แนวคิดการเขียนโปรแกรม

         ปัจจุบันคอมพิวเตอร์เข้ามาเกี่ยวข้องและมีบทบาทกับชีวิตประจำวัน แต่คอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานได้หากไม่มีคำสั่ง ผู้เขียนโปรแกรมจึงต้องเขียนคำสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน เพื่อให้ได้ผลลัพท์ตามที่ต้องการ ดังนั้นการเรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการเขียนโปรแกรม เพื่อเป็นพื้นฐานที่จะทำความเข้าใจและสามารถเขียนโปรแกรม เพื่อสั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามต้องการได้  โดยจะต้องมี  การวิเคราะห์ผลลัพธ์     การวิเคราะห์ข้อมูล    การวิเคราะห์ตัวแปรและการวิเคราะห์วิธีการ 

      

  สำหรับแนวคิดในการเขียนโปรแกรมนั้น  สามารถแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ

       1.การเขียนโปรแกรมเชิงโครงสร้าง

        แนวคิดนี้เป็นการจัดการคำสั่งต่างๆ ให้มีรูปแบบและมาตรฐานที่สามารถเขียนโปรแกรมได้ง่าย อีกทั้งยังตรวจสอบการทำงานของโปรแกรมได้โดยไม่ยุ่งยาก และง่ายต่อการปรับปรุงในอนาคต ซึ่งมีโครงสร้างการควบคุม          พื้นฐาน 3 รูปแบบ คือ

            1.1.โครงสร้างแบบเป็นลำดับขั้นตอน 

        

                    ประกอบด้วยคำสั่งหรือชุดคำสั่งไม่มีเงื่อนไข ไม่มีการตัดสินใจ มีทางเข้าทางเดียวและมีทางออก ทางเดียว ดำเนินการแบบเรียงลำดับต่อเนื่อง โดยแต่ละขั้นตอนมีการดำเนินงานเพียงครั้งเดียว

การทำงานแบบลำดับขั้นตอน

        

                1.2.โครงสร้างแบบมีทางเลือกในการตัดสินใจเลือกทางใดทางหนึ่ง

                    

                        เป็นโครงสร้างที่มีเงื่อนไข และมีการตรวจสอบเงื่อนไข ว่าเป็นค่าจริงหรือค่าเท็จแล้วดำเนินงานตามคำสั่งที่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนด

การทำงานแบบตัดสินใจเลือกทางใดทางหนึ่ง

               1.3.โครงสร้างแบบทำซ้ำ 

    

                     เป็นการทำงานในลักษณะวนซ้ำหลายๆ รอบ  โดยจะหลุดออกจากเงื่อนไขก็ต่อเมื่อเงื่อนไขตรงตามกำหนดไว้

การทำงานแบบทำซ้ำ

        2.การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ

            แนวคิดเชิงวัตถุตั้งอยู่บนพื้นฐานการแจกแจงรายละเอียดของปัญหา ในการเขียนโปรแกรมเพื่อให้เป็นไปตามหลักการเชิงวัตถุนั้น ต้องพยายามมองรูปแบบวัตถุให้ออก การทำความเข้าใจถึงหลักการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุต้องอาศัยจินตนาการพอสมควร ซึ่งจะมองวัตถุหนึ่งๆ เป็นแหล่งรวมของข้อมูลและกระบวนการเข้าไว้ด้วยกัน โดยจะมีคลาส เป็นตัวกำหนดคุณสมบัติของวัตถุ และคลาสจะสามารถสืบทอดคุณสมบัติ ไปยังคลาสย่อยต่างๆ ที่เรียกว่า Subclass ได้ด้วยคุณสมบัติดังกล่าวจำทำให้เกิดการนำมาใช้ใหม่ ที่ทำให้ลดขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรมลงได้ โดยเฉพาะโปรแกรมขนาดใหญ่ที่มีความซับซ้อนสูง