอง.... (ระบุชื่อสำนักงานศาลปกครองที่ไปยื่นฟ้อง เช่น สำนักงานศาลปกครองกลาง สำนักงานศาลปกครองเชียงใหม่)

           ฐิติพร ป่านไหม ( 2559 : 1) “การเสียค่าธรรมเนียมศาล” ก็ถือเป็นเงื่อนไขการฟ้องคดีปกครองที่สําคัญซึ่งผู้ฟ้องคดี มีภาระหน้าที่ต้องปฏิบัติเช่นเดียวกัน ส่วนจะมีหลักเกณฑ์อย่างไรนั้น และพระราชบัญญัติจัดต้ังศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้บัญญัติเกี่ยวกับกระบวนการที่จะอํานวยความสะดวกในการ เข้าถึงกระบวนการยุติธรรมทางปกครองหรือไม่ อย่างไร บทความนี้จะทําให้ท่านรู้และเข้าใจ และฟ้องคดี ต่อศาลปกครองได้อย่างถูกต้อง

         โดยปกติการฟ้องคดีปกครองต่อศาลปกครองไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล แต่หากเป็น การฟ้องคดีเพื่อขอให้ศาลปกครองมีคําพิพากษาหรือคําสั่งให้หน่วยงานทางปกครองใช้เงินอันสืบเนื่องจาก คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทําละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ อันเกิดจากการใช้อํานาจตามกฎหมาย หรือจากกฎ คําส่ังทางปกครอง หรือคําส่ังอื่นหรือจากการละเลยต่อ หน้าที่ตามที่กฎหมายกําหนดหรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควรหรือคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองตาม มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) และ (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ คู่กรณีต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลตามทุนทรัพย์ในอัตราร้อยละ ๒.๕ ของทุนทรัพย์ แต่ไม่เกินสองแสนบาท (มาตรา ๔๕ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒)

        สำนักงานศาลปกครอง (2557 : 45-46) ได้อธิบายว่าการฟ้องคดีต่อศาลปกครองต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลนั่นมีกรณต่อไปนี้ โดยสรุปได้ดังนี้

        1. กรณีฟ้องให้เพิกถอนคําสั่งทางปกครอง, ห้ามการกระทําทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย, หรือบังคับให้หน่วยงานปฏิบัติหน้าที่ ผู้ฟ้องไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล

        2. กรณีฟ้องเรียกค่าเสียหาย หรือเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง ผู้ฟ้องต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลในอัตราร้อยละ 2 ของทุนทรัพย์แต่ไม่เกิน 200,000 บาท

        3. หากผู้ฟ้องคดีชนะคดี ศาลจะสั่งคืนค่าธรรมเนียมศาลให้ผู้ฟ้องบางส่วนหรือทั้งหมด

        4. หากผู้ฟ้องไม่มีเงินเพียงพอในการเสียค่าธรรมเนียม ศาลอาจผ่อนผันให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลได้

        กล่าวโดยสรุป การฟ้องคดีต่อศาลปกครองต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลหรือไม่ มีหลักเกณฑ์ดังนี้

        1. กรณีฟ้องให้เพิกถอนคําสั่งทางปกครอง ห้ามการกระทําทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือบังคับให้หน่วยงานปฏิบัติหน้าที่ ผู้ฟ้องไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล

        2. กรณีฟ้องเรียกค่าเสียหาย หรือเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง ผู้ฟ้องต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลในอัตราร้อยละ 2 ของทุนทรัพย์แต่ไม่เกิน 200,000 บาท 

       3. หากผู้ฟ้องคดีชนะคดี ศาลจะสั่งคืนค่าธรรมเนียมศาลให้ผู้ฟ้องบางส่วนหรือทั้งหมด

       4. หากผู้ฟ้องไม่มีเงินเพียงพอในการเสียค่าธรรมเนียม ศาลอาจผ่อนผันให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลได้

       ดังนั้น ผู้ฟ้องคดีต้องศึกษาหลักเกณฑ์การเสียค่าธรรมเนียมศาลให้เข้าใจ เพื่อประโยชน์ในการตัดสินใจฟ้องคดีต่อไป

ยื่นคำฟ้องคดีปกครองได้ที่ใด

          ศาลปกครองเป็นศาลเฉพาะทางที่เกี่ยวข้องกับคดีที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายปกครองและข้อพิพาทระหว่างบุคคลหรือองค์กรกับหน่วยงานของรัฐ เป็นเวทีที่กำหนดสำหรับการยื่นฟ้องคดีต่อคำตัดสินของฝ่ายบริหาร การกระทำ หรือการละเว้นที่อาจละเมิดสิทธิหรือผลประโยชน์ของบุคคลหรือนิติบุคคล และสามารถยื่นคำฟ้องคดีปกครองได้ที่สถานที่ดังต่อไปนี้ โดยสรุปได้ดังนี้

          ชาญชัย  แสวงศักดิ์ (2545 : 176) ศาลปกครองมีชั้นศาล คือ ศาลปกครองชั้นต้น และศาลปกครองสูงสุด การฟ้องคดีปกครองโดยทั่วไปจะต้องยื่นฟ้องต่อศาลปกครองชั้นต้นที่มีเขตอำนาจซึ่งกฎหมายกำหนดให้ยื่นฟ้องต่อศาลที่ผู้ฟ้องคดีมีภูมิลำเนาหรือที่มูลคดีเกิด แต่ถ้าเป็นการฟ้องคดีพิพาทเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายของพระราชกฤษฎีกา หรือกฎที่ออกโดยคณะรัฐมนตรี หรือโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ให้ยื่น ฟ้องต่อศาลปกครองสูงสุดโดยตรงไม่ต้องยื่นฟ้องต่อศาลปกครองชั้นต้นก่อน

          วิธีการยืนคำฟ้อง ผู้ฟ้องคดีอาจยื่นคำฟ้องต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของทางปกครอง ณ ที่ทำการของศาลปกครองที่มีเขตอำนาจ หรือจะยื่นคำฟ้องโดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนก็ได้พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองพ.ศ. 2542 กำหนดให้มีการจัดตั้งศาลปกครองครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศรวม 5 แห่ง และหลังจากศาลปกครองสูงสุดและศาลปกครองกลางเปิดทำการเมื่อวันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๔๔ แล้ว ได้มีการเปิดทำการศาลปกครองภูมิภาคไปแล้ว ๗ แห่ง ได้แก่ ศาลปกครองเชียงใหม่ ศาลปกครองสงขลา ศาลปกครอนครราชสีมา ศาลปกครองขอนแก่น ศาลปกครองพิษณุโลก ศาลปกครองระยอง ศาลปกครองนครศรีธรรมราช

         อำพน  เจริญวินทร์  (2550: ออนไลน์ )การยื่นคำฟ้องต่อศาลปกครองชั้นต้น ผู้ฟ้องคดีจะต้องยื่นคำฟ้องต่อศาลปกครองชั้นต้นที่ผู้ฟ้องคดีมีภูมิลำเนาหรือที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตของศาลปกครองชั้นต้น ซึ่งศาลปกครองชั้นต้นได้แก่ศาลปกครองกลางและศาลปกครองในส่วนภูมิภาคสำหรับคำฟ้องอาจยื่นต่อศาลได้สองศาลหรือหลายศาล ไม่ว่าจะเป็นเพราะภูมิลำเนาของผู้ฟ้องคดี เพราะสถานที่ที่มูลคดีเกิด หรือเพราะมีข้อหาหลายข้อหา ถ้ามูลคดีมีความเกี่ยวเนื่องกัน ผู้ฟ้องคดีจะยื่นฟ้องต่อศาลหนึ่งศาลใดก็ได้ในกรณีที่มีปัญหาเรื่องเขตศาลโดยที่ศาลปกครองหนึ่งพิพากษาว่า คดีที่ฟ้องต่อศาลปกครองนั้นอยู่ในเขตอำนาจศาลปกครองอื่น กฎหมายให้ศาลปกครองนั้นส่งคำฟ้องไปยังศาลปกครองที่มีเขตอำนาจเพื่อพิจารณา ถ้าศาลปกครองชั้นต้นมีความเห็นขัดแย้งกันในเรื่องเขตอำนาจศาล กฎหมายได้กำหนดให้ศาลปกครองที่รับคำฟ้องไว้หลังสุดเสนอความเห็นต่อศาลปกครองสูงสุด เพื่อมีคำสั่งในเรื่องเขตอำนาจศาลทั้งนี้ การฟ้องคดีปกครองที่มูลคดีมิได้เกิดขึ้นในราชอาณาจักร ถ้าผู้ฟ้องคดีเป็นผู้มีสัญชาติไทย และไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักร ผู้ฟ้องคดีต้องยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลาง

        การยื่นคำฟ้องต่อศาลปกครองสูงสุดโดยที่ศาลปกครองสูงสุดมีแห่งเดียว ซึ่งตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร ดังนั้น ศาลปกครองสูงสุดจึงมีเขตอำนาจทั่วราชอาณาจักร การยื่นคำฟ้องคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลปกครองสูงสุด ไม่ว่าผู้ฟ้องคดีจะมีภูมิลำเนาในจังหวัดใด มูลคดีจะเกิดในจังหวัดใดก็ตามก็ต้องยื่นคำฟ้องต่อศาลปกครองสูงสุดซึ่งตั้งอยู่ที่กรุงเทพมหานคร

        สำนักงานศาลปกครอง (2557 : 49-52) สถานที่ยื่นคําฟ้องคดีปกครองได้ สามารถยื่นฟ้องได้ที่สถานที่ต่อไปนี้ ศาลปกครองมี 2 ชั้นศาล คือศาลปกครองชั้นต้น และศาลปกครองสูงสุด  การฟ้องคดีปกครองโดยทั่วไป จะต้องยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง ชั้นต้นที่มีเขตอำนาจ ซึ่งกฎหมายกำหนดให้ยื่นฟ้องต่อศาลที่ผู้ฟ้องคดีมีภูมิลำเนาหรือที่มูลคดีเกิด แต่ถ้าเป็นการฟ้องคดีพิพาทเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายของพระราชกฤษฎีกา หรือกฎที่ออกโดยคณะรัฐมนตรีหรือโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ให้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองสูงสุดโดยตรงไม่ต้องยื่นฟ้องต่อศาลปกครองชั้นต้นก่อน

        วิธีการยื่นคำฟ้อง

        ผู้ฟ้องคดีสามารถเลือกยื่นคำฟ้องได้ 2 วิธีคือ

           1. ยื่นคำฟ้องต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของศาลปกครอง ณ ที่ทำการของศาลปกครองที่มีเขตอำนาจ หรือ

           2. ยื่นคำฟ้องโดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน

        สถานที่ยื่นคำฟ้อง

          1. ศาลปกครองสูงสุด - ตั้งอยู่ที่กรุงเทพฯ เลขที่ 120 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ 

          2. ศาลปกครองชั้นต้น 11 แห่ง ได้แก่ ศาลปกครองกลาง, ศาลปกครองเชียงใหม่, ศาลปกครองสงขลา, ศาลปกครองนครราชสีมา, ศาลปกครองขอนแก่น, ศาลปกครองพิษณุโลก, ศาลปกครองระยอง, ศาลปกครองนครศรีธรรมราช, ศาลปกครองอุดรธานี, ศาลปกครองอุบลราชธานี, ศาลปกครองเพชรบุรี

          ซึ่งแต่ละแห่งจะมีเขตอํานาจครอบคลุมพื้นที่หลายจังหวัด สามารถยื่นฟ้องได้ที่ศาลในเขตที่ตนมีภูมิลําเนาหรือที่เกิดเหตุ 

         กล่าวโดยสรุป   สถานที่ยื่นคําฟ้องคดีปกครองได้ดังนี้

         1. ศาลปกครองชั้นต้น - ได้แก่ ศาลปกครองกลาง และศาลปกครองในภูมิภาคอีก 10 แห่ง ยื่นได้ที่ศาลที่ตนมีภูมิลําเนาหรือที่เกิดเหตุ 

         2. ศาลปกครองสูงสุด - ตั้งอยู่ที่กรุงเทพฯ ยื่นได้โดยตรงสําหรับคดีที่เกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายของกฎหมายลําดับรอง 

        วิธีการยื่น ได้แก่ ยื่นต่อเจ้าหน้าที่ศาล หรือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน

สรุป

           1. ศาลปกครอง หมายถึง ศาลปกครองเป็นศาลที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีปกครองได้ ศาลปกครองเป็นศาลที่จัดตั้งขึ้นใหม่ซึ่งเป็นอิสระจากศาลยุติธรรม “ระบบศาลเดี่ยว”

           2. หน่วยงานบริหารมีข้อพิพาทกับหน่วยงานธุรการ ฝ่ายหนึ่งกับหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอีกฝ่ายหนึ่งหรืออาจเป็นข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐเอง ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีปกครองได้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ เทศบาล อบต. และอบจ.

          3. คดีปกครองที่อาจยื่นต่อศาลปกครองได้มี 6 ประเภท ได้แก่1. ข้อโต้แย้งเกี่ยวกับคําสั่งทางปกครอง 2. ข้อโต้แย้งเกี่ยวกับการกระทําละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่น 3. ข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง 4. ข้อโต้แย้งเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ 5. ข้อโต้แย้งพิพาทเกี่ยวกับเรื่องวินัยการเงินการคลังของรัฐ 6. ข้อโต้แย้งอื่น ๆ ตามที่กฎหมายบัญญัติ

          4. คดีที่ไม่อยู่ในเขตอํานาจการพิจารณาคดีของศาลปกครองคือคดีที่มีกฎหมายตัดอํานาจศาลปกครองไว้เฉพาะ เช่น พระราชกําหนดบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544บัญญัติว่ามิให้นํากฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง และการออกระเบียบ ข้อบังคับ คําสั่ง คําวินิฉัย

          5. ในการฟ้องคดีต่อศาลปกครองนั้น ผู้มีสิทธิฟ้องคดีจะต้องเป็น ผู้ซึ่งได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายหรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหาย โดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้อันเนื่องมาจากการกระทํา หรือการงดเว้น การกระทําอย่างหนึ่งอย่างใดของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ ของรัฐตามที่กฎหมายกําหนด          

          6. การฟ้องคดีปกครองไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลตามกฎหมาย แต่ถ้าผู้ฟ้องคดีถูกสั่งให้ชำระเงินหรือส่งมอบทรัพย์สิน ผู้ฟ้องจะต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลตามบัญชีท้ายประมวลวิธีการพิจารณาคดี ในกรณีที่ศาลปกครองพิพากษาให้ผู้ฟ้องคดีชนะคดี 

          7. ศาลปกครองมี 2 ชั้น คือ ศาลปกครองชั้นต้นและศาลปกครองสูงสุด  วิธีการยื่นฟ้อง ได้แก่ ยื่นต่อเจ้าหน้าที่ศาลปกครอง และส่งทางไปรษณีย์

เอกสารอ้างอิง                               

ชาญชัย แสวงศักดิ์.(2547). คำอธิบายกฎหมายปกครอง. (พิมพ์ครั้งที่15).กรุงเทพฯ : วิญญชน

ฐิติพร ป่านไหม .(2559).สถานะการเงิน…อันอาจได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียม.สืบค้นเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2566.           

          จาก https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/.

ณัฐวุฒิ สุขแสวง.(2561). ผู้มีสิทธิฟ้องคดีปกครอง.วันที่สืบค้น:30 ธันวาคม 2566        

           จาก http://public-law.net/publaw

ราชกิจจานเบกษา -พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีทิจารณาคดิปคครอง ตุลาคม 2542.

            สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มกราคม2567.จากttps/th.wikipedia.org/wia/ศาลปคครอง ประเทศ

ไทยๆพฤกษ์ เดชาเกร็ด .(2560). เงื่อนไขเกี่ยวกับระยะเวลาการฟ้องคดีปกครอง .สืบค้นเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 

            2566. จากhttps://prueklaw.com/%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A2

วรวุธ มีจิตต์ .( 2557). การฟ้องคดีศาลปกครอง ตอน ๒. สืบค้นเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2566.

           จาก https://www.dsi.go.th/en/Detail/การฟ้องคดีศาลปกครอง-ตอน-๒ 

สำนักงานศาลปกครอง. (2557).  ข้อควรรู้ก่อนไปศาลปกครอง.สืบค้นเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2566.

           จาก http://www.admincourt.go.th 

อำพน เจริญวินทร์ .(2560). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับศาลปกครอง .สืบค้นเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2566. 

          จาก https://www.parliament.go.th/

 อริยพร โพธิใส. (2557). สารพันปัญหากฎหมาย.สืบค้นเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2567 จาก

          file:///C:/Users/ACER/Downloads/all2.pdf    

ฤทัย หงส์สิริ. (2566). ศาลปกครองและการดำเนินคดีในศาลปกครอง(พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: สำนัก

         อบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา.