ความรู้เกี่ยวกับศาลปกครอง

 1. ขัตติยา สวัสดี 2. ทิพากร สวัสดี 3. วรัญญา อดุลรัมย์ 4. ศศิกานต์ ปักกาเวสูง

นักศึกษาสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

1.  640112801020@bru.ac.th  2. 640112801026@bru.ac.th 3. 640112801042@bru.ac.th 4. 640112801044@bru.ac.th 

20 กุมภาพันธ์ 2567

              ศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีปกครองตามที่กฎหมายบัญญัติอันได้แก่คดีพิพาทที่เกิดจากการกระทำทางปกครองไม่ว่าจะเป็นคดีที่เป็นข้อพิพาทระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจศาลปกครองทำหน้าที่เป็นสถาบันหลักในกระบวนการยุติธรรมทางปกครองเป็นองค์กรตุลาการที่ใช้อำนาจในการแก้ไขเยียวยาความเดือดร้อนหรือเสียหายหรือคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพให้กับประชาชนจากการใช้อำนาจของฝ่ายปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายในขอบเขตของฝ่ายปกครองที่ต้องดำเนินกิจการเพื่อประโยชน์สาธารณะ แต่ถึงแม้ศาลปกครองจะทำหน้าที่ในการตรวจสอบและควบคุมการใช้อำนาจของฝ่ายปกครองซึ่งจะมีผลเป็นการป้องกันไม่ให้ฝ่ายปกครองใช้อำนาจที่ไม่พึงประสงค์หรือบิดเบือนการใช้อำนาจหรือมีการใช้อำนาจผิดไปจากวัตถุประสงค์หรือเจตนารมณ์ของกฎหมายก็ตามบทบาทของศาลปกครองก็มิได้มีหน้าที่เพียงการชี้ขาดตัดสินคดีที่เกิดขึ้นหรือการตีความบทบัญญัติของกฎหมายเพื่อให้ฝ่ายปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐใช้อำนาจอย่างถูกต้องและมิให้กระทบกระเทือนต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชนที่กฎหมายรับรองหรือคุ้มครองไว้เท่านั้น

1.ศาลปกครองคืออะไร

ศาลปกครองมีนักวิชาการให้ความหมายไว้สรุปดังนี้

  ฤทัย หงส์สิริ (2556 : 3) ให้ความหมายศาลปกครองว่าศาลปกครองเป็นองค์กรกรบังคับใช้คดีกลางและศาลปกครองเป็นศาลในระบบศาลที่มีอำนาจในการพิพากษาคดีที่เกี่ยวข้องกับการปกครอง ซึ่ง "ศาลปกครองเป็นองค์กรอิสระ" เกิดขึ้นมาพร้อมกับรัฐธรรมนูญ ปี พ.ศ. 2540 มีความแตกต่างจากองค์กรอิสระอื่นๆ

ดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม ให้ความหมายศาลปกครองว่า (2556) “ศาลปกครอง” เสาหลักกระบวนการยุติธรรมทางปกครองของไทยปัจจุบันกําลังย่างก้าวเข้าสู่ปีที่ 13 ของการ มุ่งมั่นทำหน้าที่อํานวยความยุติธรรมทางปกครองอันมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณชนรายงานปฏิบัติงานของศาลปกครองและสำนักงานศาลปกครอง ประจำปี(2562) ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นองค์กรตามรัฐธรรมนูญเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชน

กล่าวโดยสรุป ศาลปกครองเป็นองค์กรการบังคับใช้คดีกลาง และศาลปกครองเป็นศาลในระบบศาลทีมีอำนาจในการพิพากษาคดีที่เกี่ยวข้องกับการปกครองมุ่งมั่นทำหน้าที่อํานวยความยุติธรรมทางปกครองอันมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณชน

2.หน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐใดบ้างที่อาจถูกฟ้องต่อศาลปกครอง


สำนักประชาสัมพันธ์ สำนักศาลปกครอง ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีปกครอง ได้แก่คดีปกครองที่เกิดจากการใช้อำนาจโดยมิชอบของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ดังนั้น คู่กรณีที่พิพาทในคดีปกครองอาจมีได้ในกรณีดังต่อไปนี้

1. เอกชนพิพาทกับหน่วยงานทางปกครอง

2. เอกชนพิพาทกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ

3. หน่วยงานทางปกครองพิพาทกับหน่วยงานทางปกครอง

หน่วยงานทางปกครอง

หน่วยงานทางปกครองที่อาจถูกฟ้องคดีต่อศาลปกครองได้มีอยู่ 7 ประเภท ดังต่อไปนี้

1. หน่วยราชการที่เป็นราชการส่วนกลาง ได้แก่ กระทรวง

2. หน่วยราชการที่เป็นราชการส่วนภูมิภาค ได้แก่ จังหวัด อำเภอ

3. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ เทศบาล องค์การบริหาร ส่วนตำบล องค์การบริหารส่วนจังหวัดกรุงเทพมหานคร และเมือง พัทยา

เจ้าหน้าที่ของรัฐ

เจ้าหน้าที่ของรัฐที่อาจถูกฟ้องคดีต่อศาลปกครองได้นั้น ได้แก่

1. ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง คณะบุคคลหรือผู้ที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานทางปกครอง

2. คณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท คณะกรรมการหรือบุคคล ซึ่งมีกฎหมายให้อำนาจในการออกกฎคำสั่ง หรือมติใดๆ ที่มีผลกระทบ ต่อบุคคล

3. บุคคลที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแลของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐยกตัวอย่างได้ดังต่อไปนี้

 (1) ข้าราชการในกระทรวง กรม เช่น รัฐมนตรี ปลัดกระทรวงอธิบดี ผู้อำนวยการกอง

 (2) ข้าราชการในจังหวัด อำเภอ เช่น ผู้ว่าราชการจังหวัดนายอำเภอ

3.คดีปกครองประเภทใดที่อาจฟ้องต่อศาลปกครองได้


            สำนักประชาสัมพันธ์ สำนักศาลปกครอง 2557

  คดีปกครองที่อาจฟ้องต่อศาลปกครองได้ มีอยู่ 6 ประเภท ดังต่อไปนี้

1. คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐออกกฎ คำสั่งทางปกครองหรือกระทำการอื่นใดโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คดีที่ฟ้องขอให้เพิกถอนกฎ

คดีที่ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่ง

คดีที่ฟ้องขอให้ระงับการกระทำ

3 .คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือ

เจ้าหน้าที่ของรัฐ อันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายหรือจากกฎ คำสั่งทางปกครอง หรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร เช่น การใช้มาตรการบังคับทางปกครองเข้ารื้อถอนอาคารเกินกว่าที่จำเป็น

4.คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง


สำนักประชาสัมพันธ์ สำนักศาลปกครอง (2557) ข้อควรรู้ก่อนก่อนไปศาลปกครอง

คดีที่ไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครองอาจจัดแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ คดีปกครองทีกฎหมายกำหนดไม่ให้อยู่ในอำนาจของศาลปกครองและคดีที่มิใช่คดีปกครอง โดยมีทั้งหมด 6 ประเภทดังต่อไปนี้

1.คดีที่มีคู่กรณีเป็นหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมีลักษณะเป็นคดีปกครอง แต่มาตรา9 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองพ.ศ. 2542 บัญญัติยกเว้นไว้ไม่ให้อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง ซึ่งมีอยู่ 3 ประเภทคือ

        (ก) การดำเนินการเกี่ยวกับวินัยทหาร ไม่ว่าจะเป็นการลงทัณฑ์แก่ผู้กระทำผิดต่อวินัยทหารหรือเป็น

การดำเนินการทางวินัยอย่างอื่น

     (ข) การดำเนินการของคณะกรรมการตุลาการ (ก.ต.) ตามพระราช-บัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่าย

ตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 ซึ่งมิใช่เป็นการพิจารณาพิพากษาคดี แต่เป็นการบริหารงานบุคคลของ ผู้

พิพากษาศาลยุติธรรม เช่น การแต่งตั้งโยกย้าย การเลื่อนตำแหน่งการลงโทษทางวินัย

    (ค) คดีที่อยู่ในอำนาจของศาลชำนัญพิเศษต่างๆ ที่อยู่ในระบบศาลยุติธรรม ซึ่งได้จัดตั้งขึ้นก่อนที่จะมีการจัดตั้งศาลปกครอง ได้แก่

    • คดีที่อยู่ในอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัว เช่นการจดทะเบียนรับรองบุตร

   กรณีศึกษา

     คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ คบ.138/2563

แม้ว่าคำสั่งลงโทษทางวินัยดังกล่าว จะเป็นการใช้อำนาจตามกฏหมาย อันมีลักษณะเป็นคำสั่งทางปกครอง ซึ่งอยู่ในบังคับของกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ก็ตาม แต่เมื่อเป็นการใช้อำนาจระหว่างนายจ้างกับพนักงานซึ่งเป็นลูกจ้างตามสัญญาจ้างแรงงาน

 กล่าวสรุป คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองสัญญาระหว่างหน่วยงานทางปกครองกับเอกชน คดีพิพาทเกี่ยวกับ สัญญาดังกล่าวต้องฟ้องต่อศาลยุติธรรม

5.ฟ้องคดีต่อศาลปกครองต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขใดบ้าง


สำนักประชาสัมพันธ์ สำนักศาลปกครอง (2557)  ข้อควรรู้ก่อนก่อนไปศาลปกครอง คดีที่ศาลปกครองมีอำนาจรับไว้พิจารณาพิพากษาได้นั้นนอกจากจะต้องเป็นคดีปกครองแล้ว ยังจะต้องปรากฏด้วยว่า ผู้ฟ้องคดีได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการฟ้องคดีครบถ้วนแล้ว ดังนี้

1.         เป็นผู้มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครองในการฟ้องคดีต่อศาลปกครองนั้น ผู้มีสิทธิฟ้องคดีจะต้องเป็น ผู้

ซึ่งได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายหรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้

2. ได้ดำเนินการแก้ไขความเดือดร้อนหรือเสียหายตามขันตอนหรือวิธีการที่กฎหมายกำหนดแล้วในกรณีดังต่อไปนี้

    • พระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. 2509 และที่แก้ไขเพิ่มเติมกำหนดว่า ในกรณีที่พนักงาน

เจ้าหน้าที่ไม่ออกใบอนุญาตหรือไม่ต่ออายุใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการ ผู้ขอใบอนุญาตหรือผู้ขอต่ออายุ

ใบอนุญาต มีสิทธิอุทธรณ์ต่อผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติหรือปลัดกระทรวงมหาดไทยภายใน 30 วัน นับแต่

วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการไม่ออกใบอนุญาตหรือไม่ต่อใบอนุญาตนั้น

      ชาญชัย แสวงศักดิ์. (2556) เสนอคําฟ้องการยื่นฟ้องต่อศาล จะต้องเป็นไปตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้

        1. เรื่องที่นํามาฟ้องต้องเป็นคดีปกครอง และต้องเป็นเรื่องที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาล

ปกครองคือ เป็นกรณีตามมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง

       2. ต้องยื่นฟ้องต่อศาลที่มีอำนาจศาลในที่นี้หมายถึงทั้งอำนาจและเขตอำนาจกล่าวคือ คดีที่อยู่

ในอำนาจของศาลปกครองชั้นต้น ก็จะต้องยื่นฟ้องต่อศาลปกครองชั้นต้นจะฟ้องไปยังศาลปกครอง สูงสุดไม่ได้

    กล่าวโดยสรุป ฟ้องคดีต่อศาลปกครองต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข คดีที่ศาลปกครองมีอำนาจรับไว้พิจารณาพิพากษาได้นั้นนอกจากจะต้องเป็นคดีปกครองแล้ว ยังจะต้องปรากฏ

ด้วยว่า ผู้ฟ้องคดีได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการฟ้องคดีครบถ้วน

6.ฟ้องคดีต่อศาลปกครองต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลหรือไม่


สำนักประชาสัมพันธ์ สำนักศาลปกครอง (2557) ข้อควรรู้ก่อนก่อนไปศาลปกครอง การฟ้องคดีปกครองนั้น กฎหมายวางหลักไว้ว่าผู้ฟ้องคดีไม่ต้องเสีย

ค่าธรรมเนียมศาลค่าธรรมเนียมศาลเป็นส่วนหนึ่งของเงื่อนไขในการฟ้องคดี ซึ่งการฟ้องคดีปกครองนั้น

กฎหมายวางหลักไว้ว่าผู้ฟ้องคดีไม่ต้องเสีย ค่าธรรมเนียมศาล

       นิธินันท์ สุขวงศ์ (2557) โดยปกติการฟ้องคดีปกครองต่อศาลปกครอง ผู้ฟ้องคดีไม่ต้องเสีย

ค่าธรรมเนียมศาล ตามหลักในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542

สํานักวิจัยและวิชาการสํานักงานศาลปกครอง.(2564 : ออนไลน์) ธรรมเนียมศาล การฟ้องคดีต่อศาล

ปกครองโดยทั่วไปแล้วไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล เว้นแต่การฟ้องคดีขอให้ศาลปกครองพิจารณาให้ใช้เงิน

คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองการฟ้องคดีต่อศาลปกครองมีขั้นตอนหลัก ๆ ดังนี้

1.เตรียมเอกสาร

2.ยื่นคําฟ้อง

3.พยาน

กล่าวโดยสรุป การฟ้องคดีปกครองนั้น กฎหมายวางหลักไว้ว่าผู้ฟ้องคดีไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลค่าธรรมเนียมศาลเป็นส่วนหนึ่งของเงื่อนไขในการฟ้องคดี

7.ยื่นคำฟ้องคดีปกครองได้ที่ใด


สำนักประชาสัมพันธ์ สำนักศาลปกครอง ศาลปกครองมี 2 ชั้นศาล คือศาลปกครองชั้นต้น และศาลปกครองสูงสุด

มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์(2021)

       การฟ้องคดีปกครองได้บัญญัติหลักเกณฑ์วิธีการไว้ใน พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 จะต้องเป็นไปตามเงื่อนไข

วิธีการยื่นคำฟ้องผู้ฟ้องคดีสามารถเลือกยื่นคำฟ้องได้ 2 วิธีคือ

    1. ยื่นคำฟ้องต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของศาลปกครอง

    2. ยื่นคำฟ้องโดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนสถานที่ยื่นคำฟ้องศาลปกครองสูงสุด

กล่าวโดยสรุป จะต้องยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง ชั้นต้นที่มีเขตอำนาจ ซึ่งกฎหมายกำหนดให้ยื่นฟ้องต่อศาลที่ผู้ฟ้องคดีมีภูมิลำเนาหรือที่มูลคดีเกิด

สรุป

    1) ศาลปกครอง เป็นองค์กรการบังคับใช้คดีกลาง และศาลปกครองเป็นศาลในระบบศาลที่มีอำนาจในการพิพากษาคดีที่เกี่ยวข้องกับการปกครองมุ่งมั่นทําหน้าที่อํานวยความยุติธรรมทางปกครองอันมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณชน

   2) หน่วยงานทางปกครองที่อาจถูกฟ้องคดีต่อศาลปกครองจึงไม่รวมถึงรัฐสภาที่ใช้อำนาจทางนิติ

บัญญัติและศาลที่ใช้อำนาจทางตุลาการ

  3) คดีปกครองที่อาจฟ้องต่อศาลปกครองได้

  1.เป็นคดีเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางการปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐออกกฎ คำสั่งหรือการ

กระทำไม่ชอบด้วยกฎหมาย

 2.คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร

 3.คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ

  4).คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองสัญญาระหว่างหน่วยงานทางปกครองกับเอกชน คดีพิพาทเกี่ยวกับ สัญญาดังกล่าวต้องฟ้องต่อศาลยุติธรรม

  5) ฟ้องคดีต่อศาลปกครองต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข คดีที่ศาลปกครองมีอำนาจรับไว้พิจารณาพิพากษาได้นั้นนอกจากจะต้องเป็นคดีปกครองแล้ว

  6) ฟ้องคดีต่อศาลปกครองต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลการฟ้องคดีปกครองนั้น กฎหมายวางหลักไว้ว่าผู้ฟ้องคดีไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลค่าธรรมเนียมศาลเป็นส่วนหนึ่งของเงื่อนไขในการฟ้องคดี

   7) การฟ้องคดีปกครองนั้นต้องฟ้องที่ศาลไหน จะต้องยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง ชั้นต้นที่มีเขตอำนาจ ซึ่งกฎหมายกำหนดให้ยื่นฟ้องต่อศาลที่ผู้ฟ้องคดีมีภูมิลำเนาหรือที่มูลคดีเกิด

เอกสารอ้างอิง

-ชาญชัย แสวงศักดิ์. (2556). ศาลปกครอง(พิมพ์ครั้งที่8). https://library.coj.go.th

-ดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม ให้ความหมายศาลปกครองว่า(2556) https://admincourt.go.th/

-นิธินันท์สุขวงศ์.(2557)คลังสารสนเทศของสถาบันนิติบัญญัติ.รายงานปฏิบัติงานของศาลปกครองและสำนักงาน

ศาลปกครอง(2562)https://dl.parliament.go.th/

-สำนักประชาสัมพันธ์สำนักศาลปกครอง.(2565).คดีปกครองประเภทที่อาจถูกฟ้องกับศาลปกครอง

ได้สืบค้นเมื่อ9มกราคม2567 https://www.admincourt.go.th.

-สำนักวิจัยและวิชาการสำนักงานศาลปกครอง.(2564). https://aclib.admincourt.go.th/