สถานศึกษาปลอดภัย-2566

สถานศึกษาปลอดภัย ปีที่ 2

ส่วนที่ 1 : การเทิดพระเกียรติสถาบันพระมหากษัตริย์

1.1  มีบอร์ดหรือนิทรรศการเทิดพระเกียรติสถาบันพระมหากษัตริย์ในสถานศึกษาที่ชัดเจน

1.2  มีการประชาสัมพันธ์ส่งเสริมเกี่ยวกับค่านิยมหลักของคนไทย ๑๒ ประการ ในสถานศึกษาที่ชัดเจน

ส่วนที่ ๒ : สถานศึกษาปลอดภัย และสุขภาพอนามัยดี

2.1  มีนโยบายความปลอดภัยในสถานศึกษาเป็นลายลักษณ์อักษร และมีการประกาศนโยบายให้เห็นได้ชัดเจน

2.2  มีแผนงานและงบประมาณ ดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานศึกษาที่ชัดเจน

2.3  มีบุคลากรผู้ดูแลรับผิดชอบ ด้านความปลอดภัยในสถานศึกษาที่ชัดเจน

2.4  มีคณะทำงานหรือคณะกรรมการความปลอดภัยของสถานศึกษาที่ชัดเจน

2.5  มีกฎระเบียบหรือคู่มือ/แนวทางว่าด้วย ความปลอดภัยในสถานศึกษาที่เหมาะสม

2.6  บุคลากรทุกระดับ เช่น อาจารย์ ผู้บริหาร ลูกจ้าง ได้รับการอบรมให้มีความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในสถานศึกษา ตามแผนงานที่กำหน

2.7  มีการอบรมเกี่ยวกับการปฐมพยาบาลเบื้องต้นแก่บุคลากรในสถานศึกษา

2.8  มีโครงการหรือการดำเนินการเพื่อรักษาความสะอาด ความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสถานศึกษาที่ชัดเจนและมีประสิทธิภาพ

2.9  มีการดูแล สำรวจหรือตรวจสอบ ความปลอดภัยในสถานศึกษา โดยกำหนดผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน รวมทั้งนำผลไปปรับปรุงแก้ไข

2.10  มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายของเครื่องจักร เครื่องมือ (Safeguard) ในสถานศึกษาอย่างครบถ้วนและมีประสิทธิภาพ เช่น ฝาครอบใบมีดเครื่องตัดหญ้า ฝาครอบใบเลื่อย ฝาครอบสายพาน หรืออุปกรณ์ช่างต่างๆ เป็นต้น

2.11  มีระบบป้องกันอันตรายจากไฟฟ้ารั่ว หรือการต่อสายดินในสถานศึกษาที่มีประสิทธิภาพ

2.12  มีระบบป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานศึกษา เช่น ถังดับเพลิง สัญญาณแจ้งเหตุ เพลิงไหม้ เป็นต้น รวมทั้งการตรวจสอบ และการบำรุงรักษาระบบป้องกันและระงับอัคคีภัย ที่ชัดเจน

2.13  มีแผนป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานศึกษาที่ชัดเจน

2.14  มีการฝึกอบรมการดับเพลิงขั้นต้นในสถานศึกษา

2.15  มีการฝึกซ้อมดับเพลิงและการฝึกซ้อมอพยพหนีไฟในสถานศึกษาประจำปี

2.16  มีการฝึกซ้อมดับเพลิงและการฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ โดยใช้หน่วยงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในพื้นที่ หรือหน่วยงานที่ได้รับการรับรองเป็นผู้ฝึกสอน

2.17  มีห้องพยาบาล และอุปกรณ์ ในการปฐมพยาบาลเบื้องต้นในสถานศึกษา พร้อมผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน

2.18  มีมาตรการป้องกันการเกิดโรคระบาดหรือโรคติดต่อให้กับบุคลากร และมีการเผยแพร่ ให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการเจ็บป่วย หรือโรคอันเนื่องจากการทำงานในสถานศึกษา

2.19  มีห้องส้วม (ที่ถ่ายอุจจาระ และที่ถ่ายปัสสาวะ) และอ่างล้างมือ สำหรับนักเรียน/นักศึกษา แยกชาย-หญิงที่พอเพียง

2.20 มีการจัดน้ำดื่มที่สะอาด ที่ล้างมือที่ถูกสุขลักษณะ เพื่อให้นักเรียน/นักศึกษา บุคลากรได้ใช้ก่อนการรับประทานอาหาร หรือดื่มเครื่องดื่ม

2.21  มีการจัดที่รับประทานอาหาร และที่พัก ที่เหมาะสม และถูกสุขลักษณะ

2.22  มีการจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมและปลอดภัยในสถานศึกษา เช่น ระบบแสงสว่าง ระบบระบายอากาศ ระดับความดังของเสียง เป็นต้น

2.23  มีมาตรการเพื่อความปลอดภัยเกี่ยวกับสารเคมีในสถานศึกษาที่เหมาะสมและปลอดภัย

2.24  มีการรับฟังความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะด้านความปลอดภัยในสถานศึกษาจากครู อาจารย์ นักเรียน และมีการนำไปปรับปรุงแก้ไข

2.25  มีการจัดเก็บข้อมูลสถิติอุบัติเหตุหรือการเจ็บป่วยในสถานศึกษา และการวางแผนป้องกันที่เหมาะสม

2.26  มีการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมและกระตุ้นจิตสำนึกให้แก่นักเรียน/นักศึกษา ด้านความปลอดภัยในสถานศึกษาในรูปแบบต่างๆ ที่เหมาะสม

2.27  มีหนังสือ ตำรา หรือมาตรฐานเกี่ยวกับ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ในการทำงาน เพื่อใช้ในการศึกษาค้นคว้า และ การเรียนรู้ของบุคลากร

2.28  มีมาตรการดูแลเพื่อความปลอดภัยในการเดินทาง เช่น การจัดระบบจราจร การสวมหมวกกันน็อค หรือการดูแลยานพาหนะรับ-ส่ง ใบอนุญาตขับรถ เป็นต้น สำหรับนักเรียน/นักศึกษาในสถานศึกษา

2.29 มีการสร้างความร่วมมือและกิจกรรมดำเนินการระหว่างชุมชน หรือผู้ปกครอง หรือหน่วยงานภาครัฐ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในสถานศึกษา

2.30 มีการจัดตั้งชมรมฯ และจัดตั้งคณะทำงาน หรือคณะกรรมการเกี่ยวกับความปลอดภัยในสถานศึกษา

เอกสารอ้างอิง

3.1  ตู่มือ

3.2 ใบสมัคร

3.3

3.4  ประกาศผล

3.5  เกียรติบัตร