สาระน่ารู้เกี่ยวกับศาลปกครอง

จาฏุพัจน์ ถั่วประโคน  บูรพา เกษรนวล  ศุภกร พลายงาม   ธันยมัย คำแดง

                นักศึกษาสาขาวิชารัฐประศาสนศาตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

                     640112801058@bru.ac.th   640112801067@bru.ac.th  640112801072@bru.ac.th  640112801084@bru.ac.th 

21 กุมภาพันธ์ 2567 

ศาลปกครอง (อังกฤษ: Administrative Court) เป็นศาลที่จัดตั้งขึ้นใหม่ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 276 และมีการจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มีฐานะเทียบเท่าศาลยุติธรรมและมีอำนาจหน้าที่พิจารณาพิพากษา “คดีปกครอง” ซึ่งเป็นคดีพิพาทระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชนกรณีหนึ่ง และข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกันอีกกรณีหนึ่ง ทั้งนี้ เพื่อปกป้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนและเพื่อสร้างบรรทัดฐานที่ถูกต้องในการปฏิบัติราชการ

ศาลปกครองคืออะไร

ศาลปกครอง คือ องค์กรที่ใช้อำนาจตุลาการเช่นเดียวกับศาลยุติธรรม แต่จะทำหน้าที่พิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในคดี ที่เรียกว่า คดีปกครอง  ศาลปกครองนั้นจะมีอำนาจหน้าที่ในการวินิจฉัยชี้ขาดคดีพิพาทที่เกิดระหว่างหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชน หรือระหว่างหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกันเอง

ซึ่งข้อพิพาทที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐใช้อำนาจตามกฎหมาย ออกคำสั่งหรือการกระทำอื่นใดโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควรหรือมีการกระทำละเมิดหรือต้องรับผิดอย่างอื่นใดอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย รวมทั้งคดีเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองด้วยการจัดตั้งศาลปกครองขึ้น นั้น ส่วนหนึ่ง เป็นผลของ รัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. ๒๕๔๐ ที่กำหนดให้มีการจัดตั้งศาลปกครองขึ้นอีกศาลหนึ่งที่เรียกว่า ระบบศาลคู่ คือมี ศาลยุติธรรม ซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งและคดีอาญา ที่เรียกว่า กระบวนการยุติธรรมทางแพ่งและอาญา และมี ศาลปกครอง ซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีปกครองที่เรียกว่า กระบวนการยุติธรรมทางปกครอง (Administrative Justice)

 แต่คนจำนวนไม่น้อยที่ยังไม่เข้าใจสถานะของศาลปกครอง เนื่องจากเป็นองค์กรที่ตั้งขึ้นพร้อมกับองค์กรใหม่ ๆ ตามรัฐธรรมนูญอีกหลายองค์กร จึงมีความเข้าใจว่าเป็นองค์กรที่จัดอยู่ในกลุ่มขององค์กรที่ชอบเรียกกันว่าเป็นองค์กรอิสระ

ศาลปกครองมีเขตอำนาจ (เขตพื้นที่ที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง) และมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีหรืออำนาจของศาลปกครอง (อำนาจของศาลปกครองที่จะพิจารณาพิพากษาคดีปกครองประเภทต่าง ๆ ตามที่กฎหมายกำหนด) แบ่งออกเป็น 2 ชั้น คือ ศาลปกครองสูงสุดและ ศาลปกครองชั้นต้น

( 1 ) คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการออกกฎคำสั่ง หรือการกระทำอื่นใดเนื่องจากกระทำโดยไม่มีอำนาจหรือนอกเหนืออำนาจหน้าที่หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมายหรือโดยไม่ถูกต้องตามรูปแบบขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้สำหรับการกระทำนั้น หรือโดยไม่สุจริตหรือมีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม หรือมีลักษณะเป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จำเป็น หรือสร้างภาระให้เกิดกับประชาชนเกินสมควร หรือเป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ

( 2 ) คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร

( 3 ) คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดชอบอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ อันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย หรือจากกฎ คำสั่งทางปกครอง หรือคำสั่งอื่น หรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร

( 4 ) คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง                                                                                                          

( 5 ) คดีที่กฎหมายกำหนดให้หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐฟ้องคดีต่อศาลเพื่อบังคับให้บุคคลต้องกระทำหรือละเว้นกระทำอย่างหนึ่งอย่างใด

( 6 ) คดีพิพาทเกี่ยวกับเรื่องที่มีกฎหมายกำหนดให้อยู่ในเขตอำนาจศาลปกครอง

หน่วยงานทางการปกครองและเจ้าหน้าที่รัฐใดบ้างที่อาจถูกฟ้องคดีต่อศาลปกครอง

ศาลปกครอง (2557 : 13) ให้ความหมายศาลปกครองว่าว่า ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีปกครอง ได้แก่ คดีปกครองที่เกิดจากการใช้อำนาจโดยมิชอบของหน่วยงาน ทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งอาจเป็นข้อพิพาทระหว่างเอกชน ฝ่ายหนึ่งกับหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอีกฝ่ายหนึ่ง หรืออาจเป็นข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ ของรัฐด้วยกันเอง ดังนั้น คู่กรณีที่พิพาทในคดีปกครองอาจมีได้ในกรณี ดังต่อไปนี้ 1. เอกชนพิพาทกับหน่วยงานทางปกครอง 2. เอกชนพิพาทกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ 3. หน่วยงานทางปกครองพิพาทกับหน่วยงานทางปกครอง 4. เจ้าหน้าที่ของรัฐพิพาทกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ 5. เจ้าหน้าที่ของรัฐพิพาทกับหน่วยงานทางปกครอง

มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ (2564 : 1) ) การฟ้องคดีปกครองได้บัญญัติหลักเกณฑ์วิธีการไว้ใน พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 และอีกส่วนหนึ่งกำหนดไว้ในระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2543การเสนอคำฟ้อง การยื่นฟ้องต่อศาล จะต้องเป็นไปตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้

1. เรื่องที่นำมาฟ้องต้องเป็นคดีปกครอง และต้องเป็น กรณีตามมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง ได้แก่

1.1 การกระทำของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เช่น ออกคำสั่งผิดวิธี ไม่ดำเนินการตามระเบียบ เป็นต้น

1.2 กรณีนี้เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือหน่วยงานทางปกครองละเลยต่อหน้าที่ หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร

1.3 เจ้าหน้าที่ หรือหน่วยงานกระทำละเมิดต่อบุคคลอื่น

1.4 คดีเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง

1.5 คดีที่กฎหมายกำหนดให้หน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ทางปกครอง มาฟ้องคดีต่อศาลปกครอง

1.6 คดีที่เกี่ยวกับเรื่องที่กฎหมายกำหนดให้อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง

สำนักงานศาลปกครอง (2565 : 3) หน่วยงานทางปกตรองที่อาจถูกฟ้องต่อศาลได้ มีอยู่ 7 ประเภท ดังต่อไปนี้

1. หน่วยงานราชการที่เป็นราชการส่วนกลาง

2. หน่วยงานราชการที่เป็นราชการส่วนภูมภาค

3. องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น

4. รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติ

5. หน่วยงานของรับที่มิได้เป็นส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจที่เรียกกันว่าองค์การมหาชน

6. หน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญ

7. หน่วยงานที่ได้รับมอบหมายจากรัฐให้ใช้อำนาจทางปกครองหรือให้ดำเนินกิจการทางปกครอง

ธีรพรรณ ใจมั่น (2559 : 1) คดีปกครอง คือ คดีที่เป็นข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชน หรือข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานทางการปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกันเอง และเป็นคดีในเรื่องดังต่อไปนี้

1.คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางการปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐออกกฎ คำสั่ง หรือการกระทำอื่นใดโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เช่น กรณีผู้ฟ้องคดีเห็นว่าพนักงานท้องถิ่นปฏิเสธไม่ออกใบอนุญาตก่อสร้างโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือกรณีผู้ฟ้องคดีเห็นว่าผู้บังคับบัญชามีคำสั่งลงโทษทางวินัยโดยไม่เป็นธรรม เป็นต้น

2. คดีพิพาทเกี่ยวกับหน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามกฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร เช่น กรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นละเลยต่อหน้าที่ไม่ตรวจตรา และออกคำสั่งให้เจ้าของอาคารรื้อถอนที่ก่อสร้าง หรือต่อเติมไม่ได้รับอนุญาต กรณีเจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการออกโฉนดที่ดินล่าช้าเกินสมควร เป็นต้น

3.คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิด หรือความรับผิดชอบอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ อันเกิดจากการใช้อำนาจล่าช้าเกินสมควร เช่น การที่เจ้าพนักงานที่ดินออกคำสั่งเพิกถอนโฉนดที่ดินโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทำให้ผู้ฟ้องคดีได้รับเสียหาย และผู้ฟ้องคดีเรียกค่าเสียหายดังกล่าว หรือการฟ้องเรียกค่าทดแทนการเวนคืน หรือการรอนสิทธิจากการวางท่อประปา หรือเสาไฟฟ้าแรงสูงเป็นต้น

4.คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง เช่น ข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาจ้างเอกชน ก่อสร้างถนน อาคารเรียน หรือข้อพิพาทเกี่ยวกับการเรียกเก็บค่าสัมปทานตามสัญญาสัมปทานทำไม้ป่าชายเลน หรือสัญญาที่หน่วยงานทางปกครองทำกับข้าราชการที่ได้รับอนุญาตให้ลาศึกษาต่อเป็นต้น

5.คดีที่มีกฎหมายกำหนดให้หน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าของรัฐต้องฟ้องคดีต่อศาลเพื่อบังคับให้บุคคลกระทำการหรือละเว้นการกระทำ เช่น กรณีเจ้าหน้าที่ของกรมการขนส่งทางน้ำฟ้องคดีต่อศาลปกครอง เพื่อมีคำสั่งให้เอกชนรื้อถอนสะพาน หรือบ้านที่ปลูกรุกล้ำแม่น้ำ กรณีเจ้าพนักงานท้องถิ่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองเพื่อมีคำสั่งให้จับกุม และกักขังบุคคล ซึ่งไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร ฯ เป็นต้น

6.คดีที่กฎหมายกำหนดให้อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง เช่น กรณีที่ฟ้องขอให้เพิกถอนคำชี้ขาด หรือบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง เป็นต้น

กล่าวโดยสรุป อย่างไรก็ตาม เอกชนอาจถูกฟ้องต่อศาลปกครองได้เช่นกัน เช่น คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองคู่สัญญาอาจฟ้องเอกชนคู่สัญญาเป็นคดีต่อศาลปกครองได้

คดีปกครองประเภทใดที่อาจฟ้องต่อศาลปกครองได้

การฟ้องคดีปกครองได้บัญญัติหลักเกณฑ์วิธีการไว้ใน พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 และอีกส่วนหนึ่งกำหนดไว้ในระเบียบของที่ประชุมใหญ่ ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2543

การเสนอคำฟ้อง การยื่นฟ้องต่อศาล จะต้องเป็นไปตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้

1. เรื่องที่นำมาฟ้องต้องเป็นคดีปกครอง และต้องเป็น กรณีตามมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง ได้แก่

1.1 การกระทำของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เช่น ออกคำสั่งผิดวิธี ไม่ดำเนินการตามระเบียบ เป็นต้น

1.2 กรณีนี้เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือหน่วยงานทางปกครองละเลยต่อหน้าที่ หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร

1.3 เจ้าหน้าที่ หรือหน่วยงานกระทำละเมิดต่อบุคคลอื่น

1.4 คดีเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง

1.5 คดีที่กฎหมายกำหนดให้หน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ทางปกครอง มาฟ้องคดีต่อศาลปกครอง

1.6 คดีที่เกี่ยวกับเรื่องที่กฎหมายกำหนดให้อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง

2. ต้องยื่นฟ้องต่อศาลที่มีอำนาจ

ต้องยื่นฟ้องศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นหรือศาลที่ผู้ฟ้องคดีมีภูมิลำเนาอยู่เขตศาลนั้น

3. คำฟ้องต้องทำเป็นหนังสือและมีรายการตามที่กำหนดไว้และยื่นโดยถูกวิธี

การฟ้องคดีปกครองไม่มีแบบของคำฟ้องกำหนดไว้เฉพาะ แต่ต้องทำเป็นหนังสือ ฟ้องด้วยวาจาไม่ได้ ใช้ถ้อยคำสุภาพ มีรายการตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 45 กล่าวคือต้องระบุ ชื่อ ที่อยู่ของผู้ฟ้องคดี และผู้ถูกฟ้องคดี ข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์เกี่ยวกับการกระทำที่เป็นเหตุแห่งการฟ้องคดี คำขอและลายมือชื่อผู้ฟ้องคดี โดยต้องแนบพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องไปพร้อมคำฟ้อง โดยผู้ฟ้องคดีต้องจัดทำสำเนาคำฟ้องและสำเนาพยานหลักฐานตามจำนวนผู้ถูกฟ้องคดีด้วย

สำหรับวิธีการยื่นคำฟ้องนั้นจะยื่นด้วยตนเองหรือมอบอำนาจให้ผู้อื่นยื่นแทนหรือจะส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนก็ได้

อนึ่ง ในกรณีที่มีผู้ประสงค์จะฟ้องคดีหลายคนในเหตุเดียวกัน บุคคล ดังกล่าวจะยื่นคำฟ้องร่วมกันเป็นฉบับเดียว โดยมอบให้ผู้ฟ้องคดีคนหนึ่งเป็นตัวแทนของผู้ฟ้องคดีทุกคนก็ได้ ในกรณีนี้ถือว่าการกระทำของตัวแทนผู้ฟ้องคดีในกระบวนพิจารณาผูกพันผู้ฟ้องคดี ทุกคนด้วย

4. ผู้ฟ้องคดีต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถตามกฎหมาย

ผู้ฟ้องคดีต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถในการทำนิติกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หากผู้ฟ้องคดีมีข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถก็จะต้องดำเนินการแก้ไขตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติไว้ อย่างไรก็ดี สำหรับในการฟ้องคดีปกครองนั้น มีข้อยกเว้นอนุญาตให้ผู้เยาว์ที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ ฟ้องคดีด้วยตนเองได้ถ้าศาลอนุญาต

5. ผู้ฟ้องคดีต้องเป็นผู้มีสิทธิฟ้องคดีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 276 ของ รัฐธรรมนูญ และ มาตรา 42 พรบ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาดีปกครอง พ.ศ. 2542

กล่าวคือ จะต้องเป็นผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายหรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้จากการกระทำหรืองดเว้นการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง หรือกรณีอื่นใดที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง

6. ต้องยื่นฟ้องภายในระยะเวลาที่กำหนด

กรณีที่ฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนกฎ หรือคำสั่งทางปกครอง

ต้องฟ้องภายใน 90 วัน นับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการฟ้องคดี หรือนับแต่วันที่พ้นกำหนด 90 วัน นับแต่วันที่ผู้ฟ้องคดีมีหนังสือร้องขอต่อหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดและไม่ได้รับหนังสือชี้แจงจากหน่วยงานหรือ เจ้าหน้าที่ดังกล่าวหรือได้รับแต่เป็นคำชี้แจงที่เห็นว่าไม่มีเหตุผล หรือมีกฎหมายเฉพาะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น

คดีเกี่ยวกับการกระทำละเมิด

ให้ยื่นฟ้องภายใน 1 ปี และถ้าเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองต้องฟ้องภายใน 5 ปี นับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการฟ้องคดี แต่ไม่เกิน 10 ปี นับแต่วันที่มีเหตุแห่งการฟ้องคดี

คดีเกี่ยวกับการคุ้มครองประโยชน์สาธารณะหรือ สถานะของบุคคล

ยื่นฟ้องเมื่อใดก็ได้ และในบางกรณีถ้าคู่กรณีมีคำขอหรือศาลปกครองเห็นเองว่าคดีที่ยื่นฟ้องเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาการฟ้องคดีแล้วนั้น จะเป็นประโยชน์แก่ส่วนรวมหรือมีเหตุ จำเป็นอื่น ศาลปกครองจะรับไว้พิจารณาก็ได้

7. ก่อนฟ้องคดีปกครองต้องดำเนินการแก้ไขความเดือดร้อน หรือความเสียหายตามขั้นตอนหรือวิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับการนั้นเสียก่อน

ตามมาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ที่บัญญัติให้ต้องอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองที่ไม่ได้ออกโดยรัฐมนตรีและไม่มีกฎหมายกำหนดขั้นตอนอุทธรณ์ ภายในฝ่ายปกครองไว้เป็นการเฉพาะ ภายใน 15 วัน เป็นต้น

หากยังไม่มีการอุทธรณ์ตามกฎหมายดังกล่าว ก็ไม่อาจนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครองได้ หากมีการอุทธรณ์แล้วและได้มีการ สั่งการตามการอุทธรณ์นั้นแล้ว หรือไม่มีการสั่งการภายในระยะเวลาอันสมควรหรือในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดจึงจะสามารถนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครองได้

8. การชำระค่าธรรมเนียมศาล

กรณีการฟ้องคดีขอให้ศาลสั่งให้ใช้เงินหรือส่งมอบทรัพย์สินอันสืบเนื่องจากคดีพิพาทเกี่ยวกับการทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลในอัตราตามที่ระบุไว้ในตาราง 1 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เว้นแต่ที่ศาลมีคำสั่งให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล

กรณีการฟ้องคดีขอให้ศาลเพิกถอนกฎหรือคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือการฟ้องคดีเกี่ยวกับการละเลยต่อหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล

ฟ้องคดีต่อศาลปกครองต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขใดบ้าง

คดีที่ศาลปกครองมีอำนาจรับไว้พิจารณาพิพากษาได้นั้นนอกจากจะต้องเป็นคดีปกครองแล้ว ยังจะต้องปรากฎด้วยว่า ผู้ฟ้องคดีได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการฟ้องคดีครบถ้วนแล้ว ดังนี้

1.เป็นผู้มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครอง

ในการฟ้องคดีต่อศาลปกครองนั้น ผู้มีสิทธิฟ้องคดีจะต้องเป็นผู้ซึ่งได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายหรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเสี่ยงได้ เนื่องมาจากการกระทำหรือการงดเว้นการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐตามที่กฎหมายกำหนด หรืออาจกล่าวโดยสรุปก็คือ ผู้มีสิทธิฟ้องคดีจะต้องเป็นผู้เสียหาย หรือเป็นผู้ซึ่งได้รับผลกระทบหรือผู้มีส่วนได้เสียในเรื่องที่จะนำมาฟ้องคดีต่อศาลปกครอง เช่น

-          เป็นนักศึกษาที่อยู่ในบังคับของระเบียบของมหาวิทยาลัยที่

-          เป็นเหตุให้นำคดีมาฟ้อง

-          เป็นข้าราชการที่ถูกผู้บังคับบัญชาสั่งลงโทษทางวินัย ซึ่งต้องการจะโต้แย้งคำสั่งตังกล่าวของผู้บังคับบัญชา

-          เป็นเจ้าของอาคารที่ได้รับคำสั่งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้รื้อถอนอาคาร

-          เป็นผู้ยื่นขอใบอนุญาตต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเวลานานแล้ว แต่พนักงานเจ้าหน้าที่ยังพิจารณาคำขอไม่เสร็จ

-          เป็นผู้รับเหมาที่ยื่นของประกวตราคาที่หน่วยงานทางปกครองสั่งยกเลิกการประกวดราคา

 

ในการฟ้องคดี ผู้ฟ้องคดีจะต้องเป็นผู้มีความสามารถตามกฎหมาย ถ้าผู้ฟ้องคดีเป็นผู้ไร้ความสามารถจะดำเนินคดีได้ต่อเมื่อได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในเรื่อง

ว่าด้วยความสามารถ เช่น ในกรณีที่ผู้ฟ้องคดีเป็นผู้เยาว์จะต้องได้รับอนุญาตจากผู้แทนโดยชอบธรรมตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์เสียก่อน เว้นแต่ผู้เยาว์ซึ่งมีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ ศาลอาจอนุญาตให้ฟ้องคดีด้วยต้นเองได้หากเห็นสะควร

ในการฟ้องคดีหรือดำเนินคดีปกครองนั้น ผู้ฟ้องคตีอาจจะดำเนินการด้วยตนเองหรืออาจมอบอำนาจให้ทนายความหรือบุคคลอื่นซึ่งบรรจุนิติภาวะแล้วและมีความรู้ความสามารถเป็นผู้ฟ้องคดีหรือดำเนินคดีปกครองแทนไต้ โดยจะต้องมีหนังสือมอบอำนาจพร้อมปิดอากรแสตมป์ 10 บาท สำหรับการมอบอำนาจให้กระทำการครั้งเดียวหรือปิดอากรแสตมป์ 30 บาท สำหรับการมอบอำนาจให้กระทำการหลายครั้งหรือให้ดำเนินการทั้งคดี

2. ได้ดำเนินการแก้ไขความเดือดร้อนหรือเสียหายตามขั้นตอนหรือวิธีการที่กฎหมายกำหนดแล้ว

ในกรณีดังต่อไปนี้ ถ้าผู้มีสิทธิฟ้องคดีไม่เห็นด้วยกับการกระทำในเรื่องใดของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้มีสิทธิฟ้องคดีจะต้องตำเนินการโต้แย้งหรือคัดค้านการกระทำในเรื่องนั้น ต่อเจ้าหน้าที่หรือคณะกรรมการผู้พิจารณาอุทธรณ์ของฝ้ายบริหารให้เสร็จสิ้นเสียก่อน จึงจะนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครองได้

ในกรณีที่มีกฎหมายเฉพาะกำหนดขั้นตอนหรือวิธีการโต้แย้งหรือคัดค้านการกระทำของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐไว้โดยเฉพาะ เช่น

พระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. 2509 และที่แก้ไขเพิ่มเติมกำหนดว่า ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ไม่ออกใบอนุญาตหรือไม่ต่ออายุใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการ ผู้ขอใบอนุญาตหรือผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตมีสิทธิอุทธรณ์ต่อผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติหรือปลัดกระทรวงมหาดไทยภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการไม่ออกใบอนุญาตหรือไม่ต่อใบอนุญาตนั้น

พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 กำหนดให้ผู้ขอหรือได้รับใบอนุญาต หรือได้รับคำสั่งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ภายใน 30 วันนับแต่วันทราบคำสั่ง

พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540กำหนดว่า เมื่อบุคคลใดขอข้อมูลข่าวสารของราชการจากหน่วยงานใดแล้วหน่วยงานนั้นปฏิเสธไม่ดำเนินการให้บุคคลนั้นจะต้องร้องเรียนต่อคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการเสียก่อน จึงจะนำคดีมาฟ้องต่อศาลได้

 

         ในกรณีที่กฎหมายเฉพาะมิได้กำหนดขั้นตอนหรือ วิธีการโต้แย้งคัดค้านการกระทำของหน่วยงานทางปกครองหรือ เจ้าหน้าที่ของรัฐไว้โดยเฉพาะ ถ้าการกระทำนั้นมีลักษณะเป็นคำสั่งทางปกครอง เช่น คำสั่งไม่อนุญาต ดำวินิจฉัยอุทธรณ์ และเป็นคำสั่งที่มิไต้ออกโดยคณะกรรมการหรือรัฐมนตรี ผู้อยู่ในบังคับของคำสั่งดังกล่าวจะต้องยื่นอุทธรณ์ต่อเจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่งนั้นภายใน 15 วัน

นับแต่วันที่ตนได้รับแจ้งคำสั่งนั้นเสียก่อน

แต่ถ้าเป็นการฟ้องคดีตังต่อไปนี้ ผู้มีสิทธิฟ้องคดีสามารถฟ้องคดี

ต่อศาลปกครองได้โดยตรง

(1) เป็นกรณีที่กฎหมายเฉพาะมิได้กำหนดขั้นตอบหรือวิธีการโต้แย้งหรือคัดค้านไว้โดยเฉพาะและการกระทำที่จะนำมาฟ้องคดีต่อศาลเป็นคำสั่งทางปกครองที่ออกโดยคณะกรรมการหรือรัฐมนตรี

ไม่ต้องอุทธรณ์ไปยังองค์กรอื่นอีกแล้ว สามารถบำมาฟ้องคดีต่อศาลปกครองได้โดยตรง

(2) เป็นการฟ้องคดีขอให้เพิกถอนกฏ ซึ่งหมายถึงพระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ระเบียบ ข้อบังคับ สามารถนำมาฟ้องคดีต่อศาลปกครองได้โดยตรง

(3) เป็นการฟ้องคดีว่าหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ตังกล่าวล่าช้าเกินสมควร สามารถนำมาฟ้องคดีต่อศาลปกครองได้โดยตรง

(4) เป็นการฟ้องคดีเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือสัญญาทางปกครอง สามารถนำมาฟ้องคดีต่อศาลปกครองไต้โดยตรง

3. จัดทำคำฟ้องตามที่กฎหมายกำหนด

การทำคำฟ้องในคดีปกครองนั้น ไม่มีแบบฟอร์มกำหนดไว้ตายตัว กฎหมายกำหนดไว้แต่เพียงว่าจะต้องทำคำฟ้องเป็นหนังสือ ซึ่งจะเขียนด้วยลายมือหรือจะพิมพ์ดีดก็ได้ แต่จะฟ้องด้วยวาจาหรือฟ้อง

ทางโทรศัพท์ไม่ได้ ในการเขียนคำฟ้องจะต้องใช้ถ้อยคำสุภาพ

ในคำฟ้องจะต้องมีรายการครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนดไว้ดังต่อไปนี้

(1) ระบุชื่อและที่อยู่ของผู้ฟ้องคดี

(2) ระบุชื่อหน่วยงานทางปกครองที่เกี่ยวข้องอันเป็นเหตุแห่งการฟ้องคดี เช่น กรมใด เทศบาสใด หรือระบุชื่อตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งเป็นเหตุแห่งการฟ้องคดี เช่น อธิบดีกรมใด นายอำเภอใด โดยไม่

จำเป็นต้องระบุชื่อบุคคล

(3) สรุปการกระทำและข้อเท็จจใงที่เป็นเหตุแห่งการฟ้องคดีตามสมควร เช่น สรุปว่าผู้ฟ้องคดีได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายจากการกระทำของหน่วยงานทางปกครองใตหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดในรื่องอะไร อย่างไร เมื่อใดและที่ใต ทั้งนี้ เพื่อให้คาลเข้าใจและตรวจสอบจากคำฟ้องได้ว่าเป็นคดีปกครองที่อยู่ในอำนาจของศาลปกครองหรือไม่และผู้ฟ้องคดีใด้ปฏิบัติตามเงื่อนไขในการฟ้องคดีโดยถูกต้องครบถ้วนหรือไม่

(4) ระบุคำขอของผู้ฟ้องคดีว่าต้องการให้ศาลแก้ไขหรือเยียวยาความเดือดร้อนหรือเสียหายให้อย่างไร ซึ่งคำขอนั้นจะต้องอยู่ในอำนาจของศาลปกครองที่จะกำหนดให้ใด้ เช่น ขอให้ศาลสั่งเพิกตอนคำสั่งพักใช้ใบอนุญาต สังให้เจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนด แต่ถ้าผู้ฟ้องคดีขอให้ศาลสั่งลงโทษทางวินัย หรือสั่งลงโทษทางอาญาแก่เจ้าหน้าที่ผู้ออกคำสั่งนั้นไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครองที่จะกำหนดให้ได้

(5) ลงลายมือชื่อของผู้ฟ้องคดี

นอกจากนี้ ผู้ฟ้องคดีจะต้องแนบเอกสารและพยานหลักฐานดังต่อไปนี้มาพร้อมกับคำฟ้องด้วย

(1) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรที่ทางราชการออกให้ที่รับรองสำเนาถูกต้อง

(2) ในกรณีที่เป็นการมอบอำนาจให้บุคคลอื่นฟ้องคดีหรือดำเนินคดีแทน ต้องมีหนังสือมอบอำนาจพร้อมปิดอากรแสตมป์มาด้วยถ้าเป็นการมอบอำนาจให้กระทำการครั้งเดียว ให้ปัดอากรแสตมป์ 10 บาทถ้าเป็นการมอบอำนาจให้กระทำการหลายครั้งหรือให้ดำเนินการทั้งคดีให้ปิดอากรแสตมป์ 30 บาท

(3) ในกรณีที่ผู้ฟ้องคดีเป็นผู้เยาว์หรือผู้ไร้ความสามารถ ต้องมีหนังสืออนุญาตหรือแสดงความยินยอมให้ฟ้องคดีมาด้วย

(4) แนบพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องมาด้วย ในกรณีที่ไม่อาจแนบพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องได้เพราะพยานหลักฐานอยู่ในความครอบครองของหน่วยงานทางปกครอง เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือบุคคลอื่นหรือเพราะเหตุอื่นใดให้ระบุเหตุที่ไม่อาจแนบพยานหลักฐานไว้ด้วย

(5) สำเนาคำฟ้องและสำเนาพยานหลักฐานที่ผู้ฟ้องคดีรับรองสำเนาถูกต้องให้ครบถ้วนตามจำนวนของผู้ถูกฟ้องคดีโดยยื่นมาพร้อมกับคำฟ้อง

 4. ยื่นคำป้องภายในระยะวลาที่กำหนด

การฟ้องคดีปกครองจะต้องดำเนินการภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด ซึ่งมีระยะเวลาสั้นกว่าการฟ้องคดีแพ่ง โดยกฎหมายกำหนดระยะเวลาในการฟ้องคดีปกครองไว้แตกต่างกัน ดังนี้

(1) การฟ้องคดีขอให้เพิกถอนกฎหรือคำสั่งทางปกครองหรือขอให้สั่งห้ามการกระทำทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้ยื่นฟ้องภายใน 90 วัน นับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการฟ้องคดี

ในกรณีที่เป็นคำสั่งที่อาจฟ้องต่อศาลปกครองได้ เช่น คำสั่งของเจ้าหน้าที่ผู้ออกคำสั่งทางปกครองหรือคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการหรือรัฐมนตรี พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 กำหนดว่า ผู้ออกคำสั่งนั้นต้องระบุระยะเวลาและวิธีการยื่นคำฟ้องไว้ในคำสั่งดังกล่าวด้วย มิฉะนั้น ระยะเวลาในการฟ้องคดีจะขยายจาก 90 วัน ออกไปเป็น 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ฟ้องคดีได้รับทราบคำสั่งนั้นการฟ้องคดีว่าหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ตังกล่าวล่าข้าเกินสมควร ผู้ฟ้องคดีอาจฟ้องคดีใด้ภายใน 90 วันนับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการฟ้องคดี หรือในกรณีที่ใด้มีหนังสือร้องขอให้หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติหน้าที่ กรณีนี้ผู้ฟ้องคดีมีสิทธิยื่นฟ้องภายใน90 วัน นับแต่วันที่พ้นกำหนด 90 วัน ที่ได้ยื่นหนังสือร้องขอดังกล่าว

(2) การฟ้องคดีว่าหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำ หนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติ หน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร ผู้ฟ้องคดีอาจฟ้องคดีได้ภายใน 90 วัน นับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการฟ้องคดีหรือ

ในกรณีที่ได้มีหนังสือร้องขอให้หน่วยงานทางปกครองหรือ เจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติหน้าที่ กรณีนี้ผู้ฟ้องคดีมีสิทธิยื่นฟ้องภายใน 90 วัน นับแต่วันที่พ้นกำ หนด 90 วัน ที่ได้ยื่นหนังสือร้องขอดังกล่าว

(3) การฟ้องคดีเกี่ยวกับการกระทำ ละเมิดหรือความรับผิด อย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ให้ยื่นฟ้อง ภายใน 1 ปีนับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการฟ้องคดีแต่ไม่เกิน 10 ปี นับแต่วันที่มีเหตุแห่งการฟ้องคดีและจะต้องฟ้องภายในระยะเวลา ไม่เกิน 10 ปีนั้น

 (4) การฟ้องคดีเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง ให้ยื่นฟ้อง ภายใน 5 ปีนับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการฟ้องคดีแต่ไม่เกิน 10 ปี นับแต่วันที่มีเหตุแห่งการฟ้องคดีและจะต้องฟ้องภายในระยะเวลา ไม่เกิน 10 ปีนั้น

 (5) การฟ้องคดีปกครองเกี่ยวกับการคุ้มครองประโยชน์ สาธารณะ เช่น การฟ้องเพิกถอนโฉนดที่ดินที่ออกทับหนองน้ำ สาธารณะ หรือการฟ้องคดีเกี่ยวกับสถานะบุคคล เช่น การโต้แย้งเกี่ยวกับ สัญชาติของบุคคลจะยื่นฟ้องคดีเมื่อใดก็ได้

อย่างไรก็ตาม คดีปกครองที่ยื่นฟ้องเมื่อพ้นกำ หนดเวลาการ ฟ้องคดีตามปกติแล้ว ถ้าศาลปกครองเห็นว่าคดีที่ยื่นฟ้องนั้นจะเป็น ประโยชน์แก่ส่วนรวมหรือมีเหตุจำ เป็นอื่นโดยศาลเห็นเองหรือคู่กรณี มีคำขอ ศาลปกครองจะรับไว้พิจารณาก็ได้

         ฟ้องคดีต่อศาลต้องเสียค่าธรรมเนียมหรือไม่

การเสียค่าธรรมเนียมศาล อาจเป็นข้อกังวลใจของผู้ที่ประสงค์จะฟ้องคดีต่อศาลปกครอง

บางท่าน โดยเฉพาะผู้ที่มีภาระค่าใช้จ่าย หนี้สิน หรือโดยสถานะทางครอบครัวหากต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล

อาจจะเดือดร้อนมากยิ่งขึ้น ซึ่งความกังวลใจดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม

ทางปกครองของประชาชน ทั้งที่คดีพิพาทที่อยู่ในเขตอํานาจของศาลปกครองล้วนเกิดจากการใช้อํานาจตาม

กฎหมายของฝ่ายปกครองด้วยเหตุนี้ระบบวิธีพิจารณาคดีปกครองจึงได้ถูกออกแบบเพื่ออํานวยความสะดวก

ให้กับประชาชนในการฟ้องคดีต่อศาลปกครอง เช่น การฟ้องโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียน การใช้ระบบไต่สวน ในกระบวนการพิจารณาคดีของศาลการไม่จําต้องมีทนายความเป็นต้น อย่างไรก็ดีการฟ้องคดีต่อศาลปกครอง ผู้ฟ้องคดีมีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขการฟ้องคดีตามที่กฎหมายกําหนดไว้อย่างครบถ้วน ทั้งการเป็น ผู้เดือดร้อนหรือเสียหาย การแก้ไขความเดือดร้อนหรือเสียหายตามที่กฎหมายกําหนด การยื่นฟ้องคดีภายใน ระยะเวลา หรือการไม่เป็นฟ้องซ้ำหรือฟ้องซ้อน ซึ่งในชั้นตรวจคําฟ้อง หากไม่เป็นไปตามเงื่อนไขการฟ้องคดี ดังกล่าว ศาลปกครองย่อมมีอํานาจสั่งไม่รับคําฟ้องไว้พิจารณาและจําหน่ายคดีออกจากสารบบความได้

การเสียค่าธรรมเนียมศาล ก็ถือเป็นเงื่อนไขการฟ้องคดีปกครองที่สําคัญซึ่งผู้ฟ้องคดี

มีภาระหน้าที่ต้องปฏิบัติเช่นเดียวกัน ส่วนจะมีหลักเกณฑ์อย่างไรนั้น และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง

และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้บัญญัติเกี่ยวกับกระบวนการที่จะอํานวยความสะดวกในการ

เข้าถึงกระบวนการยุติธรรมทางปกครองหรือไม่ อย่างไร บทความนี้จะทําให้ท่านรู้และเข้าใจ และฟ้องคดี

ต่อศาลปกครองได้อย่างถูกต้อง โดยปกติการฟ้องคดีปกครองต่อศาลปกครองไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล แต่หากเป็น การฟ้องคดีเพื่อขอให้ศาลปกครองมีคําพิพากษาหรือคําสั่งให้หน่วยงานทางปกครองใช้เงินอันสืบเนื่องจาก คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทําละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ อันเกิดจากการใช้อํานาจตามกฎหมาย หรือจากกฎ คําสั่งทางปกครอง หรือคําสั่งอื่นหรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกําหนดหรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควรหรือคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองตาม  

มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) และ (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ คู่กรณีต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลตามทุนทรัพย์ในอัตราร้อยละ ๒.๕ ของทุนทรัพย์แต่ไม่เกินสองแสนบาท

(มาตรา ๔๕ วรรคสี่แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒) ซึ่งเงื่อนไขการเสียค่าธรรมเนียมศาลนี้มีความแตกต่างจากเงื่อนไขการฟ้องคดีอื่น ๆกล่าวคือ ประการแรก ในชั้นตรวจคําฟ้องถ้าพบว่าผู้ฟ้องคดียังไม่ได้เสียค่าธรรมเนียมศาลหรือเสียค่าธรรมเนียมศาล ไม่ถูกต้อง ศาลปกครองจะยังไม่มีคําสั่งไม่รับคําฟ้องไว้พิจารณาแต่จะมีคําสั่งให้ผู้ฟ้องคดีเสียค่าธรรมเนียมศาล ให้ถูกต้อง และหากไม่มีการเสียค่าธรรมเนียมศาลตามคําสั่งศาลปกครองจึงจะมีคําสั่งไม่รับคําฟ้องไว้พิจารณา และจําหน่ายคดีออกจากสารบบความ ประการที่สอง คู่กรณีมีสิทธิที่จะขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลได้

(มาตรา ๔๕/๑ แห่งพระราชบัญญัติฉบับเดียวกัน) โดยยื่นคําขอโดยทําเป็นคําร้องต่อศาลปกครองชั้นต้น พร้อมกับคําฟ้องหรือคําอุทธรณ์กรณีที่มีการอุทธรณ์ในชั้นอุทธรณ์โดยคําขอต้องอ้าง เหตุ สําคัญ คือ

การไม่มีทรัพย์สินเพียงพอที่จะเสียค่าธรรมเนียมศาลหรือโดยสถานะถ้าไม่ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล

จะได้รับความเดือดร้อนเกินสมควร และหากศาลไต่สวนเหตุตามที่กล่าวอ้างแล้วและเชื่อได้ว่า (๑) คดีที่ฟ้อง

มีข้อเท็จจริงเพียงพอที่จะรับคําฟ้องไว้พิจารณา หรือมีเหตุผลอันสมควรที่จะอุทธรณ์ได้ (ในกรณีอุทธรณ์) 

และ (๒) มี“เหตุ” ตามคําขอจริง ศาลปกครองจะอนุญาตให้คู่กรณีดําเนินคดีโดยยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลซึ่งอาจจะยกเว้นทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้ 

ยื่นคำฟ้องคดีศาลปกครองได้ที่ใด

ศาลปกครองมี 2 ขั้นศาล คือศาลปกครองชั้นต้น และศาลปกครองสูงสุดการฟ้องคดีปกครองโดยทั่วไป จะต้องยื่นฟ้องต่อศาลปกครองชั้นต้นที่มีเขตอำนาจ ซึ่งกฎหมายกำหนดให้ยื่นฟ้องต่อศาลที่ผู้ฟ้องคดีมีภูมิลำเนาหรือที่มูลคดีเกิดแต่ถ้าเป็นการฟ้องคดีพิพาทเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายของพระราชกฤษฎีกา หรือกฎที่ออกโดยคณะรัฐมนตรีหรือโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ให้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองสูงสุดโดยตรงไม่ต้องยื่นฟ้องต่อศาลปกครองขั้นต้นก่อน

วิธีการยื่นคำฟ้อง

ผู้ฟ้องคดีสามารถเลือกยื่นคำฟ้องไต้ 2 วิธีคือ

1. ยื่นคำฟ้องต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของศาลปกครอง ณ ที่ทำการของศาลปกครองที่มีเขตอำนาจ

2. ยื่นคำฟ้องโดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน

สถานที่ยื่นคำฟ้อง

ศาลปกครองสูงสุด มีเพียงแห่งเดียว ตั้งอยู่ ณ อาคารที่ทำการศาลปกครอง เลขที่ 120 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่กรุงเทพฯ 10210 โทร 0 2141 1111

ศาลปกครองชั้นต้นที่เปิดทำการแล้วมีอยู่ 11 ศาล คือ

ศาลปกครองกลาง

ตั้งอยู่ ณ อาคารที่ทำการศาลปกครอง เลขที่ 120 ถนนแจ้งวัฒนะแขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210 โทร 0 2141 1111

มีเขตอำนาจ ตลอดท้องที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนครปฐมนนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร รวมทั้งจังหวัดที่มิได้อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครองในภูมิภาค คือ จังหวัดกาญจนบุรี ชัยนาท

นครนายก พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี อ่างทองและอุทัยธานี

 ศาลปกครองเชียงใหม่

ตั้งอยู่ ณ ศูนย์ราชการจังหวัดเชียงใหม่ ถนนโชตนาตำบลช้างเผือกอำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 50300 โทรศัพท์ 0 5310 7999

มีเขตอำนาจ ตลอดท้องที่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอนลำปาง ลำพูน และมีเขตอำนาจเพิ่มเติมในจังหวัดน่าน พะเยา และ แพร่

ศาลปกครองสงขลา

ตั้งอยู่ เลขที่ 1111 หมู่ที่ 2 ถนนสงขลา เกาะยอ ตำบลพะวงอำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา 90100 โทรศัพท์ 0 7433 4945-8

มีเขตอำนาจ ตลอดท้องที่จังหวัดสงขลา ตรัง พัทลุง สตูล และมีเขตอำนาจเพิ่มเติมในจังหวัดนราชีวาส ปัตตานี และยะลา

ศาลปกครองนครราชสีมา

ตั้งอยู่ เลขที่ 345 หมู่ที่ 6 ถนนบ้านคอกวัว ตำบลหนองกระทุ่มอำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา 30000 โทรศัพท์0 4430 7300-2

มีเขตอำนาจ ตลอดท้องที่ จังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิ และมีเขตอำนาจเพิ่มเติมในจังหวัดบุรีรัมย์ และสุรินทร์

 ศาลปกครองขอนแก่น

ตั้งอยู่ เลขที่ 333 หมู่ที่ 2 ถนนเหล่านาดี ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น 40000 โทรศัพท์ 0 4325 8681-2

มีเขตอำนาจตลอดท้องที่จังหวัดขอนแก่น กาพสินชุ มหาสารคามและมีเขตอำนาจเพิ่มเติมในจังหวัดมุกดาหาร

ศาลปกครองพิษณุโลก

ตั้งอยู่ เลขที่ 723/13 17 ถนนพิชัยสงคราม ตำบลในเมืองอำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก 65000 โทรศัพท์ 0 5526 6230-7

มีเขตอำนาจตลอดท้องที่จังหวัดพิษณโลก กำแพงเพชร ตากนครสวรรค์ พิจิตร เพชรบูรณ์ สุโขทัย และมีเขตอำนาจเพิ่มเติมในจังหวัดอุตรดิตถ์

ศาลปกครองระยอง

ตั้งอยู่ เลขที่ 777 ถนนสุขุมวิท ตำบลเนินพระ อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง 21150 โทรศัพท์ 0 3869 4513-31

มีเขตอำนาจตลอดท้องที่จังหวัดระยอง จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรีตราด ปราจีนบุรี และสระแก้ว

ศาลปกครองนครศรีธรรมราช

ตั้งอยู่ เลขที่ 67157-166 ถนนพัฒนาการคูขวาง ตำบลในเมืองอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช 80000 โทรศัพท์0 7532 5201-10

มีเขตอำนาจตลอดท้องที่จังหวัดนครศรีธรรมราช กระบี่ พังงาภูเก็ต สุราษฎร์ธานี และมีเขตอำนาจเพิ่มเติมในจังหวัดชุมพร และระนอง

ศาลปกครองอุดรธานี

ตั้งอยู่ เลขที่ 58/12-16 ถนนโพนพิสัย ตำบลหมากแข็ง อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี 41000 โทรศัพท์ 0 4222 4173

มีเขตอำนาจตลอดท้องที่จังหวัดอุดรธานี เลย หนองคายหนองบัวลำภู และมีเขตอำนาจเพิ่มเติมในจังหวัดนครพนม บึงกาฬและสกลนคร

ศาลปกครองอุบลราชธานี

ตั้งอยู่ เลขที่ 404 หมู่ที่3 ถนนแจ้งสนิท ตำบลแจระแม อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี 34000 โทรศัพท์ 0 4531 9600-4

มีเขตอำนาจตลอดท้องที่จังหวัดอุบลราชชานี ยโสธร ร้อยเอ็ดศรีสะเกษ และอำนาจเจริญ

ศาลปกครองเพชรบุรี

ตั้งอยู่ เลขที่ 980/98 ถนนเพชรเกษม ตำบลชะอำ อำเภอชะอำจังหวัดเพชรบุรี 76120 โทรศัพท์ 0 3270 9400มีเขตอำนาจตลอดท้องที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ราชบุรีและสมุทรสงคราม

        กล่าวโดยสรุปคือ การฟ้องคดีปกครองโดยทั่วไป จะต้องยื่นฟ้องต่อศาลปกครองชั้นต้นที่มีเขตอำนาจ ซึ่งกฎหมายกำหนดให้ยื่นฟ้องต่อศาลที่ผู้ฟ้องคดีมีภูมิลำเนาหรือที่มูลคดีเกิด

วิธีการยื่นคำฟ้อง

1. ยื่นคำฟ้องต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของศาลปกครอง ณ ที่ทำการของศาลปกครองที่มีเขตอำนาจ

2. ยื่นคำฟ้องโดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน

อ้างอิง

จาก http://legal.vru.ac.th/?p=7264