English  l  Thai


หลักสูตรปรัชญาดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหชีวภาพ (DBIT) หลักสูตร 4 ปี


ชื่อหลักสูตร


ชื่อปริญญาและสาขาวิชา


ปรัชญาของหลักสูตร

สร้างบุคลากรที่มีความรู้ในงานวิจัยเชิงลึกด้านอุตสาหกรรมชีวภาพและสร้างนวัตกรรม รวมถึงเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องซึ่งเป็นผลผลิตจากการทำงานวิจัยและพัฒนา


วัตถุประสงค์ของหลักสูตร


จุดเด่นของหลักสูตร

การผลิตบุคลากรคุณวุฒิระดับปริญญาเอกสาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมชีวภาพ จึงมีความสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 เพื่อให้ประเทศสามารถเป็นผู้นำทางความคิดและแหล่งทรัพยากรทางปัญญาของสังคมในการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษาและความเป็นเลิศทางวิชาการ พร้อมทั้งสามารถผลิตบุคลากรที่เป็นที่ต้องการของสังคมทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ ก่อให้เกิดการขยายโอกาสในการศึกษาขั้นสูงและการเข้ามามีส่วนร่วมของภาคเอกชนในการจัดการอุดมศึกษา และสามารถสร้างคนไทยให้มีคุณภาพทั้งทางด้านวิชาการและวิชาชีพ มีความรู้และทักษะที่เป็นประโยชน์ มีการศึกษาวิจัยและสร้างนวัตกรรมในการพัฒนาประเทศ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สามารถเรียนรู้อย่างต่อเนื่องได้ตลอดชีวิต ซึ่งจะส่งผลในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สร้างเสถียรภาพทางสังคมเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม


คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครเข้าศึกษา

ในกรณีที่ผู้สมัครมีคุณสมบัติไม่อยู่ในเกณฑ์ ให้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคณะกรรมการประจำหลักสูตภาควิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร


วิธีการคัดเลือกผู้เข้าศึกษา

ใช้วิธีการสอบข้อเขียนและสอบสัมภาษณ์ ตามระเบียบของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ติดตามกำหนดการการรับสมัครได้ที่ บัณฑิตวิทยาลัย


ระบบการศึกษา

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมชีวภาพ เป็นหลักสูตร 3-5 ปี ที่มีระบบการศึกษาเป็นระบบทวิภาคภาคการศึกษาหนึ่งมีระยะเวลาการศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ จัดการเรียนการสอนแบบชั้นเรียนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ และการสัมมนา โดยใช้ภาษาไทย และภาษาอังกฤษในบางวิชา หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมชีวภาพ มีการจัดระบบการศึกษาใน 4 รูปแบบ ได้แก่

วัน-เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน

(1) ภาคการศึกษาที่ 1 เดือนสิงหาคม - เดือนธันวาคม

(2) ภาคการศึกษาที่ 2 เดือนมกราคม - เดือนพฤษภาคม

(3) ภาคการศึกษาฤดูร้อน ไม่มี


โครงสร้างหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิต

รวมตลอดหลักสูตรแบบ 1.1 และแบบ 2.1       48   หน่วยกิต

รวมตลอดหลักสูตรแบบ 1.2 และแบบ 2.2       72   หน่วยกิต

แบบ 1.1 (รวม 48 หน่วยกิต)

- หมวดวิชาบังคับ 48 หน่วยกิต

วิชาสัมมนา 1 และสัมมนา 2 (รายวิชาไม่นับรวมหน่วยกิตในการสำเร็จการศึกษา) 2 หน่วยกิต

วิทยานิพนธ์ 48 หน่วยกิต

แบบ 1.2 (รวม 72 หน่วยกิต)

- หมวดวิชาบังคับ     72 หน่วยกิต

วิชาสัมมนา 1 และสัมมนา 2 (รายวิชาไม่นับรวมหน่วยกิตในการสำเร็จการศึกษา) 2 หน่วยกิต

วิทยานิพนธ์ 72 หน่วยกิต

แบบ 2.1 (รวม 48 หน่วยกิต)

- หมวดวิชาบังคับ 38 หน่วยกิต

วิชาบังคับ   2 หน่วยกิต

วิทยานิพนธ์ 36 หน่วยกิต

- หมวดวิชาเลือก 10 หน่วยกิต

วิชาเลือกเฉพาะ   7 หน่วยกิต

วิชาเลือกทั่วไป   3 หน่วยกิต

แบบ 2.2 (รวม 72 หน่วยกิต)

- หมวดวิชาบังคับ   57 หน่วยกิต

วิชาบังคับ        9 หน่วยกิต

วิทยานิพนธ์     48 หน่วยกิต

- หมวดวิชาเลือก   15 หน่วยกิต

วิชาเลือกเฉพาะ     12 หน่วยกิต

วิชาเลือกทั่วไป       3 หน่วยกิต

ดาวน์โหลดหลักสูตรฉบับเต็ม

จำนวนนักศึกษาที่คาดว่าจะรับในแต่ละปีการศึกษา 5 คน


ค่าใช้จ่าย


การประกอบอาชีพหลังสำเร็จการศึกษา

นักวิจัยด้านเทคโนโลยีอุตสาหกรรมชีวภาพได้แก่ ด้านพืช ด้านจุลินทรีย์ หรือด้านอาหาร ผู้จัดการหรือพนักงานในฝ่ายวิจัยและพัฒนา ผู้จัดการฝ่ายส่งเสริมนวัตกรรมและเทคโนโลยี ผู้จัดการฝ่ายควบคุมคุณภาพ อาจารย์ นักวิจัย นักวิเคราะห์และวางแผนงานวิจัย นักวิทยาศาสตร์ เป็นต้น

   

คณาจารย์ และเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการประจำสาขาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร