ภาคเรียนที่1/2563 วิชาหลักเศรษฐศาสตร์

การเรียนการสอนออนไลน์   รายวิชาหลักเศรษฐศาสตร์ 

ลักษณะรายวิชา

รหัสวิชา  30500 - 0009   ชื่อวิชาหลักเศรษฐศาสตร์เกษตร จำนวน 3 หน่วยกิต

ระดับชั้น ปวส. 2 สาขาวิชาสัตวศาสตร์

เวลาเรียน จำนวน...3....ชั่วโมง/สัปดาห์  จำนวนรวมชั่วโมงรวม..54..ชั่วโมง/ภาคเรียน

 

จุดประสงค์รายวิชา เพื่อให้

1. เข้าใจหลักการและกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการหลักเศรษฐศาสตร์   

2. สามารถวิเคราะห์ พฤติกรรมผู้บริโภคและการบริหารทรัพยากรในฟาร์มได้

3. มีเจตคติและกิจนิสัยที่ดีต่องานอาชีพเกษตร ทำงานด้วยความรับผิดชอบ รอบคอบ ซื่อสัตย์ ประหยัด มีความคิดสร้างสรรค์ ขยันและอดทน

สมรรถนะรายวิชา

1.      แสดงความรู้เกี่ยวกับหลักการและกระบวนการทางเศรษฐศาสตร์เกษตร

2.      วิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคตามหลักเศรษฐศาสตร์เกษตร

3.      วางแผนการจัดการฟาร์มตามหลักการและกระบวนการ

4.      เลือกใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด

5.      สรุปผลการดำเนินงานและเขียนแผนวงจรธุรกิจได้

 คำอธิบายรายวิชา

ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับหลักการและกระบวนการทางเศรษฐศาสตร์เกษตร ทฤษฎีพฤติกรรมผู้บริโภค ทฤษฎีการผลิตทางการเกษตร การบริหารทรัพยากรในฟาร์ม ต้นทุนการผลิต การจัดการฟาร์ม วงจรธุรกิจ 

กระบวนการจัดการเรียนรู้   สัปดาห์การเรียนที่ 1 และ 2 

คำสั่ง ให้นักศึกษาค้นคว้าหาความรู้เกี่ยวกับหลักการและกระบวนการทาง

เศรษฐศาสตร์เกษตร  โดยตอบคำถามตามหัวข้อต่อไปนี้

1.  เศรษฐศาสตร์ หมายถึง 

2.  เศรษฐศาสตร์ มีกี่สาขา  อะไรบ้าง 

3.  อุปสงค์ หมายถึง 

4.  กฎอุปสงค์ คือ

5.  จงเขียนกราฟ แสดงลักษณะของเส้นอุปสงค์ พร้อมอธิบาย

6.  ปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดอุปสงค์ มีอะไรบ้าง 

7.  อุปทาน หมายถึง 

8.  กฎของอุปทาน คือ 

9. จงเขียนกราฟ แสดงลักษณะของเส้นอุปทาน พร้อมอธิบาย 

10.  ปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดอุปทาน มีอะไรบ้าง 

7.  ดุลภาพของตลาด หมายถึง 

8.  การประกันราคาขั้นสูง และการประกันราคาขั้นต่ำ  หมายถึง 

9.  ตลาดมืด หมายถึง 

2.  เศรษฐศาสตร์เกษตร  หมายถึง 

1.1..     เศรษฐศาสตร์การเกษตร (Agricultural Economics) หมายถึง

ตอบ  วิชาที่เกี่ยวกับการประยุกต์ทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์เพื่อใช้ในศึกษา วิเคราะห์ และใช้เป็นแนวทางในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ รวมทั้งเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในภาคการเกษตร

 

2.      จุดอ่อนของนโยบายการเกษตรของประเทศไทย มีอะไรบ้าง

ตอบ   1. การพัฒนาระบบการขนส่งสินค้าเกษตร  

2. การส่งเสริมการผลิตพืชให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่  

3. ราคาที่เหมาะสมและเป็นธรรมของสินค้าเกษตร  

4. ด้านการประมงทั้งในทะเล บนบก ก็ยังมีปัญหามากมาย ทั้งปัญหาระหว่างประเทศและในประเทศ  

5. ด้านการตลาดเกษตร

6.   การเพิ่มมูลค้าสินค้าเกษตรทำกันไม่มากนัก 

7. การเกษตรอินทรีย์และเกษตรปลอดภัยเป็นวาระแห่งชาติ 

8. ปัญหาภัยแล้ง น้ำท่วม ยังเกิดขึ้นทุกปี ซ้ำซาก ได้รับการแก้ไขช้ามา 

9. ที่ดินเพื่อการเกษตรมากมายมหาศาลไม่ได้ถือครองโดยเกษตรกร ต้องมีการแก้ปัญหาให้ได้ว่าที่ดินเพื่อการเกษตรต้องมีการทำการเกษตร    

10. การสร้างความเข้มแข็งของเกษตรกรในรูป สหกรณ์กลุ่มเกษตรกร ต้องได้รับการพัฒนามากกว่านี้  

11. การแก้ปัญหาหนี้สินของเกษตรกร ควรใช้แนวทางเศรษฐกิจพอเพียง  

      และปัญหาที่สำคัญทางเศรษฐศาสตร์เกษตร คือ

7.             จุดอ่อนที่สำคัญที่สุดในนโยบายการเกษตรของประเทศไทยก็คือ เขียนนโยบายไว้สวยหรูแต่ไม่ได้ทุ่มเทในทางปฏิบัติ

 

3.  ในปัจจุบันบางระบบเศรษฐกิจเป็นกี่ประเภท

ตอบ  3 ประเภท   คือ  

1. ระบบเศรษฐกิจแบบบังคับหรือสังคมนิยม 

2. ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมหรือระบบตลาด 

3. ระบบเศรษฐกิจแบบผสม (ประเทศไทยใช้อยู่) 

 

 4.     ลักษณะระบบเศรษฐกิจแบบสังคมหรือแบบบังคับ เป็นอย่างไร

ตอบ   – รัฐกำหนดควบคุม วางแผน ตัดสินใจเกี่ยวกับ กิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศ

           – ทรัพย์สิน ทรัพยากรและปัจจัยการผลิตเป็นของรัฐ

           – เช่นในประเทศเวียดนาม เกาหลีเหนือ คิวบา

 

5.       ลักษณะระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมหรือระบบตลาด เป็นอย่างไร

ตอบ   – เอกชนหรือหน่วยธุรกิจต่าง ๆ มีอิสระในการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจ

           – เน้นการแข่งขันของเอกชน เกิดการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพเพื่อแย่งตลาดการขาย เป็นไปตามกลไกราคา

           – เอกชนมีสิทธิ์ในทรัพย์สินและปัจจัยการผลิต เงิน

           – สหรัฐอเมริกา แคนาดา ญี่ปุ่น

 

6.       ลักษณะระบบเศรษฐกิจแบบผสม เป็นอย่างไร

ตอบ   – กิจกรรมทางเศรษฐกิจบางอย่างรัฐเป็นผูกดำเนินการบางอย่างเอกชนดำเนินการ

          – เอกชนมีสิทธิ์ในทรัพย์สินมีเสรีภาพในการประกอบกิจกรรมภายใต้กฎหมาย มีการแข่งขัน ภายใต้กลไกราคา มีกำไร

          – รัฐประกอบกิจกรรมที่เป็นสาธารณูปโภคพื้นฐานที่จำเป็น

          – รัฐเข้าแทรกแซงการผลิตของเอกชนเพื่อปูองกันการเอารัดเอาเปรียบ

7.      ลักษณะเศรษฐกิจไทยเป็นแบบใด

ตอบ   ไทยใช้ระบบเศรษฐกิจแบบผสมแต่ค่อนข้างไปทางทุนนิยมเอกชนมีบทบาทในการผลิตด้านต่าง ๆ มากกว่ารัฐบาลเอกชนมีสิทธิ์ในทรัพย์สินและปัจจัยการผลิต มีเสรีภาพในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ มีการแข่งขันเพื่อพัฒนาคุณภาพของสินค้ารัฐบาลดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจด้านกิจกรรมสาธารณูปโภค

 

8.      กลไกราคา หมายถึง

ตอบ   ภาวะการณ์ของตลาดเป็นการเคลื่อนไหวของราคาสินค้าที่ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้บริโภคและผูกผลิตร่วมกันในตลาด

 

9.      ตลาดในความหมายของวิชาเศรษฐศาสตร์ หมายถึง

ตอบ   ที่ ๆ มีกิจกรรมการตกลงซื้อขายสินค้า บริการ รวมทั้งปัจจัยการผลิต เช่น แรงงาน ซึ่งจะกินความหมายกว้างกว่าตลาดที่เรารู้จักกันอยู่ทั่วไป โดยตลาดอาจมีได้หลายแบบ ตั้งแต่ตลาดภายในประเทศ ตลาดขายส่ง ตลาดขายปลีก ตลาดต่างประเทศ ตลาดผลผลิต ตลาดปัจจัยการผลิต ตลาดการเงิน ตลาดเงินตราต่างประเทศหรือตลาดอัตราแลกเปลี่ยนที่ได้ยินกันบ่อยๆ รวมไปถึงตลาดซื้อขายล่วงหน้า

จะเห็นได้ว่าตลาดในวิชาเศรษฐศาสตร์จะมีความหมายกว้างกว่าตลาดที่เราเห็นอยู่ทั่วๆ ไป เนื่องจากอาจจะไม่จำเป็นต้องมี

สถานที่ซื้อขายที่เป็นตลาดจริง ๆ ก็ได้

 

10.          ตลาดในทางเศรษฐศาสตร์ สามารถแบ่งออกได้เป็นกี่ประเภท

ตอบ   2  ประเภทใหญ่ ๆ ตามลักษณะของผู้ซื้อ ผู้ขาย และลักษณะการดำเนินกิจกรรมในตลาด ได้แก่  

1.  ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ (Perfectly competitive market)

2.    ตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์ (Imperfectly competitive market) ซึ่งแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ ได้อีก 2 ประเภทได้แก่

     2.1) ตลาดผูกขาดที่แท้จริง (Pure monopoly market)

     2.2) ตลาดกึ่งแข่งขัน กึ่งผูกขาด (Monopolistic competitive market)

 

11.          ตลาดแข่งขันสมบูรณ์มีลักษณะที่สำคัญอย่างไร

ตอบ   1) มีจำนวนผู้ซื้อผูกขายที่มากจนทำให้การซื้อหรือการขายของคนใดคนหนึ่งไม่สามารถส่งผลกระทบให้ราคาตลาดเปลี่ยนแปลงไปได้ 2) สินค้ามีลักษณะใกล้เคียงกันมาก หรือเป็นสินค้าที่เหมือนกันทุกประการ (Homogeneous product) 3) ผูกขายหรือผู้ผลิตสินค้ารายใหม่ สามารถเข้าสู่ตลาดได้โดยง่าย ไม่มีอุปสรรค (No barrier to entry) 4) ผู้ขายสามารถเคลื่อนย้ายสินค้าไปยังที่ต่าง ๆ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย (Free mobility) 5) ผูกซื้อและผู้ขายต่างก็มีข้อมูลข่าวสารในตลาดอย่างสมบูรณ์และเท่าเทียมกัน (Perfect information) ตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์

 

12.          ตลาดผูกขาดที่แท้จริง มีลักษณะที่สำคัญอย่างไร

ตอบ   1) มีผู้ผลิตเพียงรายเดียว (Monopolist) 2) สินค้ามีลักษณะที่ไม่เหมือนใคร ไม่สามารถหาสินค้าอื่นมาแทนได้อย่างใกล้เคียง (Differentiate product) 3) สามารถกีดกันการเข้ามาของผูกผลิตรายใหม่ๆ ได้ (Barrier to entry) ซึ่งมีทั้งการผูกขาดตามธรรมชาติของการผลิต ตัวอย่างสินค้าเช่น กิจการโทรศัพท์บ้าน หรือไฟฟ้า ซึ่งจำเป็นต้องลงทุนสูงมาก เป็นตน หรืออาจเกิดการผูกขาดจากนโยบายรัฐ เช่น การผลิตบุหรี่ หรือ สลากกินแบ่งรัฐบาล เป็นต้น

เอกสารอ้างอิง