ฝ่ายวิจัย สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
Research Division, Institute of East Asian Studies
Thammasat University

คลิปแนะนำนักวิจัยของสถาบันฯ

ข่าวสาร

วันที่ 17 พฤษภาคม 2566 นายภูวิน บุณยะเวชชีวิน นักวิจัยชำนาญการ และนางสาวนิรินธร มีทรัพย์นิคม นักวิจัย สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา ร่วมนำเสนอบทความในงาน Workshop on "Area Studies as a Discipline" จัดโดย Institute for International and Area Studies, Tsinghua University ณ ห้องประชุมบัญญัติ สุรการวิทย์ สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต


วันที่ 12 พฤษภาคม 2566 นางสาวนิรินธร มีทรัพย์นิคม นักวิจัย สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา เข้าร่วมWorkshop to Commemorate 50th Year of ASEAN – Japan Friendship and Cooperation, shaping Future Vision of ASEAN-Japan Friendship through Science, Technology and Innovation Coordinators towards 2050 ณ โรงแรม Centara Grand at Central Ladprao


  

ดร.อำพา แก้วกำกง ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา เข้าร่วมโครงการ ASEAN Fellowship Program เพื่อศึกษาดูงานด้านวัฒนธรรมและพัฒนาเครือข่ายด้านอาเซียนศึกษา ณ ประเทศกัมพูชา ระหว่างวันที่ 19-22 เมษายน 2566 จัดโดยศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย


 



สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษาจัดเสวนาโต๊ะกลมเพื่อแลกเปลี่ยนและกำหนดแนวทางการจัดทำหนังสือชุด "การต่างประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้: ความเปลี่ยนแปลงและความต่อเนื่องในศตวรรษที่ 21" เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2566 ณ ห้องอัลฟ่า สแควร์ โรงแรมโนโวเทล สยามสแควร์ กรุงเทพฯ โดยได้รับการสนับสนุนจากสถาบันโลกคดีศึกษา วิทยสถานสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ของประเทศไทย (Thailand Academy of Social Sciences, Humanities and Arts ; TASSHA)

วันที่ 31 มีนาคม 2566 นายจินตวัฒน์ ศิริรัตน์ นักวิจัยชำนาญการ และนางสาวอรวรรณ นักปราชญ์ นักวิจัย สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษาได้รับเชิญเป็นผู้บรรยายพิเศษในรายวิชา กธ.321 กลยุทธ์และการดำเนินธุรกิจในภูมิภาคเอเชียของคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หัวข้อ "กรณีศึกษา: โลจิสติกส์-รถไฟความเร็วสูงกับโอกาสการทำธุรกิจในเอเชีย"

  

วันที่ 24 มีนาคม 2566 นางสาวนิรินธร มีทรัพย์นิคม นักวิจัย สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา ได้รับเชิญเป็นผู้บรรยายพิเศษในรายวิชา กธ.321 กลยุทธ์และการดำเนินธุรกิจในภูมิภาคเอเชียของคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในหัวข้อ “สำรวจการพัฒนาเมืองอัจฉริยะของเกาหลีใต้ : บทเรียนและโอกาสของธุรกิจไทย"

 



วันที่ 17 มีนาคม 2566 ดร.วทัญญู ใจบริสุทธิ์ นักวิจัยชำนาญการ สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา ได้รับเชิญเป็นผู้บรรยายพิเศษในรายวิชา กธ.321 กลยุทธ์และการดำเนินธุรกิจในภูมิภาคเอเชียของคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในหัวข้อ "กรณีศึกษา : OVOP หนึ่งหมู่บ้านหนึ่งผลิตภัณฑ์จากญี่ปุ่น ต้นแบบของ OTOP ในไทย" 


วันที่ 30 มีนาคม 2566 นางสาวนิรินธร มีทรัพย์นิคม นักวิจัยสถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา เป็นผู้แทนสถาบันฯ เข้าร่วมการประชุมหารือกลุ่มย่อยผังนโยบายระดับประเทศในประเด็นการจัดทำผังนโยบายการเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาค ณ ห้องประชุม 2101 อาคาร 2 ชั้น 1 กรมโยธาธิการและผังเมือง กรุงเทพมหานคร

  

วันที่ 15 มีนาคม 2566 นางสาวอรวรรณ นักปราชญ์ นักวิจัยสถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา ร่วมเป็นผู้ดำเนินรายการในงานเสวนา Morning Talk ครั้งที่ 1 หัวข้อ "ถอดรหัสความท้าทายของอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่สู่เป้าหมายเศรษฐกิจยั่งยืน“ ณ ห้องบอลรูม ชั้น 38 โรงแรมพูลแมน กรุงเทพฯ




นายภูวิน บุณยะเวชชีวิน นักวิจัยชำนาญการ สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา ให้สัมภาษณ์นิตยสาร The Economist เกี่ยวกับซีรีส์วาย คอลัมน์เผยแพร่เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2566คอลัมน์ข่าว https://www.economist.com/.../are-thailands-gay-tv-dramas...



วันอังคารที่  7 มีนาคม 2566 ดร.วทัญญู ใจบริสุทธิ์ เป็นวิทยากรร่วมกับ รศ. ดร.ดุลยภาค ปรีชารัชช ในงานเทศกาลเสวนาภาพยนตร์อุษาคเนย์ ประจำปี 2566  Hero & Heroine “ผู้นำอุษาคเนย์” โดยร่วมเสวนาภาพยนตร์เรื่อง The Lady ณ ห้องสัมมนากลาง สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา

  

วันที่ 2 - 3 มีนาคม 2566 นายภูวิน บุณยะเวชชีวิน นักวิจัยชำนาญการ สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมเป็นวิทยากรในการเสวนาวิชาการ หัวข้อ "พิษณุโลกบนรอยเลื่อนทางยุทธศาสตร์ : ภาพสะท้อนภูมิรัฐศาสตร์ใหม่ของไทย" ณ โรงแรมดิอิมพีเรียลโฮเทล แอนด์ คอนเวนชั่น เซนเตอร์ พิษณุโลก จัดโดย คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 



วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2566 นายภูวิน บุณยะเวชชีวิน นักวิจัยชำนาญการ สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา ร่วมนำเสนอผลงานวิชาการเรื่อง "Exclusion as the Logic of Regional Group Formation" และคุณ Darren de la Torre Mangado จาก De La Salle University, Manila, Visiting Researcher, Institute of East Asian Studies ร่วมนำเสนอผลงานวิชาการเรื่อง "Southeast Asia In Between the US-Japan and China Regional (Re)Ordering Schemes“ ในการประชุมเชิงปฏิบัติการ Comparative Regionalism: VUCA World and Changing Regional Configuration 


วันที่ 22 ธันวาคม 2565 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชัยวัฒน์ มีสันฐาน ผู้อำนวยการสถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา และ ดร.อำพา แก้วกำกง ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย เข้าพบปะพูดคุยกับผู้แทนของศูนย์วัฒนธรรมเกาหลี ประจำประเทศไทย และผู้แทนองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวเกาหลี สำนักงานกรุงเทพฯ เกี่ยวกับความร่วมมือด้านการวิจัยร่วมกันในอนาคต
  

วันที่ 15 ธันวาคม 2565 นายภูวิน บุณยะเวชชีวิน นักวิจัยชำนาญการ ได้รับเชิญเป็นวิทยากรบรรยายให้กับนักศึกษาสาขาวิชาพม่าศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ในหัวข้อ “ข้อถกเถียงและการตั้งคำถามวิจัย” ณ ห้อง HU 4305 คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 



วันที่ 11 ธันวาคม 2565 นางสาวนิรินธร มีทรัพย์นิคม นักวิจัยสถาบันฯ เข้าร่วมนำเสนอบทความวิจัยเรื่อง “South Korea’s Human Resource Development for Sustainable Smart Cities: Recommendations for Thai-South Korean Cooperation” ในการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ 15th Asian Political and International Studies Association Annual Congress (APISA2022) ซึ่งจัดภายใต้หัวข้อเรื่อง “World on Fire: Wither International Cooperation? ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

วันที่ 7 ธันวาคม 2565 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชัยวัฒน์ มีสันฐาน ผู้อำนวยการสถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา และ ดร.อำพา แก้วกำกง ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย เข้าพบคุณ Kim Dong Wook, Director of Korean Education Center เพื่อพูดคุยเกี่ยวกับความร่วมมือด้านการวิจัยร่วมกันในอนาคต
  

เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2565 นางสาวนิรินธร มีทรัพย์นิคม นักวิจัยสถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา เป็นผู้บรรยาย Online Expert Lecture Series ให้กับ Central University of Himachal Pradesh Sapt-Sindhu Parisar, Dehra Department of Political Science ประเทศอินเดีย ในหัวข้อ “International Cooperation between Thailand and India in Digital Era: Lessons from Thailand – South Korea Cooperation on Smart City”



เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 65 เผยแพร่คลิปการเสวนาออนไลน์จากผลงานวิจัย เรื่อง “การวิเคราะห์ความช่วยเหลือด้านการศึกษาของจีนต่อกัมพูชาในทศวรรษ 2010” โดย ดร.อำพา แก้วกำกง นักวิจัยชำนาญการ สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา ร่วมกับ อาจารย์กากี อุต ผู้เชี่ยวชาญด้านกัมพูชา จากศูนย์ภาษา กรมยุทธศึกษาทหารบก จัดโดย ศูนย์การเรียนรู้จีนศึกษาบรมราชกุมารี 
วันที่ 18 พฤศจิกายน 2565 Mr. HASSAN ABUKASEM จาก THE CAMBODIA DAILY (national news outlet on social media, DC Senior Anchor) เข้าพบปะหารือกับ ดร.อำพา แก้วกำกง และนักวิจัยของสถาบันฯ เพื่อพูดคุยในประเด็นความสัมพันธ์ระหว่างกัมพูชา-สหรัฐอเมริกา และความสัมพันธ์ระหว่างกัมพูชา-จีน  

นายจินตวัฒน์ ศิริรัตน์ นักวิจัยชำนาญการ สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับรถไฟความเร็วสูง ในประเด็นบทบาทของการรถไฟจีนและไทย ในการส่งเสริมการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนและเศรษฐกิจไทย และมุมมองเรื่องการเชื่อมโยงโครงข่ายรถไฟจีนและไทย และรถไฟจีนและลาว ในรายการจับจ้องมองจีน ออกอากาศเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2565 เวลา 15.30 น. ทางช่อง Nation 22 รับชมคลิปเต็มได้ที่ https://youtu.be/08nG3ARdj-E


วันที่ 25 พฤศจิกายน 2565 นายจินตวัฒน์ ศิริรัตน์ นักวิจัยชำนาญการ ร่วมเป็นวิทยากรในงานเสวนาออนไลน์ หัวข้อ “เจลีก ไทยลีก: ความสำคัญในความสัมพันธ์ญี่ปุ่น-ไทย” ร่วมกับ คุณประมูลชัย นพสุวรรณวงศ์ จากสโมสรบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด และคุณวัฒนา อ่อนพานิช จาก The Japan Foundation และมี ดร.วทัญญู ใจบริสุทธิ์ นักวิจัยชำนาญการ เป็นผู้ดำเนินรายการ จัดโดย ศูนย์ญี่ปุ่นศึกษา สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา 
เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 65 ดร.อำพา แก้วกำกง และ น.ส.นิรินธร มีทรัพย์นิคม นักวิจัยของสถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา เข้าร่วมสังเกตการณ์การศึกษาดูงานของหน่วยงานเกาหลี และทำความรู้จักผู้เกี่ยวข้องสำหรับการปูทางสร้างเครือข่ายความร่วมมือไทย-เกาหลีด้านการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ณ EECi วังจันทร์วัลเล่ย์ จ.ระยอง ซึ่งการศึกษาดูงานครั้งนี้เป็นหนึ่งในกิจกรรมภายใต้งาน "Thailand-Korea Economic Cooperation Forum & Smart City Day" 

วันที่ 4 ตุลาคม 2565 ดร.อำพา แก้วกำกง นักวิจัยชำนาญการ สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา เข้าร่วมนำเสนอผลงานวิจัยเรื่อง "ความช่วยเหลือด้านการศึกษาของเกาหลีใต้ต่อกัมพูชาในทศวรรษ 2010: วิเคราะห์คุณลักษณะและการดำเนินงาน" ในงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการเกาหลีศึกษา ประจำปี 2565 ณ ห้อง 103 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดโดย ศูนย์ส่งเสริมการวิจัยในภูมิภาคเอเชียของมูลนิธิเกาหลีเพื่อการศึกษาขั้นสูง สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วันที่ 19 กันยายน 2565 สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับ หน่วยวิจัยด้านประวัติศาสตร์และการเมืองระหว่างประเทศแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดบรรยายพิเศษหัวข้อ "Boys Love Media in Thailand" ณ ศูนย์ประชุม-สัมมนา เดอะ คอนเน็คชั่น (The Connecion Seminar Center) โดยมีวิทยากรร่วมแลกเปลี่ยนได้แก่ Dr. Thomas Baudinette จาก Macquarie University, Australia and  Visiting Researcher, Institute of East Asian Studies, Thammasat University ร่วมด้วยคุณภูวิน บุณยะเวชชีวิน นักวิจัยชำนาญการ สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และผศ. ดร.กรพนัช ตั้งเขื่อนขันธ์ อาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วันที่ 12 กันยายน 2565 สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เข้าศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับศูนย์ศึกษาการต่างประเทศ สถาบันการต่างประเทศเทวะวงศ์วโรปการ เพื่อสร้างความร่วมมือทางวิชาการระหว่างกัน 

วันที่ 12 กันยายน 2565 ดร.อำพา แก้วกำกง นักวิจัยชำนาญการ สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นวิทยากรให้กับสถาบันวิชาการ บมจ. โทรคมนาคมแห่งชาติ เพื่อบรรยายในหัวข้อ “ประสบการณ์ที่สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ศักยภาพของการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ สังคม ของประเทศในอาเซียน” ณ ห้องออดิทอเรียม อาคารกาญจนาภิเษก สถาบันวิชาการ บมจ. โทรคมนาคมแห่งชาติ

ดร.อำพา แก้วกำกง นักวิจัยชำนาญการ สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เข้าร่วมนำเสนอผลงานวิจัยเรื่อง "South Korea Education Aid to Cambodia in the 2010s: Characteristics and Operations Analysis" ในงาน The 8th International Joint Conference on Korean Studies and Thai Studies เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2565 ณ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษาจัดโครงการจัดการความรู้ (KM) ด้านการวิจัยเรื่อง “การพัฒนาโจทย์วิจัย/ข้อเสนอโครงการวิจัย และการบริหารจัดการทุนวิจัย” เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2565 เวลา 13.00 – 16.30 น. ณ ห้องสัมมนาไพศิษฐ์ พิพัฒนกุล ชั้น 1 สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต) โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.อิศรา ศานติศาสน์ อดีตผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายชาติและความสัมพันธ์ข้ามชาติ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เป็นวิทยากร 

สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษาจัดโครงการสัมมนาเผยแพร่ผลงานวิจัยเรื่อง “การวิเคราะห์ SWOT ความร่วมมือระหว่างไทย-เกาหลีใต้เพื่อการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ : มุมมองประเทศไทย” ในวันพฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม 2565 เวลา 13.30 – 16.30 น. ผ่านระบบ ZOOM Cloud Meetings โดยมี น.ส.นิรินธร มีทรัพย์นิคม นักวิจัยของสถาบันเอเชียตะวันออกศึกษาเป็นผู้นำเสนอผลการวิจัย 

ดร.อำพา แก้วกำกง นักวิจัยชำนาญการ สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา ได้เข้าร่วมนำเสนอบทความวิจัยเรื่อง “Enhancing ASEAN Community Educational Cooperation through a Thailand-Indonesia School Partnership Program: Policy and Practice” ในงานประชุม The 12th EuroSEAS conference 2022 จัดโดย European Association for Southeast Asian Studies (EuroSEAS) ระหว่างวันที่ 28 มิถุนายน 2565 ถึงวันที่ 1 กรกฎาคม 2565 โดยได้รับการจัดสรรทุนอุดหนุนการนำเสนอผลงานทางวิชาการ ผลงานสร้างสรรค์ และสิ่งประดิษฐ์นวัตกรรมในต่างประเทศ ประจำปีงบประมาณ 2565 (รอบที่ 3) จากกองทุนวิจัยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2565 นางสาวนิรินธร มีทรัพย์นิคม นักวิจัยประจำสถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เข้าร่วมนำเสนอผลงานทางวิชาการในรูปแบบออนไลน์เรื่อง "การวิเคราะห์ SWOT ความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและเกาหลีใต้ด้านการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ : มุมมองของประเทศไทย" ในงานประชุมวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ระดับชาติ ครั้งที่ 15 และระดับนานาชาติ ครั้งที่ 2 ภายใต้หัวข้อ "ความคล่องตัวด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ในโลก VUCA" จัดโดย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษาขอแสดงความยินดีกับ ดร.อำพา แก้วกำกง นักวิจัยชำนาญการ สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ได้ตีพิมพ์เผยแพร่บทความวิจัยใน International Education Journal: Comparative Perspectives Vol.21, No 1, 2022 ซึ่งเป็นวารสารในฐานข้อมูล Scopus ชื่อบทความ "China’s international education aid to Cambodia in the 2010’s: Situation analysis and trends"

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชัยวัฒน์ มีสันฐาน ผู้อำนวยการสถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา พร้อมคณะนักวิจัยของสถาบันฯ ร่วมต้อนรับ คุณสุริยัน วิจิตรเลขการ ผู้อำนวยการสถาบันความร่วมมือเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขง (Mekong Institute) ในการพบปะพูดคุยเกี่ยวกับการสร้างความร่วมมือทางวิชาการระหว่างกัน เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2565 ณ ห้องรับรอง สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชัยวัฒน์ มีสันฐาน ผู้อำนวยการสถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดุลยภาค ปรีชารัชช รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ พร้อมคณะนักวิจัย ร่วมให้การต้อนรับ พลตรี ประเทือง ปิยกะโพธิ์ ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารและนักวิจัยจากศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์ สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ ในการเข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการวิจัย และการสร้างความร่วมมือทางวิชาการภายใต้หัวข้อ “บทบาทและแนวโน้มของประเทศมหาอำนาจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” ร่วมกับนักวิจัยของสถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2565 ณ ห้องสัมมนาไพศิษฐ์ พิพัฒนกุล สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

บทความ Scopus ของนักวิจัย สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา ขอแสดงความยินดีกับ คุณภูวิน บุณยะเวชขีวิน

ผู้บริหารสถาบันเอเชียตะวันออกศึกษานำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชัยวัฒน์ มีสันฐาน ผู้อำนวยการสถาบันฯ และคณะนักวิจัย เข้าร่วมโครงการวิจัยสัญจรมุ่งเป้าสู่แหล่งทุนโดยเข้าศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการร่วมกับศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์ สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ นำโดย พล.ต. ประเทือง ปิยกะโพธิ์ ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์ เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2565 ณ ห้องประชุม ศศย.สปท. (1) สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ

เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2565 ที่ผ่านมา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดุลยภาค ปรีชารัชช รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา และนางสาวอรวรรณ นักปราชญ์ นักวิจัย สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา ร่วมบรรยายพิเศษในหัวข้อ "การพัฒนาโลจิสติกส์ลิงค์ในภูมิภาคกับความมั่นคงทะเลไทย" จัดโดย ฝ่ายวิชาการ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ ณ ห้องประชุม 138 กรมยุทธศึกษาทหารเรือ

"การจัดการเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อตอบสนองนโยบายขับเคลื่อนการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียนของไทย: วิเคราะห์การนํานโยบายไปปฏิบัติ" โดย ดร.อำพา แก้วกำกง บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่องการขับเคลื่อนความร่วมมือด้านการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน:กรณีศึกษาโครงการโรงเรียนคู่พัฒนาไทย-อินโดนีเซียได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยและนวัตกรรมจากสํานักงานการวิจัยแห่งชาติปีงบประมาณ 2563

Thammasat University Research Unit in History and International Politics หน่วยวิจัยด้านประวัติศาสตร์และการเมืองระหว่างประเทศแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดย ภูวิน บุณยะเวชชีวิน หัวหน้าหน่วยวิจัย ติดตามผลงานวิชาการ และบริการวิชาการด้านวิจัย 

สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา ขอแสดงความยินดีกับ ดร.วทัญญู ใจบริสุทธิ์ และ นางสาวนิรินธร มีทรัพย์นิคม นักวิจัยของสถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในโอกาสได้รับทุนสนับสนุนโครงการวิจัยจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเพื่อสนับสนุนงานมูลฐาน (Fundamental Fund) ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ 2565

ผู้อำนวยการและนักวิจัยของสถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับ ศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์ สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ ภายใต้โครงการวิจัยสัญจรมุ่งเป้าสู่แหล่งทุน เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2564 เวลา 13.00 - 14.00 น. ผ่านระบบ Zoom Meeting

อาจารย์ ดร.จิตสุภา กิติผดุง อาจารย์ประจำสำนักนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ร่วมกับ นายวทัญญู ใจบริสุทธิ์ นักวิจัยชำนาญการ สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา ได้ตีพิมพ์บทความวิจัยเรื่อง “Problems and Recommendations Regarding Human Resource Development Within The OTOP Project: A Case Study of Herbal Cosmetics Entrepreneurs.” ใน Humanities, Arts and Social Sciences Studies (HASSS) Volume 21, Number 2 (May-August), 2021 ซึ่งเป็นวารสารที่อยู่ในฐานข้อมูล Scopus

ผศ.ดร.พงศ์พิสุทธิ์ บุษบารัตน์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ นายภูวิน บุณยะเวชชีวิน นักวิจัยชำนาญการ สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา และ อาจารย์ ดร.ฑภิพร สุพร อาจารย์ประจำวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น  ได้ตีพิมพ์บทความวิจัยเรื่อง “China and Mekong regionalism: A reappraisal of the formation of Lancang‐Mekong Cooperation.” ใน Asian Politics & Policy 24, no. 2 (2021). DOI: 10.1111/aspp.12575   ซึ่งเป็นวารสารที่อยู่ในฐานข้อมูล Scopus

ฝ่ายวิจัย สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษาร่วมกับหน่วยวิจัยด้านประวัติศาสตร์และการเมืองระหว่างประเทศแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดโครงการจัดการความรู้ (KM) เรื่อง "Mega-Journals" โดยมี นายภูวิน บุณยะเวชชีวิน เป็นวิทยากร เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2564 ณ สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา ม.ธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต)

นายภูวิน บุณยะเวชชีวิน นักวิจัยชำนาญการ สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา ร่วมกับ อาจารย์เกษรินทร์ ศิริชวนจันทร์ สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง, กรมควบคุมโรค ได้ตีพิมพ์บทความวิจัยเรื่อง “How Regime Type and Governance Quality Affect Policy Responses to COVID-19: A Preliminary Analysis.” ใน Heliyon, vol. 7, no. 2, 2021

สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา ม.ธรรมศาสตร์ ขอเชิญรับฟังการเสวนาผ่านสื่อออนไลน์ ( Facebook Live) จับตาความเคลื่อนไหวสถานการณ์เอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเด็น “การทูตฟุตบอล: ความร่วมมือไทย-ญี่ปุ่นภายใต้ยุทธศาสตร์เจลีกสู่เอเชีย ” วิทยากร จินตวัฒน์ ศิริรัตน์ และ ดร.วทัญญู ใจบริสุทธิ์ นักวิจัย สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2564  14.00 น. เป็นต้นไป ทาง Facebook : Institute of East Asian Studies,Thammasat University,Thailand

สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา ขอแสดงความยินดีกับ ดร.อำพา แก้วกำกง นักวิจัยชำนาญการของสถาบันฯ ในโอกาสได้รับยกย่องให้เป็นแบบอย่างที่ดี ประจำปี 2563 ในกลุ่มกอง สำนักงาน สถาบัน ในการคัดเลือกบุคลากรดีเด่นของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประจำปี 2563

📚📚ชวนอ่านงานวิจัย📚📚 "การวิเคราะห์ความช่วยเหลือด้านการศึกษาของจีนต่อกัมพูชาในทศวรรษ 2010 (Analysis of China's Educational Aid to Cambodia in the 2010s)" โดย ดร.อำพา แก้วกำกง นักวิจัยชำนาญการ สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา ตีพิมพ์บทความวิจัยใน Journal of Mekong Societies  Vol.16 No.2 May-August 2020 pp.52-71 (Scopus)

📚📚ชวนอ่านงานวิจัย📚📚 “การศึกษาโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ของไทยและโครงการหนึ่งหมู่บ้านหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OVOP) ของญี่ปุ่น : วิเคราะห์เปรียบเทียบด้วยแนวคิดทุนทางสังคม” โดย ดร.วทัญญู ใจบริสุทธิ์ นักวิจัยชำนาญการ สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา ตีพิมพ์บทความวิจัยในวารสารญี่ปุ่นศึกษา ปีที่ 37 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2563 

ชวนอ่านงานวิจัย 📚📚📚 "การทูตกีฬาของญี่ปุ่น จีน และเกาหลีใต้ : บทเรียนสำหรับไทย" โดย จินตวัฒน์ ศิริรัตน์ นักวิจัยชำนาญการ สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตีพิมพ์ในวารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2562 (หน้า 121-148) 

ดร.อำพา แก้วกำกง นักวิจัยชำนาญการของสถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา เข้าร่วมนำเสนอบทความวิจัยเรื่อง "China’s International Education Aid to Cambodia in the 2010s: Analysis of Current State and Trend" ในการประชุมวิชาการนานาชาติ “The 15th GMSARN International Conference 2020” ณ โรงแรมกรุงศรี ริเวอร์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ระหว่างวันที่ 21-22 ธันวาคม 2563 จัดโดย Greater Mekong Subregion Academic and Research Network (GMSARN), Asian Institute of Technology

ดร.อำพา แก้วกำกง นักวิจัยชำนาญการของสถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา ได้ตีพิมพ์บทความวิจัยเรื่อง “Major International Development Partners and their Roles in Educational Aid to Cambodia: Situational Analysis in the 2010s” ใน Journal of Mekong Societies ของ Center for Research on Plurality in the Mekong Region (CERP) Faculty of Humanities and Social Sciences, Khon Kaen University ซึ่งเป็นวารสารที่อยู่ในฐานข้อมูล Scopus

สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษาขอแสดงความยินดีกับ ดร.อำพา แก้วกำกง นักวิจัยชำนาญการของสถาบันฯ ในโอกาสได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยเรื่อง “การขับเคลื่อนนโยบายความร่วมมือด้านการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน: กรณีศึกษาโครงการโรงเรียนคู่พัฒนาไทย-อินโดนีเซีย” วงเงินงบประมาณ 560,000 บาท จาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษาขอแสดงความยินดีกับ ดร.อำพา แก้วกำกง นักวิจัยชำนาญการของสถาบันฯ ในโอกาสได้รับการจ้างเป็นที่ปรึกษาดำเนินงาน “โครงการสิทธิชุมชนในการจัดสรรทรัพยากรน้ำโดยใช้แนวทางสันติวิธี : กรณีศึกษาพื้นที่ต้นน้ำของประเทศไทย” วงเงิน 1,120,600 บาท จาก สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษาขอแสดงความยินดีกับ นางสาวนิรินธร มีทรัพย์นิคม นักวิจัยของสถาบันฯ ในโอกาสได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจาก Korea Foundation เพื่อดำเนินงานวิจัยเรื่อง “A SWOT analysis of international cooperation in smart city development between Korea and Thailand: Thailand’s perspectives” วงเงินสนับสนุน  USD 16,000

สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา ได้รับการสนับสนุนงบประมาณและรับรองการจัดตั้ง "หน่วยวิจัยด้านประวัติศาสตร์และการเมืองระหว่างประเทศแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์" จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ 2564 โดยมี นายภูวิน บุณยะเวชชีวิน นักวิจัยชำนาญการของสถาบันฯ เป็นหัวหน้าหน่วยวิจัยดังกล่าว

สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา ขอแสดงความยินดีกับ นายจินตวัฒน์ ศิริรัตน์ ตำแหน่ง นักวิจัยปฏิบัติการ ในโอกาสได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้นเป็น นักวิจัยชำนาญการ

ผู้อำนวยการและนักวิจัยสถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เข้าร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการร่วมกับผู้บริหารและนักวิชาการของศูนย์ส่งเสริมการวิจัยในภูมิภาคเอเชียฯ สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในวันอังคารที่ 27 ตุลาคม 2563 ณ สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

นักวิจัยสถาบันเอเชียตะวันออกศึกษาเข้าร่วมโครงการพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัย ประจำปี 2563 ในวันที่ 8 กันยายน 2563 เวลา 09.00-16.30 น. ณ ห้องประชุมคึกฤทธิ์ ปราโมช สถาบันไทยคดีศึกษา ม.ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ จัดโดย สถาบันไทยคดีศึกษา

งานวิจัยว่าด้วย "การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมสู่ประเทศไทย 4.0: ความท้าทายใหม่ การปรับตัว และข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย" นำโดย รองศาสตราจารย์หงษ์ฟ้า ทรัพย์บุญเรือง ให้เกียรติเป็นผู้อำนวยการชุดโครงการวิจัย

การวิจัยจากกองทุนวิจัยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

นายภูวิน บุณยะเวชชีวิน นักวิจัยชำนาญการ สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา ร่วมเป็นวิทยากรในกิจกรรม Research Seminar ในหัวข้อ "สหรัฐอเมริกากับการเมืองลุ่มน้ำโขง" เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2563 ณ ห้อง PSB 1309 คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

นักวิจัยสถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา ร่วมระดมความคิดเห็นในโครงการทบทวนแผนกลยุทธ์และถ่ายทอดแผนปฏิบัติการ ปี 2563 เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2563 ณ ห้องสัมมนาไพศิษฐ์ พิพัฒนกุล สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต)

นางสาวนิรินธร มีทรัพย์นิคม นักวิจัยของสถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา ร่วมนำเสนอบทความวิชาการเรื่อง Seoul-Bangkok sister-city relations: Seoul's economic motives ในงานประชุมวิชาการนานาชาติ LATU International Conference ในหัวข้อ "Understanding of Korean Studies" เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2563 ณ ห้องริมน้ำ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์)

25 กุมภาพันธ์ 2563 ผู้บริหารและนักวิจัยของสถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.สิทธิพล เครือรัฐติกาล ผู้อำนวยการสถาบันฯ ได้เขาพูดคุยแลกเปลี่ยน และสร้างเครือข่ายกับคณะนักวิจัยของสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข ณ อาคารคลังพัสดุ ชั้น 3 สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ

24 กุมภาพันธ์ 2563 คณะนักวิจัยของสถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา นำโดย ดร.อำพา แก้วกำกง ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย ได้เข้าพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสร้างเครือข่ายทางวิชาการร่วมกับนักวิชาการจาก Trade, Investment and Innovation Division, United Nations Economic and Social Commission for Asia and the Pacific United (UNESCAP) นำโดย ดร.วิธาดา อนุกูลวรรธกะ ณ Secretariat Building , UNESCAP

นางสาวนิรินธร มีทรัพย์นิคม ตำแหน่ง นักวิจัยปฏิบัติการ สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้นำเสนอบทความวิชาการเรื่อง “Fukuoka’s Model for International Activities in Thailand: Lessons for regional major cities” ในงาน the 18th Annual International Conference on Japanese Studies “Revisiting Southeast Asia-Japan Relations” จัดโดย Ateneo de Manila University ร่วมกับ Ateneo de Davao University เมื่อวันที่ 31 มกราคม – 1 กุมภาพันธ์ 2563 ณ เมืองดาเวา สาธารณรัฐฟิลิปปินส์

ดร.อำพา แก้วกำกง ตำแหน่ง นักวิจัยชำนาญการ สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้นำเสนอบทความวิจัยเรื่อง “Circumstances, Problems, and the Environment Conducive to Educational Management of Local Administrative Organizations: A Comparative Study between Thailand and South Korea” ในงาน First Biennial Comparative Education Society of Cambodia (CESCAM) “Education for Share Community and Prosperity” จัดโดย Cambodia Development Resource Institute (CDRI) เมื่อวันที่ 6-7 ธันวาคม 2562 ณ เมืองเสียมเรียบ ประเทศกัมพูชา โดยได้รับทุนอุดหนุนการนำเสนอผลงานทางวิชาการ ผลงานสร้างสรรค์ และสิ่งประดิษฐ์นวัตกรรมในต่างประเทศ ประจำปีงบประมาณ 2563 จากกองทุนวิจัยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ดร.อำพา แก้วกำกง ตำแหน่ง นักวิจัยชำนาญการ สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้นำเสนอบทความวิจัยเรื่อง “Observations From The Place-Based Studies Of Emerging Border School Policy Implementation Between Thailand And Cambodia.” ในงาน The Third International Conference of Southeast Asia Forum “Greater Bay Area & South East Asia : The Perspective under the ‘Community of Common Destiny’” จัดโดย South China Normal University เมื่อวันที่ 15-17 พฤศจิกายน 2562 ณ เมืองกวางโจว สาธารณรัฐประชาชนจีน