วิทยาลัยเทคนิคอ่างทอง ตั้งอยู่ ตำบลตลาดหลวง อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง อาณาเขตติดกับหมู่ที่ 1 ตำบลย่านซื่อทิศตะวันออกติดต่อ กับ ฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ทิศใต้ติดต่อกับถนนเทศบาล 10 และวัดต้นสน ทิศตะวันตกติดต่อกับทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 309 ถนน สิงห์บุรี - อ่างทองสายเก่า มีพื้นที่ที่เป็นที่ตั้งของวิทยาลัยฯ ปัจจุบันจำนวน 33 ไร่ 1 งาน 10 ตารางวา และมีพื้นที่เป็นบริเวณบ้านพักครู - อาจารย์ (โรงเรียนการช่างสตรีเดิม) จำนวน 8 ไร่ 1 งาน 16 ตารางวา รวมเนื้อที่ทั้งสิ้น 41 ไร่ 2 งาน 26 ตารางวา

วิทยาลัยเทคนิคอ่างทอง ก่อตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2479 ชื่อโรงเรียนประถมอาชีพช่างไม้หลักสูตร 2 ปี สถานที่ตั้งยู่ที่โรงเรียนวัดท้องคุ้งในปัจจุบัน

พ.ศ. 2481 | ย้ายมาตั้งอยู่ที่สถานที่ปัจจุบัน ชื่อโรงเรียนการช่างไม้อ่างทอง
เปิดสอนหลักสูตร 3 ปี สอนระดับมัธยมอาชีวศึกษาตอนต้น

พ.ศ. 2495 | ขยายการศึกษา เป็นหลักสูตร 6 ปี เปิดถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

พ.ศ. 2501 | ตัดการสอนระดับมัธยมอาชีวศึกษาตอนต้นออก

พ.ศ. 2502 | เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนการช่างอ่างทอง

พ.ศ. 2503 | โดยจัดการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นสายอาชีพ
แผนกช่างไม้ปลูก สร้าง หลักสูตร 3 ปี และมัธยมศึกษาตอนปลายสายอาชีพ
แผนกช่างก่อสร้าง หลักสูตร 3 ปี รวมเป็น 6 ปี
มีการเรียนการสอนวิชาสามัญระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4-5 (ม.ศ.5) แผนกทั่วไป

พ.ศ. 2504 | ขยายการศึกษาระดับอาชีวศึกษาชั้นสูง แผนกช่างไม้ปลูกสร้าง หลักสูตร 3 ปี

พ.ศ. 2505 | ปรับปรุงการเรียนการสอนตามแผนการศึกษาแห่งชาติ

พ.ศ. 2513 | รวมโรงเรียนการช่างอ่างทอง และโรงเรียนการช่างสตรีอ่างทองเข้าด้วยกัน
โดยใช้ชื่อโรงเรียนการช่างอ่างทอง

พ.ศ. 2514 | เปิดสอนแผนกวิชาช่างยนต์ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสายอาชีพ
เริ่มงดรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

พ.ศ. 2518 | จัดการศึกษาระดับประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย พุทธศักราช 2518
หลักสูตร 2 ปี

พ.ศ. 2519 | เปิดสอนแผนกวิชาช่างกลโรงงาน

พ.ศ. 2520 | ได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนเทคนิคอ่างทอง
เปิดสอนตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2520 หลักสูตร 1 ปี
ต่อจากระดับ มัธยมศึกษาตอนปลายพร้อมทั้งเปิดสอนแผนกช่างไฟฟ้ากำลัง

พ.ศ. 2521 | เปิดการสอนแผนกวิชาช่างเชื่อมและโลหะแผ่น

พ.ศ. 2522 | เปิดสอนแผนกวิชาพณิชยการ

พ.ศ. 2523 | ได้รับการสถาปนาเป็นวิทยาลัยเทคนิคอ่างทอง

พ.ศ. 2524 | เปลี่ยนหลักสูตรการสอนเป็นระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ
พุทธศักราช 2524 หลักสูตร 3 ปี

พ.ศ. 2527 | เปิดการสอนแผนกวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์ ในระดับ ปวช.
นอกจากนี้ยังเปิดการสอนในระดับ ปวส. ในแผนกวิชาช่างก่อสร้าง ผ้า
และเครื่องแต่งกาย และการบัญชี ระดับ ปวท. เปิดสอนวิชาการบัญชี

พ.ศ. 2530 | เปิดสอนหลักสูตร ปวช. ช่างอุตสาหกรรม 6 สาขา คหกรรมศาสตร์
3 สาขา และ พณิชยการ 3 สาขา โดยจัดการเรียนการสอน
ปีการศึกษาละ 4 ภาคเรียน ภาคเรียนละ 10 สัปดาห์
(ใช้หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2530)

พ.ศ. 2532 | งดรับนักศึกษาในระดับ ปวท.

พ.ศ. 2533 | เปลี่ยนจากการเรียนการสอน ระดับ ปวช. ปีการศึกษาละ 4 ภาคเรียน
เป็นปีการศึกษาละ 2 ภาคเรียน ภาคเรียนละ 20 สัปดาห์
(ใช้หลักสูตรประกาศนียบัตร วิชาชีพพุทธศักราช 2530)
(ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 พ.ศ.2533)

พ.ศ. 2534 | เปิดสอนระดับ ปวส. แผนกช่างไฟฟ้าและช่างอิเล็กทรอนิกส์

พ.ศ. 2535 | เปิดสอนระดับ ปวส. แผนกวิชาเทคนิคการผลิต

พ.ศ. 2536 | เปิดสอนระดับ ปวส. ในสาขาวิชาช่างยนต์ สาขาวิชาเทคนิคโลหะ
และสาขาวิชาการตลาด

พ.ศ. 2537 | เปิดการสอนระดับ ปวส. สาขาวิชาคอมพิวเตอร์

พ.ศ. 2538 | เปิดการสอนระดับ ปวส. สาขาช่างวิชาเทคนิคการผลิต
สาขางานแม่พิมพ์พลาสติกและสาขาคหกรรมทั่วไป

พ.ศ. 2539 | เปิดการสอนระดับ ปวส. สาขาเครื่องทำความเย็นและปรับอากาศ

พ.ศ. 2540 | เปิดสอนระดับ ปวส. สาขาวิชาติดตั้งไฟฟ้า สาขาวิชาช่างเทคนิคโลหะ
และสาขาวิชาการเลขานุการ

พ.ศ. 2541 | งดรับนักศึกษาระดับ ปวส. สาขาวิชาติดตั้งไฟฟ้า
และผู้สำเร็จการศึกษา ม.6 ในสาขาวิชาการเลขานุการ

พ.ศ. 2542 | เปิดสอนระดับ ปวส. โดยรับผู้สำเร็จการศึกษามัธยมปลาย (ม.6)
เข้าศึกษาต่อ สาขาวิชาช่างยนต์ สาขาวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง
สาขาวิชาช่างก่อสร้าง สาขาการบัญชี และสาขาวิชาการตลาด

พ.ศ. 2543 | เปิดสอนระดับ ปวส. โดยรับผู้สำเร็จการศึกษามัธยมปลาย (ม.6)
เข้าศึกษาต่อ สาขาวิชาเครื่องมือกล สาขาวิชาเทคนิคโลหะ
สาขาวิชาเครื่องทำความเย็นและปรับอากาศ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

พ.ศ. 2544 | เปิดสอนระดับ ปวส. โดยรับผู้สำเร็จการศึกษามัธยมปลาย(ม.6)
เข้าศึกษาต่อ สาขาวิชาช่างยนต์ สาขาวิชางานเครื่องมือกล
สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

พ.ศ. 2545 | แผนกวิชาช่างก่อสร้างเปิดสอนสาขางานสถาปัตยกรรม
เพิ่มขึ้นอีก1 สาขาวิชา

พ.ศ. 2546 | เปิดสอนระดับ ปวส. โดยรับผู้สำเร็จการศึกษามัธยมปลาย (ม.6)
และ ปวช.ทุกสาขาวิชาเข้าศึกษาต่อ สาขาวิชาสารสนเทศ