เรือนชงชาญี่ปุ่น

บ้านญี่ปุ่น   (Tea House) 

     บ้านญี่ปุ่น : การผสมผสานระหว่างเก่าและใหม่ บ้านในญี่ปุ่นเปลี่ยนไปมากในช่วยร้อยปีที่ผ่านมา บ้านแบบดั้งเดิมยังคงพบได้ในท้องถิ่นชนบทของประเทศ บ้านเหล่านี้สร้างจากไม้และดินเหนียวและหลังคามุงด้วยกระเบื้อง   บ้านส่วนใหญ่ในปัจจุบันนี้ปลูกแบบทันสมัยบ้านสมัยใหม่ส่วนใหญ่สร้างด้วยเหล็ก คอนกรีตและไม้ เนื่องจากที่ดินมีจำกัดโดยเฉพาะในเมืองใหญ่ บ้านจึงมักมีราคาแพงและค่อนข้างเล็ก ในชนบทค่อนข้างใหญ่ ซึ่งมีห้องเพื่อสังสรรค์และทำพิธีการต่าง ๆ ได้ ในขณะที่ผู้ที่อาศัยอยู่ในเมืองต้องไปจัดที่ภัตตาคารหรือศูนย์ชุมชน แม้ว่าผู้คนต้องการมีบ้านเป็นของตนเอง แต่การสร้างอพาร์ตเม้นต์ใหญ่ ๆ มีจำนวนมาก (ดันชิ) กว่าบ้าน     

       แน่นอนทุกบ้านมีไฟฟ้าและน้ำประปา แต่อย่างไรก็ตามระบบทำความร้อนจากส่วน กลาง (central heating) ยังไม่แพร่หลายทั่วไป ยกเว้นในฮอกไกโด ซึ่งมีอากาศหนาวจัดในฤดูหนาว สำหรับในภูมิภาคอื่นนั้น จะเปิดเครื่องทำความร้อนเฉพาะห้อที่ใช้อยู่เท่านั้น วิธีทำให้ห้องอบอุ่นที่ใช้กันมาช้านานคือการใช้ โคทะจึ ซึ่งเป็นโต๊ะเตี้ยที่มีอุปกรณ์ทำความร้อนด้วยไฟฟ้าติดไว้ใต้โต๊ะและคลุมด้วยผ้านวม การทำตัวให้อบอุ่น ก็จะต้องนั่งบนเบาะสี่เหลี่ยมแบน (ซะบุตง) แล้วสอดเท้าเข้าไปใต้ผ้านวม และแน่นอน เครื่องทำความร้อนแบบทันสมัยก็มีมากด้วยเครื่องทำความร้อนไฟฟ้าเล็ก ๆ สามารถซื้อหาได้ทั่วไปในร้านค้ามากมาย เครื่องปรับอากาศส่วนใหญ่ สามารถใ้ั้ห้ทั้งความเย็นและความร้อน

    บ้านของชาวญี่ปุ่นมีห้องอาบน้ำพิเศษ (โอะฟุโระ)ที่มีไว้สำหรับการอาบน้ำเท่านั้น ซึ่งแยกต่างหากจากห้องน้ำอ่างอาบน้ำเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า และเติมน้ำร้อนเต็มก่อนลงแช่ในอ่างอาบน้ำ ต้อชำระร่างกายให้สะอาดด้วยสบู่และล้างออกขณะนั่งบนม้านั่งตัวเล็กข้างอ่างอาบน้ำเพราะแต่ละคนจะลงแช่ในอ่างอาบน้ำอย่างสะอาด ให้ทั้งครอบครัวสามารถใช้น้ำในอ่างเดียวกันได้

       ฤดูร้อนในประเทศญี่ปุ่นอากาศร้อนและชื้น ดังนั้น การสร้างบ้านที่มีลมถ่ายเทได้สะดวกประตูและหน้าต่างโดยทั่วไปเป็นประตูเลื่อนที่สามารถเคลลื่อนย้ายเพื่อเปลี่ยนแปลงห้องเล็ก ๆ สองห้องให้เป็นห้องใหญ่ได้  

       ในบ้านแบบดั้งเดิม ทางเข้าบ้าน (เงนคัง) ระเบียงและครัวเป็นพื้นไม้ ในขณะที่พื้นห้องอื่น ๆ ปูด้วยเสื่อกก (ทาตามิ) อย่างไรก็ตาม ทุกวันนี้ บ้านและอพาร์ต เม้นต์ส่วนใหญ่ใช้ไม้ขัดเงาและพรมปูพื้น แต่ห้องนอนก็ยังคงปูด้วยเสื่อ ทาตามิ ไว้หนึ่งห้อง เมื่อเข้าในบ้านญี่ปุ่น ต้องถอดรองเท้าและสวมรองเท้าแตะ และเมื่อเข้าภายในห้องเสื่อ ทาตามิ ต้องถอดรองเท้าแตะและวางไว้ที่ระเบียงหน้าห้อง 

        ในตอนกลางคืน คนอาจจะนอนบนเตียง หรือไม่ก็บนนวมนุ่มซึ่งทำด้วยฝ้ายที่เรียกว่า ฟุตง เตียงนอนเป็นเฟอร์นิเจอร์มาตรฐานชิ้นหนึ่งในบ้านเรือนโดยทั่วไป แต่คนที่ใช้ ฟุตง จะพับและเก็บเข้าตู้พิเศษ และบางครั้งหลังจากที่ผึ่งไว้บนราวที่ระเบียงในวันที่อากาศปลอดโปร่ง ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ห้องนอนสามารถใช้เป็นห้องพักผ่อนและห้องรับประทานอาหารในระหว่างเวลากลางวันได้ด้วย


พิธีชงชาแบบญี่ปุ่น

การดื่มชาเป็นวัฒนธรรมจีนที่เผยแพร่เข้ามาในญี่ปุ่นโดยพระสงฆ์เป็นผู้มีบทบาทสำคัญ ช่วงสมัยนาระจนถึงตอนต้นสมัยเฮอัน มีการดื่มชากันในหมู่พระสงฆ์และชนชั้นสูงในราชสำนัก ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 12 พระเอไซได้นำชาผงมัตชะจากจีนเข้ามาเผยแพร่ในฐานะยารักษาโรค ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14 พระในวัดเซนได้กำหนดแบบแผนการดื่มชาขึ้นมา แบบแผนงานดื่มชาในวัดเซนแพร่หลายออกไปในหมู่นักรบและขุนนาง จนกลายมาเป็นต้นแบบของพิธีชงชา ในสมัยมุโระมะชิ นักรบและขุนนางตลอดจนพ่อค้าชาวเมืองที่ร่ำรวยนิยมจัดงานดื่มชาในงานเลี้ยงสังสรรค์ ซึ่งมักนำศิลปวัตถุหรูหราโอ่อ่าของจีนมาประดับประดากัน ในคริสต์ศตวรรษที่ 15–16 ท่านมุระตะ จุโค ท่านทะเคะโนะ โจโอ และท่านเซนโนะ ริคิว ได้พัฒนาแบบแผนพิธีชงชาแบบวะบิชะ ขึ้นมาเน้นความงามแบบเรียบง่ายและการสร้างความผูกพันทางใจเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างเจ้าภาพกับแขก พิธีชงชาแบบวะบิชะนี้ได้สืบทอดมาจนถึงปัจจุบันในฐานะศิลปะแห่งการดื่มชาญี่ปุ่นซึ่งแฝงปรัชญาแห่งชีวิตและฉายให้เห็นความงามในจิตใจ ทำให้การดื่มชามิได้เป็นเพียงการดื่มชา

     ชาญี่ปุ่นเป็นวัฒนธรรมที่เราสัมผัสได้ทั้งรูป รส กลิ่น เสียง และใจ ในภาษาญี่ปุ่นเรียกชาว่า "ชะ" ซึ่งมีการใช้ในสำนวน เช่น "นิชิโจซะฮันจิ" หมายถึงเรื่องที่ปฏิบัติกันเป็นปกติทั่วไปในชีวิตประจำวัน เหมือนกับการดื่มชากับการทานข้าว สะท้อนให้เห็นความสำคัญของการดื่มชาในชีวิตของคนญี่ปุ่นควบคู่ไปกับการทานข้าว เมื่อเปรียบเทียบการดื่มชากับการทานข้าวในแง่ความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตอยู่ แม้การดื่มชาจะไม่สำคัญเท่ากับการทานข้าว แต่ชามีความหมายทางจิตใจ

      ชาญี่ปุ่นซึ่งเป็นที่รู้จักกันคือ ชาเขียวซึ่งชงจากใบชา เรียกว่า “เซนชะ” และชาเขียวที่เป็นผงคือ “มัตชะ” เซนชะเป็นชาที่ผลิตและดื่มกันแพร่หลายคิดเป็น 80% ของปริมาณการผลิตชาทั้งประเทศ ส่วนมัตชะเป็นชาที่ใช้ในพิธีชงชาเป็นส่วนใหญ่

     การดื่มชาเป็นส่วนหนึ่งในวิถีชีวิตของคนญี่ปุ่นตั้งแต่ตื่นนอนจนกระทั่งเข้านอน อย่างไรก็ตาม การดื่มชาไม่ได้เป็นวัฒนธรรมดั้งเดิมของญี่ปุ่น ญี่ปุ่นรับเข้ามาจากจีน แล้วดัดแปลงให้เข้ากับรสนิยมของตน จนกลายเป็นวัฒนธรรมซึ่งโดดเด่นเป็นที่สนใจของคนทั่วโลก ดังปรากฏในพิธีชงชา        


รูปแบบงานพิธีชงชา

       ในสมัยเอะโดะมีการกำหนดรูปแบบการจัดงานเลี้ยงรับรองแขกด้วยพิธีชงชาขึ้นมา 7 แบบ ให้สอดคล้องกับฤดูกาลและโอกาสต่าง ๆ ได้แก่

1.กิ โนะ ชะจิ จัดในฤดูหนาว เริ่มงานตั้งแต่เวลา 4 นาฬิกา ขณะเดินผ่านสวนไปยังห้องชงชา จะได้เห็นน้ำค้างแข็งตัวด้วยความหนาวเย็น ในห้องชงชา จะได้ดื่มชาขณะฟังเสียงน้ำเดือดอยู่ในกาต้มน้ำ อีกทั้งได้สัมผัสความเปลี่ยนแปลงจากกลางคืนเป็นรุ่งเช้าที่สว่างสดใส

2. อะซะ โนะ ชะจิ จัดในฤดูร้อน เริ่มงานตั้งแต่เวลา 6 นาฬิกา จะได้สัมผัสกับบรรยากาศเย็นสบายในฤดูร้อน ทั้งจากอากาศที่เย็นสดชื่นในยามเช้า และจากการตกแต่งประดับห้องตลอดจนการใช้สิ่งของอุปกรณ์ที่ทำให้รู้สึกเย็นสบาย

3. โชโกะ โนะ ชะจิ จัดได้ทุกฤดูเริ่มงานตั้งแต่เวลาเที่ยงวัน เป็นรูปแบบทั่ว ๆ ไปของงานพิธีชงชาที่จัดกัน

4. โยะบะนะชิ โนะ ชะจิ จัดในช่วงปลายฤดูใบไม้ร่วงจนถึงฤดหนาวตอนปลายปี เริ่มงานในตอนค่ำหลังพระอาทิตย์ตกดิน จะได้สัมผัสกับบรรยากาศความงดงามของค่ำคืนในฤดูใบไม้ร่วง

5. ฟุจิ โนะ ชะจิ จัดขึ้นสำหรับแขกที่มาเยี่ยมกระทันหัน โดยจะจัดให้สอดคล้องกับเวลาและความสะดวกของแขก

6. ฮันโกะ โนะ ชะจิ จัดสำหรับแขกที่รับประทานอาหารมาแล้ว เจ้าภาพจึงสามารถปรับขั้นตอนให้สอดคล้องกับความสะดวกของแขกเช่นเดียวกัน เช่น อาจจะให้แขกรับประทานเฉพาะขนม หรือให้รับประทานอาหารว่างเบา ๆ และทำพิธีชงชาข้น (โคะอิชะ) แล้วตามด้วยชาจางอ่อน (อุซุชะ) ต่อกันไป โดยไม่มีการพัก

7. อะโตะมิ โนะ ชะจิ จัดสำหรับแขกที่ได้รับเชิญ แต่ไม่สามารถมาร่วมงานได้ รวมทั้งผู้ที่ไม่ได้รับเชิญ แต่มีความประสงค์จะชมการตกแต่งประดับห้อง และอุปกรณ์ชงชา เมื่อแจ้งความประสงค์ต่อเจ้าภาพ เจ้าภาพจะกำหนดเวลาที่เหมาะสมให้เข้าชมหลังจากแขกที่ได้รับเชิญในงานกลับไปแล้ว ปกติจะจัดให้เฉพาะหลังงานอะซะโนะ ชะจิ ซึ่งจัดในตอนเช้า กับโชโกะ โนะ ชะจิ ในตอนกลางวัน

         ในการจัดงานแต่ละครั้ง เจ้าภาพจะเชิญแขกมาร่วมจำนวน 4-5 คน ใช้เวลาทั้งสิ้นประมาณ 4 ชั่วโมง ตามขั้นตอนดังนี้

1. แขกไปถึงก่อนเวลางานเริ่มเล็กน้อย เตรียมตัวก่อนเข้าห้องพิธีชงชา

2. แขกเข้าไปในห้องชงชา ชมการประดับมุมเว้าด้วยภาพแขวน ชมอุปกรณ์ต่างๆ และทักทายกับเจ้าภาพ

3. ชมเจ้าภาพติดไฟในเตา

4. แขกรับประทานอาหารสำหรับพิธีชงชา (ไคเซคิ เรียวริ) และขนม

5. แขกออกไปนั่งพักที่ที่นั่งในสวน ในระหว่างนี้เจ้าภาพจะนำแจกันดอกไม้มาประดับแทนภาพแขวน และเตรียมอุปกรณ์ชงชา

6. เมื่อได้ยินสัญญาณ แขกกลับเข้าไปในห้อง ชมดอกไม้ในแจกัน 

7. แขกทุกคนดื่มชาข้น “โคะอิชะ” จากถ้วยเดียวกัน แล้วสนทนากับเจ้าภาพและชมอุปกรณ์ชงชา

8. เจ้าภาพติดไฟในเตาอีก

9.   แขกรับประทานขนมดื่มชาจางอ่อน “อุซุชะ” แล้วชมถ้วยชาและอุปกรณ์ชงชา

10. แขกขอบคุณเจ้าภาพ แล้วลากลับเราจะเข้าใจรูปแบบและหลักการของพิธีชงชาได้แจ่มแจ้งยิ่งขึ้น หากได้มีประสบการณ์ไปเข้าร่วมงานพิธีชงชาดังกล่าวมาข้างต้น

       ในบ้านแบบดั้งเดิม ทางเข้าบ้าน (เงนคัง) ระเบียงและครัวเป็นพื้นไม้ ในขณะที่พื้นห้องอื่น ๆ ปูด้วยเสื่อกก (ทาตามิ) อย่างไรก็ตาม ทุกวันนี้ บ้านและอพาร์ต เม้นต์ส่วนใหญ่ใช้ไม้ขัดเงาและพรมปูพื้น แต่ห้องนอนก็ยังคงปูด้วยเสื่อ ทาตามิ ไว้หนึ่งห้อง เมื่อเข้าในบ้านญี่ปุ่น ต้องถอดรองเท้าและสวมรองเท้าแตะ และเมื่อเข้าภายในห้องเสื่อ ทาตามิ ต้องถอดรองเท้าแตะและวางไว้ที่ระเบียงหน้าห้อง 

        ในตอนกลางคืน คนอาจจะนอนบนเตียง หรือไม่ก็บนนวมนุ่มซึ่งทำด้วยฝ้ายที่เรียกว่า ฟุตง เตียงนอนเป็นเฟอร์นิเจอร์มาตรฐานชิ้นหนึ่งในบ้านเรือนโดยทั่วไป แต่คนที่ใช้ ฟุตง จะพับและเก็บเข้าตู้พิเศษ และบางครั้งหลังจากที่ผึ่งไว้บนราวที่ระเบียงในวันที่อากาศปลอดโปร่ง ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ห้องนอนสามารถใช้เป็นห้องพักผ่อนและห้องรับประทานอาหารในระหว่างเวลากลางวันได้ด้วย