ศาลปกครอง

The Administrative court



หลักกฎหมายปกครองสำหรับนักรัฐประศาสนศาสตร์

สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

ภาคเรียนที่ 2/2566


กฎหมายปกครอง (Administrative Law)

(1) ธนาลักษณ์ ปัตไธสง (2) ปวีณ์ธิดา สุขวิบูรณ์ (3) ภิญญดา กุงไธสง (4) อรปรีญา นวลงาม

นักศึกษาสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

(1) 640112801083@bru.ac.th (2) 640112801089@bru.ac.th (3) 640112801095@bru.ac.th (4) 640112801109@bru.ac.th

17 กุมภาพันธ์ 2567

กฎหมายปกครองเป็นกฎหมายมหาชนที่วางหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดระเบียบบริหารของรัฐการดำเนินกิจกรรมของฝ่ายปกครองในการจัดบริการสารธารณะและวางหลักความเกี่ยวพันในทางปกครองระหว่างฝ่ายปกครองกับเอกชนและฝ่ายปกครองด้วยกันเองรวมทั้งกำหนดสถานะและการกระทำทางปกครอง 

ศาลปกครอง คืออะไร

ศาลปกครอง หมายถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับฝ่ายปกครองการดำเนินกิจกรรมทางปกครองรวมทั้งการควบคุมตรวจสอบการดำเนินกิจกรรมทางปกครองตลอดจนการกำหนดหลักเกณฑ์ซึ่งระบุความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายปกครองกับประชาชนด้วยกฎหมายที่ให้อำนาจทางปกครองแก่หน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ใช้อำนาจทางปกครองกฎหมายปกครองมีลักษณะพิเศษคือผู้ที่ใช้อำนาจหรือออกคำสั่งทางปกครองได้ต้องเป็นหน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่เท่านั้นจะมีข้อยกเว้นก็ในกรณีที่ผู้ใช้อำนาจทางปกครองนั้นไม่ใช่บุคคลที่กล่าวมาแล้วแต่เบื้องต้นจะใช้อำนาจทางปกครองได้ต้องเป็นบุคคลที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครองได้เป็นกรณีไป เช่น บุคคลที่ได้รับสัญญาทางปกครองกับรัฐและเมื่อมีกรณีพิพาทขึ้นจะต้องนำคดีเข้าสู่ศาลปกครองซึ่งคู่พิพาทจะต้องเป็นคู่กรณีดังต่อไปนี้ คือ หน่วยงานทางปกครองหน่วยงานทางปกครองเจ้าหน้าที่กับหน่วยงานทางปกครองกับเอกชนเจ้าหน้าที่กับเจ้าหน้าที่เจ้าหน้าที่กับเอกชนและผู้ที่จะฟ้องต่อศาลปกครองได้ต้องเป็นผู้เสียหายโดยตรงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองมาตรา 42 วรรคหนึ่งกฎหมายที่กำหนดถึงรายละเอียดในการปกครองลดหลั่นกันลงมาจากกฎหมายรัฐธรรมนูญกล่าวคือกฎหมายรัฐธรรนูญเป็นกฎหมายว่าด้วยการปกครองประเทศแต่กฎหมายปกครองนั้นเป็นกฎหมายดำเนินการปกครองซึ่งกฎหมายปกครองนี้จะกล่าวถึงการจัดระเบียบแห่งองค์การทางปกครอง เช่น การจัดแบ่งออกเป็น กระทรวง ทบวง กรม เป็นต้น 

ศาลปกครองมีนักวิชาการให้ความหมายไว้โดยสรุปดังนี้   

        บรรศักดิ์ อุวรรณณ์ ( 2538 : 20) อธิบายว่ากฎหมายปกครองเป็นกฎหมายที่กำหนดสถานะและความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรของรัฐฝ่ายปกครองด้วยกันและความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรของรัฐฝ่ายปกครองกับประชาชนมา

       วรพจน์ วิศรุตพิชญ์ ( 2540 : 11-12) อธิบายความหมายของกฎหมายปกครองว่าเป็นกฎหมายที่จัดระเบียบการบริหารและกำหนดความสัมพันธ์ด้านต่างๆระหว่างบรรดาหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาหรือกำกับดูแลซึ่งเรียกว่าฝ่ายปกครองกับเอกชนซึ่งระบบกฎหมายปกครองของรัฐสมัยใหม่วางอยู่บนพื้นฐานของหลักการสำคัญสองหลักการได้แก่ หลักการว่าด้วยการกระทำทางปกครองต้องชอบด้วยกฎหมายและหลักการว่าด้วยการควบคุมความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำทางปกครองโดยองค์กรตุลา

       โภคิณ พลกุล (2545 : 1) ความหมายของกฎหมายปกครองว่าเป็นกฎหมายมหาชนที่วางหลักเกี่ยวกับการจัดระเบียบบริหารราชการของรัฐการดำเนินกิจกรรมของฝ่ายปกครองในการจัดทำบริการสาธารณะอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบและการควบคุมการใช้อำนาจหน้าที่ตลอดจนการบริหารงานบุคคลของฝ่ายปกครอง

       กล่าวโดยสรุป กฎหมายปกครองเป็นกฎหมายที่กำหนดกฎเกณฑ์ว่าด้วยการดำเนินกิจการของฝ่ายปกครองรวมทั้งโครงสร้างของบรรดาองค์กรฝ่ายปกครองอันได้แก่รัฐองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นต้นตลอดจนกำหนดกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดการบริการสาธารณะกับทั้งกำหนดกฎเกณฑ์เกี่ยวความสัมพันธ์ระหว่างบรรดาองค์กรฝ้ายปกครองกับเอกชนศาลปกครองเป็นองค์กรที่ใช้อำนาจตุลาการในกระบวนการยุติธรรมทางปกครองอันเป็นกระบวนการยุติธรรมอีกประเภทหนึ่งในระบบศาลคู่ที่ใช้อยู่ในนานาอารยประเทศตามแบบของศาลในประเทศกลุ่ม Cvil law ทั่วไป


หน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐใดบ้างที่อาจถูกฟ้องคดีต่อศาลปกครอง

       หน่วยงานทางปกครองคือองค์กรหรือหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการบริหารจัดการและดําเนินงานต่างๆในระดับรัฐ,ท้องถิ่น,หรือระหว่างประเทศ.หน่วยงานทางปกครองมีหลายประการและสามารถแบ่งออกได้ตามลักษณะงานหรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องหน่วยงานทางปกครองเป็นส่วนสําคัญของระบบการบริหารจัดการในทุกระดับและมีบทบาทสําคัญในการกําหนดนโยบายศาลปกครองมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีปกครองได้แก่คดีปกครองที่เกิดจากการใช้อํานาจโดยมิชอบของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งอาจเป็นข้อพิพาทระหว่างเอกชนฝ่ายหนึ่งกับหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอีกฝ่ายหนึ่งหรืออาจเป็นข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกันเอง 

สำนักงานศาลปกครอง (2557 :11) หน่วยงานทางปกครองหน่วยงานทางปกครองที่อาจถูกฟ้องคดีต่อศาลปกครองได้ มีอยู่อ7ประเภทดังต่อไปนี้

  1. หน่วยราชการที่เป็นราชการส่วนกลางได้แก่กระทรวงกรม

       2. หน่วยราชการที่เป็นราชการส่วนภูมิภาคได้แก่จังหวัดอําเภอ

       3. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้แก่เทศบาลองค์การบริหารส่วนตําบลองค์การบริหารส่วนจังหวัด

กรุงเทพมหานครและเมืองพัทยา

       4. รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติ เช่นการรถไฟแห่งประเทศไทยการประปานครหลวง

หรือรัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกา เช่นองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพแต่ไม่รวมถึงรัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นในรูปของบริษัทหรือบริษัทมหาชนจํากัด เช่นบริษัทการบินไทยจํากัด(มหาชน)

       5. หน่วยงานของรัฐที่มิได้เป็นส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจหรือที่เรียกกันว่าองค์การมหาชน เช่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์

       6. หน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญ เช่นสํานักงานศาลปกครองสํานักงานศาลยุติธรรม

       7. หน่วยงานที่ได้รับมอบหมายจากรัฐให้ใช้อํานาจทางปกครองหรือให้ดําเนินกิจการทางปกครอง เช่นแพทย์สภาสภาทนายความสํานักงานช่างรังวัดเอกชน,บริษัทท่าอากาศยานไทยจํากัด(มหาชน)

       รฉัตร วริวรรณ (2566) หน่วยงานทางปกครองสําคัญในประเทศไทยรัฐบาลไทย:รัฐบาลไทยประกอบไปด้วยกระทรวงต่างๆและหน่วยงานราชการที่รับผิดชอบต่างๆในการบริหารจัดการประเทศ ตัวอย่างเช่น กระทรวงการคลัง,กระทรวงการต่างประเทศ,กรมการแผนงานและสํานักงานคณะกรรมการการกํากับการดําเนินการตลาด

       Wichian.law (2557) หน่วยงานทางปกครอง”หมายความว่ากระทรวงทบวงกรมส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรมราชการส่วนภูมิภาคราชการส่วนท้องถิ่นรัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นโดย พระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาหรือหน่วยงานอื่นของรัฐและให้หมายความรวมถึงหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อํานาจทางปกครองหรือให้ดําเนินกิจการทางปกครองหน่วยงานทางปกครองตามคํานิยามศัพท์ในมาตรา3จึงแบ่งได้ดังนี้

       1. กระทรวง

       2. ทบวง

       3. กรม

       4. ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม5.ราชการส่วนภูมิภาค

       6. ราชการส่วนท้องถิ่น

       7. รัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา

       8. หน่วยงานอื่นของรัฐ

สําหรับหน่วยงานทางปกครองที่เป็นกระทรวงทบวงหรือกรมคงไม่เป็นปัญหาเพราะมีความชัดเจน

อยู่แล้วแต่ที่ควรพิจารณา คือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม

       กล่าวโดยสรุป หน่วยงานทางปกครองจึงประกอบด้วยราชการส่วนกลางได้แก่กระทรวงทบวงกรมส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรมราชการส่วนภูมิภาคได้แก่จังหวัดอําเภอตําบลและ หมู่บ้านราชการส่วนท้องถิ่นได้แก่กรุงเทพมหานครเมืองพัทยาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเทศบาลประเภทต่างๆองค์การบริหารส่วนตําบลหน่วยงานทางปกครองหน่วยงานทางปกครองที่อาจถูกฟ้องคดีต่อศาลปกครองได้ดังต่อไปนี้หน่วยราชการที่เป็นราชการส่วนกลาง,ส่วนภูมิภาค,ส่วนท้องถิ่น,รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติ,หน่วยงานของรัฐที่มิได้เป็นส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจหรือที่เรียกกันว่าองค์การมหาชน,หน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญ,หน่วยงานที่ได้รับมอบหมายจากรัฐให้ใช้อํานาจทางปกครองหรือให้ดําเนินกิจการทางปกครองดังนั้นหน่วยงานทางปกครองที่อาจถูกฟ้องคดีต่อศาลปกครองจึงไม่รวมถึงรัฐสภาที่ใช้อํานาจทางนิติบัญญัติและศาลที่ใช้อํานาจทางตุลาการ

คดีปกครองประเภทใดที่อาจฟ้องต่อศาลปกครองได้

        คดีปกครอง คือ คดีที่เป็นข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชนหรือข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานทางการปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกันเองและเป็นคดีในเรื่องดังต่อไปนี้

       1. คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางการปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐออกกฎคำสั่ง หรือการกระทำอื่นใดโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย

       2. คดีพิพาทเกี่ยวกับหน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามกฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร

       3. คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิด หรือความรับผิดชอบอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจล่าช้าเกินสมควร

       4. คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง

       ธีรพรรณใจมั่น(2566)ฟ้องคดีโดยไม่มีเหตุอันเป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดความยุ่งยากแก่ผู้ถูกฟ้องและเป็นภาระต่อศาลปกครองจึงได้กำหนดเงื่อนไขไว้4ประการ ได้แก่

       1. ผู้ฟ้องคดีต้องเป็นผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย หรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้จากการกระทำหรือการงดเว้นการกระทำของทางราชการ

       2. ระยะเวลาการฟ้องคดีต้องฟ้องภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดซึ่งโดยหลัก คือภายใน90วันนับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการฟ้องคดีหรือภายใน1ปีในกรณีที่ฟ้องคดีเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของทางราชการ

       3. คำฟ้องไม่มีแบบฟอร์มบังคับโดยเฉพาะเพียงแต่มีเงื่อนไขว่าต้องใช้ถ้อยคำสุภาพและต้องมีเนื้อหาสาระให้เข้าใจได้ว่าเป็นคำฟ้องซึ่งประกอบด้วยชื่อและที่อยู่ของผู้ฟ้องคดีและของหน่วยงานที่เป็นเหตุแห่งการฟ้องคดีการกระทำที่เป็นเหตุแห่งการฟ้องคดีพร้อมข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ตามสมควร

       4. การขอให้มีการแก้ไขเยียวยาในเบื้องต้นก่อนนำเรื่องมาฟ้องศาลปกครองหากในเรื่องที่จะฟ้องคดีนั้นมีกฎหมายกำหนดให้ต้องดำเนินการอย่างใดเพื่อแก้ไขความเดือดร้อนหรือเสียหายนั้นเสียก่อนผู้ฟ้องคดีก็ต้องดำเนินการเช่นนั้นให้เสร็จสิ้นแล้วจึงจะมีสิทธิมาฟ้องคดีต่อศาลได้

         ศาลปกครองและสำนักงานศาลปกครอง(2565)กล่าวถึงตัวอย่างคดีที่ฟ้องต่อศาลปกครองได้เช่น

1. คดีพิพาทเกี่ยวกับที่ดิน

       1.1 คดีที่ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของอธิบดีกรมที่ดินกรณีมีคำสั่งเพิกถอนหนังสือแสดงสิทธิ

       ในที่ดิน

2. คดีพิพาทเกี่ยวกับการคมนาคมและขนส่ง

       2.1 คดีพิพาทเกี่ยวกับงานทะเบียนของกรมขนส่งทางบก

3. คดีพิพาทเกี่ยวกับการควบคุมอาคารและการผังเมือง

       3.1 คดีที่ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของเจ้าพนักงาท้องถิ่นกรณีมีคำสั่งที่ไม่ดำเนินการเกี่ยวกับอาคารตามกฎหมายควบคุมอาคาร

4. คดีพิพาทเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินและอาคารชุด

       4.1 คดีที่ฟ้องขอให้เพิกถอนมติของคณะกรรมการจัดสรรที่ดินหรือฟ้องว่าคณะกรรมการจัดสรรที่ดินละเลยไม่ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดิน

5. คดีพิพาทเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลและวินัย

       5.1 คดีพิพาทเกี่ยวกับคำสั่งย้ายข้าราชการคำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนคำสั่งให้ออกจากราชการเนื่องจากขาดคุณสมบัติหรือหย่อนประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ หรือคำสั่งให้ออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทน

6. คดีพิพาทเกี่ยวกับบำเหน็จบำนาญสิทธิประโยชน์และสวัสดิการ

       6.1 คดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในการรับเงินบำเหน็จบำนาญ

       ณัฐวุฒิสุขแสวง(2561)การฟ้องคดีหน่วยงานทางปกครองไม่ว่าจะเป็นกระทรวงกรมส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรมราชการส่วนภูมิภาคราชการส่วนท้องถิ่นรัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกา หรือหน่วยงานอื่นของรัฐตลอดจนหน่วยงานต่างๆที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครองหรือให้ดำเนินกิจการทางปกครอง หรือจะใช้สิทธิทางศาลปกครองเพื่อฟ้องเจ้าหน้าที่ของรัฐได้นั้นมิได้หมายความว่าผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย หรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายกรณียื่นเรื่องร้องเรียนการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานของรัฐจะเป็นผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายที่จะเป็นผู้มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครองเสมอไป

       กล่าวโดยสรุป คดีปกครอง คือคดีที่เป็นข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชนหรือข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานทางการปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกันเองและเป็นคดีการฟ้องคดีปกครองสามารถดำเนินการได้โดยง่ายไม่ยุ่งยากซับซ้อนไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก หรืออาจไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายถือหลักว่าให้กระทำได้โดยง่ายไม่มีข้อยุ่งยากทั้งยังไม่ต้องบังคับให้ต้องมีทนายความในการฟ้องคดี

คดีประเภทที่ไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง

            คดีที่ไม่อยู่ในอานาจของศาลปกครองนั้นอาจสรุปได้ดังนี้

           ฤทัย หงส์สิริ (2554:5564)ได้แบ่งประเภทของคดีที่ไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครองไว้ดังนี้

1.การดำเนินการเกี่ยวกับวินัยทหาร(มาตรา9วรรคสอง(1)เช่นกำเนินการทางวินัยทหารตามพระราชบัญญัติว่าด้วยวินัยทหารพุทธศักราช2476ซึ่งได้ทัณฑ์ที่จะลงแก่ผู้กระทาผิดต่อวินัยทหารไว้5สถานได้แก่ภาคทัณฑ์ทัณฑกรรมกักขังและจาขังเช่นการลงทัณฑ์แก่ผู้กระทำผิดต่อวินัยทหารเป็นต้น

2.การดำเนินการของคณะกรรมการตุลาการ(มาตรา9วรรคสอง(2)การดำเนินการของก.ต.นั้นไม่ใช่เป็นการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลแต่เป็นการบริหารงานบุคคลเช่นการให้ความเห็นชอบในการโยกย้ายการลงโทษทางวินัยการเลื่อนตำแหน่งซึ่งตามทฤษฎีกฎหมายนั้นถือว่าเป็นการกระทาทางปกครองอย่างหนึ่งและโดยหลักควรต้องอยู่ภายใต้การตรวจสอบของศาลปกครองแต่กฎหมายยกเว้นไว้เป็นพิเศษโดยให้เหตุผลว่าเพื่อความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ของผู้พิพากษาข้อยกเว้นนี้ใช้รวมไปถึงการดำเนินการของเจ้าหน้าที่อื่นที่เป็นกระบวนการเดียวกันกับการดำเนินการของก.ต.ด้วยเช่นในเรื่องการลงโทษทางวินัยแก่ผู้พิพากษาศาลยุติธรรมซึ่งเป็นข้าราชการตุลาการศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่ากระบวนการดำเนินการทางวินัยข้าราชการตุลาการจะเริ่มต้นตั้งแต่การแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนการพิจารณาความผิดและกำหนดโทษและการลงโทษเป็นการดำเนินเนื่องเชื่อมโยงเป็นกระบวนการเดียวกันไม่อาจแยกออกจากกันได้อย่างเด็ดขาดเมื่อก.ต.กำหนดโทษแล้วรัฐมนตรีจึงจะออกคาสั่งลงโทษได้

3.คดีที่อยู่ในอำนาจของศาลชำนัญพิเศษ(มาตรา9วรรคสอง(3)อันแก่คดีที่อยู่ในอานาจของศาลเยาวชนและครอบครัวศาลแรงงานศาลภาษีอากรศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศศาลล้มละลายหรือศาลชานัญพิเศษอื่นเช่นกรณีที่ฟ้องว่าผู้ฟ้องคดีไม่ได้รับความเป็นธรรมเนื่องจากเจ้าหน้าที่สานักประกันสังคมวินิจฉัยว่าบุตรของผู้ฟ้องคดีไม่ได้เสียชีวิตจากการปฏิบัติหน้าทีจึงทาให้ผู้ฟ้องคดีได้รับผลประโยชน์จากการประกันสังคมเพียงค่าปลงศพเท่านั้นกรณีนี้ศาลปกครองกลางวินิจฉัยว่าเนื่องจากพระราชบัญญัติเงินทดแทนพ.ศ.๒๕๓๗ได้บัญญัติให้ผู้ที่ไม่งเงินค่าทดแทนมีสิทธินาคดีไปสู่ศาลแรงงานกรณีดังกล่าวจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงานหรือกรณีที่ฟ้องว่าสรรพากรประเมินและเรียกเก็บภาษีการค้าโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องในหนี้คาภาษีอากรและเป็นคดีอุทธรณ์คาวินิจฉัยของเจ้าพนักงานตามกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากรจึงอยู่ในอำนาจของศาลภาษีอากรไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครองหรือกรณีผู้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าโต้แย้งคาสั่งของนายทะเบียนที่มีคำสั่งเกี่ยวกับคาขอนั้นตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2534แม้คาสั่งดังกล่าวจะเป็นคำสั่งทางปกครองประเภทหนึ่งก็ตามแต่ข้อโต้แย้งนั้นก็เกี่ยวกับสิทธิในเครื่องหมายการค้าซึ่งเป็นคดีแพ่งเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าอันเป็นข้อยกเว้นของหลักการเกี่ยวกับคดีปกครองโดยทั่วไปการพิจารณาคดีย่อมตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักการตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้าเป็นสำคัญจึงต้องอยู่ในอานาจของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศทั้งนี้เพื่อให้การพิจารณาเกี่ยวกับสิทธิในเครื่องหมายการค้าของบุคคลได้รับการตรวจสอบจากศาลชานานพิเศษเป็นต้น

4.คดีอื่นๆนอกจากคดีตาม3.2.1-3.2.4นอกจากคดีที่กล่าวมาแล้วยังมีคดีอีกหลายประเภทที่ศาลปกครองไม่อาจจะรับคำฟ้องไว้พิจารณาได้เช่น

4.1เรื่องที่ผู้ฟ้องคดีและผู้ถูกฟ้องคดีเป็นประชาชนด้วยกันเช่นการที่ผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ได้กู้เงินพิเศษจากสหกรณ์และได้ลาออกจากราชการเพื่อขอรับเงินบานาญแต่สหกรณ์ได้อายัดเงินบำนาญของผู้ฟ้องคดีเพื่อชาระหนี้ที่ค้างเป็นเรื่องที่ผู้ฟ้องคดีต้องปฏิบัติตามข้อตกลงในสัญญาหาใช่เป็นการกระทำที่ไม่ถูกหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายและกรณีมิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำของหน่วยปกครองเพราะสหกรณ์ออมทรัพย์มิใช่หน่วยงานทางปกครองเป็นต้น 

42.เรื่องที่ผู้ถูกฟ้องเป็นรัฐวิสาหกิจที่ใต้จัดตั้งขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพวณิชย์ทั้งนี้เนื่องจากกฎหมายไม่ถือว่าหน่วยงานเหล่านี้เป็นหน่วยงานทางปกครองเช่นธนาคารไทยธนาคาร จำกัด(มหาชน)และธนาคารกรุงไทยจากัด(มหาชน)เป็นต้นหรือเรื่องที่ฟ้องรัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งโดยกฎหมายเฉพาะในส่วนที่รัฐวิสาหกิจนั้นประกอบธุรกิจเยี่ยงเอกชนทั่วไปเช่นเอกชนผู้ใช้โทรศัพท์ฟ้ององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยที่งดให้บริการโทรศัพท์แก่ผู้พ้องคดีโดยมิได้ตรวจสอบข้อมูลให้ชัดเจนและถี่ถ้วนว่าผู้ฟ้องคดีชาระค่าใช้บริการแล้วทำให้ผู้ฟ้องคดีได้รับความเดือดร้อนเป็นกรณีโต้แย้งกันในเรื่องสิทธิและหน้าที่ของผู้ให้เช่าและผู้เช่าตามสัญญาเช่าทรัพย์ในฐานะเอกชนกับเอกชนอันเป็นคดีพิพาททางแพ่งไม่เข้าลักษณะเป็นสัญญาทางปกครอง

4.3เรื่องที่ผู้ถูกพ้องคดีเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำความเดือดร้อนหรือเสียหผู้ฟ้องคดีโดยการาระทำส่วนตัวมิใช่เป็นการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐเช่นการที่ผู้ฟ้องคดีฟ้องเรียกให้กรมการศึกษานอกโรงเรียนในฐานะหน่วยงานต้นสังกัดจ่ายค่าสินไหมทดแทนในกรณีที่หัวหน้าศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนอำเภอใช้ผู้อื่นมาทำร้ายร่างกายผู้ฟ้องคดีนั้นไม่เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐตามมาตรา9วรรคหนึ่ง(3)แต่เป็นการกระทำโดยอาศัยเหตุสวนตัวซึ่งผู้ฟ้องคดีต้องฟ้องเรียกค่าเสียหายต่อศาลยุติธรรมเป็นต้น

4.4เรื่องที่ข้อพิพาทเกิดจากสัญญาทั่วไปมิใช่สัญญาทางปกครองซึ่งได้แก่สัญญาสัมปทานสัญญาที่ให้จัดทำบริการสาธารณะหรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภคหรือแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติดังนั้นแม้ว่าคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองก็ไม่อาจฟ้องคดียังศาลปกครองได้ เช่นกรณีที่ฟ้องว่าการเคหะแห่งชาติในฐานะผู้ให้เช่าซื้ออาคารได้โอนกรรมสิทธิ์การเช่าซื้อของผู้เช่าซื้อเดิมไปให้ผู้เช่าซื้อใหม่โดยไม่สุจริตทำให้ผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นภรรยาของผู้เชาซื้อเดิมได้รับความเสียหายหรือกรณีที่ฟ้องว่าวิทยาลัยการอาชีพขอนแก่นผิดสัญญากับผู้ฟ้องคดีเพราะยอมให้บุคคลอื่นเข้ามาทำธุรกิจขายสินค้าในลักษณะเช่นเดียวกับร้านค้าสวัสดิการซึ่งผู้ฟ้องคดีได้เช่าทาการค้าอยู่หรือกรณีที่ฟ้องว่ากรมพลศึกษาบอกเลิกสัญญาจ้างที่ปรึกษาเพื่อออกแบบและควบคุมงานก่อสร้างอาคารเรียนและอาคารประกอบและสัญญาจ้างที่ปรึกษาเพื่อควบคุมโครงการปรับปรุงก่อสร้างสนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติฯโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่กรณีนี้คณะกรรมการวินิจฉัยขี้ขาดอานาจหน้าที่ระหว่างศาลวินิจฉัยว่าสัญญาจ้างที่ปรึกษาออกแบบและควบคุมงานก่อสร้างอาคารเรียนและอาคารเอนกประสงค์เป็นไปเพื่อให้ได้งานก่อสร้างอาคารดังกล่าวซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการดำเนินบริการสาธารณะในการส่งเสริมและประสานงานการกีฬาเพื่อการศึกษาของรัฐให้บรรลุผลจึงเป็นสัญญาทางปกครองศาลปกครองและสานักงานศาลปกครอง(2556)คดีที่ไม่อยู่ในอานาจของศาลปกครองอาจจัดแบ่งได้เป็น2กลุ่ม คือคดีปกครองที่กฎหมายกาหนดไม่ให้อยู่ในอานาจของศาลปกครองและคดีที่มิใช่คดีปกครอง 

ฟ้องคดีต่อศาลปกครองต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขใดบ้าง

      คดีที่ศาลปกครองมีอำนาจรับไว้พิจารณาพิพากษาได้นั้นนอกจากจะต้องเป็นคดีปกครองแล้วยังจะต้องปรากฏด้วยว่าผู้ฟ้องคดีได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการฟ้องคดีครบถ้วนแล้วในการฟ้องคดีต่อศาลปกครองนั้นผู้มีสิทธิฟ้องคดีจะต้องเป็นผู้ซึ่งได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายหรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้อันเนื่องมาจากการกระทำหรือการงดเว้นการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐตามที่กฎหมายกำหนด

    กฤษฎาพรกุลธนาพงษ์(2547:46)เงื่อนไขการฟ้องคดีปกครองแม้ว่าการฟ้องคดีปกครองจะกระทำได้โดยง่ายแต่เพื่อให้การฟ้องคดีเป็นระบบและสามารถแก้ไขความเดือดร้อนของผู้ประสงค์จะฟ้องคดีได้อย่างแท้จริงจึงได้มีการกำหนคเงื่อนไขที่สำคัญของการฟ้องคดีปกครองไว้หลายประการดังนี้

1.ผู้มีสิทธิฟ้องคดีปกครองผู้ฟ้องคดีปกครองจะต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถและได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายหรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเดี่ยงได้อันเนื่องมาจากการกระทำหรืองดเว้นการกระทำของหน่วยงานทางปกกรองหรือเจ้าหน้าที่หรือเป็นผู้ที่มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองหรือเป็นผู้ที่มีข้อโต้แย้งอื่นใดที่กฎหมายกำหนดให้ฟ้องคดีต่อศาลปกครอง

2.การขอให้แก้ไขเยียวยาความเดือดร้อนหรือเสียหายในเบื้องต้นก่อนฟ้องคดีหากเรื่องที่จะนำมาฟ้องคคีปกครองนั้นมีกฎหมายกำหนดขั้นตอนหรือวิธีการให้ต้องดำเนินการอย่างใดเพื่อแก้ไขความเดือดร้อนหรือเสียหายผู้ฟ้องคดีก็จะต้องคำเนินการตามขั้นตอนหรือวิธีการนั้นให้เสร็จสิ้นเสียก่อนจึงจะนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครองได้

3.คำฟ้องนั้นไม่มีแบบกำหนดไว้โดยเฉพาะแต่ต้องทำเป็นหนังสือโดยใช้ถ้อยคำสุภาพและต้องมีชื่อและที่อยู่ของผู้ฟ้องคดีและผู้ถูกฟ้องคดีข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ตามสมควรที่แสดงให้ศาลเห็นว่าหน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่กระทำการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือมีข้อพิพาทอย่างไรเมื่อใดที่ผู้ฟ้องคดีได้ยื่นอุทธรณ์หรือขอให้เข้าหน้าที่แก้ไขเยียวยาตามขั้นตอนหรือวิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้แล้วเมื่อได้ผลเป็นอย่างไรนอกจากนั้นผู้ฟ้องคดีจะต้องระบุในคำขอด้วยว่าต้องการให้ศาลสั่งอย่างไรโดยคำขอจะต้องสอดคล้องกับเรื่องที่ฟ้องคดีและเป็นเรื่องที่ศาลมีอำนาจสั่งให้ได้เช่นขอให้ศาลสั่งให้เพิกถอนคำสั่งในกรณีที่ฟ้องว่าเจ้าหน้าที่ออกคำสั่งโดยไม่ชอบหรือสั่งให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่ภายในเวลาที่กำหนดในกรณีที่ฟ้องว่าเจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่ช้าเกินควร เป็นต้น

   4.ระยะเวลาในการฟ้องคดีปกครองการฟ้องคดีปกครองจะต้องฟ้องภายใน90วันนับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการฟ้องคดีหรือนับแต่วันที่พ้นกำหนด90วันนับแต่วันที่ผู้ฟ้องคดีมีหนังสือร้องขอให้หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดการยื่นฟ้องต่อศาลจะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้

1.เรื่องที่นำมาฟ้องต้องเป็นคดีปกครองและต้องเป็นกรณีตามมาตรา9แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองได้แก่

   1.1การกระทำของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเช่นออกคำสั่งผิดวิธีไม่ดำเนินการตามระเบียบเป็นต้น

2.ต้องยื่นฟ้องต่อศาลที่มีอำนาจต้องยื่นฟ้องศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นหรือศาลที่ผู้ฟ้องคดีมีภูมิลำเนาอยู่เขตศาลนั้น

3.คำฟ้องต้องทำเป็นหนังสือและมีรายการตามที่กำหนดไว้และยื่นโดยถูกวิธีการฟ้องคดีปกครองไม่มีแบบของคำฟ้องกำหนดไว้เฉพาะแต่ต้องทำเป็นหนังสือฟ้องด้วยวาจาไม่ได้ใช้ถ้อยคำสุภาพมีรายการตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา45กล่าวคือต้องระบุชื่อที่อยู่ของผู้ฟ้องคดีและผู้ถูกฟ้องคดีข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์เกี่ยวกับการกระทำที่เป็นเหตุแห่งการฟ้องคดีคำขอและลายมือชื่อผู้ฟ้องคดีโดยต้องแนบพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องไปพร้อมคำฟ้องโดยผู้ฟ้องคดีต้องจัดทำสำเนาคำฟ้องและสำเนาพยานหลักฐานตามจำนวนผู้ถูกฟ้องคดีด้วยสำหรับวิธีการยื่นคำฟ้องนั้นจะยื่นด้วยตนเองหรือมอบอำนาจให้ผู้อื่นยื่นแทนหรือจะส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนก็ได้

4.ผู้ฟ้องคดีต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถตามกฎหมายผู้ฟ้องคดีต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถในการทำนิติกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หากผู้ฟ้องคดีมีข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถก็จะต้องดำเนินการแก้ไขตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติไว้อย่างไรก็ดีสำหรับในการฟ้องคดีปกครองนั้นมีข้อยกเว้นอนุญาตให้ผู้เยาว์ที่มีอายุไม่ต่ำกว่า15ปีบริบูรณ์ฟ้องคดีด้วยตนเองได้ถ้าศาลอนุญาต

5.ผู้ฟ้องคดีต้องเป็นผู้มีสิทธิฟ้องคดีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา276ของรัฐธรรมนูญและมาตรา42พรบ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองพ.ศ.2542กล่าวคือจะต้องเป็นผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายหรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้จากการกระทำหรืองดเว้นการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง

6.ต้องยื่นฟ้องภายในระยะเวลาที่กำหนดกรณีที่ฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนกฎหรือคำสั่งทางปกครองต้องฟ้องภายใน90วันนับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการฟ้องคดีหรือนับแต่วันที่พ้นกำหนด90วันนับแต่วันที่ผู้ฟ้องคดีมีหนังสือร้องขอต่อหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดและไม่ได้รับหนังสือชี้แจงจากหน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ดังกล่าวหรือได้รับแต่เป็นคำชี้แจงที่เห็นว่าไม่มีเหตุผลหรือมีกฎหมายเฉพาะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น

     รัฐสภาไทย (2559:1) โดยปกติการฟ้องคดีปกครองต่อศาลปกครองไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลแต่หากเป็นเพื่อขอให้ศาลปกครองมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้หน่วยงานทางปกครองใช้เงินอัดคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายหรือจากกฎคำสั่งทางปกครองหรือคำสั่งอื่นหรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดหรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควรหรือคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองตามมาตรา9วรรคหนึ่ง(3)และ(4)แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542

       ศาลปกครอง(2562:1)วิธีชำระค่าธรรมเนียมศาลกรณียื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลาง(คดีฟ้องใหม่คดีฟ้องแย้งคดีรับโอนและคดีชั้นอุทธรณ์)ชำระเป็น

       1.เงินสด

       2.เช็คซึ่งส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจเป็นผู้สั่งจ่าย

       3.เช็คที่ธนาคารรับรองได้แก่

        3.1ตั๋วแลกเงินธนาคาร

        3.2ดราฟต์

 3.3แคชเชียร์เช็ค(ใช้เฉพาะธนาคารในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลเนื่องจากแคชเชียร์เช็คของธนาคารในเขตต่างจังหวัดเมื่อนำมาเข้าบัญชีที่กรุงเทพฯจะมีค่าธรรมเนียมในการเรียกเก็บเงินตามเช็คทำให้จำนวนเงินที่ศาลรับชำระไม่ตรงตามเช็คจึงส่งผลให้ผู้ฟ้องคดีชำระเงินไม่ครบถ้วน)

4.บัตรเครดิตบัตรเดบิตหรือบัตรอื่นในลักษณะเดียวกันกรณียื่นฟ้องตรงต่อศาลปกครองสูงสุดชำระเป็น

4.1เงินสด

4.2เช็คซึ่งส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจเป็นผู้สั่งจ่าย

4.3เช็คที่ธนาคารรับรองได้แก่

(1)ตั๋วแลกเงินธนาคาร

(2)ดราฟต์

(3)แคชเชียร์เช็ค(ใช้เฉพาะธนาคารในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลเนื่องจากแคชเชียร์เช็คของธนาคารในเขตต่างจังหวัดเมื่อนำมาเข้าบัญชีที่กรุงเทพฯจะมีค่าธรรมเนียมในการเรียกเก็บเงินตามเช็คทำให้จำนวนเงินที่ศาลรับชำระไม่ตรงตามเช็คจึงส่งผลให้ผู้ฟ้องคดีชำระเงินไม่ครบถ้วน)

    กล่าวโดยสรุปการฟ้องคดีต่อศาลปกครองในประเทศไทยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลตามกฎหมายแต่มีบางกรณีที่ศาลสามารถกำหนดให้ฝ่ายที่ยื่นคำร้องรับผิดชอบในการชำระค่าธรรมเนียมศาลตามทุนทรัพย์ที่เกี่ยวข้องนอกจากนี้มีข้อกำหนดในการยกเว้นหรือจำกัดค่าธรรมเนียมศาลได้ตามความเหมาะสมของแต่ละคดี

ฟ้องคดีต่อศาลปกครองต้องเสียค่าธรรมเนียมต่อศาลหรือไม่

ค่าธรรมเนียมศาลเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญในกระบวนการกฎหมายและการดำเนินคดีในระบบยุติธรรมการกำหนดค่าธรรมเนียมศาลมีผลกระทบต่อความเท่าเทียมในการเข้าถึงกฎหมายการมีสิทธิในการยื่นฟ้องคดี และความยุติธรรมในการพิจารณาคดีต่างๆพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองพ.ศ.2561(ราชกิจจานุเบกษา,2561:13)มาตรา45/1ระบุว่าการฟ้องคดีที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลตามมาตรา45วรรคสี่หากคู่กรณีใดยื่นคำขอต่อศาลโดยอ้างว่าไม่มีทรัพย์สินเพียงพอที่จะเสียค่าธรรมเนียมศาลหรือโดยสถานะของผู้ขอถ้าไม่ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลจะได้รับความเดือดร้อนเกินสมควรถ้าศาลเห็นว่ามีข้อเท็จจริงเพียงพอที่จะรับฟ้องไว้พิจารณา หรือในกรณีอุทธรณ์ซึ่งศาลเห็นว่ามีเหตุผลอันสมควรที่จะอุทธรณ์ได้แล้วแต่กรณีและศาลได้แสวงหาข้อเท็จจริงโดยการไต่สวนหรือโดยวิธีอื่นแล้วเห็นว่ามีเหตุตามคำขอจริงให้ศาลอนุญาตให้คู่กรณีนั้นดำเนินคดีโดยยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลทั้งหมดหรือเฉพาะบางส่วนได้คำสั่งให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลทั้งหมดให้เป็นที่สุดในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลเฉพาะบางส่วน หรือมีคำสั่งให้ยกคำขอผู้ยื่นคำขอมีสิทธิดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ 

1.ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคำขอนั้นใหม่เพื่ออนุญาตให้ตนนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าไม่มีทรัพย์สินเพียงพอที่จะเสียค่าธรรมเนียมศาลได้จริง 

2.ยื่นอุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อศาลปกครองสูงสุดในกรณีที่คู่กรณีใช้สิทธิตาม1หรือ2อย่างใดอย่างหนึ่งแล้วจะใช้สิทธิอีกประการหนึ่งมิได้การยื่นคำขอการพิจารณาคำขอการขอให้พิจารณาใหม่การอุทธรณ์และการดำเนินกระบวนพิจารณาใดที่เกี่ยวกับการขอดำเนินคดีตามวรรคหนึ่งและวรรคสองให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดโดยระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดที่ออกตาม มาตรา44

รัฐสภาไทย (2559 : 1 )โดยปกติการฟ้องคดีปกครองต่อศาลปกครองไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลแต่หากเป็นเพื่อขอให้ศาลปกครองมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้หน่วยงานทางปกครองใช้เงินอันคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย หรือจากกฎคำสั่งทางปกครอง หรือคำสั่งอื่นหรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดหรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควรหรือคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองตามมาตรา9วรรคหนึ่ง(3 และ(4)แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 

ศาลปกครอ ง (2562:1) วิธีชำระค่าธรรมเนียมศาลกรณียื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลาง(คดีฟ้องใหม่คดีฟ้องแย้งคดีรับโอนและคดีชั้นอุทธรณ์)ชำระเป็น

1.เงินสด

2.เช็คซึ่งส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจเป็นผู้สั่งจ่าย

3.เช็คที่ธนาคารรับรองได้แก่

      3.1ตั๋วแลกเงินธนาคาร

      3.2ดราฟต์

      3.3แคชเชียร์เช็ค)ใช้เฉพาะธนาคารในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลเนื่องจากแคชเชียร์เช็คของธนาคารในเขตต่างจังหวังเมื่อนำมาเข้าบัญชีที่กรุงเทพฯจะมีค่าธรรมเนียมในการเรียกเก็บเงินตามเช็คทำให้จำนวนเงินที่ศาลรับชำระไม่ตรงตามเช็คจึงส่งผลให้ผู้ฟ้องคดีชำระเงินไม่ครบถ้วน) 

4.บัตรเครดิตบัตรเดบิต หรือบัตรอื่นในลักษณะเดียวกันกรณียื่นฟ้องตรงต่อศาลปกครองสูงสุดชำระเป็น

      4.1เงินสด

      4.2เช็คซึ่งส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจเป็นผู้สั่งจ่าย

      4.3เช็คที่ธนาคารรับรองได้แก่

      (1)ตั๋วแลกเงินธนาคาร

      (2)ดราฟต์

      (3)แคชเชียร์เช็ค(ใช้เฉพาะธนาคารในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑดเนื่องจากแคชเชียร์เช็คของธนาคารในเขตต่างจังหวัดเมื่อนำมาเข้าบัญชีที่กรุงเทพฯจะมีค่าธรรมเนียมในการเรียกเก็บเงินตามเช็คทำให้จำนวนเงินที่ศาลรับชำระไม่ตรงตามเช็คจึงส่งผลให้ผู้ฟ้องคดีชำระเงินไม่ครบถ้วน)

กล่าวโดยสรุป การฟ้องคดีต่อศาลปกครองในประเทศไทยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลตามกฎหมายแต่มีบางกรณีที่ศาลสามารถกำหนดให้ฝ่ายที่ยื่นคำร้องรับผิดชอบในการชำระค่าธรรมเนียมศาลตามทุนทรัพย์ที่เกี่ยวข้องนอกจากนี้มีข้อกำหนดในการยกเว้นหรือจำกัดค่าธรรมเนียมศาลได้ตามความเหมาะสมของแต่ละคดี


ยื่นคำฟ้องคดีปกครองได้ที่ใด

           การยื่นคำฟ้องคดีปกครองเป็นกระบวนการทางกฎหมายที่เกิดขึ้นเมื่อมีความขัดแย้งหรือข้อพิพาททางปกครองซึ่งสามารถทำได้ทั้งโดยการยื่นคำฟ้องโดยตรงที่ศาลปกครองหรือผ่านทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตลอดจนการยื่นคำฟ้องทางอิเล็กทรอนิกส์หรือโทรสารตามระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดศาลที่จะรับฟ้องสามารถเป็นศาลปกครองสูงสุดศาลปกครองกลาง หรือศาลปกครองจังหวัด

       ศาลปกครอง(2556:1)ระบุวิธีการยื่นคำฟ้องว่าการยื่นคำฟ้องอาจทำเป็นหนังสือไปยื่นต่อศาลโดยตรงหรือยื่นคำฟ้องทางไปรษณีย์ลงทะเบียนและศาลที่จะฟ้องได้แก่ศาลปกครองสูงสุดศาลปกครองกลางหรือศาลปกครองจังหวัด

       สถาบันพระปกเกล้า (2559:1) ผู้ฟ้องคดีสามารถยื่นคำฟ้องได้2วิธีได้แก่

1.ยื่นคำฟ้องด้วยตนเองที่ศาลปกครองที่ตนมีภูมิลำเนาหรือที่มูลคดีเกิด

2.ส่งคำฟ้องทางไปรษณีย์ลงทะเบียน

  พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองพ.ศ.2561(ราชกิจจานุเบกษา,2561:13)มาตรา46ระบุว่าคำฟ้องให้ยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของศาลปกครองหรือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนในการนี้อาจยื่นคำฟ้องโดยส่งทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์สื่อดิจิทัลอื่นใดหรือโทรสารตามระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดและเพื่อประโยชน์ในการนับอายุความให้ถือว่าวันที่ส่งคำฟ้องแก่เจ้าพนักงานไปรษณีย์หรือวันที่ส่งคำฟ้องทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์สื่อดิจิทัลอื่นใดหรือโทรสารเป็นวันที่ยื่นคำฟ้องต่อศาลปกครอง 

 กล่าวโดยสรุปการยื่นคำฟ้องคดีปกครองสามารถทำได้ที่ศาลปกครองที่ตนมีภูมิลำเนาหรือที่มูลคดีเกิดโดยมีทางเลือกทั้งการยื่นคำฟ้องโดยตรงที่ศาลปกครองหรือผ่านทางไปรษณีย์ลงทะเบียนหรือแม้กระทั่งการยื่นคำฟ้องทางอิเล็กทรอนิกส์หรือโทรสารตามระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด

เอกสารอ้างอิง

Copyright © 2024 BRU Comnet Template. All Rights Reserved.