กฎหมายปกครอง


(1) เกษมศัุกดิ์ ยุงรัมย์  (2) ธนวัฒน์ คุณเลิศ  (3) ชลธิชา เอี่ยมรัมย์  (4) หทัยกาญจน์ ม่วงนางรอง
นักศึกษาสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์  
(1) 640112801057@bru.ac.th   (2)  640112801064@bru.ac.th   (3)  640112801080@bru.ac.th   (4)  640112801107@bru.ac.th
11 กุมภาพันธ์ 2567

ศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีปกครองตามที่กฎหมายบัญญัติอัน ได้แก่ คดีพิพาทที่เกิดจากการกระทำทางปกครองไม่ว่าจะเป็นคดีที่เป็นข้อพิพาทระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแลของรัฐบาลกับเอกชนหรือระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแลของรัฐบาลด้วยกัน

ฎหมายปกครองคืออะไร
      ศาลปกครองมีนักวิชาการให้ความหมายไว้สรุปดังนี้
บวรศักดิ์ อุวรรณโณ (2558:2) อธิบายว่า กฎหมายปกครองเป็นกฎหมายที่กำหนดสถานะและความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรของรัฐฝ่ายปกครองด้วยกัน และความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรของรัฐฝ่ายปกครองกับประชาชน"
อมร จันทรสมบูรณ์ (2558:3) ได้อธิบายความหมายของกฎหมายปกครองไว้ว่า"กฎหมายปกครองเป็นกฎหมายมหาชนและเป็นกฎหมายที่ รัฐจัดระบบบริการเพื่ อจัดการบริการสาธารณะให้แก่ประชาชนเป็นส่วนรวม ขอบเขตของกฎหมายปกครองจึงกว้างขวางมากยิ่งไปกว่ากฎหมายอาญาและกฎหมายแพ่งกฎหมายปกครองได้แก่ พระราชบัญญัติและกฎหมายทุกฉบับที่กำหนดอำนาจและหน้าที่ของกระทรวง ทบวงกรมต่าง ๆ กฎหมายกำหนดอำนาจหน้าที่ของรัฐวิสาหกิจและอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกรูปแบบ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดระบบข้าราชการทุกประเภท
รัฐเข้ามาบังคับการตามกฎหมายด้วยการบัญญัติเจ้าหน้าที่ของรัฐต่าง ๆ จำนวนมากมีอำนาจในการออกคำสั่ง อนุญาต ออกใบอนุญาต วินิจฉัยและสั่งการ รวมตลอดถึงการสั่งการที่ออกมาในรูปของกฎข้อบังคับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีอำนาจสั่งการตามกฎหมายปกครองจะมีตั้งแต่ข้าราชการการเมือง ข้าราชการประจำผู้ดำรงตำแหน่งในการปกครองท้องถิ่น ผู้ว่าการหรือผู้อำนวยการของรัฐวิสาหกิจและพนักงานรัฐวิสาหกิจ รวมตลอดไปถึงการสั่งการในรูปของคำวินิจฉัยโดย คณะกรรมการต่างๆ และนอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้ว ยังรวมถึงการสั่งการภายในระบบสายการบังคับบัญชาในระหว่างเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารอีกด้ว

    กล่าวโดยสรุป ศาลปกครอง หมายถึง ศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีปกครองตามที่กฎหมายบัญญัติอัน ได้แก่ คดีพิพาทที่เกิดจากการกระทำทางปกครองไม่ว่าจะเป็นคดีที่เป็นข้อพิพาทระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแลของรัฐบาลกับเอกชนหรือระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแลของรัฐบาลด้วยกัน

หน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐใดบ้างที่อาจถูกฟ้องคดีต่อศาลปกครอง
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ (2564 : 1)ได้อธิบายว่า การฟ้องคดีปกครองได้บัญญัติหลักเกณฑ์วิธีการไว้ใน พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 และอีกส่วนหนึ่งกำหนดไว้ในระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครองพ.ศ. 2543การเสนอคำฟ้อง การยื่นฟ้องต่อศาล จะต้องเป็นไปตามเงื่อนไข
ดังต่อไปนี้
เรื่องที่นำมาฟ้องต้องเป็นคดีปกครอง และต้องเป็น กรณีตามมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง ได้แก่การกระทำของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เช่น ออกคำสั่งผิดวิธี ไม่ดำเนินการตามระเบียบ เป็นต้น กรณีนี้เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือหน่วยงานทางปกครองละเลยต่อหน้าที่ หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร เจ้าหน้าที่ หรือหน่วยงานกระทำละเมิดต่อบุคคลอื่น คดีเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง คดีที่กฎหมายกำหนดให้หน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ทางปกครอง มาฟ้องคดีต่อศาลปกครอง คดีที่เกี่ยวกับเรื่องที่กฎหมายกำหนดให้อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง

ธีรพรรณ ใจมั่น (259:1)ได้อธิบายว่า คดีที่เป็นข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชน หรือข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานทางการปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกันเองและเป็นคดีในเรื่องดังต่อไปนี้
1.คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางการปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐออกกฎ คำสั่ง หรือการกระทำอื่นใดโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
2. คดีพิพาทเกี่ยวกับหน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามกฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร
3.คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิด หรือความรับผิดชอบอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ อันเกิดจากการใช้อำนาจล่าช้าเกินสมควร
4.คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง เช่น ข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาจ้างเอกชน ก่อสร้างถนนอาคารเรียน หรือข้อพิพาทเกี่ยวกับการเรียกเก็บค่าสัมปทานตามสัญญาสัมปทานทำไม้ป่าชายเลน หรือสัญญาที่หน่วยงานทางปกครองทำกับข้าราชการที่ได้รับอนุญาตให้ลาศึกษาต่อเป็นต้น
5.คดีที่มีกฎหมายกำหนดให้หน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าของรัฐต้องฟ้องคดีต่อศาลเพื่อบังคับให้บุคคลกระทำการหรือละเว้นการกระทำ
6.คดีที่กฎหมายกำหนดให้อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง เช่น กรณีที่ฟ้องขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดหรือบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง เป็นต้น

สำนักงานศาลปกครอง (2565 : 3) หน่วยงานทางปกตรองที่อาจถูกฟ้องต่อศาลได้มีอยู่ 7 ประเภท ดังต่อไปนี้
1. หน่วยงานราชการที่เป็นราชการส่วนกลาง
2. หน่วยงานราชการที่เป็นราชการส่วนภูมภาค
3. องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น
4. รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติ
5. หน่วยงานของรับที่มิได้เป็นส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจที่เรียกกันว่าองค์การมหาชน
6. หน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญ
7. หน่วยงานที่ได้รับมอบหมายจากรัฐให้ใช้อำนาจทางปกครองหรือให้ดำเนิน กิจการทางปกครอง

กล่าวโดยสรุป อย่างไรก็ตาม เอกชนอาจถูกฟ้องต่อศาลปกครองได้เช่นกัน เช่น คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองคู่สัญญาอาจฟ้องเอกชนคู่สัญญาเป็นคดีต่อศาลปกครองได้

คดีปกครองประเภทใดที่อยู่ในอำนาจฟ้องของศาลปกครองได้
สถาบันพระปกกล้า(2559:1)พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองพ.ศ. 2542 จำแนกคดีพิพาทที่อยู่ในอำนาจของศาลปกครองออกเป็นประเภทได้ ดังนี้ คือ
1)คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
2)คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร
3)คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย หรือจากกฎ คำสั่งทางปกครอง หรือคำสั่งอื่น หรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ หรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร
4)คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง
5)คดีที่มีกฎหมายกำหนดให้หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐฟ้องคดีต่อศาลเพื่อบังคับให้บุคคลต้องกระทำหรือละเว้นกระทำอย่างหนึ่งอย่างใด
6)คดีพิพาทเกี่ยวกับเรื่องที่มีกฎหมายกำหนดให้อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง

สำนักงานทนายความคดีปกครอง (2566:1) ได้อธิบายว่า สำหรับคดีที่อยู่ในอำนาจการพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองนั้น พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542ได้บัญญัติประเภทของคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้น ในมาตรา 9 วรรคหนึ่งและคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลปกครองสูงสุดในมาตรา 11
1.คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
(มาตรา 9 วรรคหนึ่ง (1)
2.คดีพิพาทเกี่ยวกับหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร (มาตรา 9 วรรคหนึ่ง (2)
3.คดีพิพาทเกี่ ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่ นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ อันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายหรือจากกฎ คำสั่งทางปกครอง หรือคำสั่งอื่นหรือจากการละเลยต่อหน้าที่ ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้า เกิ นสมควรตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (3)
4.คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง (มาตรา 9 วรรคหนึ่ง (4)
5.คดีที่มีกฎหมายกำหนดให้หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐฟ้องคดีต่อศาลเพื่อให้บังคับให้บุคลต้องกระทำหรือละเว้นกระทำอย่างหนึ่งอย่างใด (มาตรา 9 วรรคหนึ่ง (5)
6.คดีพิพาทเกี่ยวกับเรื่องที่มีกฎหมายกำหนดให้อยู่ในเขตอำนาจศาลปกครอง (มาตรา 9 วรรคหนึ่งที่มา:
กล่าวโดยสรุป คดีที่อยู่ในอำนาจศาลปกครองสูงสุด ตามมาตรา 11 แบ่งได้เป็น คดีพิพาทเกี่ยวกับคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท ตามที่ที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดประกาศกำหนดคดีพิพาทเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายของพระราชกฤษฎีกาหรือกฎที่ออกโดยคณะรัฐมนตรี หรือโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี คดีที่มีกฎหมายกำหนดให้อยู่ในอำนาจศาลปกครองสูงสุด คดีที่อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้น

คดีประเภทใดที่ไม่อยู่ในอำนาจฟ้องของศาลปกครอง
สำนักงานศาลปกครอง(2565:31) ได้อธิบายว่าพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 ได้บัญญัติยกเว้นคดีพิพาทเกี่ยวกับหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐบางประเภทที่ไม่สามารถนำมา ฟ้องต่อศาลได้ ได้แก่
การดำเนินการเกี่ยวกับวินัยทหาร ไม่ว่าจะเป็นการลงทัณฑ์แก่ผู้กระทำผิดต่อวินัยทหารหรือเป็นการดำเนินการทางวินัยอย่างอื่น
การดำเนินการของคณะกรรมการตุลาการ (ก.ต.) ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมพ.ศ. 2543 ซึ่งมิใช่เป็นการพิจารณาพิพากษาคดี แต่เป็นการบริหารงานบุคคลของผู้พีพากษาศาลยุติธรรม เช่น การแต่งตั้งโยกย้ายการเลื่อนตำแหน่ง การลงโทษทางวินัย เป็นต้น
คดีที่อยู่ในอำนาจของศาลชำนัญพิเศษต่าง ๆ ที่อยู่ในระบบศาลยุติธรรม ซึ่งได้จัดตั้งขึ้นก่อนที่จะมีการจัดตั้งศาลปกครองได้แก่ คดีที่อยู่ในอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัว คดีที่อยู่ในอำนาจของศาลแรงงานคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลภาษีอากรคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลล้มละลาย
คดีที่มีกฎหมายยกเว้นอำนาจศาลปกครองไว้โดยเฉพาะเช่น พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายใน พ.ศ. 2551 (มาตรา 23 ให้การดำเนินคดีใดๆ ตามพระราชบัญญัตินี้อยู่ในอำนาจศาลยุติธรรม)คดีที่ไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครองตามหลักกฎหมาย ทั่วไปและตามแนวคำวินิจฉัยของศาล เช่น
การดำเนินงานตามกระบวนการยุติธรรมทางแพ่งหรือทางอาญา ตัวอย่างเช่นการฟ้องว่าเจ้าพนักงานบังคับคดียึดและขายทอดตลาดทรัพย์สินโดยไม่ชอบซึ่งการบังคับคดีดังกล่าวเป็นการบังคับคดีแพ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งที่อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม การจับกุมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ การสอบสวนและการเปรียบเทียบปรับของพนักงานสอบสวน และการสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้องคดีอาญาของพนักงานอัยการ ซึ่งเป็นขั้นตอนการดำเนินงานในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาที่จะนำไปสู่การนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษทางอาญาตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เป็นต้น
        สำนักงานศาลปกครอง (2557 : 29) คดีที่ไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครองอาจจัดแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือคดีปกครองที่กฎหมายกำหนดไม่ให้
อยู่ในอำนาจของศาลปกครองและคดีที่มิใช่คดีปกครอง โดยมีทั้งหมด6 ประเภทดังต่อไปนี้
1. คดีที่มีคู่กรณีเป็นหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ ของรัฐซึ่งมีลักษณะเป็นคดีปกครอง แต่มาตรา 9 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 บัญญัติยกเว้นไว้ไม่ให้อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง
2. คดีที่มีกฎหมายตัดอำนาจศาลปกครองไว้โดยเฉพาะ เช่น พระราชกำหนดบรรษัทบริหาร สินทรัพย์ไทย พ.ศ. 2544 บัญญัติว่า มิให้นำ กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณา คดีปกครองมาใช้บังคับแก่การดำเนินคดี
3. คดีที่คู่กรณีมิใช่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ
4. คดีที่คู่กรณีเป็นหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ ของรัฐ แต่การกระทำ ดังกล่าวมิได้เป็นการกระทำที่ใช้อำนาจ ทางปกครองหรือดำ เนินกิจการปกครอง หรือเป็นการกระทำส่วนตัว
5. คดีแพ่ง หรือคดีอาญา ซึ่งเป็นการดำ เนินงานตาม กระบวนการยุติธรรมทางแพ่งหรือทางอาญาอยู่ในอำนาจของ ศาลยุติธรรม
6. คดีที่ฟ้องขอให้ศาลปกครองลงโทษทางวินัยหรือลงโทษ ทางอาญาแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งการลงโทษทางวินัยเป็นเรื่องที่อยู่ ในอำนาจของผู้บังคับ
บัญชา ส่วนการลงโทษทางอาญาเป็นอำนาจ ของศาลยุติธรรม ไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง
ศาลปกครอง(2556:1)คดีพิพาททางปกครองอื่นๆ เช่น คดีที่กฎหมายกำหนดให้หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐฟ้องคดีต่อศาลปกครอง เพื่อบังคับให้บุคคลต้องกระทำหรือละเว้นการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใด เช่น มาตรา 118 ทวิ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2535 ที่บัญญัติให้ กรมเจ้าท่าฟ้องศาลเพื่อบังคับให้ผู้ที่ปลูกสร้างสิ่งก่อสร้างล่วงล้ำลำน้ำรื้อถอนสิ่งก่อสร้างดังกล่าว หรือคดีที่มีกฎหมายเฉพาะกำหนดให้อยู่ในอำนาจศาลปกครอง เช่น มาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 หรือมาตรา 7แห่งพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518 ที่บัญญัติให้ผู้ที่ไม่พอใจ คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการอุทธรณ์ตาม
พระราชบัญญัติดังกล่าวยื่นฟ้องต่อศาลปกครองได้ภายในกำหนดหนึ่งเดือน
ลักษณะตาม ข้อนี้ได้แก่คดีตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (5) และ (6) นั่นเอง และศาล มีอำนาจตามมาตรา 72 วรรคหนึ่ง (3) สั่งให้บุคคลกระทำหรือละเว้นกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายหรือตามมาตรา 72 วรรคหนึ่ง (4) สั่งให้ถือปฏิบัติต่อสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลที่เกี่ยวข้องในกรณีที่มีการฟ้องให้ศาลมีคำพิพากษาแสดงความเป็นอยู่ของสิทธิหรือหน้าที่นั้น
มีคดี 3 ประเภทที่กฎหมายบัญญัติมิให้อยู่ในอำนาจของศาลปกครองได้แก่ การดำเนินการเกี่ยวกับวินัยทหาร การดำเนินการของคณะกรรมการตุลาการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ และคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลชำนัญพิเศษสังกัดศาลยุติธรรม ได้แก่ ศาลเยาวชนและครอบครัว ศาลแรงงาน ศาลภาษีอากร ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ศาลล้มละลาย หรือศาลชำนัญพิเศษอื่น
อนึ่ง การฟ้องคดีตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (1) หรือมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (2) พร้อมกับเรียกค่าเสียหายฐานละเมิดตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (3) ไปด้วย ย่อมทำได้ ในกรณีเช่นนี้ศาลจะมีอำนาจพิพากษาทั้งตามมาตรา 72 วรรคหนึ่ง (1) หรือมาตรา 72 วรรคหนึ่ง (2) และมาตรา 72 วรรคหนึ่ง (3)

กล่าวโดยสรุปคดีที่ไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง ตามมาตรา 9 วรรค 2
1. การดำเนินการเกี่ยวกับวินัยทหาร
2. การดำเนินการของคณะกรรมการตุลาการกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ
3. คดีที่อยู่ในอำนาจของศาลชำนัญพิเศษ
– ศาลเยาวชนและครอบครัว
– ศาลแรงงาน
– ศาลภาษีอากร
– ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ
– ศาลชำนัญพิเศษอื่นๆ

ฟ้องคดีต่อศาลปกครองต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขใดบ้าง
งานนิติการมหาวิทยาลัยราชกัฏวไลยอลงกรณ์(2562:1) ในพระบรมราชูปถัมภ์การเสนอคำฟ้อง การยื่นฟ้องต่อศาล จะต้องเป็นไปตามเงื่อนไข
ดังต่อไปนี้
1. เรื่องที่นำมาฟ้องต้องเป็นคดีปกครอง และต้องเป็น กรณีตามมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง ได้แก่
1.1 การกระทำของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เช่น ออกคำสั่งผิดวิธี ไม่ดำเนินการตามระเบียบ เป็นต้น
1.2 กรณีนี้เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือหน่วยงานทางปกครองละเลยต่อหน้าที่ หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร
1.3 เจ้าหน้าที่ หรือหน่วยงานกระทำละเมิดต่อบุคคลอื่น
1.4 คดีเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง9
1.5 คดีที่กฎหมายกำหนดให้หน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ทางปกครอง มาฟ้องคดีต่อศาลปกครอง
1.6 คดีที่เกี่ยวกับเรื่องที่กฎหมายกำหนดให้อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง
2. ต้องยื่นฟ้องต่อศาลที่มีอำนาจต้องยื่นฟ้องศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นหรือศาลที่ผู้ฟ้องคดีมีภูมิลำเนาอยู่เขตศาลนั้น
3. คำฟ้องต้องทำเป็นหนังสือและมีรายการตามที่กำหนดไว้และยื่นโดยถูกวิธี
4. ผู้ฟ้องคดีต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถตามกฎหมาย
5. ผู้ฟ้องคดีต้องเป็นผู้มีสิทธิฟ้องคดีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 276 ของ รัฐธรรมนูญ และมาตรา 42 พรบ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542
6. ต้องยื่นฟ้องภายในระยะเวลาที่กำหนดกรณีที่ฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนกฎ หรือคำสั่งทางปกครอง
7. ก่อนฟ้องคดีปกครองต้องดำเนินการแก้ไขความเดือดร้อน หรือความเสียหายตามขั้นตอนหรือวิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับการนั้นเสียก่อน
8. การชำระค่าธรรมเนียมศาลกรณีการฟ้องคดีขอให้ศาลสั่งให้ใช้เงินหรือส่งมอบทรัพย์สินอันสืบเนื่องจากคดีพิพาทเกี่ยวกับการทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครอง
ชาญชัย แสวงศักดิ์. (2556)เสนอคำฟ้องการยื่นฟ้องต่อศาล จะต้องเป็นไปตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
1. เรื่องที่นำมาฟ้องต้องเป็นคดีปกครอง และต้องเป็นเรื่องที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองคือเป็นกรณีตามมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง
2. ต้องยื่นฟ้องต่อศาลที่มีอำนาจอำนาจศาลในที่นี้หมายถึงทั้งอำนาจและเขตอำนาจกล่าวคือ คดีที่อยู่ในอำนาจของศาลปกครองชั้นต้น ก็จะต้องยื่นฟ้องต่อศาลปกครองชั้นต้นจะฟ้องไปยังศาลปกครอง สูงสุดไม่ได้
3. คำฟ้องต้องทำเป็นหนังสือและมีรายการตามที่กำหนดไว้และยื่นโดยถูกวิธีการฟ้องคดีปกครองไม่มีแบบของคำฟ้องกำหนดไว้เฉพาะ แต่ต้องทำเป็นหนังสือ ฟ้องด้วยวาจาไม่ได้ ใช้ถ้อยคำสุภาพ
4. ผู้ฟ้องคดีต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถตามกฎหมายโดยหลักแล้วผู้ฟ้องคดีต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถในการทำนิติกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ หากผู้ฟ้องคดีมีข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถก็จะต้องดำเนินการแก้ไขตามที่ประมวลกฎหมายแพ่ง
5. ผู้ฟ้องคดีต้องเป็นผู้มีสิทธิฟ้องคดีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 276 ของ รัฐธรรมนูญ และมาตรา 42 กล่าวคือจะต้องเป็นผู้ที่ได้รับความเดือดร้อน
6. ต้องยื่นฟ้องภายในระยะเวลาที่กำหนดกรณีที่ฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนกฎ
7. ก่อนฟ้องคดีปกครองต้องดำเนินการแก้ไขความเดือดร้อน หรือเสียหายตามขั้นตอนหรือวิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับการนั้นเสียก่อน
8. การชำระค่าธรรมเนียมศาลโดยทั่วไปการฟ้องคดีปกครองไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล
9. การขอให้ฝ่ายปกครองเยียวยาแก้ไขความเสียหายก่อนฟ้องคดีในกรณีที่มีกฎหมายกำหนดขั้นตอน
ศาลปกครอง (2556:1) ข้อควรระวังในการจัดทำคำฟ้อง
1. ข้อควรระวังในการจัดทำคำฟ้องด้วยเหตุที่การฟ้องคดีปกครอง ผู้ฟ้องคดีสามารถจัดทำคำฟ้องได้ด้วยตนเอง โดย ไม่จำเป็นต้องให้ทนายความ หรือผู้ที่มีความรู้ทางกฎหมายช่วยจัดทำคำฟ้องให้ ดังนั้น ผู้ฟ้องคดีที่ ไม่ได้ศึกษาหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของการฟ้องคดีปกครองตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 และระเบียบวิธีพิจารณาคดีปกครองที่เกี่ยวข้อง
2. ข้อควรระวังเกี่ยวกับคำฟ้องที่ยื่นฟ้องทางไปรษณีย์
3. ข้อควรระวังเกี่ยวกับการติดต่อกับศาลปกครองระหว่างการดำเนินคดีปกครอง
กล่าวโดยสรุป ฟ้องคดีต่อศาลปกครองต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข คดีที่ศาลปกครองมีอำนาจรับไว้พิจารณาพิพากษาได้นั้นนอกจากจะต้องเป็นคดีปกครองแล้ว ยังจะต้อปรากฏด้วยว่า ผู้ฟ้องคดีได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการฟ้องคดีครบถ้วน

ฟ้องคดีต่อศาลปกครองต้องเสียค่าธรรมเนียมตามเงื่อนไขใดบ้าง
ฐิติพร ป่านไหม (2559:1)ได้กล่าวว่า"การเสียค่าธรรมเนียมศาล" อาจเป็นข้อกังวลใจของผู้ที่ประสงค์จะฟ้องคดีต่อศาลปกครองบางท่าน โดยเฉพาะผู้ที่มีภาระค่าใช้จ่าย หนี้สิน หรือโดยสถานะทางครอบครัวหากต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลอาจจะเดือดร้อนมากยิ่งขึ้น ซึ่งความกังวลใจดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมทางปกครองของประชาชน ทั้งที่คดีพิพาทที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครองล้วนเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายของฝ่ายปกครอง
นิธินันท์ สุขวงศ์(2552:1)"การเสียค่าธรรมเนียมศาล" ก็ถือเป็นเงื่อนไขการฟ้องคดีปกครองที่สำคัญซึ่งผู้ฟ้องคดีมีภาระหน้าที่ต้องปฏิบัติเช่นเดียวกัน ส่วนจะมีหลักเกณฑ์อย่างไรนั้น และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้บัญญัติเกี่ยวกับกระบวนการที่จะอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมทางปกครองหรือไม่ อย่างไร บทความนี้จะทำให้ท่านรู้และเข้าใจ และฟ้องคดีต่อศาลปกครองได้อย่างถูกต้องโดยปกติการฟ้องคดีปกครองต่อศาลปกครองไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล แต่หากเป็นการฟ้องคดีเพื่อขอให้ศาลปกครองมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้หน่วยงานทางปกครองใช้เงินอันสืบเนื่องจากคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ อันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย หรือจากกฎ คำสั่งทางปกครอง หรือคำสั่งอื่นหรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดหรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควรหรือคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองตาม
มาตรา๙ วรรคหนึ่ง (๓ ) และ (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.๒๕๔๒ คู่กรณีต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลตามทุนทรัพย์ในอัตราร้อยละ๒.๕ ของทุนทรัพย์ แต่ไม่เกินสองแสนบาท (มาตรา๔๕ วรรคสี แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒)
กำหนดประเภทคดีไว้ 4 ประเภท กล่าวคือ
1. คดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้
2. คดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้
3. คดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ และไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้รวมอยู่ด้วย
4. คดีที่ขอให้ชำระค่าเสียหาย ค่าอุปการะเลี้ยงดู หรือค่าเลี้ยงชีพ
ศาลปกครอง(2562:1)กรณียื่นฟ้องตรงต่อศาลปกครองสูงสุด (คดี ฟ.) ชำระเป็น
1. เงินสด
2. เช็คซึ่งส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจเป็นผู้สั่งจ่าย
3. เช็คที่ธนาคารรับรอง ได้แก่
3.1 ตั๋วแลกเงินธนาคาร
3.2 ดราฟต์
3.3 แคชเชียร์เช็ค (ใช้เฉพาะธนาคารในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล เนื่องจากแคชเชียร์เช็คของธนาคารในเขตต่างจังหวัด เมื่อนำมาเข้าบัญชีที่กรุงเทพฯ จะมีค่าธรรมเนียมในการเรียกเก็บเงินตามเช็ค ทำให้จำนวนเงิน ที่ศาลรับชำระไม่ตรงตามเช็ค จึงส่งผลให้ผู้ฟ้องคดีชำระเงินไม่ครบถ้วน) ทั้งนี้ ให้ ธนาคารสั่งจ่ายเงินชื่อบัญชี "เงินค่าธรรมเนียมและเงินค่าปรับของสำนักงานศาลปกครองสูงสุด"
4. บัตรเครดิต บัตรเดบิต หรือบัตรอื่นในลักษณะเดียวกันหมายเหตุหากมีค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายอย่างอื่นในการเรียกเก็บเงินตามวิธีการดังกล่าวให้ผู้มีหน้าที่ต้องชำระค่าธรรมเนียมศาลเป็นผู้รับภาระ
กล่าวโดยสรุปกฎหมายให้เสียค่าธรรมเนียมตามอัตรา คดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้เท่านั้น หรือเป็นเพียงการให้ใช้อัตราค่าธรรมเนียมตามตาราง 1 โดยใช้อัตราของคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ซึ่งอัตราดังกล่าว คือ ทุนทรัพย์ไม่เกิน 50 ล้านบาท ร้อยละ 2ไม่เกิน 2 แสนบาท ส่วนที่เกิน 50 ล้านบาท ร้อยละ 0.1 เป็นอัตราในการคำนวณค่าธรรมเนียมศาล สำหรับคดีตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (3) หรือ (4) ที่ขอให้ศาลสั่งให้ใช้เงินหรือส่งมอบทรัพย์สินเท่านั้น

ยื่นคำฟ้องคดีปกครองได้ที่ใด
สำนักประชาสัมพันธ์ สำนักศาลปกครอง (2557) ข้อควรรู้ก่อนก่อนไปศาลปกครอง/เข้าถึงได้ศาลปกครองมี 2 ชั้นศาล คือศาลปกครองชั้นต้นและศาลปกครองสูงสุด
    มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์(2021) การฟ้องคดีปกครองได้บัญญัติหลักเกณฑ์วิธีการไว้ใน พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 จะต้องเป็นไปตามเงื่อนไข
วิธีการยื่นคำฟ้อง
ผู้ฟ้องคดีสามารถเลือกยื่นคำฟ้องได้ 2 วิธีคือ
1. ยื่นคำฟ้องต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของศาลปกครอง
2. ยื่นคำฟ้องโดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนสถานที่ยื่นคำฟ้องศาลปกครองสูงสุดกล่าวโดยสรุป จะต้องยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง ชั้นต้นที่มีเขตอำนาจ ซึ่งกฎหมายกำหนดให้ยื่นฟ้องต่อศาลที่ผู้ฟ้องคดีมีภูมิลำเนาหรือที่มูลคดีเกิด
1.) หลักเกณฑ์ทั่วไปในการยื่นคำฟ้อง
2.)การยื่นคำฟ้องต่อศาลปกครองชั้นต้น
3.)การยื่นคำฟ้องต่อศาลปกครองสูงสุด

กล่าวโดยสรุป การฟ้องคดีปกครอง สามารถดำเนินการได้โดยง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อน ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก หรือ อาจไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายถือหลักว่าให้กระทำได้โดยง่าย ไม่มีข้อยุ่งยาก ทั้งยังไม่ต้องบังคับให้ต้องมีทนายความในการฟ้องคดี แต่อย่างไรก็ตามเนื่องจากการฟ้องคดีปกครองสามารถดำเนินการได้โดยง่ายจึงได้มีการกำหนดเงื่อนไขบางประการเอาไว้ในการฟ้องคดีเพื่อไม่ให้เกิดการกลั่นแกล้งและฟ้องคดีอย่างพร่ำเพรื่อ หรือฟ้องคดีโดยไม่มีเหตุ อันเป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดความยุ่งยากแก่ผู้ถูกฟ้องและเป็นภาระต่อศาลปกครองผู้ฟ้องคดี สามารถยื่นคำฟ้องได้ 2 วิธี ได้แก่
1. ยื่นคำฟ้องด้วยตนเองที่ศาลปกครองที่ตนมีภูมิลำเนาหรือที่มูลคดีเกิด
2. ส่งคำฟ้องทางไปรษณีย์ลงทะเบียน

เอกสารอ้างอิง