ศาลปกครองน่ารักของฉัน

(1) โฆษิต พะนิจรัมย์ (2) นวพล มีแย้มภักดิ์  (3) ปิติวัฒน์ แพงเจริญ (4) ศุภกร ผลมหา

นักศึกษาสาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

(1) 640112801002@bru.ac.th     (2) 640112801010@bru.ac.th (3) 640112801011@bru.ac.th     (4) 640112801015@bru.ac.th 

 11 กุมภาพันธ์ 2567

ศาลปกครอง   มีวิวัฒนาการมาเป็นระยะเวลาอันยาวนานกว่าจะมาเป็นศาลปกครองอย่างในปัจจุบัน  โดยได้มีการผสมผสานระหว่างแนวความคิดจากพื้น ฐานประเพณีสังคมแบบดั้งเดิมของประเทศไทยกับแนวความคิดซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากต่างประเทศ เพื่อก่อให้เกิดความเหมาะสมกับสถานการณ์ในแต่ละช่วงเวลาและค่อยๆพัฒนาเพื่อให้ประชาชนและประเทศชาติเกิดความพร้อมควบคู่กันไปโดยจุดมุ่งหมายก็เพื่ออำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชน เมื่อเกิดคดีพิพาททางปกครองและเพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพให้แก่ประชาชนทุกคนอย่างสูงสุด 

ศาลปกครองคืออะไร

ศาลปกคองหมายถึงศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีปกครองตามที่กฎหมายบัญญัติอัน ได้แก่คดีพิพาทที่เกิดจากการกระทำทางปกครองไม่ว่าจะเป็นคดีที่เป็นข้อพิพาทระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐรัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแลของรัฐบาลกับเอกชนหรือระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแลของรัฐบาลด้วยกัน

สถาบันพระปกเกล้า (2558:ออนไลน์) ศาลปกครอง หมายถึง ศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีปกครองโดยเฉพาะ อันไม่อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรมหรือศาลอื่น

ฤทัย หงส์สิริ (2560:2) ศาลปกครองเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีปกครอง

วุฒิสภา (2559:1) ศาลปกครอง คือ ศาลที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มีอำนาจหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีปกครอง ซึ่งเป็นคดีพิพาทระหว่าง หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชน หรือคดีพิพาทระหว่างหน่วยยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกันเองอันเนื่องมาจากการใช้อำนาจทางปกครอง การละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ การปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร การกระทำละเมิด หรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือเป็นคดีพิพาทอันเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง

กล่าวโดยสรุปศาลปกครอง คือ องค์กรที่ใช้อำนาจตุลาการเช่นเดียวกับศาลยุติธรรม แต่จะทำหน้าที่พิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในคดี ที่เรียกว่า คดีปกครอง ศาลปกครองนั้นจะมีอำนาจหน้าที่ในการวินิจฉัยชี้ขาดคดีพิพาทที่เกิดระหว่างหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชน หรือระหว่างหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกันเอง 

หน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐใดบ้างที่อาจถูกฟ้องคดีต่อศาลปกครอง

ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีปกครอง ได้แก่ คดีปกครองที่เกิดจากการใช้อำนาจโดยมิชอบของหน่วยงาน ทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งอาจเป็นข้อพิพาทระหว่างเอกชน ฝ่ายหนึ่งกับหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอีกฝ่ายหนึ่ง หรืออาจเป็นข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ ของรัฐด้วยกันเอง 

สำนักงานศาลปกครอง (2557:21) หน่วยงานทางปกครองที่อาจถูกฟ้องคดีต่อศาลปกครองได้ มีอยู่ 7ประเภท ดังต่อไปนี้        

1. หน่วยราชการที่เป็นราชการส่วนกลาง ได้แก่ กระทรวง กรม

2. หน่วยราชการที่เป็นราชการส่วนภูมิภาค ได้แก่ จังหวัด อำเภอ    

3. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ เทศบาล องค์การบริหาร ส่วนตำบล องค์การบริหารส่วนจังหวัดกรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา   

4. รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติเช่น การรถไฟแห่งประเทศไทย การประปานครหลวง หรือรัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้น โดยพระราชกฤษฎีกา เช่น องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ แต่ไม่รวมถึงรัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นในรูปของบริษัทหรือบริษัทมหาชนจำกัด เช่น บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)   5. หน่วยงานของรัฐที่มิได้เป็นส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ หรือที่เรียกกันว่าองค์การมหาชน เช่นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์       

6. หน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญ เช่น สำนักงานศาลปกครอง สำนักงานศาลยุติธรรม   

7. หน่วยงานที่ได้รับมอบหมายจากรัฐให้ใช้อำนาจทางปกครองหรือให้ดำเนินกิจการทางปกครอง            เช่น แพทย์สภาสภาทนายความ สำนักงานช่างรังวัดเอกชน

ดังนั้น หน่วยงานทางปกครองที่อาจถูกฟ้องคดีต่อศาลปกครอง จึงไม่รวมถึงรัฐสภาที่ใช้อำนาจทางนิติบัญญัติและศาลที่ใช้อำนาจทางตุลาการ

เจ้าหน้าที่ของรัฐที่อาจถูกฟ้องคดีต่อศาลปกครองได้นั้น ได้แก่   

1. ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง คณะบุคคลหรือผู้ที่ปฏิบัติงาน ในหน่วยงานทางปกครอง        

2. คณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท คณะกรรมการหรือบุคคล ซึ่งมีกฎหมายให้อำ นาจในการออกกฎ คำสั่งหรือมติใดๆ ที่มีผลกระทบ ต่อบุคคล   

3. บุคคลที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแลของหน่วยงาน ทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ

สถาบันพระปกเกล้า (2559:ออนไลน์) ตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 สามารถจำแนกประเภทของหน่วยงานทางปกครองเป็น 4 ประเภท ดังต่อไปนี้

1. หน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ได้จัดระเบียบราชการบริหารของประเทศแยกออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้

1.1 หน่วยงานในระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง คือ กระทรวง ทบวง กรม และส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม

1.2 หน่วยงานในระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค คือ จังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน เป็นหน่วยงานที่อยู่ในบังคับบัญชาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

1.3 หน่วยงานในระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น

2. รัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา รัฐวิสาหกิจ (State Enterprises) ในระบบกฎหมายของประเทศไทยสามารถจำแนกได้ 2 ประเภท ดังนี้

2.1 รัฐวิสาหกิจที่เป็นหน่วยงานทางปกครอง

2.2 รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นหน่วยงานทางปกครอง

3. หน่วยงานอื่นของรัฐ หน่วยงานอื่นของรัฐ หมายถึง บรรดาหน่วยงานของรัฐทั้งหลายที่ไม่ใช่หน่วยงานตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และไม่ใช่รัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือโดยพระราชกฤษฎีกา สามารถจำแนกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

3.1 องค์การมหาชน (Public Organization) หมายถึง องค์การมหาชนทั้งหลายที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษีกาออกโดยอาศัยอำนาจตามความในพระราชบัญญัติองค์การมหาชนพ.ศ. 2542

3.2 หน่วยงานอิสระของรัฐ (Independent Administrative Organization) เป็นหน่วยงานของรัฐที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยกำหนดให้ตราเป็นพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญหรือพระราชบัญญัติจัดตั้งขึ้นเพื่อให้ทำหน้าที่เป็นหน่วยธุรการของศาลต่างๆ

4. หน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครองหรือให้ดำเนินกิจการทางปกครอง    หน่วยงานทางปกครองเพราะได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครองหรือให้ดำเนินกิจการทางปกครองอาจแบ่งเป็น 2 ประเภทสำคัญ ได้แก่ องค์การวิชาชีพและองค์การเอกชนที่ไม่ได้เป็นส่วนราชการหรือเป็นหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจที่มิได้จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือโดยพระราชกฤษฎีกาที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครองหรือให้ดำเนินกิจการทางปกครอง

ราชกิจจานุเบกษา (2542:2) “เจ้าหน้าที่ของรัฐ” หมายความว่า

1. ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง คณะบุคคล หรือผู้ที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานทางปกครอง 

2. คณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท คณะกรรมการหรือบุคคลซึ่งมีกฎหมายให้อำนาจในการออกกฎ คำสั่งหรือมติใด ๆ ที่มีผลกระทบต่อบุคคลและ

3. บุคคลที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแลของหน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐตาม 1หรือ 2

กล่าวโดยสรุป หน่วยงานทางปกครอง หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ และให้ความหมายรวมถึงหน่วยงาน ที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครองหรือให้ดำเนินกิจการทางปกครอง

เจ้าหน้าที่ของรัฐ ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง คณะบุคคล หรือผู้ที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานทางปกครองหคณะกรรมการหรือบุคคลซึ่งมีกฎหมายให้อำนาจในการออกกฎ คำสั่งหรือมติใด ๆ ที่มีผลกระทบต่อบุคคลและบุคคลที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแลของหน่วยงานทางปกครอง 

คดีปกครองประเภทใดที่อาจฟ้องต่อศาลปกครองได้?

คดีปกครองคือ คดีที่เป็นข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชนหรือข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานทางการปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกันเองและเป็นคดีในเรื่องตังต่อไปนี้ คตีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางการปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐออกกฎ คำสั่ง หรือการกระทำอื่นใดโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย คตีพิพาทเกี่ยวกับหน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามกฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิด หรือความรับผิดชอบอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ อันกิดจากการใช้อำนาจล่าช้าเกินสมควร คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง คดีที่มีกฎหมายกำหนดให้หน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าของรัฐต้องฟ้องคดีต่อศาลเพื่อบังคับให้บุคคลกระทำการหรือละเว้นการกระทำ คดีที่กฎหมายกำหนดให้อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครองการฟ้องคดีปกครอง

สำนักงานศาลปกครอง (2557:ออนไลน์) คดีปกครองที่อาจฟ้องต่อศาลปกครองได้ มีอยู่ 6 ประเภทดังต่อไปนี้

1. คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐออกกฎคำสั่งทางปกครองหรือกระทำการอื่นใดโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เช่น ไม่มีอำนาจ นอกเหนืออำนาจไม่ถูกต้องตามรูปแบบ ขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญหรือใช้ดุลพินิจโดยไม่ชอบ

2. คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร เช่น การที่เอกชนซึ่งได้รับมอบหมายจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เป็นผู้กำจัดขยะ

3. คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายหรือจากกฎ คำสั่งทางปกครอง หรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่ำช้าเกินสมควร เช่น การใช้มาตรการบังคับทางปกครองเข้ารื้อถอนอาคารเกินกว่าที่จำเป็น

4. คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง สัญญาระหว่างหน่วยงานทางปกครองกับเอกชนนั้นมีมาเป็นเวลานานแล้ว ซึ่งแต่เดิมเมื่อยังไม่มีศาลปกครอง คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาดังกล่าวต้องฟ้องต่อศาลยุติธรรม ซึ่งศาลยุติธรรมได้นำหลักในสัญญาทางแพ่งมาใช้ในการพิจารณาพิพากษาคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาระหว่างหน่วยงานทางปกครองกับเอกชน จึงมิได้มีการแยกแยะว่าสัญญาดังกล่าวมีลักษณะเป็นสัญญาทางแพ่งหรือสัญญาทางปกครองแต่เมื่อมีการจัดตั้งศาลปกครองขึ้นมาแล้วพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 ได้บัญญัติให้คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองอยู่ในอำนาจของศาลปกครอง

5. คดีที่มีกฎหมายกำหนดให้หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐต้องฟ้องคดีต่อศาลเพื่อบังคับบุคคลให้กระทำการหรือละเว้นกระทำการเช่น พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทยพระพุทธศักราช2456 บัญญัติให้เจ้าท่าร้องขอต่อศาลเพื่อมีคำสั่งให้มีการรื้อถอนอาคารหรือสิ่งอื่นใดที่ล่วงล้ำเข้าไปเหนือน้ำในน้ำและใต้น้ำของแม่น้ำลำคลอง บึง อ่างเก็บน้ำ ทะเลสาบ อันเป็นทางสัญจรของประชาชนหรือที่ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน หรือทะเลภายในน่านน้ำไทย หรือบนชายหาดของทะเลดังกล่าว ในกรณีที่เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสิ่งอื่นใดนั้นไม่ยอมรื้อถอนตามคำสั่งของเจ้าท่าภายในเวลาที่กำหนด

6. คดีที่มีกฎหมายกำหนดให้อยู่ในเขตอำนาจศาลปกครอง เช่น พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518บัญญัติว่า ผู้ซึ่งไม่พอใจคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์เกี่ยวกับการสั่งรื้อย้ายอาคารและการคิดค่าใช้จ่ายในการรื้อย้ายอาคาร มีสิทธิยื่นฟ้องต่อศาลปกครองได้พระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 บัญญัติว่า ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม หรือเจ้าของที่ดินหรือเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลรักษาที่ดินที่ไม่พอใจในจำนวนเงินค่าตอบแทนที่คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติกำหนด มีสิทธิที่จะฟ้องคดีต่อศาลปกครองได้ คดีปกครอง ที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองนั้นโดยปกติอยู่ในอำนาจศาลปกครองชั้นตันยกเว้นประเภทของคดีปกครองดังต่อไปนี้ พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองพ.ศ. 2542 กำหนดให้อยู่ในอำนาจศาลปกครองสูงสุด

ชาญชัย แสวงศักดิ์ (2553:351) คดีที่อยู่ในอำนาจของศาลปกครองในการพิจารณาว่าคดีใดอยู่ในอำนาจของศาลปกครองนั้นต้องพิจารณาจากหลักเกณฑ์ 2ประการควบคู่กัน คือ ประการแรกต้องดูว่าใครเป็นคู่พิพาทและประการที่สองคดีนั้นอยู่ในอำนาจของศาลปกครองหรือไม่  คู่พิพาท แบ่งออกเป็น 5 กรณี คือ

1. เอกซนพิพาทกับหน่วยงานทางปกครอง

2. เอกชนพิพาทกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ

3. หน่วยงานทางปกครองพิพาทกับหน่วยงานทางปกครอง

4. เจ้าหน้าที่ของรัฐพิพาทกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ

5. เจ้าหน้าที่ของรัฐพิพาทกับหน่วยงานทางปกครอง

สถาบันพระปกเกล้า (2559:ออนไลน์) คดีปกครองคือ คดีที่เป็นข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชน หรือข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานทางการปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกันเอง และเป็นคดีในเรื่องดังต่อไปนี้

1. คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางการปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐออกกฎ คำสั่ง หรือการกระทำอื่นใดโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย

2. คดีพิพาทเกี่ยวกับหน่วยงานทางปกครอง     หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามกฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ   หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร

3. คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิด หรือความรับผิดชอบอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ  อันเกิดจากการใช้อำนาจล่าช้าเกินสมควร

4. คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง

5. คดีที่มีกฎหมายกำหนดให้หน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าของรัฐต้องฟ้องคดีต่อศาลเพื่อบังคับให้บุคคลกระทำการหรือละเว้นการกระทำ

6. คดีที่กฎหมายกำหนดให้อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง

กล่าวโดยสรุป การฟ้องคดีต่อศาลปกครองโดยทั่วไปแล้วไม่ต้องเสียดำธรรมเนียมศาล เว้นแต่การฟ้องคดีขอให้ศาลปกครองพิจารณาให้ใช้เงิน หรือส่งมอบทรัพย์สินอันเนื่องมาจากตีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ อันเกิดจาการใช้อำนาจตามกฎหมายกฎคำสั่งหางปกครอง หรือคำสั่งอื่น หรือเกิดจาการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ตังกล่าวล่าช้าเกินสมควร หรือคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองการฟ้องคดีปกครองนั้น กฎหมายวางหลักไว้ว่า ผู้ฟ้องคดีไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล เช่น ฟ้องคดีขอให้ศาลสั่งเพิกถอนกฎ หรือคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คดีประเภทใดที่ไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง

คดีที่ไม่ได้อยู่ในอำนาจของศาลปกครองมักเกี่ยวข้องกับคำพิพากษาทางศาลตั้งแต่ตันแรก ซึ่งอาจได้รับการพิจารณาและพิพากษาที่ระตับศาลอื่นๆที่มีอำนาจมากขึ้นตัวอย่างของคดีที่ไม่ใต้อยู่ในอำนาจของศาลปกครองปัจจุบันกระบวนการยุติธรรมของประเทศมีข้อจำกัดหลายประการทั้งในกระบวนการยุติธรรมหลักคือ การเริ่มที่พนักงานสอบสวน อัยการ ศาล ราชทัณฑ์

สำนักงานศาลปกครอง (2557:ออนไลน์) คดีที่ไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครองอาจจัดแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มคือ คดีปกครองที่กฎหมายกำหนดไม่ให้อยู่ในอำนาจของศาลปกครองและคดีที่มิใช่คดีปกครอง

ชาญชัย แสวงศักดิ์ (2553:352) คดีที่ไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครองคดีที่ไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครองนั้น ได้แก่ คดี 6 ประเภทดังต่อไปนี้

1. คดีที่มีคู่กรณีเป็นหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมีลักษณะเป็นคดีปกครองแต่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองฯ บัญญัติยกเว้นไว้ไม่ให้อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง

2. คดีที่มีกฎหมายตัดอำนาจศาลปกครองไว้โดยเฉพาะ เช่น พระราชกำหนดบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยพ.ศ. 2544

3. คดีที่คู่กรณีมิใช่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ  เช่น  สหกรณ์ออมทรัพย์ รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นในรูปของบริษัทหรือบริษัทมหาชนจำกัด เช่น ธนาคารกรุงไทย จำกัด

4. คดีที่คู่กรณีเป็นหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ  แต่การกระทำที่พิพาทลังกล่าวเป็นการกระทำส่วนตัว มิใช่เป็นการปฏิบัติหน้าที่หรือคดีที่พิพาทมิใช่คดี

5. คดีที่มิใช่คดีปกครอง เช่น คดีแพ่ง คดีอาญา ซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรมหรือการดำเนินกระบวนการยุติธรรมทางอาญา

6. คดีที่ฟ้องขอให้ศาลปกครองลงโทษทางวินัย    หรือลงโทษทางอาญาแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งการลงโทษทางวินัยเป็นเรื่องที่อยู่ในอำนาจของผู้บังคับบัญชาหรือการลงโทษทางอาญาเป็นอำนาจของศาลยุติธรรม ไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง

ชูชาติ อัศวโรจน์ (2562:405) ศาลปกครองไม่มีอำนาจกำหนดคำบังคับให้เป็นไปตามความประสงค์ของคดีที่ประสงค์จะไม่ปฏิบัติตามกระบวนการและขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด เมื่อคดีนี้ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่าข้อมูลข่าวสารตามคำวินิจฉัย

กล่าวโดยสรุป  ประเภทของคดีที่ไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครองคดีบางประเภทที่ต้องฟ้องต่อศาลปกครองตามที่กล่าวไว้ แต่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ได้กำหนดไว้ว่าคดีเหล่านี้เป็นดีที่ไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง ไต้แก่ การตำเนินการเกี่ยวกับวินัยของทหารการตำเนินการของคณะกรรมการตุลาการ (ก.ต.) คดีที่อยู่ในอำนาจของศาลชำนัญพิเศษ ได้แก่ ศาลเยาวชนและครอบครัว เป็นต้น


ฟ้องของคดีต่อศาลปกครองต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขใดบ้าง

       การฟ้องคดีปกครองได้บัญญัติหลักเกณฑ์วิธีการไว้ใน พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 และอีกส่วนหนึ่งกำหนดไว้ในระเบียบของที่ประชุมใหญ่ ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2543

สถาบันพระปกเกล้า (2259:ออนไลน์) การฟ้องคดีปกครองกำหนดเงื่อนไขไว้ 4 ประการ ได้แก่

1. ผู้ฟ้องคดีต้องเป็นผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย หรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้จากการกระทำหรือการงดเว้นการกระทำของทางราชการ

2. ระยะเวลาการฟ้องคดี ต้องฟ้องภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ซึ่งโดยหลัก คือ ภายใน 90 วันนับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการฟ้องคดี หรือภายใน 1 ปี

3. คำฟ้องไม่มีแบบฟอร์มบังคับโดยเฉพาะ เพียงแต่มีเงื่อนไขว่าต้องใช้ถ้อยคำสุภาพและต้องมีเนื้อหาสาระให้เข้าใจได้ว่าเป็นคำฟ้อง

4. การขอให้มีการแก้ไขเยียวยาในเบื้องต้นก่อนนำเรื่องมาฟ้องศาลปกครอง

พฤกษ์ คดีปกครอง (2566:ออนไลน์) เงื่อนไขการเป็นผู้เดือดร้อนหรือเสียหายหรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายในคดีปกครองมี 3 ประการคือ

1. ผู้ฟ้องคดีต้องเป็นผู้ซึ่งได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายหรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้ในเรื่องนั้น

2. ความเดือดร้อนหรือเสียหายที่ผู้ฟ้องคดีได้รับนั้นเกิดจากการกระทำหรือการงดเว้นการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 9 วรรคหนึ่ง 

3. การแก้ไขเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนหรือเสียหายที่ผู้ฟ้องคดีได้รับนั้นต้องมีคำบังคับตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 72

ศรุต นิติรัช (2560:ออนไลน์) เงื่อนไขการฟ้องคดีปกครอง

1. เงื่อนไขเกี่ยวกับผู้มีสิทธิฟ้องคดี และความสามารถของผู้ฟ้องคดี ตามมาตรา 42

2. เงื่อนไขเกี่ยวกับคำขอในคำฟ้องให้ศาลมีคำบังคับ เพื่อแก้ไขความเดือนร้อนเสียหาย ตามมาตรา 72

3. เงื่อนไขเกี่ยวกับการเยียวยา แก้ไขความเดือดร้อนเสียหายแก่ผู้ฟ้องคดี

4. เงื่อนไขเกี่ยวกับคำฟ้องและเอกสารที่ยื่นต่อศาล (เป็นเรื่องของเสมียน)

5. เงื่อนไขเกี่ยวกับระยะเวลาในการฟ้องคดี

กล่าวโดยสรุป การฟ้องคดีปกครองต่อศาลปกครองจะไม่มีหลักเกณฑ์ ที่ซับซ้อนให้เป็น ภาระแก่ประชาชนผู้ประสงค์จะฟ้องคดี และการดำเนินคดีในศาลปกครองก็ค่อนข้างยืดหยุ่น เพื่อให้การแสวงหาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐาน มีความถูกต้องและครบถ้วนที่สุดแต่อย่างไรก็ตาม

ฟ้องคดีต่อศาลปกครองต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลหรือไม่ 

การฟ้องคดีปกครองนั้น กฎหมายวางหลักไว้ว่าผู้ฟ้องคดี ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล ค่าธรรมเนียมศาลเป็นส่วนหนึ่งของเงื่อนไขในการฟ้องคดีซึ่ง การฟ้องคดีปกครองนั้น กฎหมายวางหลักไว้ว่าผู้ฟ้องคดีไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล แต่ถ้าเป็นการฟ้องคดีขอให้ศาลสั่งให้มีการใช้เงิน อันเนื่องมาจากคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิด ผู้ฟ้องคดีจะต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล ในอัตราตามบัญชีท้ายประมวลวิธีพิจารณาความแพ่งซึ่งกำหนดไว้สำหรับคดีฟ้องขอปลดเปลื้องทุกข์อันคำนวณเป็นราคาได้

รัฐสภา (2560:1) โดยปกติการฟ้องคดีปกครองต่อศาลปกครองไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล แต่หากเป็นการฟ้องคดีเพื่อขอให้ศาลปกครองมีคําพิพากษาหรือคำสั่งให้หน่วยงานทางปกครองใช้เงินอันสืบเนื่องจากคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทําละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อํานาจตามกฎหมาย หรือจากกฎคู่กรณีต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลตามทุนทรัพย์ในอัตราร้อยละ ๒.๕ของทุนทรัพย์แต่ไม่เกินสองแสนบาท

นิธินันท์ สุขวงศ์ (2559:ออนไลน์) โดยปกติการฟ้องคดีปกครองต่อศาลปกครอง ผู้ฟ้องคดีไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล ตามหลักในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 มาตรา45วรรคสี่ การฟ้องคดีไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล เว้นแต่ การฟ้องคดีขอให้สั่งให้ใช้เงิน หรือส่งมอบทรัพย์สิน  อันสืบเนื่องจากคดีตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (3) หรือ (4) ให้เสียค่าธรรมเนียมศาลตามทุนทรัพย์ในอัตราตามที่ระบุไว้ในตาราง 1 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง สำหรับคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้

ฐิติพร ป่านไหม (2559:3) การเสียค่าธรรมเนียมศาล อาจเป็นข้อกังวลใจของผู้ที่ประสงค์จะฟ้องคดีต่อศาลปกครอง บางท่าน โดยเฉพาะผู้ที่มีภาระค่าใช้จ่าย หนี้สิน หรือโดยสถานะทางครอบครัวหากต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล อาจจะเดือดร้อนมากยิ่งขึ้น ซึ่งความกังวลใจดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อการเข้าถึง กระบวนการยุติธรรม ทางปกครองของประชาชน ทั้งที่คดีพิพาทที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครองล้วนเกิดจากการใช้อำนาจตาม กฎหมายของฝ่ายปกครอง “การเสียค่าธรรมเนียมศาล” ก็ถือเป็นเงื่อนไขการฟ้องคดี ปกครองที่สำคัญซึ่งผู้ฟ้องคด

กล่าวโดยสรุป หลักการเรื่องค่าธรรมเนียมศาลในคดีปกครองได้ดังนี้

1. กรณีฟ้องคดีเพื่อให้เพิกถอนกฎ สั่งการ ห้ามการกระทํา  หรือสั่งให้หน่วยงานปฏิบัติหน้าที่ ผู้ฟ้องไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม

2. กรณีฟ้องให้ชดใช้เงินหรือทรัพย์สิน หรือเรียกค่าเสียหายจากละเมิด ผู้ฟ้องต้องเสียค่าธรรมเนียมตามอัตราที่กําหนด

3. หากศาลพิพากษาให้ผู้ฟ้องชนะ ศาลอาจคืนค่าธรรมเนียมทั้งหมดหรือบางส่วน

4. การอุทธรณ์คําพิพากษาต้องเสียค่าธรรมเนียมเช่นเดียวกับการฟ้องคดี

5. หากผู้ฟ้องไม่มีเงินเพียงพอ ศาลอาจยกเว้นค่าธรรมเนียมบางส่วนหรือทั้งหมดได้

ยื่นคำฟ้องคดีปกครองได้ที่ใด

ศาลปกครองมี 2 ชั้นศาล คือศาลปกครองชั้นต้น และศาลปกครองสูงสุด การฟ้องคดีปกครองโดยทั่วไปจะต้องยื่นฟ้องต่อศาลปกครองชั้นต้นที่มีเขตอำนาจ ซึ่งกฎหมายกำหนดให้ยื่นฟ้องต่อศาลที่ผู้ฟ้องคดีมีภูมิลำเนาหรือที่มูลคดีเกิด แต่ถ้าเป็นการฟ้องคดีพิพาทเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายของพระราชกฤษฎีกา หรือกฎที่ออกโดยคณะรัฐมนตรีหรือโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีให้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองสูงสุด

สถาบันพระปกเกล้า (2259:ออนไลน์) ผู้ฟ้องคดีสามารถยื่นคำฟ้องได้ 2 วิธี ได้แก่

1. ยื่นคำฟ้องด้วยตนเองที่ศาลปกครองที่ตนมีภูมิลำเนาหรือที่มูลคดีเกิด

2. ส่งคำฟ้องทางไปรษณีย์ลงทะเบียน

Lawsiam (2560:ออนไลน์) การฟ้องคดีต่อศาลปกครองนั้นมีหลักว่า ให้กระทำได้โดยง่าย ไม่มีข้อยุ่งยากโดยผู้ฟ้องคดีสามารถยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองได้ 2 วิธี คือ  

1. ผู้ฟ้องสามารถยื่นฟ้องคดีได้ด้วยตนเองที่ศาลปกครอง

2. ผู้ฟ้องคดีอาจใช้วิธีการส่งคำฟ้องทางไปรษณีย์ลงทะเบียนก็ได้ อนึ่งการยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองนั้น ผู้ฟ้องคดีสามารถยื่นฟ้องคดีได้ด้วยตนเอง หรืออาจมอบให้ทนายความหรือผู้ที่ตนไว้วางใจเป็นผู้ยื่นฟ้องคดีแทนได้

กรุงเทพธุรกิจ (2567:ออนไลน์) จะต้องฟ้องคดีต่อศาลปกครองปกครองชั้นต้นหรือศาลปกครองสูงสุด และฟ้องคดีได้ที่ไหนบ้าง ในการยื่นฟ้องคดีปกครองต่อศาลปกครองชั้นต้นนั้นผู้ฟ้องคดีสามารถจะเลือกฟ้องต่อศาลปกครองชั้นต้นที่ตนมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครองชั้นต้นนั้น โดยกฎหมายให้ถือว่าวันที่ข้อมูลเข้าสู่ระบบงานคดีปกครองอิเล็กทรอนิกส์เสร็จสมบูรณ์ เป็นวันที่ส่งคำฟ้องต่อศาลปกครอง ทั้งนี้ ผู้ฟ้องคดีอาจยื่นคำฟ้องได้ทั้งในเวลาและนอกเวลาทำการปกติ การฟ้องคดีตลอดจนการดำเนินกระบวนพิจารณาทางอิเล็กทรอนิกส์น่าจะมีบทบาทมากขึ้นในระยะถัดไป ปัจจุบันไม่เพียงแต่ศาลปกครองเท่านั้น แต่ศาลยุติธรรมก็กำลังปรับตัวไปสู่การเป็นศาลอิเล็กทรอนิกส์เช่นกัน

กล่าวโดยสรุป การยื่นคำฟ้องว่าการยื่นคำฟ้องอาจทำเป็นหนังสือไปยื่นต่อศาล โดยตรงหรือยื่นคำฟ้องทางไปรษณีย์ลงทะเบียนและศาลที่จะฟ้องได้แก่ศาลปกครองสูงสุด ศาลปกครองกลาง หรือศาลปกครองจังหวัดใด


เอกสารอ้างอิง