ระบบในร่างกาย

ระบบในร่างกาย 10 ระบบ

ระบบหายใจ(Respiratory System)

มีหน้าที่นำออกซิเจนจากปอดไปสู่เซลล์เพื่อเผาผลาญอาหารทำให้เกิดพลังงาน คาร์บอนไดออกไซด์ และน้ำ คาร์บอนไดออกไซด์จะถูกนำออกนอกร่างกายโดยจะถูกลำเลียง มายังปอดและส่งออกทางลมหายใจออก

ระบบย่อยอาหาร (Digestive System)

ระบบย่อยอาหารมีหน้าที่ย่อยอาหารให้ละเอียด แล้วดูดซึมผ่านเข้าสู่กระแสเลือดเพื่อไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

การย่อยอาหาร (Digestion) หมายถึง กระบวนการสลายอนุภาคอาหารให้มีขนาดเล็กสุด จนสามารถดูดซึมเข้าไปในเซลล์ได้

เมื่อมนุษย์รับประทานอาหารเข้าสู่ร่างกาย จะผ่านระบบต่าง ๆ

ระบบขับถ่าย Excretory System

การขับถ่ายเป็นระบบกำจัดของเสียจากร่างกาย และช่วยควบคุมปริมาณของน้ำในร่างกายให้สมบูรณ์ประกอยด้วย ไต ตับ และลำไส้ เป็นต้น ไต มีหน้าที่ขับสิ่งที่ร่างกายไม่ได้ใช้ออกจากร่างกาย อยู่ด้านหลังของช่องท้อง ลำไส้ใหญ่ มีหน้าที่ขับกากอาหารที่เหลือจากการย่อยของระบบย่อยอาหารออกมาเป็นอุจจาระ

ระบบห่อหุ้มร่างกาย(Integumentary system)

หมายถึงระบบอวัยวะที่ปกคลุมอยู่นอกสุดของร่างกาย อันได้แก่ ผิวหนัง (skin), และอวัยวะที่มีต้นกำเนิดมาจากผิวหนัง (เล็บ ผม/ขน และรูขุมขน ต่อมไขมัน ต่อมเหงื่อ) ผิวหนังเป็นหนึ่งในอวัยวะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของร่างกาย เป็นตัวแบ่งกั้นอวัยวะ

ระบบหมุนเวียนโลหิต (Circulatory System)

ทำหน้าที่นำอาหารและออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์ต่าง ๆ ทั่วร่างกาย และนำคาร์บอนไดออกไซด์กับของเสียจากเซลล์มาขับทิ้ง นอกจากนี้ ยังนำฮอร์โมนที่ผลิตได้จากต่อมไร้ท่อเพื่อส่งไปยังอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย

ระบบโครงกระดูก(Skeletal system)

ระบบโครงกระดูกประกอบไปด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้ ... เอ็น (Tendon) มีทั้งที่เป็นเอ็นกล้ามเนื้อและเอ็นยึดข้อ (Ligament) เป็นเนื้อเยื่อที่มีความแข็งแรงมาก มีลักษณะเป็นเส้นใยเหนียว ช่วยยึดกระดูกกับกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ไว้ด้วยกัน

ระบบประสาท (Nervous System)

เป็นระบบที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของทุกระบบในร่างกาย ให้สัมพันธ์กันโดยทำงานร่วมกับระบบต่อมไร้ท่อนอกจากนี้ยังทำหน้าที่รับและตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอก

ระบบสืบพันธุ์(Reproductive System)

การสืบพันธุ์ของมนุษย์ เป็นแบบปฏิสนธิภายในร่างกาย โดยเพศชายจะหลั่งอสุจิจำนวนมากในช่องคลอดของเพศหญิง อสุจิจะเดินทางเข้าไปในมดลูก และท่อนำไข่เพื่อปฏิสนธิกับไข่ ภายหลังการปฏิสนธิ ตัวอ่อนจะมีการฝังตัวและเจริญเติบโตที่ผนังมดลูก โดยอยู่ในครรภ์ประมาณ 9 เดือน ในระหว่างนั้นต่อมน้ำนมจะทำการผลิตน้ำนม เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการให้นมของเพศหญิง

ระบบกล้ามเนื้อ (Muscular System)

ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของร่างกาย โดยจะอาศัยคุณสมบัติการหดตัวของใยกล้ามเนื้อ ทำให้กระดูกและข้อต่อเกิดการเคลื่อนไหว และมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน นอกจากการเคลื่อนไหว ของกระดูกและข้อต่อแล้ว ยังมีการเคลื่อนไหวของอวัยวะภายในร่างกาย เช่น การเต้นของหัวใจ การบีบตัวของ เส้นโลหิต การบีบตัวของกระเพาะอาหาร ลำไส้ และการทำงานของปอด เป็นต้น การเคลื่อนไหวต่างๆ เหล่านี้ เกิดจากการ ทำงานของกล้ามเนื้อทั้งสิ้น

ระบบต่อมไร้ท่อ(Endocrine System)

เป็นระบบสื่อสารภายในร่างกาย ผ่านฮอร์โมน (Hormone) โดยทำหน้าที่ควบคุมเชื่อมโยง ติดต่อประสานและทำงานร่วมกับระบบอื่น ๆ ของร่างกาย โดยการทำงานจะอยู่ในลักษณะช้า ๆ และส่งผลในระยะยาว เช่น การเจริญเติบโตของร่างกาย การพัฒนาของระบบสืบพันธ์ การมีประจำเดือน การเผาผลาญ การควบคุมปริมาณน้ำและเกลือแร่