3 พลังงานและกำลังไฟฟ้า

กำลังไฟฟ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้า

เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ที่อำนวยความสะดวก ความสบายให้กับคนเราเป็นอย่างมาก เนื่องจากเครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์ที่สามารถเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าให้เป็นพลังงานรูปอื่น ๆ ได้ ตามที่ต้องการ ดังที่นักเรียนได้ศึกษามาแล้ว แต่เนื่องจากเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละชนิดจะใช้ปริมาณพลังงานไฟฟ้าไปเปลี่ยนรูปได้แตกต่างกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดของเครื่องใช้ไฟฟ้าและระยะเวลาในการเปิดใช้งาน เช่น เครื่องซักผ้าไฟฟ้า กับหม้อหุงข้าวไฟฟ้า ถ้าเปิดใช้งานในเวลาเท่ากัน นักเรียนคิดว่าจะสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้าเท่ากันหรือไม่ และถ้าหม้อหุงข้าวไฟฟ้าชนิดเดียวกัน ขนาดเท่ากัน แต่เปิดใช้งานเป็นเวลานานไม่เท่ากัน นักเรียนคิดว่าจะสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้าเท่ากันหรือไม่

พลังงานไฟฟ้าที่เครื่องใช้ไฟฟ้าใช้ไปในการเปลี่ยนรูปให้เป็นพลังงานรูปอื่นในเวลา 1 วินาที เรียกว่า กำลังไฟฟ้า ( Electric Power )

กำลังไฟฟ้า ( Electric Power )

กำลังไฟฟ้า หมายถึง พลังงานไฟฟ้าที่เครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละชนิดใช้ไปในการเปลี่ยนรูป ในเวลา 1 วินาที ซึ่งเขียนเป็นความสัมพันธ์ได้ดังนี้

กำหนดให้

P = กำลังไฟฟ้า มีหน่วยเป็น วัตต์ ( Watt )

W = พลังงานไฟฟ้า มีหน่วยเป็น จูล ( J )

t = เวลา มีหน่วยเป็น วินาที ( S )

ผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิด ทุกขนาด จึงต้องคำนวณค่ากำลังไฟฟ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้า ตลอดจนคุณสมบัติต่าง ๆ เช่น ค่ากระแสไฟฟ้า ค่าความต่างศักย์ไฟฟ้า และค่าอื่น ๆ โดยพิมพ์เป็นฉลากติดไว้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิด หรือ พิมพ์ติดไว้บนหลอดไฟฟ้า

ภาพ ฉลากตัวอักษรและคุณสมบัติของเครื่องใช้ไฟฟ้า

ภาพ ฉลากตัวอักษรและคุณสมบัติของเครื่องใช้ไฟฟ้า

เมื่ออ่านฉลากบนเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านแต่ละชนิด จะพบว่ามีตัวอักษรและตัวเลขที่ระบุสมบัติเกี่ยวกับ เช่น ความต่างศักย์ไฟฟ้า ( โวลต์ - V ) และกำลังไฟฟ้า ( วัตต์ - W ) กำกับไว้ที่เครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านี้ ตัวอย่างเช่น บนหลอดไฟฟ้ามีตัวเลขกำกับว่า 60 W 200 V หมายความว่า หลอดไฟฟ้าดวงนี้มี กำลังไฟฟ้า 60 วัตต์ และมีความต่างศักย์ไฟฟ้า 200 โวลต์ เท่านั้น

กำลังไฟฟ้า 60 วัตต์ บอกถึงปริมาณพลังงานไฟฟ้าที่หลอดไฟฟ้าใช้ไปในเวลา 1 วินาที ดังนั้น ขณะที่เปิดไฟ หลอดไฟฟ้าดวงนี้จะต้องใช้พลังงานไฟฟ้า 60 จูล ในเวลา 1 วินาที นั่นเอง

[ กำลังไฟฟ้า 1 วัตต์ คือ กำลังไฟฟ้าที่เกิดจากกระแสไฟฟ้า 1 แอมแปร์ ไหลผ่านตัวนำไฟฟ้าที่มีความต่างศักย์ไฟฟ้า 1 โวลต์ ]

กำลังไฟฟ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละชิ้น ที่แสดงบนฉลากด้านข้างของเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นการใช้พลังงานไฟฟ้าไปในเวลา 1 วินาที แต่ในความเป็นจริง บ้านเรือนทั่วไปจะเปิดใช้เครื่องใช้ไฟฟ้ากันนานนับเป็นชั่วโมงทำให้สิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้ามาก ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของเจ้าของบ้าน หรือ ผู้ใช้ไฟฟ้าที่จะต้องหาปริมาณพลังงานไฟฟ้าที่ถูกใช้ไปตามจำนวนเวลาที่เปิดใช้

จาก

ดังนั้น พลังงานไฟฟ้า = กำลังไฟฟ้า x เวลา

หรือ เราจะได้สูตรความสัมพันธ์ใหม่ว่า

จาก

W = Pt

ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณทางไฟฟ้ากับกำลังไฟฟ้า

จากบทเรียนเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างกระแสไฟฟ้าและความต่างศักย์ไฟฟ้า ดังที่นักเรียนได้ศึกษามาแล้วจากเอกสารประกอบการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน เล่ม 2 เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างความต่างศักย์ไฟฟ้ากับกระแสไฟฟ้า จะได้ว่า

" กระแสไฟฟ้า จะแปรผันโดยตรงกับความต่างศักย์ไฟฟ้า "

และนักเรียนก็ทราบมาแล้วว่า กระแสไฟฟ้าจะเป็นตัวนำพลังงานไฟฟ้ามาส่งให้เครื่องใช้ไฟฟ้า ถ้ากระแสไฟฟ้าไหลผ่านเครื่องใช้ไฟฟ้าน้อย เครื่องใช้ไฟฟ้าก็ได้รับพลังงานไฟฟ้าน้อย แต่ถ้า กระแสไฟฟ้าไหลผ่านเครื่องใช้ไฟฟ้ามาก เครื่องใช้ไฟฟ้าก็ได้รับพลังงานไฟฟ้ามาก

นั่นคือ " กระแสไฟฟ้าแปรผันโดยตรงกับพลังงานไฟฟ้า "

แต่ขณะเดียวกัน " พลังงานไฟฟ้า แปรผันโดยตรงกับ กำลังไฟฟ้า "

ดังนั้น กำลังไฟฟ้า จะแปรผันโดยตรงกับ กระแสไฟฟ้า และความต่างศักย์ไฟฟ้า

นั่นคือ กำลังไฟฟ้า = กระแสไฟฟ้า x ความต่างศักย์ไฟฟ้า

หรือ เราจะได้สูตรความสัมพันธ์ใหม่ว่า

P = I V

กำหนดให้

P = กำลังไฟฟ้า มีหน่วยเป็น วัตต์ ( Watt )

I = กระแสไฟฟ้า มีหน่วยเป็น แอมแปร์ ( A )

V = ความต่างศักย์ไฟฟ้า มีหน่วยเป็น โวลต์ ( V )

ในขณะที่เครื่องใช้ไฟฟ้ากำลังทำงาน เช่น กำลังเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นแสงสว่าง หรือให้พลังงานความร้อน หรือให้พลังงานกล ให้พลังงานเสียง เมื่อเวลาใช้งานเพิ่มขึ้น ย่อมเกิดความต้านทานไฟฟ้าขึ้น ทำให้พลังงานไฟฟ้าส่วนหนึ่งเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อน เรียกว่าเกิดการสูญเสียพลังงานไฟฟ้า ทำให้ค่า กำลังไฟฟ้า ( P ) กระแสไฟฟ้า ( I ) ความต่างศักย์ไฟฟ้า ( V ) มีการเปลี่ยนแปลงไปด้วย จะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องใช้ไฟฟ้าลดลง เกิดความร้อนสูง สิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้ามาก

ดังนั้น จากสูตรความสัมพันธ์ของกำลังไฟฟ้า

P = I V

เมื่อนำกฎของโอห์ม แทนลงในกำลังไฟฟ้า ซึ่งก็สามารถคำนวณหาค่าความต้านทานไฟฟ้าที่เกิดขึ้นในขณะที่เครื่องใช้ไฟฟ้ากำลังทำงาน ได้ดังนี้

จากกฎของโอห์ม V = I R

แทนค่า V = IR ลงในกำลังไฟฟ้า ( P )

นั่นคือ P = I V

P = I ( IR )

เราจะได้สูตรความสัมพันธ์อีกหนึ่งสูตรว่า

และ จากกฎของโอห์ม V = I R

http://utitpo.blogspot.com/p/blog-page_93.html