หน้าที่ครูผู้สอน

ครูผู้สอน เป็นผู้ที่อบรม สั่งสอน ฝึกฝน สร้างเสริมความรู้ ทักษะ และนิสัยที่ถูกต้องดีงามให้เกิดแก่นักเรียน-นักศึกษาอย่างเต็มกําลัง
ความสามารถ และด้วยความบริสุทธิ์ใจ รวมถึงมีความรู้และความเข้าใจในด้านต่างๆ ดังนี้

1. แผนการสอนสมรรถนะ
ครูผู้สอนจััดทำแผนการสอนสมรรถนะ "เน้นการปฏิบัติ" จัดการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นการพัฒนาผู้เรียนให้เกิดสมรรถนะ ผู้เรียนรู้วิธีคิด และวิธีประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ และเจตคติในการปฏิบัติงาน สามารถตอบสนองความแตกต่างที่หลากหลายของผู้เรียนได้ โดยผู้เรียนเป็นผู้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ อย่างแท้จริง

2. ผลิตสื่อ VDO ประกอบการสอน
ครูผู้สอนผลิตสื่อ VDO ประกอบการสอน แต่ละงานให้ตรงตามแผนการสอนสมรรถนะ เพื่อเป็นแนวทางในการเรียนการสอนออนไลน์บน YouTube

3. เตรียมการสอน เครื่องมือ/อุปกรณ์ เครื่องจักร วัสดุฝึก อุปกรณ์ช่วยสอนอื่นๆ
ครูผู้สอนเตรียมการสอนล่วงหน้าอย่างเป็นระบบ วางแผนเตรียมการสอน เครื่องมือ/อุปกรณ์ เครื่องจักร วัสดุฝึก อุปกรณ์ช่วยสอนอื่นๆ และจัดสภาพแวดล้อมของห้องเรียนได้เหมาะกับการเรียนรู้ของผู้เรียน นําหลักจิตวิทยามาใช้ในการเรียนการสอน สอดคล้องกับพัฒนาการของผู้เรียน ใช้ภาษาไทยสื่อความหมายได้อย่าง ถูกต้อง ทั้งการพูด การเขียน การถ่ายทอดความรู้ การใช้คําถาม การออกความคิดเห็น และการอภิปราย เตรียมสื่อการเรียนการสอนได้สอดคล้องกับจุดประสงค์และเนื้อหาวิชาที่สอน เตรียมวิธีสอนหลายรูปแบบ และเลือกมาสอนได้ถูกต้องและเหมาะสมกับผู้เรียน

4. กระบวนการสอน
ครูผู้สอนจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการ MIPP ดังนี้
4.1 การนําเข้าสู่บทเรียน
4.1.1 ขั้นสนใจ (Motivation) กระตุ้นความสนใจให้ผู้เรียนเกิดความอยากเรียนรู้ โดยใช้คําถามกว้างๆ เพื่อให้ผู้เรียนส่วนใหญ่มีส่วนร่วมในการตอบคำถาม

4.2 การเรียนรู้
4.2.1 ขั้นศึกษาข้อมูล (Information) ผู้สอนต้องเลือกเนื้อหาที่ต้องรู้ (Must know) มาสอนก่อน เช่น การสอนเรื่องเครื่องมือในการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ ผู้สอนต้องสอนชื่อของเครื่องมือและชนิดของอุปกรณ์ต่างๆ ก่อน แล้วจึงสอนวิธีการใช้งาน และวิธีการบํารุงรักษา
4.2.2 ขั้นพยายาม (Application) ผู้สอนต้องมีแบบฝึกการปฏิบัติ เพื่อให้ผู้เรียนใช้ความรู้ที่ได้เรียนมาแก้ปัญหาพัฒนาทักษะ และเป็นการเปลี่ยนกิจกรรม เพื่อไม่ให้เกิดความเบื่อหน่ายในการเรียนรู้

4.3 การสรุป
4.3.1 ขั้นสําเร็จผล (Progress) ผู้สอนต้องมีการเฉลยใบงาน/แบบฝึกหัด เพื่อให้ผู้เรียนตรวจสอบ ปรับความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาที่ได้เรียนมา และเป็นการ สรุปซ้ําในเนื้อหาอีกครั้ง

5. ตรวจให้คะแนนใบงาน/แบบฝึกหัด
ครูผู้สอนตรวจและให้คะแนนใบงาน/แบบฝึกหัด ให้เสร็จในคาบเรียน เพื่อนําไปใช้วัดประเมินผลตามการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะที่ผู้สอนได้วางแผนไว