วิวัฒนาการศาลปกครองไทย

(1)โชคชัย จำปาทอง (2) นพรัตน์ คูรัมย์ (3) ภัคพล ขามประโคน (4) ภูธนภัทร ขุนทอง

นักศึกษาสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

640112801060@bru.ac.th 40112801066@bru.ac.th 640112801069@bru.ac.th 640112801070@bru.ac.th

13 กุมภาพันธ์ 2567

ศาลปกครองเป็นองค์กรที่มีความเป็นมายาวนานและมีความสำคัญต่อการให้ความยุติธรรมแก่ประชาชนและเป็นกลไกสำคัญในการบริหารประเทศ โดยทำหน้าที่พิจารณาข้อพิพาททางปกครองระหว่างราษฎรกับรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐด้วยกันเอง ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นองค์กรที่ใช้อำนาจตุลาการได้อย่างมีประสิทธิภาพในการให้ความเป็นธรรมแก่ประชาชน โดยเฉพาะประเทศในแถบภาคพื้นยุโรปที่ถือว่าเป็นประเทศต้นกำเนิดรูปแบบของการพิจารณาคดีปกครองด้วยระบบศาล


ศาลปกครองคืออะไร

ศาลปกครอง หมายถึง ศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีปกครองโดยเฉพาะ อันไม่อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรมหรือศาลอื่น ศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีปกครองตามที่กฎหมายบัญญัติอัน ได้แก่ คดีพิพาทที่เกิดจากการกระทำทางปกครองไม่ว่าจะเป็นคดีที่เป็นข้อพิพาทระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแลของรัฐบาลกับเอกชนหรือระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแลของรัฐบาลด้วยกัน

ณัชชา คุณาทัพพ์ (2556 : 7) กฎหมายปกครองเป็นกฎหมายที่กำหนดกฎเกณฑ์ว่าด้วยการดำเนินกิจการของฝ่ายปกครอง รวมทั้งโครงสร้างของบรรดาองค์กรฝ่ายปกครอง อันได้แก่ รัฐ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นต้น ตลอดจนกำหนดกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดการบริการสาธารณะกับทั้งกำหนดกฎเกณฑ์เกี่ยวความสัมพันธ์ระหว่างบรรดาองค์กรฝ่ายปกครองกับเอกชน

ทวีป ศรีม่วน (2566) นับแต่ที่มีการจัดตั้งศาลปกครองขึ้นในประเทศไทยจนถึงทุกวันนี้ครบสองปี ก็ยังมี ผู้ที่ยังไม่เข้าใจบทบาทและภารกิจของศาลปกครองอยู่อีกไม่น้อย โดยที่ศาลปกครองที่จัดตั้งขึ้นเป็นผลพวงที่เกิดขึ้นพร้อม ๆ กับการมีรัฐธรรมนูญ (ฉบับปัจจุบัน) ที่มีการรับรองให้มีการจัดตั้งองค์กรใหม่ๆ ตามรัฐธรรมนูญอีกหลายองค์กร ไม่ว่าจะเป็นคณะกรรมการการเลือกตั้งผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ฯลฯ

อักขรา จุฬารัตน (2566) ศาลปกครองเป็นองค์กรที่ใช้อำนาจตุลาการในกระบวนการยุติธรรมทางปกครอง (Administrative Justice) อันเป็นกระบวนการยุติธรรมอีกประเภทหนึ่งในระบบศาลคู่ (Duality of Jurisdiction) ที่ใช้อยู่ในนานาอารยประเทศตามแบบของศาลในประเทศกลุ่ม Civil law ทั่วไป ซึ่งจะมีความแตกต่างจากศาลในประเทศกลุ่ม Common law เช่น ประเทศอังกฤษ สหรัฐอเมริกา และในอีกหลายประเทศที่เคยได้รับอิทธิพลทางการปกครองและกฎหมายจากประเทศอังกฤษ


 

กล่าวโดยสรุป กฎหมายปกครองเป็นกฎหมายที่กำหนดกฎเกณฑ์ว่าด้วยการดำเนินกิจการของฝ่ายปกครอง รวมทั้งโครงสร้างของบรรดาองค์กรฝ่ายปกครอง อันได้แก่ รัฐ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นต้น ตลอดจนกำหนดกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดการบริการสาธารณะกับทั้งกำหนดกฎเกณฑ์เกี่ยวความสัมพันธ์ระหว่างบรรดาองค์กรฝ่ายปกครองกับเอกชน ศาลปกครองเป็นองค์กรที่ใช้อำนาจตุลาการในกระบวนการยุติธรรมทางปกครอง (Administrative Justice) อันเป็นกระบวนการยุติธรรมอีกประเภทหนึ่งในระบบศาลคู่ 

หน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐใดบ้างที่อาจถูกฟ้องคดีต่อศาลปกครอง

หน่วยงานทางปกครองคือองค์กรหรือหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการบริหารจัดการและดำเนินงานต่าง ๆ ในระดับรัฐ, ท้องถิ่น, หรือระหว่างประเทศ. หน่วยงานทางปกครองมีหลายประการและสามารถแบ่งออกได้ตามลักษณะงานหรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องหน่วยงานทางปกครองเป็นส่วนสำคัญของระบบการบริหารจัดการในทุกระดับ และมีบทบาทสำคัญในการกำหนดนโยบาย ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีปกครองได้แก่คดีปกครองที่เกิดจากการใช้อำนาจโดยมิชอบของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งอาจเป็นข้อพิพาทระหว่างเอกชนฝ่ายหนึ่งกับหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอีกฝ่ายหนึ่งหรืออาจเป็นข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกันเอง

สำนักงานศาลปกครอง (2557 :11). หน่วยงานทางปกครองหน่วยงานทางปกครองที่อาจถูกฟ้องคดีต่อศาลปกครองได้ มีอยู่ 7 ประเภท ดังต่อไปนี้

1. หน่วยราชการที่เป็นราชการส่วนกลาง ได้แก่ กระทรวง กรม

2. หน่วยราชการที่เป็นราชการส่วนภูมิภาค ได้แก่ จังหวัดอำเภอ

3. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล องค์การบริหารส่วนจังหวัด กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา

4. รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติ เช่น การรถไฟแห่งประเทศไทย การประปานครหลวง หรือรัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกา เช่น องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ แต่ไม่รวมถึงรัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นในรูปของบริษัทหรือบริษัทมหาชนจำกัด เช่นบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)

5. หน่วยงานของรัฐที่มิได้เป็นส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจหรือที่เรียกกันว่าองค์การมหาชน เช่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์

6. หน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญ เช่น สำนักงานศาลปกครองสำนักงานศาลยุติธรรม

7. หน่วยงานที่ได้รับมอบหมายจากรัฐให้ใช้อำนาจทางปกครองหรือให้ดำเนินกิจการทางปกครอง เช่น แพทย์สภา สภาทนายความสำนักงานช่างรังวัดเอกชน, บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)

ดังนั้น หน่วยงานทางปกครองที่อาจถูกฟ้องคดีต่อศาลปกครองจึงไม่รวมถึงรัฐสภาที่ใช้อำนาจทางนิติบัญญัติและศาลที่ใช้อำนาจทางตุลาการ

รฉัตร วริวรรณ (2566).หน่วยงานทางปกครองสำคัญในประเทศไทยรัฐบาลไทย: รัฐบาลไทยประกอบไปด้วยกระทรวงต่าง ๆ และหน่วยงานราชการที่รับผิดชอบต่าง ๆ ในการบริหารจัดการประเทศ. ตัวอย่างเช่น กระทรวงการคลัง, กระทรวงการต่างประเทศ, กรมการแผนงานและสำนักงานคณะกรรมการการกำกับการดำเนินการตลาด.

Wichian.law (2557).หน่วยงานทางปกครอง” หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ และให้หมายความรวมถึงหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครองหรือให้ดำเนินกิจการทางปกครองหน่วยงานทางปกครองตามคำนิยามศัพท์ในมาตรา 3 จึงแบ่งได้ดังนี้

1. กระทรวง

2. ทบวง

3. กรม

4. ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม

5. ราชการส่วนภูมิภาค

6. ราชการส่วนท้องถิ่น

7. รัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา

8. หน่วยงานอื่นของรัฐ

9. หน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครองหรือให้ดำเนินกิจการทางปกครอง

สำหรับหน่วยงานทางปกครองที่เป็นกระทรวง ทบวง หรือกรม คงไม่เป็นปัญหาเพราะมีความชัดเจนอยู่แล้ว แต่ที่ควรพิจารณาคือ ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็น

กรม

กล่าวโดยสรุป หน่วยงานทางปกครองจึงประกอบด้วย ราชการส่วนกลาง ได้แก่ กระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ราชการส่วนภูมิภาค ได้แก่ จังหวัด อำเภอ ตำบลและหมู่บ้าน ราชการส่วนท้องถิ่น ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาลประเภทต่างๆ องค์การบริหารส่วนตำบลหน่วยงานทางปกครองหน่วยงานทางปกครองที่อาจถูกฟ้องคดีต่อศาลปกครองได้ ดังต่อไปนี้

หน่วยราชการที่เป็นราชการส่วนกลาง,ส่วนภูมิภาค,ส่วนท้องถิ่น,รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติ,

หน่วยงานของรัฐที่มิได้เป็นส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจหรือที่เรียกกันว่าองค์การมหาชน,หน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญ,หน่วยงานที่ได้รับมอบหมายจากรัฐให้ใช้อำนาจทางปกครองหรือให้ดำเนินกิจการทางปกครอง

ดังนั้น หน่วยงานทางปกครองที่อาจถูกฟ้องคดีต่อศาลปกครองจึงไม่รวมถึงรัฐสภาที่ใช้อำนาจทางนิติบัญญัติและศาลที่ใช้อำนาจทางตุลาการ


คดีปกครองประเภทใดที่อาจฟ้องต่อศาลปกครองได้

คดีปกครอง คือ คดีที่เป็นข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชน หรือข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานทางการปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกันเองและเป็นคดีในเรื่องดังต่อไปนี้

1.คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางการปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐออกกฎ คำสั่ง หรือการกระทำอื่นใดโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย

2. คดีพิพาทเกี่ยวกับหน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามกฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร

3.คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิด หรือความรับผิดชอบอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ อันเกิดจากการใช้อำนาจล่าช้าเกินสมควร

4.คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง

5.คดีที่มีกฎหมายกำหนดให้หน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าของรัฐต้องฟ้องคดีต่อศาลเพื่อบังคับให้บุคคลกระทำการหรือละเว้นการกระทำ

6.คดีที่กฎหมายกำหนดให้อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง

การฟ้องคดีปกครอง สามารถดำเนินการได้โดยง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อน ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก หรือ อาจไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายถือหลักว่าให้กระทำได้โดยง่าย ไม่มีข้อยุ่งยาก ทั้งยังไม่ต้องบังคับให้ต้องมีทนายความในการฟ้องคดี แต่อย่างไรก็ตามเนื่องจากการฟ้องคดีปกครองสามารถดำเนินการได้โดยง่าย จึงได้มีการกำหนดเงื่อนไขบางประการเอาไว้ในการฟ้องคดีเพื่อไม่ให้เกิดการกลั่นแกล้งและฟ้องคดีอย่างพร่ำเพรื่อ หรือฟ้องคดีโดยไม่มีเหตุ อันเป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดความยุ่งยากแก่ผู้ถูกฟ้องและเป็นภาระต่อศาลปกครอง

ธีรพรรณ ใจมั่น.(2566) ฟ้องคดีโดยไม่มีเหตุ อันเป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดความยุ่งยากแก่ผู้ถูกฟ้องและเป็นภาระต่อศาลปกครอง จึงได้กำหนดเงื่อนไขไว้ 4 ประการ ได้แก่

1. ผู้ฟ้องคดีต้องเป็นผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย หรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้จากการกระทำหรือการงดเว้นการกระทำของทางราชการ หรือเป็นผู้ที่มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง หรือเป็นผู้ที่มีข้อโต้แย้งอื่นใดที่กฎหมายกำหนดให้ฟ้องต่อศาลปกครอง

2. ระยะเวลาการฟ้องคดีต้องฟ้องภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ซึ่งโดยหลัก คือ ภายใน 90 วันนับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการฟ้องคดี หรือภายใน 1 ปี ในกรณีที่ฟ้องคดีเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของทางราชการ หรือในกรณีที่ฟ้องคดีเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง

3. คำฟ้องไม่มีแบบฟอร์มบังคับโดยเฉพาะ เพียงแต่มีเงื่อนไขว่าต้องใช้ถ้อยคำสุภาพและต้องมีเนื้อหาสาระให้เข้าใจได้ว่าเป็นคำฟ้อง ซึ่งประกอบด้วยชื่อและที่อยู่ของผู้ฟ้องคดีและของหน่วยงานที่เป็นเหตุแห่งการฟ้องคดี การกระทำที่เป็นเหตุแห่งการฟ้องคดี พร้อมข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ตามสมควร คำขอว่าประสงค์จะให้ศาลสั่งอย่างไรเพื่อแก้ไขความเดือดร้อนเสียหายของตน และต้องลงลายมือชื่อของผู้ฟ้องคดี

4. การขอให้มีการแก้ไขเยียวยาในเบื้องต้นก่อนนำเรื่องมาฟ้องศาลปกครอง หากในเรื่องที่จะฟ้องคดีนั้นมีกฎหมายกำหนดให้ต้องดำเนินการอย่างใดเพื่อแก้ไขความเดือดร้อนหรือเสียหายนั้นเสียก่อน ผู้ฟ้องคดีก็ต้องดำเนินการเช่นนั้นให้เสร็จสิ้นแล้วจึงจะมีสิทธิมาฟ้องคดีต่อศาลได้

ศาลปกครองและสำนักงานศาลปกครอง.(2565) กล่าวถึงตัวอย่างคดีที่ฟ้องต่อศาลปกครองได้ เช่น

1. คดีพิพาทเกี่ยวกับที่ดิน

1.1 คดีที่ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของอธิบดีกรมที่ดินกรณีมีคำสั่งเพิกถอนหนังสือแสดงสิทธิ

ในที่ดิน

1.2 คดีฟ้องว่าสำนักงานที่ดินจังหวัดละเลยต่อหน้าที่ในการพิจารณาคำขอออกโฉนดที่ดิน

2. คดีพิพาทเกี่ยวกับการคมนาคมและขนส่ง

2.1 คดีพิพาทเกี่ยวกับงานทะเบียนของกรมขนส่งทางบก

2.2 คดีพิพาทเกี่ยวกับการกำหนดเส้นทางการเดินรถโดยสารและการกำหนดอัตราค่าโดยสาร

3. คดีพิพาทเกี่ยวกับการควบคุมอาคารและการผังเมือง

3.1 คดีที่ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของเจ้าพนักงาท้องถิ่นกรณีมีคำสั่งที่ไม่ดำเนินการเกี่ยวกับอาคารตามกฎหมายควบคุมอาคาร

3.2 คดีที่ฟ้องว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นละเลยไม่ดำเนินการกับอาคารซึ่งก่อสร้างผิดกฎหมายควบคุมอาคาร

4. คดีพิพาทเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินและอาคารชุด

4.1 คดีที่ฟ้องขอให้เพิกถอนมติของคณะกรรมการจัดสรรที่ดินหรือฟ้องว่าคณะกรรมการจัดสรรที่ดินละเลยไม่ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดิน

4.2 คดีฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของเจ้าพนักงานที่ดินที่รับจดทะเบียนแต่งตั้งหรือเปลี่ยนแปลงผู้จัดการและกรรมการนิติบุคคลอาคารชุด

5. คดีพิพาทเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลและวินัย

5.1 คดีพิพาทเกี่ยวกับคำสั่งย้ายข้าราชการ คำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือน คำสั่งให้ออกจากราชการเนื่องจากขาดคุณสมบัติหรือหย่อนประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ หรือคำสั่งให้ออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทน

5.2 คดีที่มีข้อพิพาทเกี่ยวกับคำสั่งให้ออกจากราชการเนื่องจากถูกสอบสวนวินัยแต่ไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะลงโทษทางวินัยแต่การให้รับราชการต่อไปอาจจะเป็นที่เสื่อมเสียทางราชการด้วย

6. คดีพิพาทเกี่ยวกับบำเหน็จบำนาญ สิทธิประโยชน์และสวัสดิการ

6.1 คดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในการรับเงินบำเหน็จบำนาญ

6.2 คดีที่มีข้อพิพาทเกี่ยวกับคำสั่งหรือการดำเนินการเกี่ยวกับค่าเช่าบ้านข้าราชการ ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ การจ่ายเงินตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ สวัสดิการเกี่ยวกับการช่วยเหลือบุตร

สวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาบุตร สวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล หรือการจ่ายเงินค่าตอบแทนหรือสวัสดิการอื่นๆ ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ

ณัฐวุฒิ สุขแสวง (2561) การฟ้องคดีหน่วยงานทางปกครอง ไม่ว่าจะเป็น กระทรวง กรม ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกา หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ ตลอดจนหน่วยงานต่าง ๆ ที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครอง หรือให้ดำเนินกิจการทางปกครอง หรือจะใช้สิทธิทางศาลปกครองเพื่อฟ้องเจ้าหน้าที่ของรัฐได้นั้น มิได้หมายความว่า ผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย หรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหาย กรณียื่นเรื่องร้องเรียนการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานของรัฐจะเป็นผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย ที่จะเป็นผู้มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครองเสมอไป

กล่าวโดยสรุป คดีปกครอง คือ คดีที่เป็นข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชน หรือข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานทางการปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกันเองและเป็นคดี การฟ้องคดีปกครอง สามารถดำเนินการได้โดยง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อน ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก หรือ อาจไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายถือหลักว่าให้กระทำได้โดยง่าย ไม่มีข้อยุ่งยาก ทั้งยังไม่ต้องบังคับให้ต้องมีทนายความในการฟ้องคดี แต่อย่างไรก็ตามเนื่องจากการฟ้องคดีปกครองสามารถดำเนินการได้โดยง่าย จึงได้มีการกำหนดเงื่อนไขบางประการเอาไว้ในการฟ้องคดีเพื่อไม่ให้เกิดการกลั่นแกล้งและฟ้องคดีอย่างพร่ำเพรื่อ หรือฟ้องคดีโดยไม่มีเหตุ


คดีประเภทใดที่ไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง

       คดีที่ไม่ได้อยู่ในอำนาจของศาลปกครองมักเกี่ยวข้องกับคำพิพากษาทางศาลตั้งแต่ต้นแรก ซึ่งอาจได้รับการพิจารณาและพิพากษาที่ระดับศาลอื่น ๆ ที่มีอำนาจมากขึ้นตัวอย่างของคดีที่ไม่ได้อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง ปัจจุบันกระบวนการยุติธรรมของประเทศมีข้อจำกัดหลายประการ ทั้งในกระบวนการยุติธรรมหลักคือ การเริ่มที่พนักงานสอบสวน อัยการ ศาล ราชทัณฑ์ แล้วมีข้อจำกัดในการบริหารจัดการในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา ที่ต้องใช้ดุลยพินิจอย่างเข้มงวดตามหลักสุจริตและหลักนิติธรรม เนื่องจากงบประมาณอันจำกัดด้านบุคลากรที่ทรงคุณค่าและการขยายหน่วยปฏิบัติที่รัฐบาลควบคุมตามนโยบายทางการเมืองผ่านรัฐสภาที่รัฐบาลคุมเสียงข้างมากมาโดยตลอด และยังส่งผลกระทบกระบวนการยุติธรรมที่ใช้อำนาจของรัฐสภาตรวจสอบรัฐบาลที่กระทำทุจริตไม่เป็นผล

       Thai PBS.or.th (2565) สำหรับกระบวนการยุติธรรมและข้อกฎหมายในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชนของประเทศไทย มีการปรับปรุงให้สอดคล้องกับบริบทเรื่อยมา เพื่อให้มีความเหมาะสมกับเหตุผลทางการแพทย์ มาตรฐานของรัฐธรรมนูญ และอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก รวมถึงการปกป้องคุ้มครองเด็ก และการแก้ไขปัญหาเด็กตามกลไกการทบทวนสิทธิมนุษยชนของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ การสงเคราะห์ คุ้มครองสิทธิ และสวัสดิภาพของเด็กโดยคำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นสำคัญ

การเมืองการปกครองสถาบันพระปกเกล้า.(2566) ประเภทของคดีที่ไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครองคดีบางประเภทที่ต้องฟ้องต่อศาลปกครองตามที่กล่าวไว้ แต่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ได้กำหนดไว้ว่าคดีเหล่านี้เป็นคดีที่ไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง ได้แก่

• การดำเนินการเกี่ยวกับวินัยของทหาร คดีประเภทนี้อาจเกี่ยวข้องกับคำสั่งใด ๆ ซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายที่อาจเป็นคดีประเภทที่ฟ้องต่อศาลปกครอง แต่กฎหมายกำหนดว่าจะฟ้องต่อศาลปกครองไม่ได้ เหตุผลเพื่อให้เกิดความรวดเร็วและเด็ดขาด

• การดำเนินการของคณะกรรมการตุลาการ (ก.ต.) ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ คดีประเภทนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับการสั่งการทางด้านบริหารบุคคลของคณะกรรมการตุลาการ เหตุผลเพื่อความเป็นอิสระในการปฎิบัติหน้าที่ของผู้พิพากษา

• คดีที่อยู่ในอำนาจของศาลชำนัญพิเศษ ได้แก่ ศาลเยาวชนและครอบครัว ศาลแรงงาน ศาลภาษีอากร ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ศาลล้มละลายหรือศาลชำนัญพิเศษอื่น ผู้ฟ้องคดีต้องยื่นฟ้องต่อศาลชำนัญพิเศษนั้น ๆ จะไปยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองไม่ได้นอกจากคดีทั้งสามประเภทนี้แล้ว ถ้าคดีเรื่องนั้นเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม ก็ส่งผลให้ยื่นฟ้องคดีนั้น ๆ ต่อศาลปกครองไม่ได้

จิตฤดี วีระเวสส์ (2565) คดีอาญาที่สูงขึ้นมักจะเกี่ยวข้องกับความละเมิดทางอาญาที่มีความรุนแรงและซับซ้อนมากขึ้น ซึ่งอาจจะมีผลกระทบที่มากขึ้นต่อสังคมและบุคคลอื่น ๆ ด้วย. นี่คือบางประเภทของคดีอาญาที่สูงขึ้นอาชญากรรมร้ายแรง: อาชญากรรมที่มีความรุนแรงและเสี่ยงต่อชีวิตหรือสุขภาพมนุษย์มาก, เช่น ฆาตกรรม, ทารุณ, และอาชญากรรมทางเพศที่รุนแรงอาชญากรรมทางการเงิน

กล่าวโดยสรุป ประเภทของคดีที่ไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครองคดีบางประเภทที่ต้องฟ้องต่อศาลปกครองตามที่กล่าวไว้ แต่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ได้กำหนดไว้ว่าคดีเหล่านี้เป็นคดีที่ไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง ได้แก่ การดำเนินการเกี่ยวกับวินัยของทหาร การดำเนินการของคณะกรรมการตุลาการ (ก.ต.) คดีที่อยู่ในอำนาจของศาลชำนัญพิเศษ ได้แก่ ศาลเยาวชนและครอบครัว ศาลแรงงาน ศาลภาษีอากร ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ 

ฟ้องคดีต่อศาลปกครองต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขใดบ้าง

เนื่องจากคดีปกครองมีลักษณะพิเศษต่างไปจากคดีแพ่งและคดีอาญา ดังนั้น จึงต้องมีวิธีพิจารณาที่เหมาะสมกับสภาพของคดีปกครองเอง ซึ่งได้แก่วิธีพิจารณาแบบไต่สวน อันเป็นวิธีการที่มีหลักสำคัญในการให้อำนาจศาลในการแสวงหาข้อเท็จจริงได้อย่างกว้างขวาง และเป็นผู้ดำเนินกระบวนพิจารณาเองอย่างไรก็ดี การพิจารณาคดีปกครองยังคงต้องเคารพหลักทั่วไปของระบบวิธีพิจารณาคดี อันเป็นหลักการที่มุ่งเน้นให้มีการพิจารณาคดีอย่างยุติธรรมและมีประสิทธิภาพ เช่น การฟังความสองฝ่าย การพิจารณาไปตามกรอบของคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้อง การคัดค้านตุลาการ เป็นต้น

มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.(2564) กล่าวไว้ว่าเรื่องที่นำมาฟ้องต้องเป็นคดีปกครอง และต้องเป็น กรณีตามมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง ได้แก่

1.1 การกระทำของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เช่น ออกคำสั่งผิดวิธี ไม่ดำเนินการตามระเบียบ เป็นต้น

1.2 กรณีนี้เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือหน่วยงานทางปกครองละเลยต่อหน้าที่ หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร

1.3 เจ้าหน้าที่ หรือหน่วยงานกระทำละเมิดต่อบุคคลอื่น

1.4 คดีเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง

1.5 คดีที่กฎหมายกำหนดให้หน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ทางปกครอง มาฟ้องคดีต่อศาลปกครอง

1.6 คดีที่เกี่ยวกับเรื่องที่กฎหมายกำหนดให้อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง

2. ต้องยื่นฟ้องต่อศาลที่มีอำนาจ

ต้องยื่นฟ้องศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นหรือศาลที่ผู้ฟ้องคดีมีภูมิลำเนาอยู่เขตศาลนั้น

3. คำฟ้องต้องทำเป็นหนังสือและมีรายการตามที่กำหนดไว้และยื่นโดยถูกวิธี

การฟ้องคดีปกครองไม่มีแบบของคำฟ้องกำหนดไว้เฉพาะ แต่ต้องทำเป็นหนังสือ ฟ้องด้วยวาจาไม่ได้ ใช้ถ้อยคำสุภาพ

4. ผู้ฟ้องคดีต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถตามกฎหมาย

ผู้ฟ้องคดีต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถในการทำนิติกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หากผู้ฟ้องคดีมีข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถก็จะต้องดำเนินการแก้ไขตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติไว้ อย่างไรก็ดี สำหรับในการฟ้องคดีปกครองนั้น มีข้อยกเว้นอนุญาตให้ผู้เยาว์ที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ ฟ้องคดีด้วยตนเองได้ถ้าศาลอนุญาต

5. ผู้ฟ้องคดีต้องเป็นผู้มีสิทธิฟ้องคดีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 276 ของ รัฐธรรมนูญ และมาตรา 42 พรบ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542

กล่าวคือ จะต้องเป็นผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายหรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้จากการกระทำหรืองดเว้นการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง หรือกรณีอื่นใดที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง

6. ต้องยื่นฟ้องภายในระยะเวลาที่กำหนด

กรณีที่ฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนกฎ หรือคำสั่งทางปกครอง

ต้องฟ้องภายใน 90 วัน นับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการฟ้องคดี หรือนับแต่วันที่พ้นกำหนด 90 วัน นับแต่วันที่ผู้ฟ้องคดีมีหนังสือร้องขอต่อหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดและไม่ได้รับหนังสือชี้แจงจากหน่วยงานหรือ เจ้าหน้าที่ดังกล่าวหรือได้รับแต่เป็นคำชี้แจงที่เห็นว่าไม่มีเหตุผล หรือมีกฎหมายเฉพาะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่นคดีเกี่ยวกับการกระทำละเมิดให้ยื่นฟ้องภายใน 1 ปี และถ้าเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองต้องฟ้องภายใน 5 ปี นับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการฟ้องคดี แต่ไม่เกิน 10 ปี นับแต่วันที่มีเหตุแห่งการฟ้องคดีคดีเกี่ยวกับการคุ้มครองประโยชน์สาธารณะหรือ สถานะของบุคคลยื่นฟ้องเมื่อใดก็ได้ และในบางกรณีถ้าคู่กรณีมีคำขอหรือศาลปกครองเห็นเองว่าคดีที่ยื่นฟ้องเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาการฟ้องคดีแล้วนั้น จะเป็นประโยชน์แก่ส่วนรวมหรือมีเหตุ จำเป็นอื่น ศาลปกครองจะรับไว้พิจารณาก็ได้

7. ก่อนฟ้องคดีปกครองต้องดำเนินการแก้ไขความเดือดร้อน หรือความเสียหายตามขั้นตอนหรือวิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับการนั้นเสียก่อน

8. การชำระค่าธรรมเนียมศาล

กรณีการฟ้องคดีขอให้ศาลสั่งให้ใช้เงินหรือส่งมอบทรัพย์สินอันสืบเนื่องจากคดีพิพาทเกี่ยวกับการทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล

ชาญชัย แสวงศักดิ์.(2556) การเสนอคำฟ้องการยื่นฟ้องต่อศาล จะต้องเป็นไปตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้

1. เรื่องที่นำมาฟ้องต้องเป็นคดีปกครอง และต้องเป็นเรื่องที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองคือ เป็นกรณีตามมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง

2. ต้องยื่นฟ้องต่อศาลที่มีอำนาจ

อำนาจศาลในที่นี้หมายถึงทั้งอำนาจและเขตอำนาจกล่าวคือ คดีที่อยู่ในอำนาจของศาลปกครองชั้นต้น ก็จะต้องยื่นฟ้องต่อศาลปกครองชั้นต้นจะฟ้องไปยังศาลปกครอง สูงสุดไม่ได้

3. คำฟ้องต้องทำเป็นหนังสือและมีรายการตามที่กำหนดไว้และยื่นโดยถูกวิธี

การฟ้องคดีปกครองไม่มีแบบของคำฟ้องกำหนดไว้เฉพาะ แต่ต้องทำเป็นหนังสือ ฟ้องด้วยวาจาไม่ได้ ใช้ถ้อยคำสุภาพ มีรายการตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 45 กล่าวคือต้องระบุ ชื่อ ที่อยู่ของผู้ฟ้องคดี และผู้ถูกฟ้องคดี ข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์เกี่ยวกับการกระทำที่เป็นเหตุแห่งการฟ้องคดี คำขอและลายมือชื่อผู้ฟ้องคดี โดยต้องแนบพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องไปพร้อมคำฟ้อง โดยผู้ฟ้องคดีต้องจัดทำสำเนาคำฟ้องและสำเนาพยานหลักฐานตามจำนวนผู้ถูกฟ้องคดีด้วย

4. ผู้ฟ้องคดีต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถตามกฎหมาย

โดยหลักแล้วผู้ฟ้องคดีต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถในการทำนิติกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หากผู้ฟ้องคดีมีข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถก็จะต้องดำเนินการแก้ไขตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติไว้ อย่างไรก็ดี สำหรับในการฟ้องคดีปกครองนั้น มีข้อยกเว้นอนุญาตให้ผู้เยาว์ที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ ฟ้องคดีด้วยตนเองได้ถ้าศาลอนุญาต

5. ผู้ฟ้องคดีต้องเป็นผู้มีสิทธิฟ้องคดีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 276 ของ รัฐธรรมนูญ และมาตรา 42

กล่าวคือ จะต้องเป็นผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายหรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้จากการกระทำหรืองดเว้นการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง

6. ต้องยื่นฟ้องภายในระยะเวลาที่กำหนด

กรณีที่ฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนกฎ หรือคำสั่งทางปกครองต้องฟ้องภายใน 90 วัน นับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการฟ้องคดี หรือนับแต่วันที่พ้นกำหนด 90 วัน นับแต่วันที่ผู้ฟ้องคดีมีหนังสือร้องขอต่อหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดและไม่ได้รับหนังสือชี้แจงจากหน่วยงานหรือ เจ้าหน้าที่ดังกล่าวหรือได้รับแต่เป็นคำชี้แจงที่เห็นว่าไม่มีเหตุผล หรือมีกฎหมายเฉพาะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น

7. ก่อนฟ้องคดีปกครองต้องดำเนินการแก้ไขความเดือดร้อน หรือเสียหายตามขั้นตอนหรือวิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับการนั้นเสียก่อน

8. การชำระค่าธรรมเนียมศาล

โดยทั่วไปการฟ้องคดีปกครองไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล (กรณีการฟ้องคดีขอให้ศาลเพิกถอนกฎหรือคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือการฟ้องคดีเกี่ยวกับการละเลยต่อหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร) แต่ถ้าเป็นการฟ้องคดีขอให้ศาลสั่งให้ใช้เงินหรือส่งมอบทรัพย์สินอันสืบเนื่องจากคดีพิพาทเกี่ยวกับการทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล

9. การขอให้ฝ่ายปกครองเยียวยาแก้ไขความเสียหายก่อนฟ้องคดี

ในกรณีที่มีกฎหมายกำหนดขั้นตอนหรือวิธีการสำหรับการแก้ไขความเดือดร้อนหรือเสียหายในเรื่องใดไว้โดยเฉพาะ การฟ้องคดีปกครองในเรื่องนั้นจะกระทำได้ต่อเมื่อมีการดำเนินการตามขั้นตอนและวิธีการดังกล่าว และได้มีการสั่งการตามกฎหมายนั้นหรือมิได้มีการสั่งการภายในเวลาอันสมควรหรือภายในเวลาที่กฎหมายนั้นกำหนด

ฤทัย หงส์สิริ.(2556) การฟ้องคดีต่อศาลปกครองมีขั้นตอนและเงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติตาม ต่อไปนี้คือขั้นตอนและเงื่อนไขทั่วไป

ขั้นตอนการฟ้องคดี

1.การเตรียมเอกสาร รวบรวมข้อมูลและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับคดีเขียนคำฟ้องเป็นลายเดียวหรือลายทับ

2.การยื่นคำฟ้อง นำเอกสารและคำฟ้องไปยื่นที่ศาลปกครองท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องตามขั้นตอนและเทศบาลที่เกี่ยวข้อง

3.การแจ้งคู่จำหน่าย ให้คู่จำหน่ายรับทราบการฟ้องคดี ทำการแจ้งคู่จำหน่ายถึงการวาระการพิจารณาคดี

4.การนัดพิจารณา ศาลจะตั้งวาระการนัดพิจารณาคดี คู่จำหน่ายต้องเข้าร่วมการนัด

5.การประกาศคำพิพากษา ศาลจะประกาศคำพิพากษาหลังจากการพิจารณา

เงื่อนไขทั่วไป

1.อำนาจของศาลปกครอง คดีต้องอยู่ภายในอำนาจของศาลปกครอง

2.ความสมบูรณ์ของคำฟ้องคำฟ้องต้องมีข้อมูลที่เพียงพอและสมบูรณ์ การกำหนดรายละเอียดของคดีและข้อเรียกร้อง

3.การแจ้งคู่จำหน่ายต้องมีการแจ้งคู่จำหน่ายให้รับทราบถึงคำฟ้อง

4.การนัดพิจารณาคู่จำหน่ายต้องเข้าร่วมการนัดทุกรอบ การเตรียมพร้อมเอกสารและพยาน

5.การเงินกู้ยืม บางกรณีอาจจำเป็นต้องมีการนำเข้าบทลงโทษของการไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาโปรดทราบว่าขั้นตอนและเงื่อนไขนี้อาจมีความแตกต่างตามกฎหมายและวิธีการในแต่ละท้องที่ ผู้ที่ต้องการฟ้องคดีควรปรึกษากับทนายความเพื่อคำแนะนำที่เป็นประโยชน์

กล่าวโดยสรุป การฟ้องคดีปกครองไม่มีแบบของคำฟ้องกำหนดไว้เฉพาะ แต่ต้องทำเป็นหนังสือ ฟ้องด้วยวาจาไม่ได้ ใช้ถ้อยคำสุภาพ มีรายการตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 45 กล่าวคือต้องระบุ ชื่อ ที่อยู่ของผู้ฟ้องคดี และผู้ถูกฟ้องคดี ข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์เกี่ยวกับการกระทำที่เป็นเหตุแห่งการฟ้องคดี คำขอและลายมือชื่อผู้ฟ้องคดี โดยต้องแนบพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องไปพร้อมคำฟ้อง โดยผู้ฟ้องคดีต้องจัดทำสำเนาคำฟ้องและสำเนาพยานหลักฐานตามจำนวนผู้ถูกฟ้องคดีด้วย

การฟ้องคดีต่อศาลปกครองมีขั้นตอนหลัก ๆ ดังนี้

1).เตรียมเอกสาร 2).ยื่นคำฟ้อง 3).แจ้งคู่จำหน่าย 4).นัดพิจารณา 5).ประกาศคำพิพากษา

การฟ้องคดีต้องเป็นผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายหรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้จากการกระทำหรืองดเว้นการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง หรือกรณีอื่นใดที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง


ฟ้องคดีศาลปกครองต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลหรือไม่

การเสียค่าธรรมเนียมศาล อาจเป็นข้อกังวลใจของผู้ที่ประสงค์จะฟ้องคดีต่อศาลปกครอง บางท่าน โดยเฉพาะผู้ที่มีภาระค่าใช้จ่าย หนี้สิน หรือโดยสถานะทางครอบครัวหากต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล อาจจะเดือดร้อนมากยิ่งขึ้น ซึ่งความกังวลใจดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทางปกครองของประชาชน ทั้งที่คดีพิพาทที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครองล้วนเกิดจากการใช้อำนาจตาม กฎหมายของฝ่ายปกครอง

ฐิติพร ป่านไหม (2559) การเสียค่าธรรมเนียมศาล อาจเป็นข้อกังวลใจของผู้ที่ประสงค์จะฟ้องคดีต่อศาลปกครอง บางท่าน โดยเฉพาะผู้ที่มีภาระค่าใช้จ่าย หนี้สิน หรือโดยสถานะทางครอบครัวหากต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล อาจจะเดือดร้อนมากยิ่งขึ้น ซึ่งความกังวลใจดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทางปกครองของประชาชน ทั้งที่คดีพิพาทที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครองล้วนเกิดจากการใช้อำนาจตาม กฎหมายของฝ่ายปกครอง “การเสียค่าธรรมเนียมศาล” ก็ถือเป็นเงื่อนไขการฟ้องคดีปกครองที่สำคัญซึ่งผู้ฟ้องคดี

นิธินันท์ สุขวงศ์ (2557) โดยปกติการฟ้องคดีปกครองต่อศาลปกครอง ผู้ฟ้องคดีไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล ตามหลักในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 มาตรา 45 วรรคสี่ “การฟ้องคดีไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล เว้นแต่ การฟ้องคดีขอให้สั่งให้ใช้เงิน หรือส่งมอบ

ซึ่งหลักในการฟ้องคดีปกครองนั้น ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล แต่มีข้อยกเว้นในการฟ้องคดีปกครองในคดีบางประเภทที่ให้ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล คือ การฟ้องคดีขอให้สั่งให้ใช้เงิน หรือส่งมอบทรัพย์สิน

สำนักวิจัยและวิชาการสำนักงานศาลปกครอง.(2564 : ออนไลน์) ธรรมเนียมศาล การฟ้องคดีต่อศาลปกครองโดยทั่วไปแล้วไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล เว้นแต่การฟ้องคดีขอให้ศาลปกครองพิจารณาให้ใช้เงิน

หรือส่งมอบทรัพย์สินอันเนื่องมาจากคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิด หรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ อันเกิดจาการใช้อำนาจตามกฎหมาย กฎ คำสั่ง ทางปกครอง หรือคำสั่งอื่น หรือเกิดจาการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร หรือคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง

การฟ้องคดีต่อศาลปกครองมีขั้นตอนหลัก ๆ ดังนี้

1.เตรียมเอกสาร

1.1รวบรวมข้อมูลและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับคดี

1.2เขียนคำฟ้องเป็นลายเดียวหรือลายทับ

2.ยื่นคำฟ้อง

2.1นำเอกสารและคำฟ้องไปยื่นที่ศาลปกครองท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง

2.2ตามขั้นตอนและเทศบาลที่เกี่ยวข้อง

3.แจ้งคู่จำหน่าย

3.1ให้คู่จำหน่ายรับทราบการฟ้องคดี

3.2ทำการแจ้งคู่จำหน่ายถึงการวาระการพิจารณาคดี

4.นัดพิจารณา

4.1ศาลจะตั้งวาระการนัดพิจารณาคดี

4.2คู่จำหน่ายต้องเข้าร่วมการนัด

5.ประกาศคำพิพากษา

ศาลจะประกาศคำพิพากษาหลังจากการพิจารณาโปรดทราบว่าขั้นตอนและรายละเอียดอาจแตกต่างไปตามกฎหมายและวิธีการในแต่ละท้องที่ และการไปพบทนายความเพื่อข้อมูลและคำปรึกษาเพิ่มเติมถือเป็นที่จำเป็น

กล่าวโดยสรุป การฟ้องคดีต่อศาลปกครองโดยทั่วไปแล้วไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล เว้นแต่การฟ้องคดีขอให้ศาลปกครองพิจารณาให้ใช้เงิน หรือส่งมอบทรัพย์สินอันเนื่องมาจากคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิด หรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ อันเกิดจาการใช้อำนาจตามกฎหมาย กฎ คำสั่ง ทางปกครอง หรือคำสั่งอื่น หรือเกิดจาการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร หรือคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง

การฟ้องคดีปกครองนั้น กฎหมายวางหลักไว้ว่า ผู้ฟ้องคดีไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล เช่น ฟ้องคดีขอให้ศาลสั่งเพิกถอนกฎ หรือคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย


ยื่นคำฟ้องคดีปกครองได้ที่ใด

ผู้ที่ได้รับความเดือดร้อน หรือเสียหาย หรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้ อันเนื่องจากการกระทำ หรือการงดเว้นการกระทำของหน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง หรือกรณีอื่นใด

คำฟ้อง คือ การที่ผู้ฟ้องคดีเสนอข้อหาด้วยการฟ้องคดีต่อศาลปกครองชั้นต้นหรือศาลปกครองสูงสุด ไม่ว่าจะได้เสนอในขณะที่เริ่มคดีโดยทำเป็นคำฟ้องหรือคำร้องขอ หรือเสนอในภายหลังโดยทำเป็นคำฟ้องเพิ่มเติมหรือแก้ไข หรือฟ้องแย้ง หรือโดยการร้องสอดเข้ามาในคดีไม่ว่าด้วยความสมัครใจ หรือถูกบังคับโดยศาล หรือโดยมีคำขอให้พิจารณาคดีใหม่

สำนักงานศาลปกครอง (2556) คำสั่งทางปกครองใดที่อาจถูกฟ้องต่อศาลปกครองได้ ให้ผู้ออกคำสั่งทางปกครองระบุว่าผู้มีส่วนได้เสียอาจฟ้องต่อศาลปกครองไว้ท้ายคำสั่งหรือในหนังสือแจ้งคำสั่งดังกล่าว ระบุ

วิธีการยื่นคำฟ้องว่าการยื่นคำฟ้องอาจทำเป็นหนังสือไปยื่นต่อศาล โดยตรงหรือยื่นคำฟ้องทางไปรษณีย์ลงทะเบียนและศาลที่จะฟ้องได้แก่ศาลปกครองสูงสุด

วรรชัย บุญบำรุง (2556) อธิบายว่าการยื่นคำฟ้องสามารถแบ่งอธิบายได้ดังนี้

1)หลักเกณฑ์ทั่วไปในการยื่นคำฟ้อง

1.1)การฟ้องด้วยตนเอง โดยปกติแล้วผู้ฟ้องคดีต้องไปยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองด้วยตนเอง แต่เพื่อความรวดเร็วและความสะดวกแก่ผู้ฟ้องคดี กฎหมายให้ผู้ฟ้องคดีมอบฉันทะให้ผู้อื่นมายื่นฟ้องคดีแทนได้ แต่ต้องแนบใบมอบฉันทะให้ฟ้องคดีไปพร้อมกับคำฟ้องด้วย

1.2)การฟ้องโดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ผู้ฟ้องคดีสามารถยื่นคำฟ้องโดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนได้ ซึ่งหลักการยื่นคำฟ้องโดยส่งทางไปรษณีย์ เป็นหลักการใหม่ที่แตกต่างไปจากหลักการยื่นคำฟ้องคดีต่อศาลยุติธรรม ทั้งนี้เนื่องจากกฎหมายต้องการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนผู้ฟ้องคดีที่จะไม่ต้องเดินทางมาเพื่อฟ้องคดีด้วยตนเอง และเพื่อความรวดเร็วในกระบวนการพิจารณาให้เกิดความยุติธรรมแต่การยื่นคำฟ้องโดยส่งทางไปรษณีย์ดังกล่าวผู้ฟ้องคดีจะต้องลงทะเบียนด้วย เพราะการลงทะเบียนจะมีการบันทึกวันที่ส่งลงในเอกสารอันจะเป็นประโยชน์ต่อการนับอายุความ เนื่องจากกฎหมายให้ถือว่าวันส่งคำฟ้องแก่เจ้าพนักงานไปรษณีย์เป็นวันที่ยื่นคำฟ้องต่อศาลปกครอง

2)การยื่นคำฟ้องต่อศาลปกครองชั้นต้น

การยื่นคำฟ้องต่อศาลปกครองชั้นต้น ผู้ฟ้องคดีจะต้องยื่นคำฟ้องต่อศาลปกครองชั้นต้นที่ผู้ฟ้องคดีมีภูมิลำเนาหรือที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตของศาลปกครองชั้นต้น ซึ่งศาลปกครองชั้นต้นได้แก่ศาลปกครองกลางและศาลปกครองในส่วนภูมิภาคสำหรับคำฟ้องอาจยื่นต่อศาลได้สองศาลหรือหลายศาล ไม่ว่าจะเป็นเพราะภูมิลำเนาของผู้ฟ้องคดี เพราะสถานที่ที่มูลคดีเกิด หรือเพราะมีข้อหาหลายข้อหา ถ้ามูลคดีมีความเกี่ยวเนื่องกัน ผู้ฟ้องคดีจะยื่นฟ้องต่อศาลหนึ่งศาลใดก็ได้

3)การยื่นคำฟ้องต่อศาลปกครองสูงสุด

โดยที่ศาลปกครองสูงสุดมีแห่งเดียว ซึ่งตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร ดังนั้น ศาลปกครองสูงสุดจึงมีเขตอำนาจทั่วราชอาณาจักร การยื่นคำฟ้องคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลปกครองสูงสุด ไม่ว่าผู้ฟ้องคดีจะมีภูมิลำเนาในจังหวัดใด มูลคดีจะเกิดในจังหวัดใดก็ตามก็ต้องยื่นคำฟ้องต่อศาลปกครองสูงสุดซึ่งตั้งอยู่ที่กรุงเทพมหานคร

ฤทัย หงส์สิริ (2556) การฟ้องคดีปกครองนั้นต้องฟ้องที่ศาลไหนในกรณีที่เป็นคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง ต้องพิจารณาต่อไปว่าคดีนั้นอยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครองใด เนื่องจากศาลปกครองนั้นมีหลายศาลตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542ศาลปกครองแบ่งออกเป็นสองชั้น คือ ศาลปกครองชั้นต้นและศาลปกครองสูงสุด และตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ศาลปกครองชั้นต้นมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่อยู่ในอำนาจศาลปกครอง เว้นแต่คดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด

ดังนั้น ในเบื้องต้น จึงต้องพิจารณาก่อนว่าคดีนั้นอยู่ในอำนาจของศาลปกครองสูงสุดหรือไม่ หากไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครองสูงสุด จึงค่อยพิจารณาต่อไปว่าคดีปกครองนั้นอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้นใด

กล่าวโดยสรุป การฟ้องคดีปกครองนั้นต้องฟ้องที่ศาลไหนในกรณีที่เป็นคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลปกครองต้องพิจารณาต่อไปว่าคดีนั้นอยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครองใด เนื่องจากศาลปกครองนั้นมีหลายศาลศาลปกครองแบ่งออกเป็นสองชั้น คือ ศาลปกครองชั้นต้นและศาลปกครองสูงสุด

การยื่นคำฟ้องสามารถแบ่งอธิบายได้ดังนี้

1.)หลักเกณฑ์ทั่วไปในการยื่นคำฟ้อง

1.1) การฟ้องด้วยตนเอง

1.2) การฟ้องโดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน

2.)การยื่นคำฟ้องต่อศาลปกครองชั้นต้น

3.)การยื่นคำฟ้องต่อศาลปกครองสูงสุด


เอกสารอ้างอิง

จิตฤดี วีระเวสส์. (2565). การฟ้องร้องแนวทางการสืบและต่อสู้คดี (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สถาบันนิติ

ธรรมมาลัย.

ชาญชัย แสวงศักดิ์. (2556). ศาลปกครอง (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

ฐิติพร ป่านไหม. (2559). สถานะทางการเงินอันอาจได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล. นนทบุรี: กองกฎหมาย.

ณัชชา คุณตาทัพพ์. (2556). กฎหมายปกครอง. กรุงเทพมหานคร 10140: สำนักพิมพ์ต้นบุญ.

ณัฐวุฒิ สุขเเสวง. (2561). ศาลปกครอง. กรุงเทพฯ: เครือข่ายกฎหมายมหาชนไทย.

ทวีป ศรีม่วน. (2566). กฎหมายปกครอง. กรุงเทพฯ: สถาบันนิติธรรมมาลัย.

ธีรพรรณ ใจมั่น. (2566). คดีปกครอง. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

นิธินันท์ สุขวงศ์. (2557). การเสียค่าธรรมเนียมศาลในชั้นอุทธรณ์ในคดีปกครอง กรณี ค่าทดแทนในการ

เวนคืน. กรุงเทพฯ: เครือข่ายกฎหมายมหาชนไทย.

รฉัตร วริวรรณ. (2566). ข้อพิจารณาความเป็นสัญญาทางปกครอง. ร้อยเอ็ด: มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด.

ฤทัย หงส์สิริ. (2556). ศาลปกครอง. กรุงเทพฯ: ศาลปกครองและสำนักงานศาลปกครอง.

ฤทัย หงส์สิริ. (2556). หลักเกณฑ์ในการพิจารณาคดีปกครอง. กรุงเทพฯ: สถาบันคลังสมองของชาติ.

วรรชัย บุญบำรุง. (2556). การยื่นฟ้องต่อศาลปกครองสูงสุด. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

อักขรา จุฬารัตน์. (2566). บทสัมภาษณ์ ศาสตราจารย์ ดร.อักขราทร จุฬารัตน ประธานศาลปกครองสูงสุด

ณ สำนักงานศาลปกครอง. กรุงเทพฯ: เครือข่ายกฎหมายมหาชนไทย.

Wichian.law. (2557). คำพิพากษาศาลปกครองที่น่าสนใจ. กรุงเทพฯ: กรมบังคับคดี.