กฎหมายปกครอง

(1) คีตาภัทร พงษ์สินไชย (2) จิดาภา ปลายแก่น (3) ณัฐกานต์ บุดรอด (4) ภัทรชรีย์ มงคลดี

นักศึกษาสาขาวิชารัฐประศาสนศาตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

(1) 640112801077@bru.ac.th (2) 640112801078@bru.ac.th  (3) 640112801081@bru.ac.th  (4)  640112801094@bru.ac.th

9 กุมภาพันธ์ 2567 

ศาลปกครอง ได้ถูกจัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และได้ถูก ออกแบบโครงสร้างให้มีความเป็นอิสระจากฝ่ายบริหารและไม่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของบุคคลหรือองค์กรใด ๆ โดยมี คณะกรรมการตุลาการศาลปกครอง (ก.ศป.) ในการดูแลเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของตุลา การ การดําเนินการทางวินัยและการร้องทุกข์เช่นเดียวกับคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม 

ศาลปกครอง หมายถึง
ศาลปกครอง คือ องค์กรที่ใช้อํานาจตุลาการเช่นเดียวกับศาลยุติธรรม แต่จะทําหน้าที่พิจารณา พิพากษาหรือมีคําสั่งในคดี ที่เรียกว่า คดีปกครอง ศาลปกครองนั้นจะมีอํานาจหน้าที่ในการวินิจฉัยชี้ขาด คดีพิพาทที่เกิดระหว่างหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชน หรือระหว่างหน่วยงานทาง ปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกันเองซึ่งข้อพิพาทที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากการที่หน่วยงานทางปกครองหรือ เจ้าหน้าที่ของรัฐใช้อํานาจตามกฎหมาย
อริยพร โพธิใส (2557 : 1) ได้ให้ความหมายของศาลปกครองว่า เป็นศาลที่จัดตั้งขึ้นตาม พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มีอํานาจหน้าที่พิจารณา พิพากษาคดีปกครอง ซึ่งเป็นคดีพิพาทระหว่างหน่วยงานของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชน คดีพิพาท ระหว่างหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกันเอง
โภดิน พลกุล(2544: 1) กล่าวคือ ศาลปกครอง เป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช2540และตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดี ปกครอง พ.ศ. 2542 มีอํานาจหน้าที่พิจรณาพิพากษา "คดีปกครอง" ซึ่งเป็นคดีพิพาทระหว่างหน่วยงาน ราชการหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชน
ปานสิริ (Pansasiri, 2560 : 1) ให้ความหมายของศาลปกครองว่า เป็นองค์กรที่ใช้อํานาจตุลาการ เช่นเดียวกับศาลยุติธรรม แต่จะทําหน้าที่พิจารณาพิพากษาหรือมีคําสั่งในคดี ที่เรียกว่า คดีปกครองศาล ปกครองนั้นจะมีอํานาจหน้าที่ในการวินิจฉัยชี้ขาดคดีพิพาทที่เกิดระหว่างหน่วยงานทางปกครองหรือ เจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชน หรือระหว่างหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกันเอง

กล่าวโดยสรุป ศาลที่มีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีปกครองตามที่กฎหมายคดีพิพาทที่เกิดจากการ กระทําทางปกครองไม่ว่าจะเป็นคดีที่เป็นข้อพิพาทระหว่างหน่วยราชการหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือ ราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกํากับดูแลของรัฐบาลกับเอกชน หรือ ระหว่างหน่วยราชการหน่วยงานของรัฐรัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ใน บังคับบัญชาหรือในกํากับดูแลของรัฐบาลด้วยกัน. 

หน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐใดบ้างที่อาจถูกฟ้องคดีต่อศาลปกครอง
สํานักงานศาลปกครอง(2557 :11) กล่าวว้าว่า หน่วยงานทางปกครองหน่วยงานทางปกครองที่อาจถูกฟ้อง คดีต่อ ศาลปกครองได้ มีอยู่ 7 ประเภท ดังต่อไปนี้
1. หน่วยราชการที่เป็นราชการส่วนกลาง ได้แก่ กระทรวง กรม
2. หน่วยราชการที่เป็นราชการส่วนภูมิภาค ได้แก่ จังหวัดอําเภอ
3.องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้แก่เทศบาลองค์การบริหารส่วนตําบลองค์การบริหารส่วนจังหวัด กรุงเทพมหานครและเมืองพัทยา
4. รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติ เช่น การรถไฟแห่งประเทศไทย การประปานครหลวง หรือรัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกา เช่น องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ แต่ไม่รวมถึงรัฐวิสาหกิจ ที่จัดตั้งขึ้นในรูปของบริษัทหรือบริษัทมหาชนจํากัด เช่นบริษัท การบินไทย จํากัด (มหาชน)
5. หน่วยงานของรัฐที่มิได้เป็นส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจหรือที่เรียกกันว่าองค์การมหาชน เช่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
6. หน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญ เช่น สํานักงานศาลปกครองสํานักงานศาลยุติธรรม
7. หน่วยงานที่ได้รับมอบหมายจากรัฐให้ใช้อํานาจทางปกครองหรือให้ดําเนินกิจการทางปกครอง เช่น แพทย์สภา สภาทนายความสํานักงานช่างรังวัดเอกชน, บริษัท ท่าอากาศยานไทย จํากัด (มหาชน)
รฉัตร วริวรรณ(2566:1)กล่าวคือหน่วยงานทางปกครองสําคัญในประเทศไทยรัฐบาลไทย: รัฐบาล ไทยประกอบ ไปด้วยกระทรวงต่าง ๆ และหน่วยงานราชการที่รับผิดชอบต่าง ๆ ในการบริหารจัดการ ประเทศตัวอย่างเช่นกระทรวงการคลัง, กระทรวงการต่างประเทศ, กรมการแผนงานและสํานักงาน คณะกรรมการการกํากับการดําเนินการตลาด.
วิเชียร (Wichian, 2557 : 4) กล่าวคือหน่วยงานทางปกครอง” หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ ที่ตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ และให้หมายความรวมถึง หน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อํานาจทางปกครองหรือให้ดําเนินกิจการทางปกครองหน่วยงานทาง ปกครองตามคํานิยามศัพท์ ในมาตรา 3จึงแบ่งได้ดังนี้
1. กระทรวง
2. ทบวง
3. กรม
4. ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม
5. ราชการส่วนภูมิภาค 6. ราชการส่วนท้องถิ่น
7. รัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา
8. หน่วยงานอื่นของรัฐ สําหรับหน่วยงานทางปกครองที่เป็นกระทรวง ทบวง หรือกรม คงไม่เป็นปัญหาเพราะมีความชัดเจนอยู่ แล้วแต่ที่ควรพิจารณาคือ ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม

กล่าวโดยสรุป  หน่วยงานทางปกครองจึงประกอบด้วย ราชการส่วนกลาง ได้แก่ กระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ราชการส่วนภูมิภาค ได้แก่ จังหวัด อําเภอ ตําบลและ หมู่บ้านราชการส่วนท้องถิ่น ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล ประเภท ต่างๆองค์การบริหารส่วนตําบลหน่วยงานทางปกครองหน่วยงานทางปกครองที่อาจถูกฟ้องคดีต่อ ศาลปกครองได้ดังต่อไปนี้ หน่วยราชการที่เป็นราชการส่วนกลาง,ส่วนภูมิภาค,ส่วนท้องถิ่น,รัฐวิสาหกิจที่ จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติ,หน่วยงานของรัฐที่มิได้เป็นส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจหรือที่เรียกกันว่า องค์การมหาชน ,หน่วยงาน อิสระตามรัฐธรรมนูญ,หน่วยงานที่ได้รับมอบหมายจากรัฐให้ใช้อํานาจทาง ปกครองหรือให้ดําเนินกิจการทาง ปกครองดังนั้น หน่วยงานทางปกครองที่อาจถูกฟ้องคดีต่อศาลปกครอง จึงไม่รวมถึงรัฐสภาที่ใช้อํานาจทางนิติบัญญัติและศาลที่ใช้อํานาจทางตุลาการ 

คดีปกครองประเภทใดที่อาจฟ้องต่อศาลได้
คดีปกครอง คือ คดีที่เป็นข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชน หรือข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานทางการปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกันเองและเป็นคดีในเรื่อง ดังต่อไปนี้
1.คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางการปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐออกกฎ คําสั่ง หรือการ กระทําอื่นใดโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
2. คดีพิพาทเกี่ยวกับหน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามกฎหมาย กําหนดให้ต้องปฏิบัติ หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร
3.คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทําละเมิด หรือความรับผิดชอบอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือ เจ้าหน้าที่ของรัฐ อันเกิดจากการใช้อํานาจล่าช้าเกินสมควร
4.คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง
ธีรพรรณ ใจมั่น(2566:1)กล่าวคือ ฟ้องคดีโดยไม่มีเหตุอันเป็นการกระทําที่ก่อให้เกิดความยุ่งยากแก่ ผู้ถูกฟ้องและเป็นภาระต่อศาลปกครองจึงได้กําหนดเงื่อนไขไว้ 4 ประการ ได้แก่
1. ผู้ฟ้องคดีต้องเป็นผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย หรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจ หลีกเลี่ยงได้จากการกระทําหรือการงดเว้นการกระทําของทางราชการ
2. ระยะเวลาการฟ้องคดีต้องฟ้องภายในระยะเวลาที่กฎหมายกําหนด ซึ่งโดยหลัก คือ ภายใน 90 วัน นับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการฟ้องคดีหรือภายใน 1 ปี ในกรณีที่ฟ้องคดีเกี่ยวกับการกระทําละเมิด หรือความรับผิดอย่างอื่นของทางราชการ
3. คําฟ้องไม่มีแบบฟอร์มบังคับโดยเฉพาะเพียงแต่มีเงื่อนไขว่าต้องใช้ถ้อยคําสุภาพและต้องมีเนื้อหา สาระให้เข้าใจได้ว่าเป็นคําฟ้อง ซึ่งประกอบด้วยชื่อและที่อยู่ของผู้ฟ้องคดีและของหน่วยงานที่เป็นเหตุแห่ง การฟ้องคดีการกระทําที่เป็นเหตุแห่งการฟ้องคดี พร้อมข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ตามสมควร
4. การขอให้มีการแก้ไขเยียวยาในเบื้องต้นก่อนนําเรื่องมาฟ้องศาลปกครองหากในเรื่องที่จะฟ้องคดี นั้นมีกฎหมายกําหนดให้ต้องดําเนินการอย่างใดเพื่อแก้ไขความเดือดร้อนหรือเสียหายนั้นเสียก่อน ผู้ฟ้องคดี ก็ต้องดําเนินการเช่นนั้นให้เสร็จสิ้นแล้วจึงจะมีสิทธิมาฟ้องคดีต่อศาลได้
ศาลปกครองและสํานักงานศาลปกครอง.(2565) กล่าวถึงตัวอย่างคดีที่ฟ้องต่อศาลปกครองได้เช่นดี ปกครองประเภทใดที่อาจฟ้องต่อศาลปกครองได้
1.คดีพิพาทเกี่ยวกับที่ดิน
1.1 คดีที่ฟ้องขอให้เพิกถอนคําสั่งของอธิบดีกรมที่ดินกรณีมีคําสั่งเพิกถอนหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิ
2. คดีพิพาทเกี่ยวกับการคมนาคมและขนส่ง
2.1 คดีพิพาทเกี่ยวกับงานทะเบียนของกรมขนส่งทางบก
3. คดีพิพาทเกี่ยวกับการควบคุมอาคารและการผังเมือง
3.1 คดีที่ฟ้องขอให้เพิกถอนคําสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นกรณีมีคําสั่งที่ไม่ดําเนินการเกี่ยวกับอาคาร ตามกฎหมายควบคุมอาคาร
4. คดีพิพาทเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินและอาคารชุด
4.1 คดีที่ฟ้องขอให้เพิกถอนมติของคณะกรรมการจัดสรรที่ดินหรือฟ้องว่าคณะกรรมการจัดสรรที่ดิน ละเลยไม่ดําเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดิน

กล่าวโดยสรุป คดีปกครองศาลปกครองนั้นจะมีอํานาจหน้าที่ในการวินิจฉัยชี้ขาดคดีพิพาทที่เกิด ระหว่างหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชน หรือระหว่างหน่วยงานทางปกครองหรือ เจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกันเองซึ่งข้อพิพาทที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของ รัฐใช้อํานาจตามกฎหมาย ออกคําสั่งหรือการกระทําอื่นใดโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือละเลยต่อหน้าที่ ตามที่กฎหมายกําหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควรหรือมีการกระทําละเมิด หรือต้องรับผิดอย่างอื่นใดอันเกิดจากการใช้อํานาจตามกฎหมาย รวมทั้งคดีเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง ด้วย 

คดีประเภทใดที่ไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง
คดีที่ไม่อยู่ในอานาจของศาลปกครองนั้นอาจสรุปได้ดังนี้
ฤทัย หงส์สิริ (2554 : 55-64) กล่าวคือได้แบ่งประเภทของคดีที่ไม่อยู่ในอํานาจของศาลปกครองไว้ ดังนี้
1.การดําเนินการเกี่ยวกับวินัยทหาร (มาตรา 9 วรรคสอง (1)) เช่น กําเนินการทางวินัยทหาร ตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยวินัยทหารพุทธศักราช 2476 ซึ่งได้ทัณฑ์ที่จะลงแก่ผู้กระทาผิดต่อวินัยทหารไว้ 5 สถานได้แก่ภาคทัณฑ์ ทัณฑกรรม กัก ขัง และจาขัง เช่นการลงทัณฑ์แก่ผู้กระทําผิดต่อวินัยทหารเป็นต้น
2. การดําเนินการของคณะกรรมการตุลาการ (มาตรา 9 วรรคสอง (2) การดําเนินการของ ก.ต. นั้นไม่ใช่ เป็นการพิจารณาพิพากษาคดีของศาล แต่เป็นการบริหารงานบุคคล เช่นการให้ความเห็นชอบในการ โยกย้าย การลงโทษทางวินัย การเลื่อนตําแหน่ง ซึ่งตามทฤษฎีกฎหมายนั้น ถือว่าเป็นการกระทาทาง ปกครองอย่างหนึ่ง และโดยหลักควรต้องอยู่ภายใต้การตรวจสอบของศาลปกครอง แต่กฎหมายยกเว้นไว้ เป็นพิเศษโดยให้เหตุผลว่าเพื่อความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ของผู้พิพากษาข้อยกเว้นนี้ใช้รวมไปถึง การดําเนินการของเจ้าหน้าที่อื่นที่เป็นกระบวนการเดียวกันกับการดําเนินการของ ก.ต. ด้วยเช่นในเรื่องการ ลงโทษทางวินัยแก่ผู้พิพากษาศาลยุติธรรมซึ่งเป็นข้าราชการตุลาการ ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า กระบวนการดําเนินการทางวินัยข้าราชการตุลาการจะเริ่มต้นตั้งแต่การแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน การ พิจารณาความผิดและกําหนดโทษ และการลงโทษเป็นการดําเนินเนื่องเชื่อมโยงเป็นกระบวนการเดียวกัน ไม่อาจแยกออกจากกันได้อย่างเด็ดขาดเมื่อ ก.ต. กําหนดโทษแล้วรัฐมนตรีจึงจะออกคาสั่งลงโทษได้
3. คดีที่อยู่ในอํานาจของศาลชํานัญพิเศษ (มาตรา 9 วรรคสอง (3)) อันแก่คดีที่อยู่ในอานาจของศาล เยาวชนและครอบครัว ศาลแรงงาน ศาลภาษีอากร ศาลทรัพย์สิน ทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ศาลล้มละลาย หรือศาลชานัญพิเศษอื่นเช่นกรณีที่ฟ้องว่า ผู้ฟ้องคดีไม่ได้รับความเป็นธรรม เนื่องจาก เจ้าหน้าที่สานักประกันสังคมวินิจฉัยว่าบุตรของผู้ฟ้องคดีไม่ได้เสียชีวิตจากการปฏิบัติหน้าที่ จึงทําให้ผู้ฟ้อง คดีได้รับผลประโยชน์จากการประกันสังคมเพียงค่าปลงศพเท่านั้น
4. คดีอื่น ๆ นอกจากคดีตาม 3.2.1-3.2.4 นอกจากคดีที่กล่าวมาแล้วยังมีคดีอีกหลายประเภทที่ศาล ปกครองไม่อาจจะรับคําฟ้องไว้พิจารณาได้เช่น
4.1 เรื่องที่ผู้ฟ้องคดีและผู้ถูกฟ้องคดีเป็นประชาชนด้วยกัน เช่น การที่ผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นสมาชิกสหกรณ์ ออมทรัพย์ได้กู้เงินพิเศษจากสหกรณ์และได้ลาออกจากราชการเพื่อขอรับเงินบานาญ แต่สหกรณ์ได้อายัด เงินบํานาญของผู้ฟ้องคดีเพื่อชาระหนี้ที่ค้างเป็นเรื่องที่ผู้ฟ้องคดีต้องปฏิบัติตามข้อตกลงในสัญญาหาใช่เป็น การกระทําที่ไม่ถูกหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย และกรณีมิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทําของหน่วยปกครอง เพราะสหกรณ์ออมทรัพย์มิใช่หน่วยงานทางปกครอง เป็นต้น
4.2 เรื่องที่ผู้ถูกฟ้องคดีเป็นรัฐวิสาหกิจที่ใต้จัดตั้งขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพวณิชย์ ทั้งนี้ เนื่องจากกฎหมายไม่ถือว่าหน่วยงานเหล่านี้เป็นหน่วยงานทางปกครองเช่น ธนาคารไทยธนาคาร จํากัด (มหาชน) และธนาคารกรุงไทย จากัด(มหาชน)เป็นต้น หรือเรื่องที่ฟ้องรัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งโดยกฎหมาย เฉพาะในส่วนที่รัฐวิสาหกิจนั้นประกอบธุรกิจเยี่ยงเอกชนทั่วไป

กล่าวโดยสรุป คดีปกครองที่กฎหมายกําหนดไม่ให้อยู่ในอํานาจของศาลปกครองและคดีที่มีใช่คดี ปกครองคดีที่มีคู่กรณีเป็นหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมีลักษณะเป็นคดีปกครอง คดีที่ ฟ้องขอให้ศาลปกครองลงโทษทางวินัยหรือลงโทษทางอาญาแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ 

ฟ้องคดีต่อศาลปกครองต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขใดบ้าง
การฟ้องคดีปกครองได้บัญญัติหลักเกณฑ์วิธีการไว้ใน พระรําชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธี พิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542และอีกส่วนหนึ่งกําหนดไว้ในระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลํากํารในศาล ปกครองสูงสุด ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2543กํารเสนอคดีฟ้อง การยื่นฟ้องต่อศาลจะต้อง เป็นไปตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ในพระบรมรําชูปถัมภ์(2564:1) กล่าวไว้ว่าเรื่องที่นํามาฟ้องต้อง เป็นคดีปกครอง และต้องเป็น กรณีตามมาตรา 9แห่งพระรําชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพาคดี ปกครอง ได้แก่
1.1 การกระทําของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เช่น ออก คําสั่งผิดวิธี ไม่ดําเนินการตามระเบียบ เป็นต้น
1.2 กรณีนี้เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือหน่วยงานทางปกครองละเลยต่อหน้าที่ หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกิน สมควร
1.3เจ้าหน้าที่ หรือหน่วยงานกระทําละเมิดต่อบุคคลอื่น
2. ต้องยื่นฟ้องต่อศาลที่มีอํานาจ ต้องยื่นฟ้องศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นหรือศาลที่ผู้ฟ้องคดีมีภูมิลําเนาอยู่เขตศาลนั้น
3. คําฟ้องต้องทําเป็นหนังสือและมีรายการตามที่กําหนดไว้และยื่นโดยถูกวิธีการฟ้องคดีปกครองไม่มีแบบ ของคําฟ้องกําหนดไว้เฉพาะ แต่ต้องทําเป็นหนังสือ ฟ้องด้วยวาจาไม่ได้ ใช้ถ้อยคําสุภาพ มีรายการตามที่ บัญญัติไว้ในมาตรา 45
4. ผู้ฟ้องคดีต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถตามกฎหมาย ผู้ฟ้องคดีต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถในการทํานิติกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หากผู้ฟ้อง คดีมีข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถก็จะต้องดําเนินการแก้ไขตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บัญญัติไว้ อย่างไรก็ดี สําหรับในการฟ้องคดีปกครองนั้น มีข้อยกเว้นอนุญาตให้ผู้เยาว์ที่มีอายุไม่ตํ่ากว่า 15 ปีบริบูรณ์ ฟ้องคดีด้วยตนเองได้ถ้าศาลอนุญาต
5. ผู้ฟ้องคดีต้องเป็นผู้มีสิทธิฟ้องคดีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 276ของ รัฐธรรมนูญ และมาตรา 42 พรบ. จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีศาลปกครองศาลปกครอง พ.ศ 2545
6. ต้องยื่นฟ้องภายในระยะเวลาที่กําหนด กรณีที่ฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนกฎ หรือคําสั่งทางปกครองต้องฟ้องภายใน 90วัน นับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึง เหตุแห่งการฟ้องคดี หรือนับแต่วันที่พ้นกําหนด 90วัน นับแต่วันที่ผู้ฟ้องคดีมีหนังสือร้องขอต่อหน่วยงาน ทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกําหนดและไม่ได้รับหนังสือชี้แจงจาก หน่วยงานหรือ เจ้าหน้าที่ดังกล่าวหรือได้รับแต่เป็นคําชี้แจงที่เห็นว่าไม่มีเหตุผล หรือมีกฎหมายเฉพาะ กําหนดไว้เป็นอย่างอื่นคดีเกี่ยวกับการกระทําละเมิดให้ยื่นฟ้องภายใน 1 ปี
7. ก่อนฟ้องคดีปกครองต้องดําเนินการแก้ไขความเดือดร้อน หรือความเสียหายตามขั้นตอนหรือวิธีการที กฎหมายกําหนดไว้สําหรับการนั้นเสียก่อนตามมาตรา 44แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทาง ปกครอง พ.ศ. 2539 ที่บัญญัติให้ต้องอุทธรณ์คําสั่งทางปกครองที่ไม่ได้ออกโดยรัฐมนตรีและไม่มีกฎหมาย กําหนดขั้นตอนอุทธรณ์
8. การชําระค่าธรรมเนียมศาล กรณีการฟ้องคดีขอให้ศาลสั่งให้ใช้เงินหรือส่งมอบทรัพย์สินอันสืบเนื่องจากคดีพิพาทเกี่ยวกับการทําละเมิด หรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทาง ปกครองต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลในอัตราตามที่ระบุไว้ในตาราง 1 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความแพ่ง เว้นแต่ที่ศาลมีคําสั่งให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลกรณีการฟ้องคดีขอให้ศาลเพิกถอนกฎหรือคําสั่ง
ชาญชยั แสวงศกัดิ์(2556:1)กล่าวคือการเสนอคดีฟ้องกํารยื่นฟ้องต่อศาลล จะต้องเป็นไปตาม เงื่อนไขดังต่อไปนี้
1. เรื่องที่นํามาฟ้องต้องเป็นคดีปกครอง และต้องเป็นเรื่องที่อยู่ในอํานาจพิจารณาพิพากษาของศาล ปกครองคือ เป็นกรณีตามมาตรา9 แห่งพระรําชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง
2. ต้องยื่นฟ้องต่อศาลที่มีอํานาจอํานาจศาลในที่นี้หมายถึงทั้งอํานาจและเขตอํานาจกล่าวคือ คดีที่อยู่ใน อํานาจของศาลปกครองชั้นต้น ก็จะต้องยื่นฟ้องต่อศาลปกครองชั้นต้นจะฟ้องไปยังศาลปกครอง สูงสุด ไม่ได้ ในทางกลับกันคดีที่อยู่ในอํานาจของศาลปกครองสูงสุด ก็จะต้องยื่นฟ้องต่อศาล ปกครองสูงสุด เท่านั้น อีกทั้งการยื่นฟ้องคดีจะต้องยื่นฟ้องต่อศาลปกครองที่มีเขตอํานาจเหนือคดีนั้น
3. คําฟ้องต้องทําเป็นหนังสือและมีรายการตามที่กําหนดไว้และยื่นโดยถูกวิธีการฟ้องคดีปกครองไม่มีแบบ ของคําฟ้องกําหนดไว้เฉพาะ แต่ต้องทําเป็นหนังสือ ฟ้องด้วยวาจาไม่ได้ ใช้ถ้อยคําสุภาพ มีรายการตามที่ บัญญัติไว้ในมําตรํา 45 กลํ่าวคือต้องระบุ ชื่อ ที่อยู่ของผู้ฟ้องคดี และผู้ถูกฟ้องคดี ข้อเท็จจริงหรือ พฤติการณ์เกี่ยวกับการกระทําที่เป็นเหตุแห่งการฟ้องคดี คําขอและลายมือชื่อผู้ฟ้องคดี โดยต้องแนบ พยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องไปพร้อมคําฟ้อง โดยผู้ฟ้องคดีต้องจัดทําสําเนําคําฟ้องและสําเนาพยํานหลักฐาน
4. ผู้ฟ้องคดีต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถตามกฎหมายโดยหลักแล้วผู้ฟ้องคดีต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถใน การทํานิติกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หากผู้ฟ้องคดีมีข้อบกพร่องในเรื่องความสํามารถก็ จะต้องดําเนินการแก้ไขตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติไว้ อย่างไรก็ดี สําหรับในการฟ้อง คดีปกครองนั้น มีข้อยกเว้นอนุญาตให้ผู้เยาว์ที่มีอายุไม่ตํ่ากว่า15 ปีบริบูรณ์ ฟ้องคดีด้วยตนเองได้ถ้าศาล อนุญาต 5. ผู้ฟ้องคดีต้องเป็นผู้มีสิทธิฟ้องคดีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา276 ของ รัฐธรรมนูญ และมาตรา42

กล่าวโดยสรุป ฟ้องคดีต่อศาลปกครองต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข คดีที่ศาลปกครองมีอํานาจ รับไว้พิจารณาพิพากษาได้นั้นนอกจากจะต้องเป็นคดีปกครองแล้ว ยังจะต้องปรากฏด้วยว่า ผู้ฟ้องคดีได้ ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการฟ้องคดีครบถ้วน 

ฟ้องคดีต่อศาลปกครองต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลหรือไม่
การเสียค่าธรรมเนียมศาลอาจเป็นข้อกังวลใจของผู้ที่ประสงค์จะฟ้องคดีต่อศาลปกครองบางท่าน โดยเฉพาะผู้ที่มีภาระค่าใช้จ่าย หนี้สิน หรือโดยสถานะทางครอบครัวหากต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลอาจจะ เดือดร้อนมากยิ่งขึ้น
ฐิติพร ป่านไหม(2559:1)กล่าวคือการเสียค่าธรรมเนียมศาล” ก็ถือเป็นเงื่อนไขการฟ้องคดีปกครองที่ สําคัญซึ่งผู้ฟ้องคดีมีภาระหน้าที่ต้องปฏิบัติเช่นเดียวกัน ส่วนจะมีหลักเกณฑ์อย่างไรนั้น และ พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้บัญญัติเกี่ยวกับ กระบวนการที่จะอํานวยความสะดวกในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมทางปกครอง
ศาลปกครอง(2552:1)กล่าวคือกรณียื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลาง (คดีฟ้องใหม่ คดีฟ้องแย้ง คดีรับ โอนและคดีชั้นอุทธรณ์) ชําระเป็น
1. เงินสด
2. เช็คซึ่งส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจเป็นผู้สั่งจ่าย
3. เช็คที่ธนาคารรับรอง ได้แก่
3.1 ตั๋วแลกเงินธนาคาร
3.2 ดราฟต์
3.3แคชเชียร์เช็ค
ฤทัย หงส์สิริ (2554 : 126) กล่าวคือเงื่อนไขเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมศาล การฟ้องคดีต่อศาลปกครอง โดยทั่วไปแล้วไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล เว้นแต่การฟ้องคดีขอให้ศาลปกครองพิจารณาให้ใช้เงินหรือส่ง มอบทรัพย์สินอันเนื่องมาจากคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทาละเมิด หรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงาน ทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ อันเกิดจากการใช้อานาจตามกฎหมายกฎคําสั่งทางปกครองหรือคําสั่ง อื่น

กล่าวโดยสรุป ในการฟ้องคดีบางคดีอาจจะต้องมีการเสียค่าธรรมเนียม แต่ถ้าผู้ฟ้องคดีไม่มีทรัพย์สิน เพียงพอที่จะเสียค่าธรรมเนียมศาลหรือถ้าไม่ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลจะได้รับความเดือดร้อนเกิน สมควรศาลปกครองอาจอนุญาตให้ด าเนินคดีโดยให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลทั้งหมดหรือเฉพาะบางส่วนก็ ได้ 

ยื่นคำฟ้องคดีปกครองได้ที่ใด
การยื่นคําฟ้องว่าการยื่นคําฟ้องอาจทําเป็นหนังสือไปยื่นต่อศาล โดยตรงหรือยื่นคําฟ้องทาง ไปรษณีย์ลงทะเบียนและศาลที่จะฟ้องได้แก่ศาลปกครองสูงสุด ศาลปกครองกลาง หรือศาลปกครอง จังหวัด
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2561 (ราชกิจจานุเบกษา, 2561: 13) มาตรา 46 ระบุว่าคําฟ้องให้ยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของศาลปกครอง หรือส่งทางไปรษณีย์ ลงทะเบียนในการนี้อาจยื่นคําฟ้องโดยส่งทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ สื่อดิจิทัลอื่นใด หรือโทรสารตาม ระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด และเพื่อประโยชน์ในการนับอายุความ ให้ถือว่า วันที่ส่งคําฟ้องแก่เจ้าพนักงานไปรษณีย์หรือวันที่ส่งคําฟ้องทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์สื่อดิจิทัลอื่นใดหรือ โทรสารเป็นวันที่ยื่นคําฟ้องต่อศาลปกครอง
ฤทัย หงส์สิริ(2556:1)กล่วาวคือการฟ้องคดีปกครองนั้นต้องฟ้องที่ศาลไหนในกรณีที่เป็นคดีที่อยู่ใน อํานาจของศาลปกครอง ต้องพิจารณาต่อไปว่าคดีนั้นอยู่ในเขตอํานาจของศาลปกครองใด เนื่องจากศาล ปกครองนั้นมีหลายศาลตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ศาลปกครองแบ่งออกเป็นสองชั้น คือ ศาลปกครองชั้นต้นและศาลปกครองสูงสุด และตามมาตรา10 แห่ง พระรําชบัญญัติ
ศาลปกครอง (2556 : 1)กล่าวคือระบุวิธีการยื่นคําฟ้องว่าการยื่นคําฟ้องอาจทําเป็นหนังสือไปยื่น ต่อศาลโดยตรงหรือยื่นคําฟ้องทางไปรษณีย์ลงทะเบียนและศาลที่จะฟ้องได้แก่ศาลปกครองสูงสุด ศาล ปกครองกลางหรือศาลปกครองจังหวัด

กล่าวโดยสรุป การยื่นคําฟ้องว่าการยื่นคําฟ้องอาจทําเป็นหนังสือไปยื่นต่อศาล โดยตรงหรือยื่นคํา ฟ้องทางไปรษณีย์ลงทะเบียนและศาลที่จะฟ้องได้แก่ศาลปกครองสูงสุด ศาลปกครองกลาง หรือศาล ปกครองจังหวัด 

เอกสารอ้างอิง
ปานสิริ. (2560). ศาลปกครองคืออะไร. สืบค้นเมื่อ 11 มกราคม 2567, จาก https://www.winnews
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2561.
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์. สํานักอธิการบดี. (2564). การฟ้องคดีปกครอง. สืบค้นเมื่อ 11 มกราคม 2567, จาก http://legal.vru.ac.th
วิเชียร. (2557). หน่วยงานทางปกครอง. สืบค้นเมื่อ 11 มกราคม 2567, จาก https://wichianlaw.blogspot.com
ศาลปกครอง. (2558). ศาลปกครองคืออะไร. สืบค้นเมื่อ 11 มกราคม  2567, จาก http://admincourt.go.th
ศาลปกครอง. (2562). ค่าธรรมเนียม. สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม2567, จาก https://www.admincourt.go.th
สถาบันพระปกเกล้า. (2559). หน่วยงานทางปกครอง. สืบค้นเมื่อ 13 มกราคม 2567, จาก https://kpi.ac.th
สถาบันพระปกเกล้า. (2559). คดีทางปกครอง. สืบค้นเมื่อ14 มกราคม 2567, จาก https://kpi.ac.th
สํานักประชาสัมพันธ์ สํานักงานศาลปกครอง. (2565). หน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐใดบ้างที่ อาจถูกฟ้องคดีต่อศาลปกครอง.
สืบค้นเมื่อ 14 มกราคม  2567, จาก http://admincourt.go.th
ชาญชยั แสวงศกัดิ์. (2556). ศาลปกครอง. สืบค้นเมื่อ 13 มกราคม 2567, จํากhttps://www.admincourt.go.th
ฐิติพร ป่านไหม. (2559). สถานะทางการเงินอันอาจได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล. สืบค้นเมื่อ 13 มกราคม 2567,
จาก https://cdc.parliament.go.th
อริยพร โพธิใส. (2557). ศาลปกครองคืออะไร. สืบค้นเมื่อ 11มกราคม2567, จาก https://www.senate.go.th
ฤทัย หงส์สิริ. (2564). คดีปกครอง. สืบค้นเมื่อ 14 มกราคม2567, จาก http://www.knit.or.th