รูปแบบการบริหารโรงเรียนในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาของโรงเรียนบ้านค่าย
รูปแบบการบริหารโรงเรียนในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาของโรงเรียนบ้านค่าย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง(School Administration Model in the Education Sandbox of Bankhai School under the Secondary Educational Service Area Office Chonburi Rayong)
1. องค์ประกอบการบริหารโรงเรียนในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
1.1 องค์ประกอบที่ 1 การพัฒนาการจัดการศึกษา
การพัฒนาการจัดการศึกษา หมายถึง การใช้ทักษะความรู้ความสามารถของผู้บริหารโรงเรียนในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง โดยกำหนดแผนกลยุทธ์ในการบริหารนวัตกรรมของโรงเรียนเพื่อแก้ปัญหาและเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงาน โดยเน้นการทำงานเป็นทีมกับคณะครู บุคลากร และสร้างความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายของโรงเรียน ในการพัฒนาครูให้มีทักษะความสามารถในการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งมีแนวทางในการพัฒนา 4 ด้าน ดังนี้
1.1.1 ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม
มี 5 ตัวชี้วัด
1) ผู้บริหารมีทักษะ ความสามารถ มีความรู้ ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ และนำองค์กรสู่ความสำเร็จตามเป้าหมาย
2) ผู้บริหารนำนวัตกรรมการบริหารเข้ามาช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการสถานศึกษา
3) ผู้บริหารให้การเสริมแรง และรับฟังความคิดเห็นของผู้ร่วมงาน
4) ผู้บริหารสร้างแนวคิด หรือแนวปฏิบัติใหม่ในการดำเนินงานตามนวัตกรรมการบริหารที่สร้างขึ้น
5) ผู้บริหารใช้นวัตกรรมด้านการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ และต่อเนื่อง ตลอดจนกระตุ้นให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ ในโรงเรียน
1.1.2 การบริหารแผนนวัตกรรม
มี 4 ตัวชี้วัด
1) ผู้บริหารมีกลยุทธ์ด้านการบริหารจัดการนวัตกรรมการศึกษาที่ชัดเจนเป็นจุดแข็งขององค์กร
2) ผู้บริหารมีกระบวนการจัดการความรู้ หรือวิธีการใหม่เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันในอนาคต
3) ผู้บริหารนำปัญหาที่เกิดขึ้นในโรงเรียนมาเป็นปัจจัยสำคัญของการขับเคลื่อนนวัตกรรมการบริหาร
4) ผู้บริหารมีนวัตกรรมเชิงนโยบายช่วยเพิ่มความคล่องตัว และเพิ่มความมีประสิทธิภาพ
1.1.3 การบริหารหุ้นส่วนองค์การ
มี 5 ตัวชี้วัด
1) ผู้บริหารนำความรู้และเทคนิค/ นวัตกรรมใหม่ ๆ ในการบริหารจัดการโรงเรียน
2) ผู้บริหารทำข้อตกลงในการกำหนดนโยบาย วิสัยทัศน์ร่วมกันระหว่างโรงเรียนกับภาคีเครือข่าย และผู้เกี่ยวข้อง
3) ผู้บริหารและครูมีการทำงานเป็นทีม ให้ความร่วมมือในทุกส่วนของกิจกรรม และทุกขั้นตอนของการทำงาน
4) ผู้บริหารสร้างความสัมพันธ์กับผู้ปกครอง ชุมชน และสังคม ให้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการปรับปรุงคุณภาพของโรงเรียน
5) ผู้บริหารสร้างความพึงพอใจในการจัดการศึกษาของโรงเรียนต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของโรงเรียน
1.1.4 การพัฒนานวัตกร
มี 3 ตัวชี้วัด
1) ผู้บริหารเพิ่มขีดความสามารถของครู และบุคลากรทางการศึกษาในการผลิต และพัฒนานวัตกรรม
2) ผู้บริหารสร้างความตระหนักให้กับครู และบุคลากรให้มีความสามารถและทักษะที่จำเป็นต่อการพัฒนานวัตกรรม (Innovation) และนำมาใช้ในการพัฒนาการปฏิบัติงาน
3) ผู้บริหารนำนวัตกรรมเข้ามาแก้ปัญหาเกี่ยวกับคุณภาพของผู้เรียนอย่างมีระบบ
1.2 องค์ประกอบที่ 2 คุณภาพการบริหาร
คุณภาพการบริหาร หมายถึง การบริหารจัดการศึกษาและการบริหารจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารโรงเรียนกับคณะครู บุคลากร และภาคีเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพ (Efficiency) และประสิทธิผล (Effectiveness) โดยใช้กระบวนการวิเคราะห์สภาพบริบทของโรงเรียนโดยเน้นพื้นที่เป็นฐาน (Area Based) ในการพัฒนารูปแบบการบริหารงาน ด้วยการกำหนดเป็นกลยุทธ์ในการบริหารงาน และการพัฒนาการสร้างความรู้(Knowledge: K) (ตามกระบวนการบริหารจัดการ K-POLC โดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการบริหาร และการพัฒนาหลักสูตรการจัดการศึกษาที่เน้นการใช้นวัตกรรมในพื้นที่เป็นฐาน และการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ร่วมกับการนิเทศ ติดตามประเมินผล และโครงงานวิจัยอย่างเป็นระบบ เพื่อพัฒนาครู บุคลากรให้มีทักษะ ความรู้ ความสามารถในการจัดการเรียนการสอน และทักษะการคิดในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่
1.2.1 ผู้บริหาร
มี 7 ตัวชี้วัด
1) ผู้บริหารเป็นผู้มีวิสัยทัศน์ มีการบริหารเชิงรุก เป็นผู้นำด้านวิชาการ
2) ผู้บริหารเป็นผู้นำด้านการสื่อสาร การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่
3) ผู้บริหารวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของโรงเรียน (SWOT) ใช้หลักการบริหารของโรงเรียนเป็นฐาน
4) สร้างรูปแบบนวัตกรรมการบริหารของสถานศึกษา
5) ผู้บริหารกำหนดนโยบายการบริหารโรงเรียนพื้นที่นวัตกรรมตามกระบวนการ K-POLC
6) ผู้บริหารใช้เทคโนโลยีในการบริหารโรงเรียนในพื้นที่นวัตกรรม
7) ผู้บริหารจัดงบประมาณการบริหารจัดการที่เพียงพอ เหมาะสม
1.2.2 การส่งเสริมการจัดการเรียนการสอน
มี 6 ตัวชี้วัด
1) ผู้บริหารส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นนวัตกรรมในพื้นที่ให้สอดคล้องกับบริบทและความต้องการของชุมชน
2) ผู้บริหารส่งเสริมให้ครูมีกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เป็นแบบเชิงรุก (Active Learning)
3) ผู้บริหารสร้างแรงจูงใจในการทำงานขับเคลื่อนของครูและบุคลากร
4) ผู้บริหารและครูส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
5) ผู้บริหารติดตามและประเมินผลนิเทศติดตามแบบกัลยาณมิตร
6) ผู้บริหารส่งเสริมให้ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ด้วยโครงงานวิจัย Research Based Learning: RBL
1.2.3 ปัจจัยการพัฒนาโรงเรียนในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
มี 4 ตัวชี้วัด
1) ผู้บริหารและครูสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกันของภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน
2) ผู้บริหารและครูมีหลักสูตรการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นนวัตกรรมในพื้นที่
3) ผู้บริหารพัฒนาครูและบุคลากรให้เป็นครูมืออาชีพ
4) ผู้บริหารประชาสัมพันธ์โรงเรียนในเชิงบวก/ สร้างสรรค์ทีมงานที่เข้มแข็ง
1.2.4 กลยุทธ์การพัฒนาโรงเรียนในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
มี 5 ตัวชี้วัด
1) ผู้บริหารพัฒนากลยุทธ์การพัฒนาหลักสูตรการจัดการศึกษาที่เน้นพื้นที่เป็นฐาน
2) ผู้บริหารพัฒนากลยุทธ์การส่งเสริม พัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน
3) ผู้บริหารพัฒนากลยุทธ์ในการพัฒนาครู และบุคลากรให้มีทักษะความรู้ ความสามารถในการจัดการเรียนการสอน และทักษะการคิดในศตวรรษที่ 21
4) ผู้บริหารพัฒนากลยุทธ์การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาของโรงเรียน
5) ผู้บริหารพัฒนากลยุทธ์การกำกับติดตาม ประเมินผล รายงานต้นสังกัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
2. กระบวนการบริหารโรงเรียนในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาโรงเรียนบ้านค่าย K-POLC
กระบวนการบริหารโรงเรียนในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาโรงเรียนบ้านค่าย หมายถึง การดำเนินการปฏิบัติงานด้านการบริหารจัดการศึกษา เพื่อพัฒนาการศึกษาให้เป็นไปตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร และเป้าหมายของการจัดการศึกษาในโรงเรียนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาของโรงเรียนบ้านค่าย อย่างมีประสิทธิภาพโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยมีการวางแผนในการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบทุกองค์ประกอบของการบริหาร โดยการนำของผู้บริหารโรงเรียน ร่วมกับครู บุคลากร เครือข่ายผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยมีการกำหนดโครงสร้างการบริหารงานที่ชัดเจน พร้อมทั้งการกำกับติดตาม ประเมินผลอย่างเป็นระบบ โดยเน้นผลลัพธ์ที่เกิดกับผู้เรียนอย่างมีคุณภาพ ซึ่งประกอบด้วย 5 ด้าน
2.1 ด้านการสร้างความรู้ (Knowledge: K)
การสร้างความรู้ ความเข้าใจของผู้บริหารโรงเรียนกับคณะครู บุคลากร และภาคีเครือข่าย โดยกระบวนการบริหารแบบมีส่วนร่วมโดยที่มีประสิทธิภาพ (Efficiency) และประสิทธิผล (Effectiveness) ตามสภาพบริบทของโรงเรียนโดยเน้นพื้นที่เป็นฐาน (Area Based) ในการบริหารงาน ตามกระบวนการ การบริหารโรงเรียนในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา 4 ด้านคือ ด้านการวางแผน ด้านการจัดองค์การ ด้านการนำ และด้านการควบคุม เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของการบริหารโรงเรียนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
2.2 ด้านการวางแผน (Planning: P)
การวางแผนในการบริหารงานตามกระบวนการ การบริหารโรงเรียนในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ซึ่งประกอบด้วย การพัฒนาการจัดการศึกษาและคุณภาพการบริหาร โดยการมีส่วนร่วมของผู้บริหารโรงเรียนกับคณะครู บุคลากร และภาคีเครือข่ายตามสภาพบริบทของโรงเรียนโดยเน้นพื้นที่เป็นฐาน (Area Based) เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของการบริหารโรงเรียนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
2.3 ด้านการจัดองค์กร (Organizing: O)
การกำหนดโครงสร้างการปฏิบัติงานในการบริหารงานตามกระบวนการ การบริหารโรงเรียนในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ซึ่งประกอบด้วย การพัฒนาการจัดการศึกษาและคุณภาพการบริหาร โดยการมีส่วนร่วมของผู้บริหารโรงเรียนกับคณะครู บุคลากร และภาคีเครือข่ายตามสภาพบริบทของโรงเรียนโดยเน้นพื้นที่เป็นฐาน (Area Based) เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของการบริหารโรงเรียนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
2.4 ด้านการนำ (Leading: L)
เป็นผู้นำด้านวิชาการในการขับเคลื่อนการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน และนวัตกรรมการบริหารโรงเรียนพื้นที่นวัตกรรมตามองค์ประกอบด้านการบริหารงานซึ่งประกอบด้วย การพัฒนาการจัดการศึกษาและคุณภาพการบริหาร แบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารโรงเรียนกับคณะครู บุคลากร และภาคีเครือข่ายโดยการวิเคราะห์สภาพบริบทของโรงเรียนที่เน้นพื้นที่การศึกษาเป็นฐาน (Area Based)เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของการบริหารโรงเรียนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
2.5 ด้านการควบคุม (Controlling: C)
การติดตามผลการปฏิบัติงาน (ในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ) ตามองค์ประกอบด้านการบริหารงานซึ่งประกอบด้วย การพัฒนาการจัดการศึกษาและคุณภาพการบริหาร แบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารโรงเรียนกับคณะครู บุคลากร และภาคีเครือข่ายโดยการวิเคราะห์สภาพบริบทของโรงเรียนที่เน้นพื้นที่การศึกษาเป็นฐาน (Area Based) เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของการบริหารโรงเรียนพื้นที่นวัตกรรม
3. ผลผลิตการบริหารโรงเรียนในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
ผลผลิตการบริหารโรงเรียนในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาโรงเรียนบ้านค่าย หมายถึง ผลของความสำเร็จที่เกิดจากกระบวนการบริหารจัดการศึกษาอันประกอบด้วย การสร้างความรู้ การวางแผน การจัดองค์กร การนำ และการควบคุม และองค์ประกอบด้านการพัฒนาการจัดการศึกษาและด้านคุณภาพการบริหารโรงเรียนในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาโรงเรียนบ้านค่าย ที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนและกระบวนการบริหารจัดการและการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ตามเกณฑ์มาตรฐานการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย 3 ด้าน
3.1 ด้านคุณภาพผู้เรียน
3.2 ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ
3.3 ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
4. ผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
ผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน หมายถึง ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ คุณลักษณะตามจุดประสงค์และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรแกนกลางและหลักสูตรสถานศึกษาของนักเรียนโรงเรียนในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาโรงเรียนบ้านค่าย ตามเกณฑ์ของโรงเรียนในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
4.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ
4.2 คุณลักษณะตามจุดประสงค์ของหลักสูตรแกนกลางและหลักสูตรสถานศึกษา
4.3 คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน ตามหลักสูตรแกนกลางและหลักสูตรสถานศึกษา