ความรู้เกี่ยวกับศาลปกครอง

(1) กรกมล ทองจันทร์  (2) ภัสราภรณ์ ฉิวรัมย์ (3) วรนิษฐา วระจันทร์  (4) อินทิรา ประจันบาล 

สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์

(1) 640112801018@bru.ac.th (2) 640112801038@bru.ac.th (3) 640112801041@bru.ac.th (4) 640112801056@bru.ac.th

19 กุมภาพันธ์ 2567

        การพิจารณาวินิจฉัยคดีปกครองในประเทศไทย เริ่มมีตั้งแต่อดีตเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน แต่ในสมัยแรกอำนาจในการพิจารณาวินิจฉัยคดีปกครองรวมอยู่ที่พระมหากษัตริย์และฝ่ายปกครอง ต่อมาได้เปลี่ยนมาอยู่ที่ฝ่ายตุลาการหรือศาลยุติธรรมเป็นหลัก รูปแบบของศาลไทยยังอยู่ในระบบศาลเดี่ยว คือ มีศาลยุติธรรมเป็นองค์กรหลัก ทำหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวง รวมถึงคดีปกครองด้วย ภายหลังนักกฎหมายและนักการเมืองต่างมีแนวความคิด จึงได้เสนอแนวคิดให้มีการจัดตั้งศาลปกครองขึ้น

1.ศาลปกครองคืออะไร


ศาลปกครองนิยามความหมายไว้หลากหลายมีดังนี้

          อริยพร โพธิใส (2557 : 1) ได้ให้ความหมายของศาลปกครองว่า เป็นศาลที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มีอำนาจหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีปกครอง ซึ่งเป็นคดีพิพาทระหว่างหน่วยงานของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชน คดีพิพาทระหว่างหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกันเอง 

          ฤทัย หงส์ศิริ (2560 : 5) ให้ความหมายตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 197 "ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีปกครองอันเนื่องมาจากการใช้อำนาจทางปกครองตามกฎหมายหรือเนื่องมาจากการดำเนินกิจการทางปกครอง ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติให้มีศาลปกครองสูงสุดและศาลปกครองชั้นต้น อำนาจศาลปกครองตามวรรคหนึ่ง ไม่รวมถึงการวินิจฉัยชี้ขาดขององค์กรอิสระซึ่งเป็นการใช้อำนาจโดยตรงตามรัฐธรรมนูญขององค์กรอิสระนั้นๆการจัดตั้ง วิธีพิจารณาคดี และการดำเนินงานของศาลปกครองให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น"

          ปานสิริ (2560 : 1) ให้ความหมายของศาลปกครองไว้ว่า เป็นองค์กรที่ใช้อำนาจตุลาการ เช่นเดียวกับศาลยุติธรรม แต่จะทำหน้าที่พิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในคดี ที่เรียกว่า คดีปกครองศาลปกครองนั้นจะมีอำนาจหน้าที่ในการวินิจฉัยชี้ขาดคดีพิพาทที่เกิดระหว่างหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชน หรือระหว่างหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกันเอง


           กล่าวโดยสรุป ศาลปกครอง หมายถึง ศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีปกครองตามที่กฎหมายบัญญัติอัน ได้แก่ คดีพิพาทที่เกิดจากการกระทำทางปกครองไม่ว่าจะเป็นคดีที่เป็นข้อพิพาทระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแลของรัฐบาลกับเอกชนหรือระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแลของรัฐบาลด้วยกัน

2.หน่วยงานทางการปกครองและเจ้าหน้าที่รัฐใดบ้างที่อาจถูกฟ้องคดีต่อศาลปกครอง


           ศาลปกครอง (2557 : 13) คู่กรณีที่พิพาทในคดีปกครองอาจมีได้ในกรณี 

ดังต่อไปนี้

           1. เอกชนพิพาทกับหน่วยงานทางปกครอง

           2. เอกชนพิพาทกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ

           3. หน่วยงานทางปกครองพิพาทกับหน่วยงานทางปกครอง

           4. เจ้าหน้าที่ของรัฐพิพาทกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ

           5. เจ้าหน้าที่ของรัฐพิพาทกับหน่วยงานทางปกครอง

  

           มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ (2564 : 1)ได้อธิบายว่า การฟ้องคดีปกครองได้บัญญัติหลักเกณฑ์วิธีการไว้ใน พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 และอีกส่วนหนึ่งกำหนดไว้ในระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครองพ.ศ. 2543การเสนอคำฟ้อง การยื่นฟ้องต่อศาล จะต้องเป็นไปตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้

           เรื่องที่นำมาฟ้องต้องเป็นคดีปกครอง และต้องเป็น กรณีตามมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง ได้แก่การกระทำของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เช่น ออกคำสั่งผิดวิธี ไม่ดำเนินการตามระเบียบ เป็นต้น กรณีนี้เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือหน่วยงานทางปกครองละเลยต่อหน้าที่ หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร เจ้าหน้าที่ หรือหน่วยงานกระทำละเมิดต่อบุคคลอื่น คดีเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง คดีที่กฎหมายกำหนดให้หน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ทางปกครอง มาฟ้องคดีต่อศาลปกครอง คดีที่เกี่ยวกับเรื่องที่กฎหมายกำหนดให้อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง 

  

          สำนักงานศาลปกครอง (2565 : 3) หน่วยงานทางปกครองที่อาจถูกฟ้องต่อศาลได้ มีอยู่ 7 ประเภท ดังต่อไปนี้

          1. หน่วยงานราชการที่เป็นราชการส่วนกลาง

          2. หน่วยงานราชการที่เป็นราชการส่วนภูมภาค

          3. องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น

          4. รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติ

          5. หน่วยงานของรัฐที่มิได้เป็นส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจที่เรียกกันว่าองค์การมหาชน

          6. หน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญ

          7. หน่วยงานที่ได้รับมอบหมายจากรัฐให้ใช้อำนาจทางปกครองหรือให้ดำเนินกิจการทางปกครอง 



           กล่าวโดยสรุป เอกชนอาจถูกฟ้องต่อศาลปกครองได้เช่นกัน เช่น คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองคู่สัญญาอาจฟ้องเอกชนคู่สัญญาเป็นคดีต่อศาลปกครองได้


3.ประเภทของคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง


         ชาญวิทย์ กันยา (2559 :1) คดีพิพาทที่เกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐและหน่วยงานทางปกครองกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายสรุปคำสั่งศาลปกครองสูงสุด คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 และสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 มีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ.2542 ในการตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการอนุมัติบัตรโดยสารฟรีและรากาสำหรับบุคคลภายนอกในการประชุมของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ครั้งที่ 43/2544 


         อธิวัฒน์ ช่อผูก (2566 : 1 ) พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง มาตรา 9มาตรา 9 ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในเรื่องดังต่อไปนี้

         1.คดีพิพาทที่เกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ว่าจะเป็นการออกกฎ คำสั่งหรือการกระทำอื่นใดเนื่องจากกระทำโดยไม่มีอำนาจหรือนอกเหนืออำนาจหน้าที่หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือโดยไม่ถูกต้องตามรูปแบบขั้นตอน 

         2.คดีพิพาทที่เกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร

         3. คดีพิพาทที่เกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย หรือจากกฎ คำสั่งปกครองหรือคำสั่งอื่น หรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร

         4. คดีพิพาทที่เกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง คดีที่มีกฎหมายกำหนดให้หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐฟ้องคดีต่อศาลเพื่อบังคับให้บุคคลต้องกระทำหรือละเว้นกระทำอย่างหนึ่งอย่างใด

         6. คดีพิพาทที่เที่ยวกับเรื่องที่มีกฎหมายกำหนดให้อยู่ในเขตอำนาจศาลปกครองกล่าวโดยสรุป เป็นคดีพิพาทที่เกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ว่าจะเป็นการออกกฤาคดีพิพาทที่เกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐและหน่วยงานทางปกครอง


         พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง (ราชกิจจานุเบกษา,2542:1) ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในเรื่องดังต่อไปนี้

         คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ว่าจะเป็นการออกกฎ คำสั่งหรือการกระทำอื่นใดเนื่องจากกระทำโดยไม่มี อำนาจหรือนอกเหนืออำนาจหน้าที่หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือโดยไม่ถูกต้องตามรูปแบบขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้สำหรับการกระทำนั้น 

คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ หรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร

          คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย หรือจากกฎคำสั่งทางปกครอง หรือคำสั่งอื่น หรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ หรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร

          คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองคดีที่มีกฎหมายกำหนดให้หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐฟ้องคดีต่อศาลเพื่อบังคับให้บุคคลต้องกระทำหรือละเว้นกระทำอย่างหนึ่งอย่างใด

          คดีพิพาทเกี่ยวกับเรื่องที่มีกฎหมายกำหนดให้อยู่ในเขตอำนาจศาลปกครอง    



          กล่าวโดยสรุป คดีที่อยู่ในอำนาจศาลปกครองสูงสุด ตามมาตรา 11 แบ่งได้เป็น คดีพิพาทเกี่ยวกับคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท ตามที่ที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดประกาศกำหนดคดีพิพาทเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายของพระราชกฤษฎีกาหรือกฎที่ออกโดยคณะรัฐมนตรี หรือโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี คดีที่มีกฎหมายกำหนดให้อยู่ในอำนาจศาลปกครองสูงสุด คดีที่อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้น


4. คดีประเภทใดที่ไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง

              

              อิทธิพร จิระพัฒนากุล (2542:1) ได้กล่าวไว้ว่าเรื่องที่ไม่ไม่อยู่ในอำนาจศาลปกครองอำนาจศาลปกครอง มีดังนี้

             1. การดำเนินการเกี่ยวกับวินัยทหาร

             2. การดาเนินการของคณะกรรมการตุลาการุตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบ

ข้าราชการฝ่ายตุลาการ

             3. คดีที่อยู่ในอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัวศาลแรงงาน ศาลภาษีอากร ศาลทรัพย์สนทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศศาลล้มละลาย หรือศาลชำนาญพิเศษอื่น

             วรพจน์ วิศรุตพิชญ์ (2559:3) คดีปกครองที่ไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง เนื่องจากกฎหมายห้ามมิให้ ศาลปกครองรับไว้พิจารณาพิพากษาด้วยเหตุผลทางนิตินโยบายบางประการมีตัวอย่างเช่น  มาตรา 9 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 บัญญัติว่า “เรื่องดังต่อไปนี้ไม่อยู่ในอำนาจศาลปกครอง"

             (1) การดำเนินการเกี่ยวกับวินัยทหาร

             (2) การดำเนินการของคณะกรรมการตุลาการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการตุลาการ

             (3) คดีที่อยู่ในอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัว ศาลแรงงาน ศาลภาษีอากร ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ศาลล้มละลาย หรือศาลชำนาญพิเศษอื่น

             สำนักงานศาลปกครอง (2557 : 29) คดีที่ไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครองอาจจัดแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือคดีปกครองที่กฎหมายกำหนดไม่ให้อยู่ในอำนาจของศาลปกครองและคดีที่มิใช่คดีปกครอง โดยมีทั้งหมด6 ประเภทดังต่อไปนี้

            1. คดีที่มีคู่กรณีเป็นหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ ของรัฐซึ่งมีลักษณะเป็นคดีปกครอง แต่มาตรา 9 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 บัญญัติยกเว้นไว้ไม่ให้อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง

            2. คดีที่มีกฎหมายตัดอำนาจศาลปกครองไว้โดยเฉพาะ เช่น พระราชกำหนดบรรษัทบริหาร สินทรัพย์ไทย พ.ศ. 2544 บัญญัติว่า มิให้นำ กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณา คดีปกครองมาใช้บังคับแก่การดำเนินคดี

            3. คดีที่คู่กรณีมิใช่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ

            4. คดีที่คู่กรณีเป็นหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ ของรัฐ แต่การกระทำ ดังกล่าวมิได้เป็นการกระทำที่ใช้อำนาจ ทางปกครองหรือดำ เนินกิจการปกครอง หรือเป็นการกระทำส่วนตัว

            5. คดีแพ่ง หรือคดีอาญา ซึ่งเป็นการดำ เนินงานตาม กระบวนการยุติธรรมทางแพ่งหรือทางอาญาอยู่ในอำนาจของ ศาลยุติธรรม

            6. คดีที่ฟ้องขอให้ศาลปกครองลงโทษทางวินัยหรือลงโทษ ทางอาญาแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งการลงโทษทางวินัยเป็นเรื่องที่อยู่ ในอำนาจของผู้บังคับบัญชา ส่วนการลงโทษทางอาญาเป็นอำนาจ ของศาลยุติธรรม ไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง 


            กล่าวโดยสรุป ฟ้องคดีต่อศาลปกครองต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข คดีที่ศาลปกครองมีอำนาจรับไว้พิจารณาพิพากษาได้นั้นนอกจากจะต้องเป็นคดีปกครองแล้ว ยังจะต้องปรากฏด้วยว่า ผู้ฟ้องคดีได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการฟ้องคดีครบถ้วน

5.ฟ้องคดีต่อศาลปกครองต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขใดบ้าง


        ชาญชัย แสวงศักดิ์. (2556)เสนอคำฟ้องการยื่นฟ้องต่อศาล จะต้องเป็นไปตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้

1. เรื่องที่นำมาฟ้องต้องเป็นคดีปกครอง และต้องเป็นเรื่องที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองคือเป็นกรณีตามมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง

2. ต้องยื่นฟ้องต่อศาลที่มีอำนาจอำนาจศาลในที่นี้หมายถึงทั้งอำนาจและเขตอำนาจกล่าวคือ คดีที่อยู่ในอำนาจของศาลปกครองชั้นต้น ก็จะต้องยื่นฟ้องต่อศาลปกครองชั้นต้นจะฟ้องไปยังศาลปกครอง สูงสุดไม่ได้

3. คำฟ้องต้องทำเป็นหนังสือและมีรายการตามที่กำหนดไว้และยื่นโดยถูกวิธีการฟ้องคดีปกครองไม่มีแบบของคำฟ้องกำหนดไว้เฉพาะ แต่ต้องทำเป็นหนังสือ ฟ้องด้วยวาจาไม่ได้ ใช้ถ้อยคำสุภาพ

4. ผู้ฟ้องคดีต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถตามกฎหมายโดยหลักแล้วผู้ฟ้องคดีต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถในการทำนิติกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ หากผู้ฟ้องคดีมีข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถก็จะต้องดำเนินการแก้ไขตามที่ประมวลกฎหมายแพ่ง

5. ผู้ฟ้องคดีต้องเป็นผู้มีสิทธิฟ้องคดีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 276 ของ รัฐธรรมนูญ และมาตรา 42 กล่าวคือจะต้องเป็นผู้ที่ได้รับความเดือดร้อน

6. ต้องยื่นฟ้องภายในระยะเวลาที่กำหนดกรณีที่ฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนกฎ

7. ก่อนฟ้องคดีปกครองต้องดำเนินการแก้ไขความเดือดร้อน หรือเสียหายตามขั้นตอนหรือวิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับการนั้นเสียก่อน

8. การชำระค่าธรรมเนียมศาลโดยทั่วไปการฟ้องคดีปกครองไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล

9. การขอให้ฝ่ายปกครองเยียวยาแก้ไขความเสียหายก่อนฟ้องคดีในกรณีที่มีกฎหมายกำหนดขั้นตอน

       งานนิติการมหาวิทยาลัยราชกัฏวไลยอลงกรณ์(2562:1) ในพระบรมราชูปถัมภ์การเสนอคำฟ้อง การยื่นฟ้องต่อศาล จะต้องเป็นไปตามเงื่อนไข 

ดังต่อไปนี้

1. เรื่องที่นำมาฟ้องต้องเป็นคดีปกครอง และต้องเป็น กรณีตามมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง ได้แก่

1.1 การกระทำของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เช่น ออกคำสั่งผิดวิธี ไม่ดำเนินการตามระเบียบ เป็นต้น

1.2 กรณีนี้เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือหน่วยงานทางปกครองละเลยต่อหน้าที่ หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร

1.3 เจ้าหน้าที่ หรือหน่วยงานกระทำละเมิดต่อบุคคลอื่น

1.4 คดีเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง9

1.5 คดีที่กฎหมายกำหนดให้หน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ทางปกครอง มาฟ้องคดีต่อศาลปกครอง

1.6 คดีที่เกี่ยวกับเรื่องที่กฎหมายกำหนดให้อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง

2. ต้องยื่นฟ้องต่อศาลที่มีอำนาจต้องยื่นฟ้องศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นหรือศาลที่ผู้ฟ้องคดีมีภูมิลำเนาอยู่เขตศาลนั้น

3. คำฟ้องต้องทำเป็นหนังสือและมีรายการตามที่กำหนดไว้และยื่นโดยถูกวิธี

4. ผู้ฟ้องคดีต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถตามกฎหมาย

5. ผู้ฟ้องคดีต้องเป็นผู้มีสิทธิฟ้องคดีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 276 ของ รัฐธรรมนูญ และมาตรา 42 พรบ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542

6. ต้องยื่นฟ้องภายในระยะเวลาที่กำหนดกรณีที่ฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนกฎ หรือคำสั่งทางปกครอง

7. ก่อนฟ้องคดีปกครองต้องดำเนินการแก้ไขความเดือดร้อน หรือความเสียหายตามขั้นตอนหรือวิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับการนั้นเสียก่อน

8. การชำระค่าธรรมเนียมศาลกรณีการฟ้องคดีขอให้ศาลสั่งให้ใช้เงินหรือส่งมอบทรัพย์สินอันสืบเนื่องจากคดีพิพาทเกี่ยวกับการทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครอง

        สำนักประชาสัมพันธ์ สำนักศาลปกครอง(2557:1) คดีที่ศาลปกครองมีอำนาจรับไว้พิจารณาพิพากษาได้นั้นนอกจากจะต้องเป็นคดีปกครองแล้ว ยังจะต้องปรากฏด้วยว่า ผู้ฟ้องคดีได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการฟ้องคดีครบถ้วนแล้ว ดังนี้

         1. เป็นผู้มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครองในการฟ้องคดีต่อศาลปกครองนั้น ผู้มีสิทธิฟ้องคดีจะต้องเป็น ผู้ซึ่งได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายหรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้

         2. ได้ดำเนินการแก้ไขความเดือดร้อนหรือเสียหายตามข้นตอนหรือวิธีการที่กฎหมายกำหนดแล้วเรียบร้อย


         กล่าวโดยสรุป ฟ้องคดีต่อศาลปกครองต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข คดีที่ศาลปกครองมีอำนาจรับไว้พิจารณาพิพากษาได้นั้นนอกจากจะต้องเป็นคดีปกครองแล้ว ยังจะต้องปรากฏด้วยว่า ผู้ฟ้องคดีได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการฟ้องคดีครบถ้วน

6.ฟ้องคดีต่อศาลปกครองต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลหรือไม่

          

           ณัฐกฤช  มุสิกะโสภณ (2560:3)  ค่าธรรมเนียมศาล การฟ้องคดีปกครองนั้น กฎหมายวางหลักไว้ว่า ผู้ฟ้องคดีไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล เช่น ฟ้องคดีขอให้ศาลสั่งเพิกถอนกฎ หรือคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ฟ้องคดีขอให้สั่งห้ามการกระทำทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ฟ้องคดีขอให้ศาลสั่งให้หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด 

            นิธินันท์ สุขวงศ์.(2557:1) โดยปกติการฟ้องคดีปกครองต่อศาลปกครอง ผู้ฟ้องคดีไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล ตามหลักในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542

            สำนักวิจัยและวิชาการสำนักงานศาลปกครอง.(2564 : 3) ธรรมเนียมศาล การฟ้องคดีต่อศาลปกครองโดยทั่วไปแล้วไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล เว้นแต่การฟ้องคดีขอให้ศาลปกครองพิจารณาให้ใช้เงิน คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองการฟ้องคดีต่อศาลปกครองมีขั้นตอนหลัก ๆ ดังนี้

            1.เตรียมเอกสาร

                   1. 1รวบรวมข้อมูลและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับคดี

                   1.2 เขียนคำฟ้องเป็นลายเดียวหรือลายทับ

             2.ยื่นคำฟ้อง

                   2.1 นำเอกสารและคำฟ้องไปยื่นที่ศาลปกครองท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง

             3.พยาน

                   3.1 ให้คู่จำหน่ายรับทราบการฟ้องคดี

                   3.2 ทำการแจ้งคู่จำหน่ายถึงการวาระการพิจารณาคดี

             4.นัดพิจารณา

                  4.1ศาลจะตั้งวาระการนัดพิจารณาคดี

                  4.2 คู่จำหน่ายต้องเข้าร่วมการนัด

             5.ประกาศคำพิพากษาศาลจะประกาศคำพิพากษาหลังจากการพิจารณาโปรดทราบว่าขั้นตอนและรายละเอียดอาจแตกต่าง ไปตามกฎหมาย


             กล่าวโดยสรุป การฟ้องคดีปกครองนั้น กฎหมายวางหลักไว้ว่าผู้ฟ้องคดีไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล ค่าธรรมเนียมศาลเป็นส่วนหนึ่งของเงื่อนไขในการฟ้องคดี

7.ยื่นคำฟ้องคดีปกครองได้ที่ใด  

         การฟ้องคดีปกครองได้บัญญัติหลักเกณฑ์วิธีการไว้ใน พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 จะต้องเป็นไปตามเงื่อนไข

          มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์(2564:1)เรียบร้อย

          สำนักประชาสัมพันธ์ สำนักศาลปกครอง ศาลปกครองมี 2 ชั้นศาล คือศาลปกครองชั้นต้นและศาลปกครองสูงสุด


        กล่าวโดยสรุปการฟ้องคดีปกครองนั้นต้องฟ้องที่ศาลไหน จะต้องยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง ชั้นต้นที่มีเขตอำนาจ ซึ่งกฎหมายกำหนดให้ยื่นฟ้องต่อศาลที่ผู้ฟ้องคดีมีภูมิลำเนาหรือที่มูลคดีเกิด

อ้างอิง