ศาลปกครองน่าสนใจ

(1) ธีรเกียรติ อ่อนยิ่ง    (2) ฟิสิกส์ คำอุบล   (3) ภัคจิรา จรรยา   (4) อารญา กัวศิริกุล     

สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมสาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

(1) 640112801008@bru.ac.th (2) 640112801012@bru.ac.th (3) 640112801037@bru.ac.th (4)640112801055@bru.acth

19 กุมภาพันธ์ 2567

                       ศาลปกครองเป็นศาลที่มีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีปกครองตามที่กฎหมายบัญญัติ ซึ่งศาลปกครองเป็นองค์กรที่ใช้อํานาจตุลาการเช่นเดียวกับศาลยุติธรรม แต่จะทําหน้าที่พิจารณาพิพากษาหรือมีคําสั่งในคดี ที่เรียกว่า คดีปกครอง ศาลปกครองนั้นจะมีอํานาจหน้าที่ในการวินิจฉัยชี้ขาดคดีพิพาทที่เกิดระหว่างหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชน หรือระหว่างหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกันในบทความนี้จะได้กล่าวถึงความหมายของศาลปกครอง หน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อาจถูกฟ้องคดีต่อศาลปกครอง ประเภทของคดีปกครองที่อาจฟ้องต่อศาลปกครองได้ คดีประเภทที่ไม่อยู่ในอํานาจของศาลปกครอง เงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติตามในการฟ้องคดีต่อศาลปกครอง การฟ้องคดีต่อศาลปกครองจะต้องเสียค่าทําเนียมหรือไม่ และยื่นคําฟ้องคดีปกครองได้ที่ใด

1.ศาลปกครองคืออะไร

1.ศาลปกครอง มีนักวิชาการได้ให้ความหมายไว้โดยสรุป ดังนี้            

                 ดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม (2556) ให้ความหมายศาลปกครองว่า “ศาลปกครอง” เสาหลักกระบวนการยุติธรรมทางปกครองของไทยปัจจุบันกําลังย่างก้าวเข้าสู่ปีที่ 13 ของการ มุ่งมั่นทําหน้าที่อําความยุติธรรมทางปกครองอันมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณช่น


                      โภดิน พลกุล(2544: 1) กล่าวคือ ศาลปกครอง เป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช2540 และตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มีอํานาจหน้าที่พิจรณาพิพากษา "คดีปกครอง" ซึ่งเป็นคดีพิพาทระหว่างหน่วยงานราชการหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชนกรณีหนึ่งและข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกันอีกกรณีหนึ่ง ทั้งนี้เพื่อปกป้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนและเพื่อสร้างบรรทัดฐานที่ถูกต้องในการปฏิบัติราชการ.

            อริยพร โพธิใส (2557 : 1)ให้ความหมายศาลปกครองว่าศาลปกครองคือศาลที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองพ.ศ.2542มีอำนาจหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีปกครองซึ่งเป็นคดีพิพาทระหว่างหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชนหรือคดีพิพาทระหว่างหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกันเองอันเนื่องมาจากการใช้อำนาจทางปกครองการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่การปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควรการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือเป็นคดีพิพาทอันเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง

       สรุป    ศาลปกครองเป็นองค์กรการบังคับใช้คดีกลาง และศาลปกครองเป็นศาลในระบบศาลที่มีอำนาจในการพิพากษาคดีที่เกี่ยวข้องกับการปกครองมุ่งมั่นทําหน้าที่อํานวยความยุติธรรมทางปกครองอันมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณชน

2.หน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐใดบ้างที่อาจถูกฟ้องคดีต่อศาลปกครอง 

         ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีปกครองได้แก่คดีปกครองที่เกิดจากการใช้อำนาจโดยมิชอบของหน่วยงาน ทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งอาจเป็นข้อพิพาทระหว่างเอกชน ฝ่ายหนึ่งกับหน่วยงานทางปกครองหรือ เจ้าหน้าที่ของรัฐอีกฝ่ายหนึ่ง หรืออาจเป็นข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกันเอง ดังนั้น คู่กรณีที่พิพาทในคดีปกครองอาจมีได้ในกรณีดังต่อไปนี้ 


        ศาลปกครอง (2557 : 13) ให้ความหมายศาลปกครองว่าว่า ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีปกครองได้แก่ คดีปกครองที่เกิดจากการใช้อำนาจโดยมิชอบของหน่วยงาน ทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งอาจเป็นข้อพิพาทระหว่างเอกชน ฝ่ายหนึ่งกับหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอีกฝ่าย

         

              รฉัตร วริวรรณ (2566).หน่วยงานทางปกครองสําคัญในประเทศไทยรัฐบาลไทย: รัฐบาลไทยประกอบไปด้วยกระทรวงต่าง ๆ 

และหน่วยงานราชการที่รับผิดชอบต่างๆในการบริหารจัดการประเทศตัวอย่างเช่นกระทรวงการคลัง, กระทรวงการต่างประเทศ, กรมการแผนงานและสํานักงานคณะกรรมการการกํากับการดําเนินการตลาด.

        

            ชาญวิทย์ กันยา (2559 : 1) คดีพิพาทที่เกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐและหน่วยงานทางปกครองกระทำการโดยไม่ชอบ

ด้วยกฎหมาย


           สรุป   กล่าวโดยสรุปเป็นคดีพิพาทที่เกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ว่าจะเป็นการออกกฎ 

คดีพิพาทที่เกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐและหน่วยงานทางปกครองกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย

3.คดีปกครองที่อาจถูกฟ้องต่อศาลได้ 

           คดีที่ไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครองอาจจัดแบ่งได้เป็น2 กลุ่ม คือ คดีปกครองที่กฎหมายกำหนดไม่ให้อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง

และคดีที่มิใช่คดีปกครอง 

            ศรุต นิติรัช (2563:ออนไลน์) คดีที่ไม่อยู่ในอานาจของศาลปกครอง ตามมาตรา 9 วรรค 2

1. การดำเนินการเกี่ยวกับวินัยทหาร 

2. การดำเนินการของคณะกรรมการตุลาการกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ 

3. คดีที่อยู่ในอานาจของศาลชำนาญพิเศษ

                  อิทธิพร จิระพัฒนากุล (2542 : 1) ได้กล่าวไว้ว่าเรื่องที่ไม่ไม่อยู่ในอำนาจศาลปกครองอำนาจศาลปกครอง มีดังนี้

1. การดำเนินการเกี่ยวกับวินัยทหาร    2. การดำเนินการของคณะกรรมการตุลาการุตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบขาราชการฝ่ายตุลาการ

3. คดีที่อยู่ในอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัวศาลแรงงาน ศาลภาษีอากร ศาลทรัพย์สนทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศศาลล้มละลาย หรือศาลชำนาญพิเศษอื่น

                  นันทวัฒน์ บรมานันท์ (2559:ออนไลน์) คดีที่ไม่อยู่ในอานาจของศาลปกครอง มาตรา 9 วรรคสอง

แห่งกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองได้บัญญัติถึงข้อพิพาทที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลปกครองไว้ 3 ประเภทคดี 

คือ 1.การดำเนินการเกี่ยวกับวินัยทหาร 2.การดำเนินการของคณะกรรมการตุลาการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่าย =ตุลาการ 

3.คดีที่อยู่ในอานาจของศาลเยาวชนและครอบครัว ศาลแรงงาน ศาลภาษีอากร ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ศาลล้มละลาย หรือศาลชำนาญพิเศษอื่น


              สรุป    คดีที่ไม่อยู่ในอานาจของศาลปกครอง ตามมาตรา 9 วรรค 2

1. การดำเนินการเกี่ยวกับวินัยทหาร

2. การดำเนินการของคณะกรรมการตุลาการกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ

3. คดีที่อยู่ในอานาจของศาลชำนาญพิเศษ

– ศาลเยาวชนและครอบครัว ศาลแรงงาน ศาลภาษีอากร ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ศาลชำนาญพิเศษอื่นๆ


4.คดีประเภทใดที่ไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง 

คดีที่ไม่อยู่ในเขตอํานาจของศาลปกครองมีนักวิชาการหลายท่านได้จําแนกออกเป็นหลายประเภทในคดีปกครองที่กฎหมายกําหนดไม่ให้อยู่ในอํานาจของศาลปกครองและคดีที่มิใช่คดีปกครอง 

        สํานักงานศาลปกครอง (2557 : 30) กล่าวว่าคดีที่ไม่อยู่ในเขตอํานาจการพิจารณาคดีของศาลปกครองคือคดีที่มีกฎหมายตัดอํานาจศาลปกครองไว้เฉพาะ เช่น พระราชกําหนดบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544 บัญญัติว่ามิให้นํากฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง มาใช้บังคับแก่การดําเนินการเกี่ยวกับการบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) และการออกระเบียบ ข้อบังคับ คําสั่ง คําวินิฉัย การอนุญาต และการกระทําอื่นใดของคณะกรรมการและคณะกรรมการบริหาร อันเกี่ยวกับการบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพตามพระราชกําหนด

                 สรธร ธนโชตโภคิน (2560 : 39) คดีที่ไม่อยู่ในเขตอํานาจการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลปกครองนั้นตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 9 วรรคสองกําหนดไว้ 3 เรื่อง ได้แก่

1. การดําเนินการเกี่ยวกับวินัยทหาร

2. การดําเนินการของคณะกรรมการตุลาการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ

3. คดีที่อยู่ในอํานาจของศาลเยาวชนและครอบครัว ศาลแรงงาน ศาลภาษีอากร ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ศาลลัมละลาย 

หรือศาลชํานัญพิเศษอื่น (ศาลปกครอง,2554: 28)

                 ฤทัย หงส์ศิริ (2566 : 55-64) กล่าวว่าคดีที่ไม่อยู่ในเขตอํานาจการพิจารณาคดีของศาลปกครองแบ่งออกเป็น 3 เรื่อง ดังต่อไปนี้

1. การดําเนินการเกี่ยวกับวินัยทหาร (มาตรา 9 วรรคสอง (1)) เช่น การดําเนินการทางวินัยทหาร ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยวินัยทหาร พุทธศักราช 2476

 ซึ่งได้ กําหนดทัณฑ์ที่จะลงแก่ผู้กระทําผิดต่อวินัยทหารไว้5 สถาน ได้แก่ ภาคทัณฑ์ ทัณฑกรรม กักขัง และจําขัง เช่น การลงทัณฑ์แก่ผู้กระทําผิดต่อวินัยทหาร เป็นต้น

2. การดําเนินการของคระกรรมการตุลาการ (มาตรา 9 วรรคสอง (2)) การดําเนินการของสํานักคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมนั้นไม่ใช่เป็นการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลงานบุคคล เช่น การให้ความ7เห็นชอบในการโยกย้าย การลงโทษทางวินัย การเลื่อนตําแหน่งซึ่งตามทฤษฎีกฎหมายนั้น ถือว่าเป็นการกระทําทางปกครองอย่างหนึ่ง และโดย หลักควรต้องอยู่ภายใต้การตรวจสอบของศาลปกครอง

3. คดีที่อยู่ในอํานาจของศาลชํานัญพิเศษ (มาตรา 9 วรรคสอง (3)) อันศาลแรงงานศาลภาษีอากรได้แก่ คดีที่อยู่ในอํานาจของศาลเยาวชนและครอบครัว 

ทรัพย์สิน ทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ศาลล้มละลาย หรือศาลชํานัญการพิเศษอื่น 


                      สรุป   การดําเนินคดีในศาลปกครอง มีการถ่วงดุลในการพิจารณา 3 ฝ่าย คือ ฝ่ายแรก ผู้พิพากษาศาลปกครองหรือที่เรียกว่า ตุลาการเจ้าของสำนวน 

ทําหน้าที่แสวงหาข้อเท็จจริงต่าง ๆ ฝ่ายที่สอง ผู้พิพากษาศาลปกครองหรือที่เรียกว่า องค์คณะ โดยเรียกผู้พิพากษาที่ทําหน้าที่นี้ว่า ตุลาการผู้แถลงคดีทําหน้าที่แถลงการณ์ต่อคณะผู้พิพากษา และฝ่ายที่สามองค์คณะที่มีหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีปกครอง โดยองค์คณะมีอิสระที่จะพิพากษาหรือมีคําสั่งเป็นอย่างอื่นได้ โดยไม่ต้องพิพากษาหรือมีคําสั่งตามแนวความเห็นของตุลาการเจ้าของสํานวนหรือตุลาการผู้แถลงคดีก็ได้ ซึ่งแตกต่างกับระบบในศาลยุติธรรมที่ไม่มีการถ่วงดุลกัน3 ฝ่าย ดังที่ใช้ในศาลปกครอง

5. เงื่อนไขที่ตเองปฎิบัติเมื่อฟ้องคดีต่อศาลปกครอง

             คดีที่ศาลปกครองมีอำนาจรับไว้พิจารณาพิพากษาได้นั้นนอกจากจะต้องเป็นคดีปกครองแล้ว ยังจะต้องปรากฏด้วยว่า ผู้ฟ้องคดีได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการฟ้องคดีครบถ้วนแล้ว1.เป็นผู้มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครองในการฟ้องคดีต่อศาลปกครองนั้น ผู้มีสิทธิฟ้องคดีจะต้องเป็นผู้ซึ่งได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายหรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเสี่ยงได้ อันเนื่องมาจากการกระทำหรือการงดเว้นการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐตามที่กฎหมายกำหนด หรืออาจกล่าวโดยสรุปก็คือ ผู้มีสิทธิฟ้องคดีจะต้องเป็นผู้เสียหาย หรือเป็นผู้ซึ่งได้รับผลกระทบหรือผู้มีส่วนได้เสียในเรื่องที่จะนำมาฟ้องคดีต่อศาลปกครอง 


                        วรวุธ มีจิตต์ (2557 : 1) เงื่อนไขทุกประการเกี่ยวกับตัวคำฟ้อง หรือที่ผู้ฟ้องคดีจะต้องดำเนินการก่อนฟ้องคดีต่อศาลปกครอง ซึ่งอาจกำหนดโดยกฎหมาย ระเบียบ แนวคำพิพากษาของศาลหรือหลักกฎหมายทั่วไปเงื่อนไขในการฟ้องคดีปกครองนั้น 

                        สำนักงานศาลปกครอง (2565 : 35) เงื่อนไขในการฟ้องคดีปกครอง ผู้ที่ประสงค์จะยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครอง จะต้องพิจารณาเงื่อนไขการฟ้องคดีปกครองก่อนมายื่นคำฟ้อง 

                        มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.(2564)กล่าวไว้ว่าเรื่องที่นํามาฟ้องต้องเป็น

คดีปกครอง และต้องเป็น กรณีตามมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดี ปกครอง 

        

                      สรุป   คดีปกครองที่ยื่นฟ้องเมื่อพ้นกำหนดเวลาการฟ้องคดีตามปกติแล้ว ถ้าศาลปกครองเห็นว่าคดีที่ยื่นฟ้องนั้นจะเป็นประโยชน์แก่ส่วนรวมหรือ

มีเหตุจำเป็นอื่นโดยศาลเห็นเองหรือคู่กรณีมีคำขอ ศาลปกครองจะรับไว้พิจารณาก็ได้


  6.ฟ้องคดีต่อศาลปกครองต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลหรือไม่

              การฟ้องคดีปกครองนั้น กฎหมายวางหลักไว้ว่าผู้ฟ้องคดีไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลค่าธรรมเนียมศาลเป็นส่วนหนึ่งของเงื่อนไขในการฟ้องคดีซึ่งการฟ้องคดีปกครองนั้น กฎหมายวางหลักไว้ว่าผู้ฟ้องคดีไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลเช่น การฟ้องคดีขอให้ศาลสั่งเพิกถอนกฎหรือคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายการฟ้องคดีขอให้สั่งห้ามการกระทำทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย การฟ้องคดีขอให้ศาลสั่งให้หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติหน้าที่ตามที่ กฎหมายกำหนดกรณีดังกล่าว

ผู้ฟ้องคดีไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลแต่อย่างใดแต่ถา้เป็นการฟ้องคดีขอให้ศาลสั่งให้มีการใชเ้งินหรือส่งมอบทรัพย์สิน อันเนื่องมาจากคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง 

ไอลดา เศษคา (2565 : ออนไลน์) โดยปกติการยื่นฟ้องคดีปกครองไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลเว้นแต่เป็นการฟ้อง คดีเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองหรือละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่น เพื่อขอให้ศาลสั่งให้มีการชดใช้เงินหรือส่งมอบทรัพย์สิน ผู้ฟ้องคดีต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลในอัตราตามที่ระบุไว้สาหรับคดีฟ้องขอปลดเปลื้องทุกข้อคำนวณเป็นราคาเงินได้ในปัจจุบัน สาหรับคดีที่มีทุนทรัพย์ไม่เกิน 50 ล้านบาทคิดในอัตราร้อยละ 2 ของทุนทรัพย์แต่ไม่เกิน 200,000 บาท ทุนทรัพย์ส่วนที่เกิน 50 ล้านบาทขึ้นไปคิดในอัตราร้อยละ0.1และถ้าชนะคดีศาลปกครองจะสั่งคืนค่าธรรมเนียมศาลทั้งหมดหรือบางส่วนตามส่วนแห่ง การชนะคดี 

ฐิติพร ป่านไหม.(2559:1)การเสียค่าธรรมเนียมศาล” ก็ถือเป็นเงื่อนไขการฟ้องคดีปกครองที่สำคัญซึ่งผู้ฟ้องคดีมี ภาระหน้าที่ต้องปฏิบัติเช่นเดียวกันส่วนจะมีหลักเกณฑ์อย่างไรนั้น และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดี ปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้บัญญัติเกี่ยวกับกระบวนการที่จะอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมทางปกครอง หรือไม่อย่างไร บทความนี้จะทำ ให้ท่านรู้และเข้าใจและฟ้องคดีต่อ ศาลปกครองได้อย่างถูกต้อง 

ฤทัย  หงส์สิริ(2554:126) เงื่อนไขเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมศาลการฟ้องคดีต่อศาลปกครองโดยทั่วไปแล้วไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลเว้นแต่การฟ้องคดีขอให้ศาลปกครองพิจารณาให้ใช้เงินหรือส่งมอบทรัพย์สินอันเนื่องมาจากคดีพิพาทเกี่ยวกับ การกระทำละเมิด หรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ อันเกิดจากการใช้อำนาจตาม กฎหมายกฎคำสั่งทางปกครองหรือคำสั่งอื่น 

สรุป    ในกรณีที่ศาลปกครองพิพากษาให้ผู้ฟ้องคดีชนะคดี ศาลปกครองจะมีคำ สั่งคืนค่าธรรมเนียมศาลให้แก่ผู้ฟ้องคดีทั้งหมดหรือบางส่วนตามส่วนของการชนะคดีในกรณีที่มีการอุทธรณ์คำ พิพากษาหรือคำ สั่งของศาลปกครองชั้นต้น ผู้อุทธรณ์จะต้องชำระค่าธรรมเนียมศาลในชั้นอุทธรณ์ตามหลักเกณฑ์เดียวกนักับการฟ้องคดีในศาลปกครองชั้นต้น 

7.ยื่นคำฟัองดดีปกครองได้ที่ใด

 ศาลปกครองมี2 ชั้นศาลคือศาลปกครองชั้น ต้น และศาลปกครองสูงสุดการฟ้องคดีปกครองโดยทั่วไปจะต้องยื่นฟ้องต่อศาลปกครองชั้นต้นที่มีเขตอำนาจซึ่งกฎหมายกำหนดให้ยื่นฟ้องต่อศาลที่ผู้ ฟ้องคดีมีภูมิลำเนาหรือที่มูลคดีเกิดแต่ถ้า เป็นการฟ้องคดีพิพาทเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายของพระราชกฤษฎีกาหรือกฎที่ออกโดยคณะรัฐมนตรีหรือโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีให้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองสูงสุดโดยตรงไม่ต้องยื่นฟ้องต่อศาลปกครองชั้นต้นก่อน 

                    ฤทัย หงส์สิริ (2556) การฟ้องคดีปกครองนั้น ต้องฟ้องที่ศาลไหนในกรณีที่เป็นคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง ต้องพิจารณาต่อไปว่าคดีนั้นอยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครองใด เนื่องจากศาลปกครองนั้นมีหลายศาลตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542ศาลปกครองแบ่งออกเป็นสองชั้น คือศาลปกครองชั้นต้นและศาลปกครองสูงสุด และตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติ 

                 ศาลปกครอง (2565 : ออนไลน์) ได้กล่าวไว้ว่า ศาลปกครองและสำนักงานศาลปกครองมีความพร้อมในการ ให้บริการประชาชนภายใต้สถานการณ์ COVID เนื่องจากมีแผนการดำเนินงานเพื่อไปสู่การเป็นศาลอิเล็กทรอนิกส์ (E–Court) จึง ได้พัฒนาระบบงานคดีปกครองอิเล็กทรอนิกส์เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในการเข้าถึงการอำนวยความยุติธรรมของ ศาลปกครองผู้ที่ประสงค์จะดำเนินคดีปกครองจึงมีทางเลือกหรือช่องทางในการใช้สิทธิ์เพิ่มมากขึ้น

๑. ยื่นฟ้องคดีด้วยตนเอง ๒. ส่งคำฟ้องทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ๓. ยื่นฟ้องทางอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น


             ชาญชัย แสวงศักดิ์ (2562 : 248) คําฟ้องต้องยื่นภายในกําหนดระยะเวลาการฟ้องคดี การฟ้องคดีปกครองนั้นจะต้องยื่นฟ้องภายในระยะเวลาการฟ้องคดีที่กฎหมายกําหนด ซึ่งมีระยะเวลาสั้นกว่าการฟ้องคดีแพ่งโดยพระราชบัญญัตินี้กําหนดระยะเวลาในกมารฟ้องคดีปกครองแต่ละประเภทแตกต่างกัน ระยะเวลาในการฟ้องคดีขอให้เพิกถอนกฎ โดยบทบัญญัติของกฎหมาย“มาตรา 49 การฟ้องคดีปกครองจะต้องยื่นฟ้องภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการฟ้องคดี”

 สรุป   เนื่องจากคดีปกครองมีลักษณะพิเศษต่างไปจากคดีแพ่งและคดีอาญาดังนั้น จึงต้องมีวิธีพิจารณาที่เหมาะสมกับสภาพของคดีปกครองเอง ซึ่งได้แก่วิธีพิจารณาแบบไต่สวนอัน เป็นวิธีการที่มีหลักสำคัญในการให้อำนาจศาลในการแสวงหา ข้อเท็จจริงได้อย่างกว้างขวางและเป็นผู้ดำเนินกระบวนพิจารณาเอง 

เอกสารอ้างอิง