ศาลปกครอง

administrative court


หลักกฎหมายปกครองสำหรับนักรัฐประศาสนศาตร์

สาขาวิชารัฐประศาสนศาตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์


ภาคเรียนที่2/2566

กฎหมายปกครอง (Administrative Law)

(1) สิริกาญจน์ ดำเสนา (2) น้ำฝน แย้มยิ้ม (3) ภูชิต ภักดี (4) ณัฐสุดา พรหมแสงใส

นักศึกษาสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

(1) 640112801050@bru.ac.th (2) 640112801029@bru.ac.th  (3) 640112801013@bru.ac.th (4)6401128011025@bru.ac.th

18 กุมภาพันธ์ 2567 

กฎหมายปกครองเป็นกฎหมายมหาชนที่วางหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดระเบียบบริหารของรัฐการดำเนินกิจกรรมของฝ่ายปกครองในการจัดบริการสารธารณะและวางหลักความเกี่ยวพันในทางปกครองระหว่างฝ่ายปกครองกับเอกชนและฝ่ายปกครองด้วยกันเองรวมทั้งกำหนดสถานะและการกระทำทางปกครอง

ศาลปกครองคืออะไร


เป็นศาลที่จัดตั้งขึ้นใหม่เป็นเอกเทศจาก

ศาลยุติธรรม มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีปกครอง ศาลปกครองจึงมีภารกิจในการตรวจสอบและควบคุมการใช้อำนาจของฝ่ายปกครองว่าการกระทำหรือคำสั่งทางปกครองที่ได้ดำเนินการไปนั้น เป็นไปโดยถูกต้อง

ชอบด้วยกฎหมายสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเจตนารมณ์ของกฎหมายหรือไม่เช่นเดียวกับศาลยุติธรรม แต่จะทำหน้าที่พิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในคดี ที่เรียกว่า คดีปกครองศาลปกครองนั้นจะมีอำนาจหน้าที่ในการวินิจฉัยขี้ขาดคดีพิพาทที่เกิดระหว่างหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชน หรือระหว่างหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกันเอง

ศาลปกครองมีนักวิชาการให้ความหมายไว้โดยสรุปดังนี้ 

   

ปานสิริ (Pansasiri, 2560 : 1 ให้ความหมายของศาลปกครองว่า เป็นองค์กรที่ใช้อำนาจตุลาการ

เช่นเดียวกับศาลยุติธรรม แต่จะทำหน้าที่พิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในคดี ที่เรียกว่า คดีปกครอง

ศาลปกครองนั้นจะมีอำนาจหน้าที่ในการวินิจฉัยขี้ขาดคดีพิพาทที่เกิดระหว่างหน่วยงานทางปกครองหรือ

เจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชน หรือระหว่างหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกันเอง

อริยพร โพธิใส (2557 : 1 ได้ให้ความหมายของศาลปกครองว่า เป็นศาลที่จัดตั้งขึ้นตาม

พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มีอำนาจหน้าที่พิจารณาพิพากษา

คดีปกครอง ซึ่งเป็นคดีพิพาทระหว่างหน่วยงานของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชน คดีพิพาทระหว่างหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกันเอง อันเนื่องมาจากการใช้อำนาจทางปกครอง การละเว้นการปฏิบัติหน้าที่การปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร การกระทำละเมิด ความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือเป็นคดีพิพาทอันเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง

เพื่อให้เข้าใจง่ายๆ ว่าศาลปกครองคืออะไรนั้น คงต้องเปรียบเทียบกับศาล ยุติธรรมที่เป็นศาลชำนาญพิเศษ หรือศาลที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่มีอยู่ในปัจจุบัน เช่น ศาลภาษีอากร หรือศาลแรงงาน เป็นต้น ตามกฎหมาย “ศาลภาษีอากร” ได้แก่ ศาลที่มีอำนาจ พิจารณาพิพากษาคดีภาษีอากร หรือคดีแพ่งที่เกี่ยวกับภาษีอากร เช่น คดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิ เรียกร้องของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากร การขอคืนค่าภาษีอากร เป็นต้น ส่วนศาลแรงงาน ได้แก่ ศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแรงงาน เช่น คดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ตามสัญญา จ้างแรงงานหรือตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง หรือสิทธิหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานหรือกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ เป็นต้น

เมื่อเปรียบเทียบกับศาลภาษีอากรหรือศาลแรงงานแล้ว จะเห็นได้ว่าศาลปกครองคือ ศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีปกครอง อันได้แก่ คดีหรือข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกัน หรือระหว่างหน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชนอันเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติ หน้าที่ของหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ กล่าวง่ายๆ ก็คือ โดยหลักศาลปกครอง เป็นศาลอีกระบบหนึ่ง แยกต่างห่างจากศาลยุติธรรม มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีหรือข้อพิพาทระหว่างบรรดาหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ด้วยกัน หรือระหว่างหน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่กับประชาชน ที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ไม่ใช่คดี หรือข้อพิพาทระหว่างประชาชนด้วยกัน ตัวอย่างเช่น หรือคดีที่เกี่ยวกับเรื่องส่วนตัวของเจ้าหน้าที่

ประเภทคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาศาลปกครอง

สำนักงานศาลปกครอง (2557 : 19) คดีปกครองที่อาจฟ้องต่อศาลปกครองได้ มีอยู่ 6 ประเภท ดังต่อไปนี้

1. คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือ เจ้าหน้าที่ของรัฐออกกฎ คำสั่งทางปกครอง หรือกระทำการอื่นใด โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เช่น ไม่มีอำนาจ นอกเหนืออำนาจ ไม่ถูกต้องตามรูปแบบ ขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญ หรือใช้ดุลพินิจโดยไม่ชอบ

2. คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือ เจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้อง ปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร

3. คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิด อย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ อันเกิดจาก การใช้อำนาจตามกฎหมายหรือจากกฎ คำสั่งทางปกครอง หรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือ ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร

4. คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง

5. คดีที่มีกฎหมายกำหนดให้หน่วยงานทางปกครองหรือ เจ้าหน้าที่ของรัฐต้องฟ้องคดีต่อศาลเพื่อบังคับบุคคลให้กระทำการ หรือละเว้นกระทำการ

6. คดีที่มีกฎหมายกำหนดให้อยู่ในเขตอำนาจศาลปกครอง

อธิวัฒน์ ช่อผูก (2566 : 1 ) พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง มาตรา 9

มาตรา 9 ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในเรื่องดังต่อไปนี้

1. คดีพิพาทที่เกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ว่าจะเป็นการออกกฎ คำสั่งหรือการกระทำอื่นใดเนื่องจากกระทำโดยไม่มีอำนาจหรือนอกเหนืออำนาจหน้าที่หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือโดยไม่ถูกต้องตามรูปแบบขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้สำหรับการกระทำนั้น หรือโดยไม่สุจริต หรือมีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมหรือลักษณะเป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จำเป็น หรือสร้างภาระให้เกิดกับประชาชนเกินสมควรหรือเป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ

2. คดีพิพาทที่เกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร

3. คดีพิพาทที่เกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย หรือจากกฎ คำสั่งปกครองหรือคำสั่งอื่น หรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร

4. คดีพิพาทที่เกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง

5. คดีที่มีกฎหมายกำหนดให้หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐฟ้องคดีต่อศาลเพื่อบังคับให้บุคคลต้องกระทำหรือละเว้นกระทำอย่างหนึ่งอย่างใด

6. คดีพิพาทที่เกี่ยวกับเรื่องที่มีกฎหมายกำหนดให้อยู่ในเขตอำนาจศาลปกครอง

ชาญวิทย์  กันยา (2559 : 1) คดีพิพาทที่เกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐและหน่วยงานทางปกครองกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย

สรุปคำสั่งศาลปกครองสูงสุด คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 และสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 มีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ.2542 ในการตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการอนุมัติบัตรโดยสารฟรีและราคาสำหรับบุคคลภายนอก

ฟ้องคดีต่อศาลปกครองต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขใดบ้าง


คดีที่ศาลปกครองมีอำนาจรับไว้พิจารณาพิพากษาได้นั้นนอกจากจะต้องเป็นคดีปกครองแล้วยังจะต้องปรากฏด้วยว่าผู้ฟ้องคดีได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการฟ้องคดีครบถ้วนแล้ว ดังนี้

1. เป็นผู้มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครองในการฟ้องคดีต่อศาลปกครองนั้น ผู้มีสิทธิฟ้องคดีจะต้องเป็น ผู้ซึ่งได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายหรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้

2. ได้ดำเนินการแก้ไขความเดือดร้อนหรือเสียหายตามขันตอนหรือวิธีการที่กฎหมายกำหนดแล้ว


(1) เป็นกรณีที่กฎหมายเฉพาะมิได้กำหนดขั้นตอนหรือวิธีการโต้แย้งหรือคัดค้านไว้โดยเฉพาะและการกระทำที่จะนำมาฟ้องคดีต่อศาลเป็นคำสั่งทางปกครองที่ออกโดยคณะกรรมการหรือรัฐมนตรีไม่ต้องอุทธรณ์ไปยังองค์กรอื่นอีกแล้วสามารถนำมาฟ้องคดีต่อศาลปกครองได้โดยตรง

(2) เป็นการฟ้องคดีขอให้เพิกถอนกฎซึ่งหมายถึงพระราช-กฤษฎีกา กฎกระทรวง ระเบียบ ข้อบังคับ

สามารถนำมาฟ้องคดีต่อศาลปกครองได้โดยตรง

3. จัดทำคำฟ้องตามที่กฎหมายกำหนดการทำคำฟ้องในคดีปกครองนั้นไม่มีแบบฟอร์มกำหนดไว้

ตายตัวกฎหมายกำหนดไว้แต่เพียงว่าจะต้องทำคำฟ้องเป็นหนังสือซึ่งจะเขียนด้วยลายมือหรือจะพิมพ์ดีดก็ได้แต่จะฟ้องด้วยวาจาหรือฟ้องทางโทรศัพท์ไม่ได้

(1)ระบุชื่อและที่อยู่ของผู้ฟ้องคดี

(2)ระบุชื่อหน่วยงานทางปกครองที่เกี่ยวข้องอันเป็นเหตุแห่งการฟ้องคดี เช่น กรมใด เทศบาลใด หรือระบุชื่อตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งเป็นเหตุแห่งการฟ้องคดี เช่น อธิบดีกรมใด นายอำเภอใด โดยไม่

จำเป็นต้องระบุชื่อบุคคล

(3) สรุปการกระทำและข้อเท็จจริงที่เป็นเหตุแห่งการฟ้องคดีตามสมควร เช่น สรุปว่าผู้ฟ้องคดีได้รับ

ความเดือดร้อน

(4)ระบุคำขอของผู้ฟ้องคดีว่าต้องการให้ศาลแก้ไขหรือเยียวยาความเดือดร้อนหรือเสียหายให้อย่างไรซึ่งคำขอนั้นจะต้องอยู่ในอำนาจของศาลปกครองที่จะกำหนดให้ได้

(5) ลงลายมือชื่อของผู้ฟ้องคดี

นอกจากนี้ ผู้ฟ้องคดีจะต้องแนบเอกสารและพยานหลักฐาน

(1) การฟ้องคดีขอให้เพิกถอนกฎหรือคำสั่งทางปกครองหรือขอให้สั่งห้ามการกระทำทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้ยื่นฟ้องภายใน 90 วัน นับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการฟ้องคดีในกรณีที่เป็นคำสั่งที่อาจฟ้องต่อศาลปกครองได้

(2)การฟ้องคดีว่าหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร ผู้ฟ้องคดีอาจฟ้องคดีได้ภายใน 90 วันนับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการฟ้องคดี

(3) การฟ้องคดีเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครอง

(4) การฟ้องคดีเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง ให้ยื่นฟ้องภายใน 5 ปี นับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการฟ้องคดี แต่ไม่เกิน 10 ปีนับแต่วันที่มีเหตุแห่งการฟ้องคดี และจะต้องฟ้องภายในระยะเวลาไม่เกิน 10 ปีนั้น

(5) การฟ้องคดีปกครองเกี่ยวกับการคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ เช่น การฟ้องเพิกถอนโฉนดที่ดินที่ออกทับหนองน้ำสาธารณะ

ชาญชัย แสวงศักดิ์. (2556) เสนอคําฟ้องการยื่นฟ้องต่อศาล จะต้องเป็นไปตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้

1. เรื่องที่นํามาฟ้องต้องเป็นคดีปกครอง และต้องเป็นเรื่องที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาล

ปกครองคือ เป็นกรณีตามมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง

2. ต้องยื่นฟ้องต่อศาลที่มีอำนาจ อำนาจศาลในที่นี้หมายถึงทั้งอำนาจและเขตอำนาจกล่าวคือ คดีที่อยู่

ในอำนาจของศาลปกครองชั้นต้น ก็จะต้องยื่นฟ้องต่อศาลปกครองชั้นต้นจะฟ้องไปยังศาลปกครอง สูงสุดไม่ได้

3. คําฟ้องต้องทำเป็นหนังสือและมีรายการตามที่กำหนดไว้และยื่นโดยถูกวิธีการฟ้องคดีปกครองไม่มีแบบของคําฟ้องกำหนดไว้เฉพาะ แต่ต้องทำเป็นหนังสือ ฟ้องด้วยวาจาไม่ได้ ใช้ถ้อยคําสุภาพ

4.ผู้ฟ้องคดีต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถตามกฎหมายโดยหลักแล้วผู้ฟ้องคดีต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถในการทำนิติกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หากผู้ฟ้องคดีมีข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถก็จะต้องดำเนินการแก้ไขตามที่ประมวลกฎหมายแพ่ง

5. ผู้ฟ้องคดีต้องเป็นผู้มีสิทธิฟ้องคดีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 276 ของ รัฐธรรมนูญ และมาตรา 42

กล่าวคือจะต้องเป็นผู้ที่ได้รับความเดือดร้อน

6. ต้องยื่นฟ้องภายในระยะเวลาที่กำหนดกรณีที่ฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนกฎ

7. ก่อนฟ้องคดีปกครองต้องดำเนินการแก้ไขความเดือดร้อน หรือเสียหายตามขั้นตอนหรือวิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับการนั้นเสียก่อน

8. การชําระค่าธรรมเนียมศาลโดยทั่วไปการฟ้องคดีปกครองไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล

9. การขอให้ฝ่ายปกครองเยียวยาแก้ไขความเสียหายก่อนฟ้องคดีในกรณีที่มีกฎหมายกำหนดขั้นตอน

ฟ้องคดีต้องเสียค่าธรรมเนียมหรือไม่


นิธินันท์ สุขวงศ์ (2552 : 1)  โดยปกติการฟ้องคดีปกครองต่อศาลปกครอง ผู้ฟ้องคดีไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล ตามหลักในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 มาตรา45วรรคสี่
          “การฟ้องคดีไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลเว้นแต่การฟ้องคดีขอให้สั่งให้ใช้เงินหรือส่งมอบทรัพย์สิน อันสืบเนื่องจากคดีตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (3) หรือ (4) ให้เสียค่าธรรมเนียมศาลตามทุนทรัพย์ในอัตราตามที่ระบุไว้ในตาราง 1 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง สำหรับคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ”

           ฐิติพร ป่านไหม (2559  : 1) “การเสียค่าธรรมเนียมศาล” ก็ถือเป็นเงื่อนไขการฟ้องคดีปกครองที่สำคัญซึ่งผู้ฟ้องคดี มีภาระหน้าทีต้องปฏิบัติเช่นเดียวกัน ส่วนจะมีหลักเกณฑ์อย่างไรนั้น และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้บัญญัติเกี่ยวกับกระบวนการที่จะอํานวยความสะดวกในการ เข้าถึงกระบวนการยุติธรรมทางปกครองหรือไม่ อย่างไร บทความนี้จะทำให้ท่านรู้และเข้าใจ และฟ้องคดี ต่อศาลปกครองได้อย่างถูกต้อง

           ณัฐกฤช  มุสิกะโสภณ (2560 : 1)  ค่าธรรมเนียมศาล การฟ้องคดีปกครองนั้น กฎหมายวางหลักไว้ว่า ผู้ฟ้องคดีไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลเช่นฟ้องคดีขอให้ศาลสั่งเพิกถอนกฎหรือคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายฟ้องคดีขอให้สั่งห้ามการกระทำทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายฟ้องคดีขอให้ศาลสั่งให้หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดผู้ฟ้องคดีไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลแต่อย่างใด

กล่าวโดยสรุป  การจะต้องเสียค่าธรรมเนียมต้องเข้าองค์ประกอบ ครบทั้ง 3 ข้อ ซึ่งการฟ้องคดีนั้น ยังมีความหมายรวมถึงการยื่นอุทธรณ์ด้วย เมื่อเป็นการฟ้องคดีแล้ว ต้องดูต่อไปว่าการฟ้องคดี หรือการยื่นอุทธรณ์นั้น มีการขอให้สั่งให้ใช้เงิน หรือส่งมอบทรัพย์สินหรือไม่ หากเป็นการฟ้องคดีต่อศาลปกครองชั้นต้น แน่นอนว่าต้องดูว่า มีการขอให้ใช้เงินหรือส่งมอบทรัพย์สินหรือไม่ แต่หากเป็นการอุทธรณ์แล้ว จะต้องพิจารณาอีกหรือไม่ว่า คำฟ้องอุทธรณ์ ต้องเข้าองค์ประกอบของการขอให้ใช้เงินหรือส่งมอบทรัพย์สินด้วย

การชำระค่าธรรมเนียมต่อศาล


กรณีการฟ้องคดีขอให้ศาลสั่งให้ใช้เงินหรือส่งมอบทรัพย์สินอันสืบเนื่องจากคดีพิพาทเกี่ยวกับการทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลในอัตราตามที่ระบุไว้ในตาราง 1 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เว้นแต่ที่ศาลมีคำสั่งให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล กรณีการฟ้องคดีขอให้ศาลเพิกถอนกฎหรือคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือการฟ้องคดีเกี่ยวกับการละเลยต่อหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควรไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล

           ศรุต นิติรัช (2539 : 1) เงื่อนไขการฟ้องคดีปกครอง มีดังนี้

  เงื่อนไขเกี่ยวกับผู้มีสิทธิฟ้องคดี และความสามารถของผู้ฟ้องคดี ตามมาตรา 42 ผู้ที่ได้รับความเดือนร้อนหรือเสียหาย หรืออาจจะเดือดร้อน หรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้ อันเนื่องมาจาก
            (1) การกระทำหรือการงดเว้นกระทำของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ
            (2) มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง
            (3) กรณีอื่นที่อยู่ในเขตอำนาจศาลปกครองตามมาตรา 9
            (4) กรณีการแก้ไขหรือบรรเทาความเดือดร้อน หรือความเสียหาย หรือยุติข้อโต้แย้งนั้น
      เงื่อนไขเกี่ยวกับคำขอในคำฟ้องให้ศาลมีคำบังคับ เพื่อแก้ไขความเดือนร้อนเสียหาย ตามมาตรา 72
            (1) ขอสั่งให้เพิกถอนกฎหรือคำสั่ง หรือสั่งห้ามกระทำทั้งหมด หรือบางส่วน
            (2) ขอให้ศาลสั่งให้หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้อง ปฏิบัติหน้าที่ภายในเวลาที่ศาลปกครองกำหนด
            (3) ขอให้ศาลสั่งให้ใช้เงิน หรือใช้ส่งมอบทรัพย์สิน หรือให้กระทำการหรืองดเว้นกระทำการ เช่น ให้ชำระค่าจ้างหรือเงินอื่นใดตามสัญญาทางปกครอง
            (4) สั่งให้ถือปฏิบัติต่อสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลที่เกี่ยวข้อง เช่น ฟ้องคดีเพื่อให้ศาลสั่งว่า ผู้ฟ้องคดีเป็นผู้มีสัญชาติไทย และให้ถือปฏิบัติต่อผู้ฟ้องคดีในฐานะผู้มีสัญชาติไทย
            (5) สั่งให้บุคคลกระทำหรือละเว้นการกระทำ อย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมาย เช่น เจ้าท่าสั่งให้รื้อถอนเรือนที่ปักเสาลงในน้ำ เมื่อเจ้าของเรือนไม่รื้อถอนก็ต้องฟ้องต่อศาลให้ศาลสั่งให้รื้อถอนเรือน
      เงื่อนไขเกี่ยวกับการเยียวยา แก้ไขความเดือดร้อนเสียหายแก่ผู้ฟ้องคดี

        4. เงื่อนไขเกี่ยวกับคำฟ้องและเอกสารที่ยื่นต่อศาล (เป็นเรื่องของเสมียน)

        5. เงื่อนไขเกี่ยวกับระยะเวลาในการฟ้องคดี คดีปกครองระยะเวลาในการฟ้องคดีสั้นมาก มีระยะเวลาอยู่ 3 กรณี

         1. การฟ้องคดีปกครองทั่วไป ตามมาตรา 49 ถ้าเป็นคดีปกครองทั่วไปไม่ว่าจะเป็นเรื่องคำสั่งทางปกครอง เรื่องกฎ จะต้องฟ้องภายใน 90 วัน นับแต่วันที่รู้หรือควรรู้เหตุแห่งการฟ้องคดี

         2. การฟ้องคดีปกครองที่เกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือสัญญาทางปกครอง ต้องฟ้องภายใน 1 ปีนับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการการฟ้องคดีแต่ต้องไม่เกิน 10 ปี นับแต่วันที่เหตุแห่งการฟ้องคดีมันเกิดขึ้นตามมาตรา 51

         3. การฟ้องคดีปกครองเกี่ยวกับการคุ้มครองประโยชน์สาธารณะหรือสถานะของบุคคลการฟ้องคดีในกรณีไม่มีอายุความฟ้องเมื่อใดก็ได้ตามมาตรา 52 ,มาตรา 52 วรรค 2 เป็นลักษณะพิเศษของศาลปกครองคือการฟ้องคดีที่พ้นระยะเวลาไปแล้วศาลอาจใช้ดุลยพินิจรับไว้พิจารณาได้

เงื่อนไขเกี่ยวกับข้อห้ามในการฟ้องคดีต่อศาลปกครอง


ศาลปกครองจะไม่รับฟ้องไว้พิจารณา1. ฟ้องซ้อน 2. ฟ้องซ้อน 3. ดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ 4. การห้ามฟ้องเจ้าหน้าที่ทำละเมินในการปฏิบัติหน้าที่ ตาม ม.5 แห่งความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539

สำนักงานศาลปกครอง (2565 : 35) เงื่อนไขในการฟ้องคดีปกครองผู้ที่ประสงค์จะยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองจะต้องพิจารณาเงื่อนไขการฟ้องคดีปกครองก่อนมายื่นคำฟ้อง ดังนี้

2.1 ต้องเป็นผู้เดือดร้อนเสียหายหรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยไม่อาจหลีกเลี่ยงได้อันเนื่องจากการกระทำ หรืองดเว้นการกระทำของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ ของรัฐ หรือมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง

2.2 หากเป็นคดีที่มีกฎหมายกำหนดให้ดำเนินการแก้ไขความเดือดร้อนหรือเสียหายก่อนน่าคดีมาฟ้องต่อศาลปกครองผู้ประสงค์จะยื่นฟ้องคดีจะต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นก่อน

2.3 ต้องยืนค่าฟ้องภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐออกกฎค่าสั่งทางปกครองหรือกระทำการอื่นใดโดยไม่ชอบ ด้วยกฎหมายจะต้องยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองภายใน 90 วัน นับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการฟ้องคดี

2.4 กำหนดโดยจะพิมพ์หรือเขียนด้วยลายมือก็ได้แต่จะต้องมีองค์ประกอบดังนี้ชื่อและที่อยู่ผู้ฟ้องคดี โดยจะต้องระบุชื่อและที่อยู่ให้ชัดเจนและเป็นที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้เพื่อประโยชน์ในการนัดหมายหรือ ส่งเอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้องกับคดีชื่อหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ประสงค์จะฟ้องการกระทำอันเป็นเหตุแห่งการฟ้องคดีซึ่งทำให้เดือดร้อนหรือเสียหายคำขอว่าประสงค์ให้ศาลปกครองสั่งหรือพิพากษาอย่างไรเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนหรือเสียหายและต้องเป็นเรื่องที่ศาลมีอำนาจกำหนดค่าบังคับได้ลายมือชื่อของผู้ฟ้องคดี

2.5 ต้องเป็นกรณีที่ค่าขอต้องเป็นค่าขอที่ศาลออกคำบังคับให้ได้ตามกฎหมาย

วรวุธ มีจิตต์ (2557 : 1) เงื่อนไขทุกประการเกี่ยวกับตัวคำฟ้อง หรือที่ผู้ฟ้องคดีจะต้องดำเนินการก่อนฟ้องคดีต่อศาลปกครองซึ่งอาจกำหนดโดยกฎหมายระเบียบแนวคำพิพากษาของศาลหรือหลักกฎหมายทั่วไปเงื่อนไขในการฟ้องคดีปกครองนั้นแยกได้คร่าวๆมี 10เงื่อนไขดังนี้คือ

1. ความเป็นผู้มีส่วนได้เสียหรือเป็นผู้เสียหาย (ตามาตรา 42 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542)

2. การออกคำบังคับได้ (ตามมาตรา 72 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542)

3. ได้แก้ไขเยียวยาความเดือดร้อนเสียหายครบขั้นตอนแล้ว (ตามมาตรา 42 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542)

4. เป็นคำฟ้องที่สมบูรณ์ (ตามมาตรา 45)

5.ชำระค่าธรรมเนียมครบถ้วน (ตามมาตรา 45)

6. ไม่พ้นกำหนดระยะเวลาการฟ้องคดี (ตามาตรา 49)

7. มีความสามารถฟ้องคดี

8. มีกฎหรือคำสั่งทางปกครองในเรื่องที่จะฟ้องคดี

9. ไม่เป็นการฟ้องซ้อน หรือฟ้องซ้ำ

10.ไม่เป็นการดำเนินพิจารณาซ้ำ

กล่าวโดยสรุปกรณีที่มีกฎหมายกำหนดให้ต้องอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองแต่ผู้ประสงค์จะฟ้องคดีไม่ได้อุทธรณ์คำสั่งหรืออุทธรณ์คำสั่งแล้วแต่ยังไม่ทราบผลการพิจารณาและยังอยู่ในระยะเวลาการพิจารณา อุทธรณ์ แต่ผู้ประสงค์จะฟ้องคดีกลับรีบนำคดีมาฟ้องศาลศาลปกครองจะมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องนั้นไว้พิจารณา

คดีใดที่ไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง


คดีที่ไม่อยู่ในอานาจของศาลปกครองอาจจัดแบ่งได้เป็น2กลุ่มคือคดีปกครองที่กฎหมายกำหนดไม่ให้อยู่ในอานาจของศาลปกครองและคดีที่มิใช่คดีปกครองโดยมีทั้งหมด 6 ประเภทดังต่อไปนี้

1.คดีที่มีคู่กรณีเป็นหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมีลักษณะเป็นคดีปกครองแต่มาตรา 9วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองพ.ศ. 2542 บัญญัติยกเว้นไว้ไม่ให้อยู่ในอานาจของศาลปกครอง ซึ่งมีอยู่ 3 ประเภทคือ

(ก)การดำเนินการเกี่ยวกับวินัยทหารไม่ว่าจะเป็นการลงทัณฑ์แก่ผู้กระทำผิดต่อวินัยทหารหรือเป็นการดำเนินการทางวินัยอย่างอื่น

(ข)การดำเนินการของคณะกรรมการตุลาการ(ก.ต.)ตามพระราช-บัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543ซึ่งมิใช่เป็นการพิจารณาพิพากษาคดีแต่เป็นการบริหารงานบุคคลของผู้พิพากษาศาลยุติธรรมเช่นการแต่งตั้งโยกย้ายการเลื่อนตำแหน่งการลงโทษทางวินัย

(ค)คดีที่อยู่ในอำนาจของศาลชำนาญพิเศษต่างๆที่อยู่ในระบบศาลยุติธรรมซึ่งได้จัดตั้งขึ้นก่อนที่จะมีการจัดตั้งศาลปกครอง ได้แก่

• คดีที่อยู่ในอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัว เช่นการจดทะเบียนรับรองบุตร

• คดีที่อยู่ในอำนาจของศาลแรงงานเช่นคดีพิพาทเกี่ยวด้วย สิทธิและหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานหรือตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างงานของพนักงานรัฐวิสาหกิจการลงโทษทางวินัยแก่พนักงาน รัฐวิสาหกิจ

• คดีที่อยู่ในอำนาจของศาลภาษีอากรเช่น การโต้แย้งคำสั่งเกี่ยวกับการประเมินหรือขอคืนค่าภาษีอากร

•คดีที่อยู่ในอำนาจของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเช่นคดีพิพาทเกี่ยวกับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า

• คดีที่อยู่ในอำนาจของศาลล้มละลายเช่น การโต้แย้งการดำเนินการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์

2.คดีที่มีกฎหมายตัดอำนาจศาลปกครองไว้โดยเฉพาะเช่น พระราชกำหนดบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยพ.ศ. 2544 บัญญัติว่ามิให้นากฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองมาใช้บังคับแก่การดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของบริษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) และการออกระเบียบข้อบังคับคำสั่ง คำวินิจฉัย การอนุญาต และการกระทำอื่นใดของคณะกรรมการและคณะกรรมการบริหาร อันเกี่ยวกับการบริหาร สินทรัพย์ด้อยคุณภาพตามพระราชกำหนดนี้

3. คดีที่คู่กรณีมิใช่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐเช่น

• สหกรณ์ออมทรัพย์

• รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นในรูปของบริษัทหรือบริษัทมหาชนจำกัดเช่น ธนาคารกรุงไทยจำกัด (มหาชน)บริษัทท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่จำกัด

4.คดีที่คู่กรณีเป็นหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐแต่การกระทำดังกล่าวมิได้เป็นการกระทำที่ใช้อำนาจทางปกครองหรือดำเนินกิจการปกครอง หรือเป็นการกระทำส่วนตัวเช่น

• เทศบาลไม่ยอมชำระหนี้ค่าจ้างทำอาหารเลี้ยงรับรองในงานเลี้ยงของเทศบาล

• มหาวิทยาลัยของรัฐได้ทำสัญญากับผู้ฟ้องคดีให้เช่าห้องประชุมเพื่อจัดงานแต่งงาน แต่ผิดสัญญาไม่สามารถให้ผู้ฟ้องคดีใช้ห้องประชุมในวันดังกล่าวได้

• พลทหารอาสาสมัครบุกรุกเข้าไปทำลายทรัพย์สินในเคหสถานของเอกชน เพราะมีเรื่องทะเลาะวิวาทกันเป็นการส่วนตัว

• การเคหะแห่งชาติในฐานะผู้ให้เช่าซื้ออาคารได้โอนสิทธิการเช่าซื้อของผู้เช่าซื้อเดิมไปให้ผู้เช่าซื้อใหม่โดยไม่สุจริต

5.คดีแพ่ง หรือคดีอาญา ซึ่งเป็นการดำเนินงานตามกระบวนการยุติธรรมทางแพ่งหรือทางอาญาอยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรมเช่น

•การฟ้องว่าเจ้าพนักงานบังคับคดียึดและขายทอดตลาดทรัพย์สินโดยไม่ชอบเป็นการบังคับคดีแพ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งที่อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม

• การจับกุมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ การสอบสวน และการเปรียบเทียบปรับของพนักงานสอบสวนและการสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้องคดีอาญาของพนักงานอัยการเป็นขั้นตอนการดำเนินงานในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาที่จะนำไปสู่การนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษทางอาญาตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

6.คดีที่ฟ้องขอให้ศาลปกครองลงโทษทางวินัยหรือลงโทษทางอาญาแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งการลงโทษทางวินัยเป็นเรื่องที่อยู่ในอำนาจของผู้บังคับบัญชาส่วนการลงโทษทางอาญาเป็นอำนาจของศาลยุติธรรมไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง

กล่าวโดยสรุปคดีปกครองที่กฎหมายกำหนดไม่ให้อยู่ในอำนาจของศาลปกครองและคดีที่มิใช่คดีปกครองโดยมีทั้งหมด6 ประเภทดังต่อไปนี้ 1.คดีที่มีคู่กรณีเป็นหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมีลักษณะเป็นคดีปกครองแต่มาตรา 9 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองพ.ศ. 2542 2. คดีที่มีกฎหมายตัดอำนาจศาลปกครองไว้โดยเฉพาะเช่น พระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ. 3. คดีที่คู่กรณีมิใช่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ เช่น รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นในรูปของบริษัทหรือบริษัทมหาชนจำกัด เช่น ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) บริษัทท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่ จำกัด 4.คดีที่คู่กรณีเป็นหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐแต่การกระทำดังกล่าวมิได้เป็นการกระทำที่ใช้อำนาจทางปกครองหรือดำเนินกิจการปกครอง หรือเป็นการกระทำส่วนตัวเช่นเทศบาลไม่ยอมชำระหนี้ค่าจ้างทำอาหารเลี้ยงรับรองในงานเลี้ยงของเทศบาล 5.คดีแพ่ง หรือคดีอาญาซึ่งเป็นการดำเนินงานตามกระบวนการยุติธรรมทางแพ่งหรือทางอาญาอยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม

อ้างอิง

ศาลปกครอง10.pdf