ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับศาลปกครอง


(1) ณัฐณิชา พนมศักดิ์, (2) รมิดา ศรีนาฎนาวา, (3) สริญญา จิตรักษ์, (4) สุภาวดี กิจไธสง.

นักศึกษาสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

(1) 640112801138@bru.ac.th , (2) 640112801153@bru.ac.th , (3) 640112801159@bru.ac.th , (4) 640112801162@bru.ac.th

14 กุมภาพันธ์ 2567

ศาลปกครองเป็นศาลที่มีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีปกครองตามที่กฎหมายบัญญัติ ซึ่งศาลปกครองเป็นองค์กรที่ใช้อํานาจตุลาการเช่นเดียวกับศาลยุติธรรม แต่จะทําหน้าที่พิจารณาพิพากษาหรือมีคําสั่งในคดี ที่เรียกว่า คดีปกครอง ศาลปกครองนั้นจะมีอํานาจหน้าที่ในการวินิจฉัยชี้ขาดคดีพิพาทที่เกิดระหว่างหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชน หรือระหว่างหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกันในบทความนี้จะได้กล่าวถึงความหมายของศาลปกครอง หน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อาจถูกฟ้องคดีต่อศาลปกครอง ประเภทของคดีปกครองที่อาจฟ้องต่อศาลปกครองได้ คดีประเภทที่ไม่อยู่ในอํานาจของศาลปกครอง เงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติตามในการฟ้องคดีต่อศาลปกครอง การฟ้องคดีต่อศาลปกครองจะต้องเสียค่าทําเนียมหรือไม่ และยื่นคําฟ้องคดีปกครองได้ที่ใด

ศาลปกครอง คืออะไร

ศาลปกครอง มีนักวิชาการได้ให้ความหมายของศาลปกครองไว้โดยสรุป ดังนี้

สํานักงานศาลปกครอง (2557 : 9-10) ให้ความหมายของศาลปกครองว่า ศาลปกครองเป็นศาลที่จัดตั้งขึ้นใหม่เป็นเอกเทศจากศาลยุติธรรม มีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีปกครอง ภารกิจในการตรวจสอบและควบคุมการใช้อํานาจของฝ่ายปกครองว่าการกระทํา คําสั่ง หรือคําสั่งทางปกครองที่ได้ดําเนินการไปนั้น เป็นต้นไป

โดยถูกต้องชอบด้วยกฎหมายสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเจตนารมณ์ของกฎหมายหรือไม่

อริยพร โพธิใส (2557 : 133) ให้ความหมายของศาลปกครองว่า ศาลปกครอง คือ ศาลที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มีอํานาจหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีปกครอง ซึ่งเป็นคดีพิพาทระหว่างหน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชน หรือคดีพิพาทระหว่างหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกันเอง อันเนื่องมาจากการใช้อํานาจทางปกครอง การละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ การปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร การกระทําละเมิด หรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือเป็นคดีพิพาทอันเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง

ฤทัย หงส์สิริ (2566 : 4) ให้ความหมายของศาลปกครองว่า ศาลที่มีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดี

ปกครอง อันได้แก่ คดีหรือข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกัน หรือระหว่าง

หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชนอันเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยหลักศาลปกครองเป็นศาลอีกระบบหนึ่ง แยกต่างหากจากศาลยุติธรรม มีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีหรือข้อพิพาทระหว่างบรรดาหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ด้วยกัน หรือระหว่างหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่กับประชาชน ที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ ไม่ใช่คดีหรือข้อพิพาทระหว่างประชาชนด้วยกัน หรือคดีที่เกี่ยวกับเรื่องส่วนตัวของเจ้าหน้าที่

กล่าวโดยสรุป ศาลปกครอง หมายถึงศาลที่จัดตั้งขึ้นเพื่อพิจารณาคดีปกครอง มีอํานาจในการพิจารณาและพิพากษาคดีที่เกี่ยวกับหน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ รวมถึงมีภารกิจในการตรวจสอบและควบคุมการใช้อํานาจของฝ่ายปกครอง ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปโดยถูกต้องและชอบด้วยกฎหมายสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเจตนารมณ์ของกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นคดีระหว่างหน่วยงานรัฐหรือเจ้าหน้าที่รัฐกับเอกชน หรือคดีที่เกี่ยวข้องกับสัญญาทางปกครอง

หน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐใดบ้างที่อาจถูกฟ้องคดีต่อศาลปกครอง

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 223 ได้บัญญัติเกี่ยวกับอํานาจหน้าที่ของศาลปกครองไว้ว่า ศาลปกครองมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีพิพาทระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชน หรือระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกัน อันเนื่องมาจากการใช้อํานาจทางปกครองตามกฎหมาย หรือเนื่องมาจากการดําเนินกิจการทางปกครองของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ รวมทั้งมีอํานาจพิจารณาพิพากษาเรื่องที่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอํานาจของศาลปกครอง

ฤทัย หงส์สิริ (2566 : 10) กล่าวอ้างถึงพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง ฯ “หน่วยงานทางการปกครอง” ได้แก่หน่วยงาน 4 ประเภทดังต่อไปนี้

1. กระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรมราชการส่วนภูมิภาค เช่น

จังหวัด ราชการส่วนท้องถิ่น เช่น องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตําบล เมืองพัทยา

หรือกรุงเทพมหานคร

2. รัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา เช่น การไฟฟ้านครหลวง การประปาส่วนภูมิภาค ธนาคารออมสิน และการรถไฟแห่งประเทศไทย

3. หน่วยงานอื่นของรัฐ เช่น องค์การมหาชน มหาวิทยาลัยในกํากับของรัฐกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ (กบข.) สํานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ธนาคารแห่งประเทศไทย สํานักงาน กสทช.

4. หน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อํานาจทางปกครองหรือให้ดําเนินกิจการทางปกครอง ซึ่งอาจเป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่อยู่ใน 3 ประเกทที่กล่าวมา เช่น บริษัท ขนส่ง จํากัด เป็นต้น หรืออาจเป็นหน่วยงานเอกชนก็ได้ ส่วนเจ้าหน้าที่ของรัฐโดยปกติก็หมายความรวมถึงผู้ที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานทางปกครอง ไม่ว่าจะเป็นนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ข้าราชการหรือลูกจ้างของส่วนราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจ หรือเจ้าหน้าที่อื่น และยังหมายความรวมถึงบุคคลหรือคณะบุคคลที่กฎหมายให้อํานาจในการออกกฎ คําสั่ง หรือมติใด ๆ ที่มีผลกระทบต่อบุคคลด้วย เช่น สภามหาวิทยาลัย และยังรวมถึงคณะรัฐมนตรีด้วย ทั้งยังรวมถึงบุคคลที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกํากับดูแลของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐดังกล่าว เช่น กํานัน ผู้ใหญ่บ้าน

ชาญชัย แสวงศักดิ์ (2566 : 189) โดยได้อธิบบายไว้ว่าปกติการฟ้องคดีปกครองต่อศาลปกครองจะไม่มีหลักเกณฑ์ที่ซับซ้อนให้เป็นภาระแก่ประชาชนผู้ประสงค์จะฟ้องคดีและการดําเนินคดีในศาลปกครองค่อนข้างยืดหยุ่น เพื่อให้การแสวงหาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานมีความถูกต้องและครบถ้วนที่สุดแต่อย่างไรก็ตาม

ในทางปฏิบัติมีปัญหาที่มักเกิดขึ้นและทําให้การฟ้องคดีและการดําเนินคดีในศาลปกครองล่าช้าเป็นที่เสียหายแก่ผู้ฟ้องคดีอยู่หลายประการ ซึ่งผู้ฟ้องคดีควรระมัดระวัง

สํานักงานศาลปกครอง (2557 : 14) กล่าวว่าหน่วยงานทางปกครองที่อาจถูกฟ้องคดีต่อศาลปกครองได้ มีอยู่ 7 ประเภท ดังต่อไปนี้

1. หน่วยราชการที่เป็นราชการส่วนกลาง ได้แก่ กระทรวง กรม

2. หน่วยราชการที่เป็นราชการส่วนภูมิภาค ได้แก่ จังหวัด อําเภอ

3. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ เทศบาล องค์การบริหารส่วนตําบล องค์การบริหารส่วนจังหวัดกรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา

4. รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติ เช่น การรถไฟแห่งประเทศไทย การประปานครหลวงหรือรัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกา เช่น องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ แต่ไม่รวมถึงรัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นในรูปของบริษัทหรือบริษัทมหาชนจํากัด เช่น บริษัท การบินไทย จํากัด (มหาชน)

5. หน่วยงานของรัฐที่มิได้เป็นส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจหรือที่เรียกกันว่าองค์การมหาชน เช่นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์

6. หน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญ เช่น สํานักงานศาลปกครอง สํานักงานศาลยุติธรรม

7. หน่วยงานที่ได้รับมอบหมายจากรัฐให้ใช้อํานาจทางปกครองหรือให้ดําเนินกิจการทางปกครอง เช่น แพทยสภา สภาทนายความสํานักงานช่างรังวัดเอกชน บริษัท ท่าอากาศยานไทย จํากัด (มหาชน) ดังนั้น หน่วยงานทางปกครองที่อาจถูกฟ้องคดีต่อศาลปกครองจึงไม่รวมถึงรัฐสภาที่ใช้อํานาจทางนิติบัญญัติและศาลที่

ใช้อํานาจทางตุลาการ

กล่าวโดยสรุป หน่วยงานทางปกครองจึงหมายความรวมถึงหน่วยงานของรัฐในฝ่ายบริหารแทบทั้งหมด ยกเว้นรัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นในรูปของบริษัทหรือบริษัทมหาชน ทั้งยังครอบคลุมถึงหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นในรูปของบริษัท หรือเอกชนที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อํานาจทางปกครองหรือให้ดําเนิน

กิจการทางปกครองจากรัฐด้วย

คดีปกครองประเภทใดที่อาจฟ้องต่อศาลปกครองได้

คดีพิพาทอันเนื่องมาจากการกระทําทางปกครองฝ่ายเดียว ซึ่งอาจแยกออกเป็นการกระทําทางกฎหมาย หรือที่เรียกว่า “นิติกรรมทางปกครอง” และการกระทําทางกายภาพ หรือที่เรียกว่า “ปฏิบัติการ” การกระทําทางปกครองที่กล่าวมาเป็นการใช้อํานาจที่หน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐสามารถดําเนินการได้เองฝ่ายเดียวโดยไม่จําต้องให้เอกชนยินยอมก่อน ไม่ว่าจะเป็นการออกกฎ เช่น การออกพระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ ที่มีผลบังคับเป็นการทั่วไป หรือการออกคําสั่งทางปกครอง เช่น คําสั่ง

ลงโทษทางวินัย คําสั่งอนุญาต อนุมัติ คําสั่งแต่งตั้ง ประกาศผลการสอบแข่งขันเข้ารับราชการหรือเข้าศึกษาต่อซึ่งเป็นกรณีของนิติกรรมทางปกครอง คดีปกครอง คือ คดีที่เป็นข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานทางปกครอง หรือ เจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชน หรือข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานทางการปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกันเองและเป็นคดีในเรื่องดังต่อไปนี้

สํานักงานศาลปกครอง (2557 : 14) กล่าวว่าคดีปกครองที่อาจฟ้องต่อศาลปกครองได้ มีอยู่ 6 ประเภท ดังต่อไปนี้

1. คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐออกกฎ คําสั่งทางปกครองหรือกระทําการอื่นใดโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เช่น ไม่มีอํานาจนอกเหนืออํานาจไม่ถูกต้องตามรูปแบบ ขั้นตอนหรือวิธีการอันเป็นสาระสําคัญ หรือใช้ดุลพินิจโดยไม่ชอบ

2. คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกําหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร เช่น เอกชนได้ยื่นคําขอออกโฉนดที่ดินเป็นเวลา 1 ปีแล้ว แต่เจ้าพนักงานที่ดินยังไม่ดําเนินการให้ คดีประเภทนี้ ศาลปกครองมีอํานาจสั่งให้หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติตามหน้าที่ภายในเวลาที่ศาลปกครองกําหนด

3. คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทําละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ อันเกิดจากการใช้อํานาจตามกฎหมายหรือจากกฎ คํา สั่งทางปกครอง หรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกําหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร เช่น การที่พนักงานสอบสวนมิได้ดําเนินคดีกับบุคคลที่ลักทรัพย์ของผู้แจ้งความร้องทุกข์ทําให้ผู้นั้นได้รับความเสียหาย คดีประเภทนี้ศาลปกครองมีอํานาจสั่งให้หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐชดใช้เงินหรือส่งมอบทรัพย์สินให้แก่ผู้ฟ้องคดีหรือให้กระทําการหรืองดเว้นกระทําการ แต่ถ้าเป็นการกระทําละเมิดของเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติหน้าที่ที่มิได้เกิดจากการใช้อํานาจตามกฎหมาย ก็ไม่อยู่ในอํานาจของศาลปกครอง

4. คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง สัญญาระหว่างหน่วยงานทางปกครองกับเอกชนนั้นมีมาเป็นเวลานานแล้ว ซึ่งแต่เดิมเมื่อยังไม่มีศาลปกครอง คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาดังกล่าวต้องฟ้องต่อศาลยุติธรรม ซึ่งศาลยุติธรรมได้นําหลักในสัญญาทางแพ่งมาใช้ในการพิจารณาพิพากษาคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาระหว่างหน่วยงานทางปกครองกับเอกชน จึงมิได้มีการแยกแยะว่าสัญญาดังกล่าวมีลักษณะเป็นสัญญาทางแพ่งหรือสัญญาทางปกครอง

5. คดีที่มีกฎหมายกําหนดให้หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐต้องฟ้องคดีต่อศาลเพื่อบังคับบุคคลให้กระทําการหรือละเว้นกระทําการ

6. คดีที่มีกฎหมายกําหนดให้อยู่ในเขตอํานาจศาลปกครอง คดีปกครอง ที่อยู่ในอํานาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองนั้น โดยปกติอยู่ในอํานาจศาลปกครองชั้นต้น นอกจากนี้ศาลปกครองสูงสุดยังมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีที่มีการอุทธรณ์ คําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลปกครองชั้นต้นด้วย

นันทวัฒน์ บรมานันท์ (2560 : 543) เรื่องที่นํามาฟ้องต้องเป็นคดีปกครอง และต้องเป็นกรณีตาม มาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง กําหนดอํานาจหน้าที่ของศาลปกครองในการพิจารณาคดี 4 ประเภทด้วยกัน ได้แก่

1. คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐฝ่ายปกครองหรือคําสั่งทางปกครองหรือการกระทําทางปกครองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายศาลปกครองพิพากษาเพิกถอนกฎ ดําสั่งหรือสั่งห้ามการกระทําดังกล่าว

2. คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐฝ่ายปกครองละเลยต่อหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร และขอให้ศาลปกครองพิพากษาสั่งให้หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ดังกล่าวปฏิบัติหน้าที่ภายในเวลาที่ศาลปกครองกําหนด

3. คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทําละเมิดทางปกครองหรือความรับผิดของหน่วยงานของรัฐหรือ

เจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อํานาจตามกฎหมาย หรือการละเลยต่อหน้าที่หรือการปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร และขอให้ตาลปกครองพิพากษาสั่งให้มีการชดใช้ค่าเสียหาย

4. ดดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง และขอให้ศาลปกครองพิพากษาสั่งให้มีการให้ใช้เงินหรือส่งมอบทรัพย์สินหรือให้กระทําการหรืองดเว้นกระทําการ

หยุด แสงอุทัย (2565 : 543) การฟ้องคดีปกครองสามารถดําเนินการได้โดยง่าย ซึ่งได้มีการบัญญัติถึงข้อพิพาทที่อยู่ในเขตอํานาจศาลปกครองไว้ 4 ประเภท คือ

1. คดีพิพาทเกี่ยวกับคําวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาทตามที่ที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองกําหนด

2. คดีพิพาทเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายของพระรราชกฤษฎีกาหรือกฎที่ออกโดยคณะรัฐมนตรีหรือโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี

3. คดีที่มีกฎหมายกําหนดให้อยู่ในอํานาจของศาลปกครอง

4. คดีที่อุธรณ์คําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลปกครองชั้นต้น

กล่าวโดยสรุป ศาลปกครองมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีพิพาทระหว่างหน่วยงานราชการ หน่วยงาน

ของรัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรตามรับธรรมนูญ หรือระหว่างหน่วยงานราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชน หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกันเอง อันเนื่องมาจากการใช้อํานาจทางปกครองตามกฎหมาย หรือเนื่องมาจากการดําเนินกิจกรรมทางปกครอง ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ

คดีประเภทใดที่ไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง 

คดีที่ไม่อยู่ในเขตอํานาจของศาลปกครองมีนักวิชาการหลายท่านได้จําแนกออกเป็นหลายประเภทใน คดีปกครองที่กฎหมายกําหนดไม่ให้อยู่ในอํานาจของศาลปกครองและคดีที่มิใช่คดีปกครอง ดังนี้

  สํานักงานศาลปกครอง (2557 : 30) กล่าวว่าคดีที่ไม่อยู่ในเขตอํานาจการพิจารณาคดีของศาลปกครอง คือคดีที่มีกฎหมายตัดอํานาจศาลปกครองไว้เฉพาะ เช่น พระราชกําหนดบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ. 2544 บัญญัติว่ามิให้นํากฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง มาใช้บังคับแก่การ ดําเนินการเกี่ยวกับการบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) และการออก ระเบียบ ข้อบังคับ คําสั่ง คําวินิฉัย การอนุญาต และการกระทําอื่นใดของคณะกรรมการและคณะกรรมการ บริหาร อันเกี่ยวกับการบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพตามพระราชกําหนด 

สรธร ธนโชตโภคิน (2560 : 39) คดีที่ไม่อยู่ในเขตอํานาจการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลปกครอง นั้นตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 9 วรรคสองกําหนด ไว้ 3 เรื่อง ได้แก่ 

1. การดําเนินการเกี่ยวกับวินัยทหาร 

2. การดําเนินการของคณะกรรมการตุลาการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ 

3. คดีที่อยู่ในอํานาจของศาลเยาวชนและครอบครัว ศาลแรงงาน ศาลภาษีอากร ศาลทรัพย์สินทาง ปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ศาลลัมละลาย หรือศาลชํานัญพิเศษอื่น (ศาลปกครอง,2554: 28) 

ฤทัย หงส์ศิริ(2566 : 55-64) กล่าวว่าคดีที่ไม่อยู่ในเขตอํานาจการพิจารณาคดีของศาลปกครองแบ่ง ออกเป็น 3 เรื่อง ดังต่อไปนี้ 

1. การดําเนินการเกี่ยวกับวินัยทหาร (มาตรา 9 วรรคสอง (1)) เช่น การดําเนินการทางวินัยทหาร ตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยวินัยทหาร พุทธศักราช 2476 ซึ่งได้ กําหนดทัณฑ์ที่จะลงแก่ผู้กระทําผิดต่อวินัยทหารไว้ 5 สถาน ได้แก่ ภาคทัณฑ์ ทัณฑกรรม กักขัง และจําขัง เช่น การลงทัณฑ์แก่ผู้กระทําผิดต่อวินัยทหาร เป็นต้น 

2. การดําเนินการของคระกรรมการตุลาการ (มาตรา 9 วรรคสอง (2)) การดําเนินการของสํานัก คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมนั้นไม่ใช่เป็นการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลงานบุคคล เช่น การให้ความเห็นชอบในการโยกย้าย การลงโทษทางวินัย การเลื่อนตําแหน่ง ซึ่งตามทฤษฎีกฎหมายนั้น ถือว่าเป็นการ กระทําทางปกครองอย่างหนึ่ง และโดย หลักควรต้องอยู่ภายใต้การตรวจสอบของศาลปกครอง 

3. คดีที่อยู่ในอํานาจของศาลชํานัญพิเศษ (มาตรา 9 วรรคสอง (3)) อัน ศาลแรงงาน ศาลภาษีอากร ได้แก่คดีที่อยู่ในอํานาจของศาลเยาวชนและครอบครัว ทรัพย์สิน ทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ศาล ล้มละลาย หรือศาลชํานัญการพิเศษอื่น เช่น กรณีที่ฟ้องว่า ผู้ฟ้องคดีไม่ได้รับความเป็นธรรม เนื่องจาก เจ้าหน้าที่สํานักงาน ประกันสังคมวินิจฉัยว่าบุตรของผู้ฟ้องคดีไม่ได้เสียชีวิตจากการปฏิบัติหน้าที่จึงทําให้ผู้ฟ้อง คดีได้รับผลประโยชน์จากการประกันสังคมเพียงค่าปลงศพเท่านั้นกรณีนี้ศาลปกครองกลาง วินิจฉัยว่า เนื่องจากพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 ได้บัญญัติให้ผู้ที่ไม่พอใจใน เรื่องเงินค่าทดแทนมีสิทธินําคดี ไปสู่ศาลแรงงาน กรณีดังกล่าวจึงอยู่ในอํานาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงาน หรือ กรณีที่ฟ้องว่าสรรพากร ประเมินและเรียกเก็บภาษีการค้าโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องในหนี้ค่าภาษี อากรและเป็นคดีอุทธรณ์คําวินิจฉัยของ เจ้าพนักงานตามกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากร 

กล่าวโดยสรุป การดําเนินคดีในศาลปกครอง มีการถ่วงดุลในการพิจารณา 3 ฝ่าย คือ ฝ่ายแรก ผู้พิพากษาศาลปกครองหรือที่เรียกว่า ตุลาการเจ้าของส านวน ทําหน้าที่แสวงหาข้อเท็จจริงต่าง ๆ ฝ่ายที่สอง ผู้ พิพากษาศาลปกครองหรือที่เรียกว่า องค์คณะ โดยเรียกผู้พิพากษาที่ทําหน้าที่นี้ว่า ตุลาการผู้แถลงคดีทํา หน้าที่แถลงการณ์ต่อคณะผู้พิพากษา และฝ่ายที่สาม องค์คณะที่มีหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีปกครอง โดย องค์คณะมีอิสระที่จะพิพากษาหรือมีคําสั่งเป็นอย่างอื่นได้ โดยไม่ต้องพิพากษาหรือมีคําสั่งตามแนวความเห็น ของตุลาการเจ้าของสํานวนหรือตุลาการผู้แถลงคดีก็ได้ ซึ่งแตกต่างกับระบบในศาลยุติธรรมที่ไม่มีการถ่วงดุลกัน 3 ฝ่าย ดังที่ใช้ในศาลปกครอง 

ฟ้องคดีต่อศาลปกครองต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขใดบ้าง 

คดีที่ศาลปกครองมีอํานาจรับไว้พิจารณาพิพากษาได้นั้น นอกจากจะต้องเป็นคดีปกครองแล้ว ยัง จะต้องปรากฏด้วยว่าผู้ฟ้องคดี ได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการฟ้องคดีครบถ้วนแล้ว โดยจะต้อง เป็นไปตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ 

สํานักงานศาลปกครอง (2557 : 35-36) ในการฟ้องคดีต่อศาลปกครองนั้น ผู้มีสิทธิฟ้องคดีจะต้องเป็น ผู้ซึ่งได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายหรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหาย โดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้อันเนื่องมาจาก การกระทํา หรือการงดเว้น การกระทําอย่างหนึ่งอย่างใดของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ ของรัฐ ตามที่กฎหมายกําหนด หรืออาจกล่าวโดยสรุปก็คือ ผู้มีสิทธิฟ้องคดี จะต้องเป็นผู้เสียหาย หรือเป็นผู้ซึ่งได้รับ ผลกระทบหรือผู้มีส่วนได้เสีย ในเรื่องที่จะนํามาฟ้องคดีต่อศาลปกครอง เช่น เป็นนักศึกษาที่อยู่ในบังคับของ ระเบียบของมหาวิทยาลัยที่เป็นเหตุให้นําคดีมาฟ้อง เป็นข้าราชการที่ถูกผู้บังคับบัญชาสั่งลงโทษทางวินัย ซึ่ง ต้องการจะโต้แย้งคําสั่งดังกล่าวของผู้บังคับบัญชา เป็นเจ้าของอาคารที่ได้รับคําสั่งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ รื้อถอนอาคาร เป็นต้น 

ศรุต นิติรัช (2563 : ออนไลน์ ) กว่าว่าเงื่อนไขการฟ้องคดีปกครองประกอบไปด้วย 6 เงื่อนไขหลัก ๆ ดังต่อไปนี้ 

1. เงื่อนไขเกี่ยวกับผู้มีสิทธิฟ้องคดี และความสามารถของผู้ฟ้องคดี ตามมาตรา 42 ผู้ที่ได้รับความ เดือนร้อนหรือเสียหาย หรืออาจจะเดือดร้อน หรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้ อันเนื่องมาจาก 

2. เงื่อนไขเกี่ยวกับคําขอในคําฟ้องให้ศาลมีคําบังคับ เพื่อแก้ไขความเดือนร้อนเสียหาย ตามมาตรา 72 

3. เงื่อนไขเกี่ยวกับการเยียวยา แก้ไขความเดือดร้อนเสียหายแก่ผู้ฟ้องคดี 

4. เงื่อนไขเกี่ยวกับคําฟ้องและเอกสารที่ยื่นต่อศาล (เป็นเรื่องของเสมียน) 

5. เงื่อนไขเกี่ยวกับระยะเวลาในการฟ้องคดี 

6. เงื่อนไขเกี่ยวกับข้อห้ามในการฟ้องคดีต่อศาลปกครอง มี 4 กรณี ศาลปกครองจะไม่รับฟ้องไว้ พิจารณา ได้แก่ ฟ้องซํ้า ฟ้องซ้อน ดําเนินกระบวนพิจารณาซํ้า และการห้ามฟ้องเจ้าหน้าที่ทําละเมินในการ ปฏิบัติหน้าที่ ตาม ม.5 แห่งความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิด ของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539

 มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์(2564 : ออนไลน์) กล่าวว่าการเสนอคําฟ้อง การยื่นฟ้องต่อศาล จะต้องเป็นไปตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ 

1. เรื่องที่นํามาฟ้องต้องเป็นคดีปกครอง และต้องเป็น กรณีตามมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้ง ศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง ได้แก่ การกระทําของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เช่น ออกคําสั่งผิดวิธี ไม่ดําเนินการตามระเบียบ กรณีนี้เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือ หน่วยงานทางปกครองละเลยต่อหน้าที่ หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร เจ้าหน้าที่ หรือหน่วยงานกระทํา ละเมิดต่อบุคคลอื่น คดีเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง คดีที่กฎหมายกําหนดให้หน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ทาง ปกครอง มาฟ้องคดีต่อศาลปกครอง คดีที่เกี่ยวกับเรื่องที่กฎหมายกําหนดให้อยู่ในอํานาจของศาลปกครอง

 2. ต้องยื่นฟ้องต่อศาลที่มีอํานาจ ต้องยื่นฟ้องศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นหรือศาลที่ผู้ฟ้องคดีมีภูมิลําเนาอยู่เขต ศาลนั้น 

3. คําฟ้องต้องทําเป็นหนังสือและมีรายการตามที่กําหนดไว้และยื่นโดยถูกวิธีการฟ้องคดีปกครองไม่มี แบบของคําฟ้องกําหนดไว้เฉพาะ แต่ต้องทําเป็นหนังสือ ฟ้องด้วยวาจาไม่ได้ ใช้ถ้อยคําสุภาพ มีรายการตามที่ บัญญัติไว้ในมาตรา 45 กล่าวคือต้องระบุ ชื่อ ที่อยู่ของผู้ฟ้องคดี และผู้ถูกฟ้องคดี ข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ เกี่ยวกับการกระทําที่เป็นเหตุแห่งการฟ้องคดี คําขอและลายมือชื่อผู้ฟ้องคดี โดยต้องแนบพยานหลักฐานที่ เกี่ยวข้องไปพร้อมคําฟ้อง โดยผู้ฟ้องคดีต้องจัดทําสําเนาคําฟ้องและสําเนาพยานหลักฐานตามจํานวนผู้ถูกฟ้อง คดีด้วย 

 4. ผู้ฟ้องคดีต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถตามกฎหมาย หากผู้ฟ้องคดีมีข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถ ก็จะต้องดําเนินการแก้ไขตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติไว้ อย่างไรก็ดี สําหรับในการฟ้องคดี ปกครองนั้น มีข้อยกเว้นอนุญาตให้ผู้เยาว์ที่มีอายุไม่ตํ่ากว่า 15 ปีบริบูรณ์ ฟ้องคดีด้วยตนเองได้ถ้าศาลอนุญาต

 5. ผู้ฟ้องคดีต้องเป็นผู้มีสิทธิฟ้องคดีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 276 ของ รัฐธรรมนูญ และมาตรา 42 พรบ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 กล่าวคือ จะต้องเป็นผู้ที่ได้รับความเดือดร้อน หรือเสียหายหรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้จากการกระทําหรืองดเว้นการกระทํา อย่างหนึ่งอย่างใดของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง หรือกรณีอื่นใดที่อยู่ในเขตอํานาจของศาลปกครอง 

กล่าวโดยสรุป ในการฟ้องคดีต่อศาลปกครองนั้น นอกเหนือจากการพิจารณาว่าคดีนั้นอยู่ในอํานาจ ของศาลปกครองแล้ว สิ่งสําคัญประการต่อมาที่ต้องพิจารณา ก็คือเรื่องเงื่อนไขเกี่ยวกับการฟ้องคดีปกครอง โดยเงื่อนไขการฟ้องคดีปกครองนั้น เป็นสาระสําคัญที่ศาลปกครองต้องพิจารณาในเบื้องต้นว่า คดีที่ฟ้องต่อศาล ปกครองนั้น ศาลจะสามารถรับคําฟ้องดังกล่าวไว้พิจารณาได้หรือไม่ 

ฟ้องคดีต่อศาลปกครองต้องเสียค่าทำเนียมศาลหรือไม่ 

การเสียค่าธรรมเนียมศาลอาจเป็นข้อกังวลใจของผู้ที่ประสงค์จะฟ้องคดีต่อศาลปกครองบางท่าน โดยเฉพาะผู้ที่มีภาระค่าใช้จ่าย หนี้สิน หรือโดยสถานะทางครอบครัวหากต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลอาจจะ เดือดร้อนมากยิ่งขึ้น ซึ่งความกังวลใจดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมทางปกครอง ของประชาชน ทั้งที่คดีพิพาทที่อยู่ในเขตอํานาจของศาลปกครองล้วนเกิดจากการใช้อํานาจตามกฎหมายของ ฝ่ายปกครองด้วยเหตุนี้ระบบวิธีพิจารณาคดีปกครองจึงได้ถูกออกแบบเพื่ออํานวยความสะดวกให้กับประชาชน ในการฟ้องคดีต่อศาลปกครอง โดยมีนักวิชาการได้กล่าวถึงการเสียค่าทําเนียมศาลไว้ดังนี้ 

ฐิติพร ป่านไหม และคณะ (2559 : 1) อธิบายการเสียค่าทําเนียมศาลไว้ว่า โดยปกติการฟ้องคดี ปกครองต่อศาลปกครองไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล แต่หากเป็นการฟ้องคดีเพื่อขอให้ศาลปกครองมีคํา พิพากษาหรือคําสั่งให้หน่วยงานทางปกครองใช้เงินอันสืบเนื่องจากคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทําละเมิดหรือ ความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อํานาจตามกฎหมาย หรือจากกฎ คําสั่งทางปกครอง หรือคําสั่งอื่นหรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกําหนดหรือปฏิบัติ หน้าที่ล่าช้าเกินสมควรหรือคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองตาม มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) และ (๔) แห่ง พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒คู่กรณีต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล ตามทุนทรัพย์ในอัตราร้อยละ ๒.๕ ของทุนทรัพย์แต่ไม่เกินสองแสนบาท (มาตรา ๔๕ วรรคสี่แห่ง พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒) 

 สุรีรัตน์ เถื่อนชัย (2565 : 306) อธิบายการเสียค่าทําเนียมศาลไว้ว่า การหลักการตามบทบัญญัติแห่ง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 68 ได้รับรองสิทธิประชาชนในการเข้าถึง กระบวนการยุติธรรมทางปกครองได้โดยสะดวก รวดเร็ว และไม่เสียค่าใช้จ่ายสูงเกินสมควร อีกทั้งในมาตรา 45 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 ได้บัญญัติไว้เป็นหลักการให้ ประชาชนสามารถฟ้องคดีปกครองไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล เว้นแต่การฟ้องคดีขอให้สั่งให้ใช้เงิน หรือส่ง มอบทรัพย์สิน และประชาชนสามารถดําเนินกระบวนพิจารณาได้ด้วยตนเองโดยไม่ได้บังคับว่าต้องมี ทนายความช่วยร่างฟ้องและดําเนินคดีปกครอง 

มยุรา อินสมตัว (2563 : 64) อธิบายการเสียค่าทําเนียมศาลไว้ว่า กรณีเรื่องค่าธรรมเนียมศาลโดยการ ฟ้องคดีปกครองกฎหมายมิได้กําหนดให้ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลเว้นแต่เป็นการฟ้องคดีเพื่อขอให้สั่งให้ใช้เงิน หรือส่งมอบทรัพย์สินอันสืบเนื่องจากคดีพิพาทตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (3) หรือ (4) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้ง ศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ผู้ฟ้องคดีจะต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลตามทุนทรัพย์ที่ ระบุไว้ในตาราง 1 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง สําหรับคดีที่มีคําขอให้ศาลปลดเปลื้องทุกข์อัน อาจคํานวณราคาเป็นเงินได้การชําระค่าธรรมเนียมศาลให้ครบถ้วนหรือการขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลทั้งหมด หรือบางส่วนและกรณีที่ศาลมีคําสั่งอนุญาตให้ดําเนินคดีโดยยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลทั้งหมดหรือบางส่วนจึง เป็นเงื่อนไขสําคัญในการฟ้องคดีต่อศาลปกครอง และเป็นเหตุอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่ ศาลยกขึ้นพิจารณาไม่รับคําฟ้องได้ในกรณีที่ผู้ฟ้องคดีหรือผู้ถูกฟ้องคดีในคดีที่มีการฟ้องแย้งไม่ชําระ ค่าธรรมเนียมศาลให้ครบถ้วน 

กล่าวโดยสรุป บทความนี้เน้นถึงความกังวลที่ผู้ที่ต้องการฟ้องคดีต่อศาลปกครองมีต่อค่าธรรมเนียม ศาลที่ต้องเสีย เนื่องจากมีภาระค่าใช้จ่าย หนี้สิน หรือสถานะครอบครัวที่ทําให้การเสียค่าธรรมเนียมเป็นภาระ กระบวนการฟ้องคดีปกครองจัดทําให้สะดวกสบาย โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล โดยเฉพาะในกรณีที่อยู่ใน เขตอํานาจของศาลปกครอง สามารถฟ้องคดีได้โดยไม่ต้องมีทนายความ และกระบวนการนี้สามารถเรียกใช้ได้ อย่างรวดเร็วและสะดวก ในกรณีที่คดีต้องการให้ศาลปกครองมีคําพิพากษาหรือคําสั่งให้หน่วยงานทางปกครอง ใช้เงินตามคําพิพากษา หรือหน่วยงานต้องการให้ใช้เงินสืบเนื่องจากคดีที่เกี่ยวข้องกับการกระทําละเมิดหรือ ความรับผิดของหน่วยงานทางปกครอง ค่าธรรมเนียมศาลจะถูกกําหนดตามทุนทรัพย์และจะไม่เกินสองแสน บาทตามกฎหมายการอธิบายถึงค่าธรรมเนียมศาลช่วยให้ผู้ฟ้องคดีเข้าใจเงื่อนไขการฟ้องคดี และทําให้ กระบวนการยุติธรรมทางปกครองมีความยืดหยุ่นและไม่ซับซ้อนมากนัก สิ่งนี้ส่งผลให้ประชาชนสามารถเข้าถึง กระบวนการยุติธรรมทางปกครองได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และไม่เสียค่าใช้จ่ายสูงเกินสมควรตามประมวล กฎหมายแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และบรรยายถึงมาตรา 45 ของพระราชบัญญัติจัดตั้ง 

ยื่นคำฟ้องคดีปกครองได้ที่ใด 

การพิจารณาคดีที่ยื่นไว้ต่อศาลปกครองใดจะต้องกระทําในศาลปกครองนั้นตามวันเวลาทําการ เว้นแต่ ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือจําเป็นหรือเพื่อความสะดวกของคู่กรณี ศาลปกครองจะสั่งให้ดําเนินการพิจารณาใน สถานที่อื่นหรือในวันหยุดหรือในวันเวลาใดก็ได้ 

สํานักงานศาลปกครอง (2557:49) ศาลปกครองมี 2 ชั้นศาล คือศาลปกครองชั้นตัน และศาลปกครอง สูงสุด การฟ้องคดีปกครองโดยทั่วไป จะต้องยื่นฟ้องต่อศาลปกครองชั้นต้นที่มีเขตอํานาจ ซึ่งกฎหมาย กําหนดให้ยื่นฟ้องต่อศาลที่ผู้ฟ้องคดีมีภูมิลําเนาหรือที่มูลคดีเกิด แต่ถ้าเป็นการฟ้องคดีพิพาทเกี่ยวกับความชอบ ด้วยกฎหมายของพระราชกฤษฎีกา หรือกฎที่ออกโดยคณะรัฐมนตรีหรือโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ให้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองสูงสุดโดยตรงไม่ต้องยื่นฟ้องต่อศาลปกครองชั้นต้นก่อนวิธีการยื่นคําฟ้อง ผู้ฟ้องคดี สามารถเลือกยื่นคําฟ้องได้ 2 วิธีคือ 

1. ยื่นคําฟ้องต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของศาลปกครอง ณ ที่ทําการของศาลปกครองที่มีเขตอํานาจ หรือ

 2. ยื่นคําฟ้องโดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน 

สถานที่ยื่นคําฟ้อง ศาลปกครองสูงสุด มีเพียงแห่งเดียว ตั้งอยู่ ณ อาคารที่ทําการศาลปกครอง เลขที่ 120 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่กรุงเทพฯ 10210 โทร 0 2141 1111 ศาลปกครองขั้นตันที่ เปิดทําการแล้วมีอยู่ 11 ศาล คือ 

1. ศาลปกครองกลาง มีเขตอํานาจตลอดท้องที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร รวมทั้งจังหวัดที่มิได้อยู่ ในเขตอํานาจของศาลปกครองในภูมิภาค คือ จังหวัด กาญจนบุรี ชัยนาท นครนายก พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี อ่างทองและอุทัยธานี 

2.ศาลปกครองเชียงใหม่ มีเขตอํานาจตลอดท้องที่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ลําปาง ลําพูน และมีเขตอํานาจเพิ่มเติมในจังหวัดน่าน พะเยา และ แพร่ 

3.ศาลปกครองสงขลา มีเขตอํานาจตลอดท้องที่จังหวัดสงขลา ตรัง พัทลุง สตูล และมีเขตอํานาจ เพิ่มเติมในจังหวัดนราธิวาส ปัตตานี และยะลา 

4.ศาลปกครองนครราชสีมา มีเขตอํานาจตลอดท้องที่ จังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิ และมีเขตอํานาจ เพิ่มเติมในจังหวัดบุรีรัมย์ และสุรินทร์ 

5.ศาลปกครองขอนแก่น มีเขตอํานาจตลอดท้องที่จังหวัดขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคามและมีเขต อํานาจเพิ่มเติมในจังหวัดมุกตาหาร 

6.ศาลปกครองพิษณุโลก มีเขตอํานาจตลอดท้องที่จังหวัดพิษณุโลก กําแพงเพชร ตาก นครสวรรค์ พิจิตร เพชรบูรณ์ สุโขทัย และมีเขตอํานาจเพิ่มเติมในจังหวัดอุตรดิตถ์

7.ศาลปกครองระยอง มีเขตอํานาจตลอดท้องที่จังหวัดระยอง จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตราด ปราจีนบุรี และสระแก้ว

 8.ศาลปกครองนครศรีธรรมราช มีเขตอํานาจตลอดท้องที่จังหวัดนครศรีธรรมราช กระบี่ พังงา ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี และมีเขตอํานาจเพิ่มเติมในจังหวัดชุมพร และระนอง 

9.ศาลปกครองอุดรธานี มีเขตอํานาจตลอดท้องที่จังหวัดอุดรธานี เลย หนองคาย หนองบัวลําภู และมี เขตอํานาจเพิ่มเติมในจังหวัดนครพนม บึงกาฬและสกลนคร 

10.ศาลปกครองอุบลราชธานี มีเขตอํานาจตลอดท้องที่จังหวัดอุบลราชธานี ยโสธร ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ และอํานาจเจริญ 

11.ศาลปกครองเพชรบุรี มีเขตอํานาจตลอดท้องที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ราชบุรีและ สมุทรสงคราม 

ณรงค์ เกียรติคุณวงศ์ (2564 : 137) ศาลปกครองสูงสุดและศาลปกครองชั้นต้นอาจจะแบ่งเป็นแผนก หรือ หน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นและให้มีอํานาจคดีประเภทใดหรือคดีในท้องที่ใด ซึ่งอยู่ในเขตอํานาจของศาล นั้นแยกต่างหากโดยเฉพาะได้ ในกรณีนี้ศาลปกครองได้จัดตั้งแผนกคดีขึ้นมาเพิ่มเติม อยู่ภายใต้โครงสร้างของ สร้างปกครองไว้ 2 แผนกคดี แผนกคดีแรก คือ แผนกคดีสิ่งแวดล้อมซึ่งได้มีการตั้งและมีผลบังคับใช้อยู่แล้วไว้ ในศาลปกครองสูงสุดและศาลปกครองชั้นต้น อีกประเภทคดีคือ การจัดตั้งแผนกคดีบริหารงานบุคคลในศาล ปกครองสูงสุดและศาลปกครองชั้นต้น เพราะฉะนั้นนอกจากโครงสร้างของศาลปกครองแล้วเพื่อให้มีความ เฉพาะเจาะจงศาลปกครองจึงได้แบ่งแผนกขึ้นมา เพื่อความสะดวกและเหมาะสมต่อผู้นําคดีมาฟ้องมากที่สุด 

ชาญชัย แสวงศักดิ์ (2562 : 248) คําฟ้องต้องยื่นภายในกําหนดระยะเวลาการฟ้องคดี การฟ้องคดี ปกครองนั้นจะต้องยื่นฟ้องภายในระยะเวลาการฟ้องคดีที่กฎหมายกําหนด ซึ่งมีระยะเวลาสั้นกว่าการฟ้องคดี แพ่งโดยพระราชบัญญัตินี้กําหนดระยะเวลาในกมารฟ้องคดีปกครองแต่ละประเภทแตกต่างกัน ระยะเวลาใน การฟ้องคดีขอให้เพิกถอนกฎ โดยบทบัญญัติของกฎหมาย“มาตรา 49 การฟ้องคดีปกครองจะต้องยื่นฟ้อง ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการฟ้องคดี”

 กล่าวโดยสรุป การยื่นคําฟ้องคดีปกครองสามารถทําได้ที่ศาลปกครองชั้นต้นที่มีเขตอํานาจตามที่ กฎหมายกําหนด โดยผู้ฟ้องคดีสามารถเลือกใช้วิธีการยื่นคําฟ้องได้ 2 วิธีคือ

1.ยื่นคําฟ้องต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ของศาลปกครองที่ทําการ: สามารถนําคําฟ้องไปยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของศาลปกครองที่มีเขตอํานาจ ณ ที่ ทําการของศาลปกครองนั้น ๆ 

2.ยื่นคําฟ้องโดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน: สามารถส่งคําฟ้องทางไปรษณีย์ ลงทะเบียนไปยังศาลปกครองที่มีเขตอํานาจตามที่กฎหมายกําหนด สําหรับศาลปกครองสูงสุด ที่ตั้งอยู่ที่ 120 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210 โทร 0 2141 1111 ศาลปกครองชั้นตันมี ทั้งหมด 11 ศาล โดยแต่ละศาลมีเขตอํานาจตามพื้นที่ที่กําหนดไว้ ตลอดจนมีแผนกหรือหน่วยงานเฉพาะที่ รับผิดชอบคดีประเภทต่าง ๆ และต่างมีระยะเวลาการฟ้องคดีที่กฎหมายกําหนด การยื่นคําฟ้องคดีปกครองต้อง ทําภายในระยะเวลาที่กําหนด และการพิจารณาคดีจะทําในศาลปกครองที่ถูกยื่นคําฟ้อง โดยมีการกระทําในวัน 13 ทําการ นอกจากนี้ ยังมีการตั้งแผนกหรือหน่วยงานเฉพาะที่รับผิดชอบคดีประเภทต่าง ๆ เพื่อความสะดวกและ เหมาะสมต่อการพิจารณาคดี และการให้ความยุติธรรมที่สูงสุดในการนําคดีมาฟ้อง 

สรุป 

1. ศาลปกครอง เป็นศาลที่ใช้ระบบไต่สวน โดยในแต่ละคดีจะมีการพิจารณาโดยองค์คณะของตุลาการ ต่างจากศาลยุติธรรมซึ่งใช้ระบบกล่าวหา 

2. หน่วยงานทางปกครองจึงหมายความรวมถึงหน่วยงานของรัฐในฝ่ายบริหารแทบทั้งหมด ยกเว้น รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นในรูปของบริษัทหรือบริษัทมหาชน ทั้งยังครอบคลุมถึงหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจที่ จัดตั้งขึ้นในรูปของบริษัท หรือเอกชนที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อํานาจทางปกครองหรือให้ดําเนินกิจการทาง ปกครองจากรัฐด้วย 

3. คดีพิพาทอันเนื่องมาจากการกระทําทางปกครองฝ่ายเดียว ซึ่งอาจแยกออกเป็นการกระทําทาง กฎหมาย หรือที่เรียกว่า “นิติกรรมทางปกครอง” และการกระทําทางกายภาพ หรือที่เรียกว่า “ปฏิบัติการ” การกระทําทางปกครองที่กล่าวมาเป็นการใช้อํานาจที่หน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐสามารถดําเนินการได้เอง ฝ่ายเดียวโดยไม่จําต้องให้เอกชนยินยอมก่อน ไม่ว่าจะเป็นการออกกฎ 

4. คดีที่ไม่อยู่ในเขตอํานาจการพิจารณาคดีของศาลปกครองคือคดีที่มีกฎหมายตัดอํานาจศาลปกครอง ไว้เฉพาะ เช่น พระราชกําหนดบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544 บัญญัติว่ามิให้นํากฎหมายว่าด้วยการ จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง และการออกระเบียบ ข้อบังคับ คําสั่ง คําวินิฉัย 

5. ในการฟ้องคดีต่อศาลปกครองนั้น ผู้มีสิทธิฟ้องคดีจะต้องเป็น ผู้ซึ่งได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย หรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหาย โดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้อันเนื่องมาจากการกระทํา หรือการงดเว้น การกระทํา อย่างหนึ่งอย่างใดของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ ของรัฐตามที่กฎหมายกําหนด 

6. โดยปกติการฟ้องคดีปกครองต่อศาลปกครองไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล แต่หากเป็นการฟ้องคดี เพื่อขอให้ศาลปกครองมีคําพิพากษาหรือคําสั่งให้หน่วยงานทางปกครองใช้เงินอันสืบเนื่องจากคดีพิพาท เกี่ยวกับการกระทําละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจาก การใช้อํานาจตามกฎหมาย หรือจากกฎ คําสั่งทางปกครอง หรือคําสั่งอื่นหรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่ กฎหมายกําหนดหรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควรหรือคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองตาม มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) และ (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒คู่กรณี ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลตามทุนทรัพย์ในอัตราร้อยละ ๒.๕ ของทุนทรัพย์แต่ไม่เกินสองแสนบาท (มาตรา ๔๕ วรรคสี่แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒) 

7. ศาลปกครองมี 2 ชั้นศาล คือศาลปกครองชั้นตัน และศาลปกครองสูงสุด การฟ้องคดีปกครอง โดยทั่วไป จะต้องยื่นฟ้องต่อศาลปกครองชั้นต้นที่มีเขตอํานาจ ซึ่งกฎหมายกําหนดให้ยื่นฟ้องต่อศาลที่ผู้ฟ้องคดี มีภูมิลําเนาหรือที่มูลคดีเกิด แต่ถ้าเป็นการฟ้องคดีพิพาทเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายของพระราชกฤษฎีกา 14 หรือกฎที่ออกโดยคณะรัฐมนตรีหรือโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ให้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองสูงสุด โดยตรงไม่ต้องยื่นฟ้องต่อศาลปกครองชั้นต้นก่อนวิธีการยื่นคําฟ้อง 

อ้างอิง

เอกสารอ้างอิง