การประเมินดำรงวิทยฐานะ

ข้อมูลผู้ประเมิน

ข้าพเจ้าขอแสดงเจตจำนงในการจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางานตำแห่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการ ซึ่งเป็นตำแหน่งและวิทยฐานะที่ดำรงอยู่ในปัจจุบันกับผู้อำนวยการสถานศึกษา ไว้ดังต่อไปนี้

ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง 

1. ภาระงาน จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด

📁 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566

1. ภาระงาน จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด

                    1.1 ชั่วโมงสอนตามตารางสอน รวมจำนวน  19.14  ชั่วโมง/สัปดาห์ ดังนี้

กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชา คณิตศาสตร์พื้นฐาน    จำนวน  5.83  ชั่วโมง/สัปดาห์

กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชา คณิตศาสตร์เพิ่มเติม    จำนวน  7.50  ชั่วโมง/สัปดาห์

กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชา หน้าที่พลเมือง     จำนวน  0.83  ชั่วโมง/สัปดาห์

ห้องเรียนคุณธรรม                                  จำนวน  0.83  ชั่วโมง/สัปดาห์

กิจกรรมแนะแนว                                   จำนวน  0.83  ชั่วโมง/สัปดาห์

ลูกเสือ-เนตรนารี                                   จำนวน  0.83  ชั่วโมง/สัปดาห์

กิจกรรมชุมนุม                                      จำนวน  0.83  ชั่วโมง/สัปดาห์

กิจกรรมซ่อมเสริม                             จำนวน  0.83  ชั่วโมง/สัปดาห์

กิจกรรมโฮมรูม                                จำนวน  0.83  ชั่วโมง/สัปดาห์

1.2 งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 6.20 ชั่วโมง/สัปดาห์

       การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้                   จำนวน  1  ชั่วโมง/สัปดาห์

การวัดและประเมินผลการเรียนรู้                  จำนวน  1  ชั่วโมง/สัปดาห์

การสร้างและพัฒนาสื่อการเรียนรู้                 จำนวน  1  ชั่วโมง/สัปดาห์

การมีส่วนร่วมในชุมนุมการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC)   จำนวน  1.40  ชั่วโมง/สัปดาห์

การดูแลช่วยเหลือและพัฒนานักเรียน             จำนวน  1.40  ชั่วโมง/สัปดาห์

เช่น ครูที่ปรึกษา งานโฮมรูม งานส่งเสริมคุณธรรม

จริยธรรมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์

1.3 งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา จำนวน 12 ชั่วโมง/สัปดาห์

       ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้างาน ตามโครงสร้าง           จำนวน  6  ชั่วโมง/สัปดาห์

       ในกลุ่มบริหารวิชาการ

       ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้          จำนวน  6  ชั่วโมง/สัปดาห์

       คณิตศาสตร์

1.4 งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์

       ปฏิบัติหน้าที่ดำเนินงานโครงการ                  จำนวน  2  ชั่วโมง/สัปดาห์

ศิลปหัตถกรรมนักเรียน         

📁 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 

1. ภาระงาน จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด

                    1.1 ชั่วโมงสอนตามตารางสอน รวมจำนวน  15  ชั่วโมง/สัปดาห์ ดังนี้

กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชา คณิตศาสตร์พื้นฐาน    จำนวน  5.84  ชั่วโมง/สัปดาห์

กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชา คณิตศาสตร์เพิ่มเติม    จำนวน  5.84  ชั่วโมง/สัปดาห์

ห้องเรียนคุณธรรม                                  จำนวน  0.83  ชั่วโมง/สัปดาห์

กิจกรรมแนะแนว                                   จำนวน  0.83  ชั่วโมง/สัปดาห์

ลูกเสือ-เนตรนารี                                   จำนวน  0.83  ชั่วโมง/สัปดาห์

กิจกรรมชุมนุม                                      จำนวน  0.83  ชั่วโมง/สัปดาห์

1.2 งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 5.50 ชั่วโมง/สัปดาห์

       การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้                   จำนวน  1  ชั่วโมง/สัปดาห์

การวัดและประเมินผลการเรียนรู้                  จำนวน  1  ชั่วโมง/สัปดาห์

การสร้างและพัฒนาสื่อการเรียนรู้                 จำนวน  1  ชั่วโมง/สัปดาห์

การมีส่วนร่วมในชุมนุมการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC)   จำนวน  1.67  ชั่วโมง/สัปดาห์

การดูแลช่วยเหลือและพัฒนานักเรียน             จำนวน  0.83  ชั่วโมง/สัปดาห์

เช่น ครูที่ปรึกษา งานโฮมรูม งานส่งเสริมคุณธรรม

จริยธรรมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์

1.3 งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา จำนวน 12 ชั่วโมง/สัปดาห์

       ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้างาน ตามโครงสร้าง           จำนวน  6  ชั่วโมง/สัปดาห์

       ในกลุ่มบริหารวิชาการ

       ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้          จำนวน  6  ชั่วโมง/สัปดาห์

       คณิตศาสตร์

1.4 งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์

       ปฏิบัติหน้าที่ดำเนินงานโครงการ                  จำนวน  2  ชั่วโมง/สัปดาห์

ศิลปหัตถกรรมนักเรียน         

🧾 คำสั่งปฏิบัติงาน

      คำสั่ง แต่งตั้งข้าราชการครูปฏิบัติหน้าที่สอน      ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566

      คำสั่ง แต่งตั้งข้าราชการครูปฏิบัติหน้าที่สอน      ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567

คำสั่งสอน 2-66.pdf
คำสั่งสอน 67.pdf
ตารางสอน 2-66.pdf
ตารางสอน 1-67.pdf

คำสั่งคณะกรรมการบริหารวิชาการ ปีการศึกษา 2567

คำสั่งคณะกรรมการบริหารวิชาการ 67 (เขต).pdf

คำสั่งคณะกรรมการขับเคลื่อนกระบวนการ PLC 

คําสั่ง PLC.pdf

คำสั่งครูที่ปรึกษา ปีการศึกษา 2566

คำสั่งแต่งตั้งครูที่ปรึกษา 66.pdf

คำสั่งครูที่ปรึกษา ปีการศึกษา 2567

คำสั่งแต่งตั้งครูที่ปรึกษา 67.pdf

๒. การปฏิบัติงานและผลการปฏิบัติงานตามมาตรฐานตำแหน่งครู

ส่วนที่ ๒ ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน

ประเด็นที่ท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนของผู้เรียนของผู้จัดทำข้อตกลง ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการ ต้องแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังของวิทยฐานะ ครูชำนาญการ คือ การแก้ไขปัญหา การจัดการเรียนรู้และการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปใทางที่ดีขึ้นหรือมีการพัฒนามากขึ้น (ทั้งนี้ ประเด็นท้าทายอาจจะแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังในวิทยฐานะที่สูงกว่าได้)

ประเด็นท้าทาย เรื่อง การแก้ไขปัญหาการเรียนการสอน วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  โรงเรียนหนองยางชุมพิทยาคม อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี  ด้วยการใช้แบบฝึกทักษะ

1. สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน
จากสภาพการเปลี่ยนแปลงของสังคมยุคปัจจุบัน  ซึ่งเป็นไปอย่างรวดเร็วหลากหลายและซับซ้อน  ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี ข่าวสาร รวมทั้งการเมืองการปกครอง ส่งผลให้การดำเนินชีวิตของคนในสังคมเปลี่ยนแปลงตามไปด้วยนั้น การที่มนุษย์ในยุคปัจจุบันจะสามารถดำเนินชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข ต้องได้รับการพัฒนาศักยภาพในทุกด้านและส่วนหนึ่งมาจากการได้รับการศึกษาอย่างสมบูรณ์ครบถ้วน เพราะการศึกษาเป็นกระบวนการที่ช่วยให้คนได้พัฒนาตนเองด้านต่างๆ ตลอดชีวิต

คณิตศาสตร์ในระดับมัธยมศึกษาเป็นรากฐานของการศึกษาวิชาอื่นๆในระดับสูงขึ้น การจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ในโรงเรียนมัธยมศึกษา ยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร (ศิริ แคนสา.2548) เนื่องจากคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่ค่อนข้างเป็นนามธรรมด้วยสัญลักษณ์ กฎ ทฤษฎีต่างๆ ซึ่งยากต่อการ ทำความเข้าใจ  ทำให้นักเรียนส่วนมากไม่ประสบผลสำเร็จในการเรียนและเกิดความรู้สึกเบื่อหน่าย ไม่ชอบ  และไม่อยากเรียนวิชาคณิตศาสตร์  ดังนั้นการเรียนรู้ต้องอาศัยความรู้พื้นฐาน  การฝึกทักษะ  การชี้แนะและให้กำลังใจจากอาจารย์ผู้สอน (วัฒนา  ก้อนเชื้อรัตน์.2542) การจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ในระดับมัธยมศึกษาต้องมีวิธีการที่สามารถทำให้การเรียนมีความหมายสำหรับผู้เรียนยิ่งวิชาที่เป็นนามธรรมอย่างคณิตศาสตร์ยิ่งต้องหาวิธีสอนให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ เกิดทักษะและความชำนาญ คิดเป็น แก้ปัญหาเป็นและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

ผลการวิจัยของอรพิน วงษ์เสน (2542) พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการเรียนทั้งในและนอกห้องเรียนและไม่ได้ขึ้นอยู่กับระดับสติปัญญาทั้งหมด นักเรียนที่มีพฤติกรรมทางการเรียนที่ดีจะประสบความสำเร็จในการเรียน ซึ่งทั้งครูและผู้ปกครองมีหน้าที่ช่วยส่งเสริมให้นักเรียนได้ใช้เวลาในการเรียนอย่างเหมาะสมและควรปลูกฝังให้นักเรียนมีความรับผิดชอบและวิธีการเรียนรู้ที่ถูกต้อง

จากการติดตามผลการใช้หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้นของกรมวิชาการ  ปีการศึกษา 2551 พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์อยู่ในเกณฑ์ต่ำ  และในส่วนที่เกี่ยวกับวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครู  พบว่ายังคงยึดครูเป็นศูนย์กลางโดยใช้การบรรยายเป็นส่วนใหญ่  การแก้โจทย์ปัญหาในแบบฝึกหัดยังเป็นการฝึกคิดเป็นรายบุคคล  นักเรียนมีโอกาสปฏิบัติกิจกรรมและฝึกการแก้ปัญหาร่วมกันน้อยมาก  แทบไม่มีปฏิสัมพันธ์กันในขณะที่การเรียนการสอนดำเนินอยู่  ส่งผลให้นักเรียนขาดการช่วยเหลือกันในการเรียนรู้เนื้อหาวิชาและขาดทักษะทางสังคม  ทำให้นักเรียนไม่กล้าแสดงออก ไม่กล้าถามเมื่อไม่เข้าใจ  โดยเฉพาะนักเรียนที่เรียนช้าจะขาดความเชื่อมั่นในตนเอง และคิดว่าตนเอง ไม่มีความสามารถที่จะเรียนวิชาคณิตศาสตร์ได้  ทำให้ขาดความพยายาม   แรงจูงใจในการเรียนลดน้อยลง  และนักเรียนจะมีปัญหามากขึ้นตามลำดับเมื่อเรียนบทเรียนที่ซับซ้อนขึ้น  จนในที่สุดนักเรียนเหล่านี้จะเบื่อและไม่ชอบวิชาคณิตศาสตร์  

จากสภาพปัญหาคุณภาพการศึกษาวิชาคณิตศาสตร์ที่นำเสนอมาทั้งหมด  ทำให้ผู้สอนได้ข้อสรุปว่าการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์  ยังคงเป็นปัญหาที่จะต้องได้รับการแก้ไขและพัฒนาให้ดีขึ้น  จึงสนใจที่จะแสวงหานวัตกรรมหรือวิธีการที่เหมาะสมมาใช้ในการแก้ปัญหาการจัดการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์  จากการศึกษาเอกสาร  ตำรา  และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง  พบว่ากิจกรรมการเรียนการสอนที่ดีควรเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้นักเรียนได้ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน  ดังที่ ยัง(Young , 1972 : 603) กล่าวว่าการเรียนรู้จากกันและกันของนักเรียนจะทำให้เกิดความเข้าใจได้ดีกว่าการเรียนจากครู  เพราะภาษาที่นักเรียนใช้พูดจาสื่อสารกันนั้นสื่อความเข้าใจได้ดีและเหมาะสม   เนื่องจากวัยของนักเรียนใกล้เคียงกันมากกว่าวัยของนักเรียนกับครู

จากการทดสอบความรู้พื้นฐานโดยใช้ข้อสอบที่ผู้สอนจัดทำขึ้น  ได้ค้นพบว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3  โรงเรียนหนองยางชุมพิทยาคม อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี  ยังมีนักเรียนที่ได้คะแนนไม่ถึงเกณฑ์ที่ตั้งไว้คิดเป็น  70%

       ด้วยเหตุนี้ผู้สอนจึงมีความพยายามมุ่งมั่นที่จะแก้ปัญหาการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์  ด้วยการสร้างบทเรียนสำเร็จรูปเรื่อง  ความน่าจะเป็น  เพื่อปูพื้นฐานให้กับผู้เรียนเพื่อพัฒนาทักษะการคำนวณของนักเรียนให้เหมาะสมกับระดับชั้น  และเปลี่ยนแปลงทัศนคติของผู้เรียนเกี่ยวกับคณิตศาสตร์เน้นให้ความสำคัญของวิชานี้  และเพิ่มศักยภาพการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ให้กับผู้เรียนเพื่อใช้เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ในการพัฒนาการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุ
2.1 ผู้สอนวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้และผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ตามหลักสูตรสถานศึกษาและหลักสูตรแกนกลางศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) และหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนหนองยางชุมพิทยาคม ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2560 เกี่ยวกับมาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัดที่จะนำมาแก้ปัญหาเป็นฐาน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

       2.2  ศึกษาหลักการ แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับบทเรียนสำเร็จรูป เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง และเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

       2.3 วิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคลเพื่อจัดการเรียนรู้ตามความแตกต่างของผู้เรียน

 2.4 ผู้สอนจัดทำกิจกรรมการสอนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง ความน่าจะเป็น ลักษณะสำคัญของบทเรียนสำเร็จรูป คือ การออกแบบการบรรจุเนื้อหาและสาระการเรียนรู้ออกเป็น กรอบ (Frame) ซึ่งเนื้อหาและสาระการเรียนรู้ดังกล่าวนั้นจะนำมาจัดทำเป็นหน่วยการเรียนรู้ย่อย ๆ แล้วบรรจุเนื้อหาสาระการเรียนรู้หน่วยย่อย ๆ ดังกล่าวลงไปในกรอบแต่ละกรอบให้มีความสัมพันธ์และเรียงลำดับเนื้อหาจากง่ายไปยาก  กรอบสาระการเรียนรู้ (Frame) ในแต่ละกรอบของบทเรียนสำเร็จรูปประกอบด้วย

1. การอธิบายเนื้อหา                               2. แบบประเมินผลก่อนเรียน

3. เนื้อหาสาระและกิจกรรมการเรียนรู้            4. คำถาม

5. เฉลยคำตอบ                                     6. แบบประเมินผลหลังเรียน   

 2.5 จัดให้มีการตอบคำถามเรื่อง ความน่าจะเป็น ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในห้องเรียนที่ได้รับผิดชอบสอน เพื่อเป็นการวัดและประเมินผลการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการสอนดังกล่าว

 2.6 ผู้สอนนำปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการจัดการเรียนและการสอนมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้บริหาร ครูผู้สอนทั้งในกลุ่มสาระฯ เดียวกันและต่างกลุ่มสาระ ฯ เพื่อร่วมกันออกแบบ/หาแนวทางในการพัฒนาผู้เรียนให้เป็นไปตามที่หลักสูตรสถานศึกษาและหลักสูตรแกนกลางได้กำหนดไว้

3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง

3.1 เชิงปริมาณ

                ผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนหนองยางชุมพิทยาคม ร้อยละ 75 ได้รับการพัฒนาการเรียนรู้           เรื่อง ความน่าจะเป็น โดยใช้แบบฝึกทักษะ

3.2 เชิงคุณภาพ

              1) ผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนหนองยางชุมพิทยาคม ที่ได้รับการสอนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง ความน่าจะเป็น มีทักษะพื้นฐานการคำนวณได้ดีขึ้น

             2) ผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนหนองยางชุมพิทยาคม ได้รับการพัฒนาทักษะการให้เหตุผลและแก้ปัญหา ตรงตามสมรรณนะของผู้เรียนในหลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560)

              3) ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ในรายวิชาคณิตศาสตร์สูงขึ้น

     4) ผู้เรียนมีทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้

              5) ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ 

ดาวน์โหลดแบบข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA)

คลิกเพื่อดาวน์โหลดไฟล์ เอกสาร  .pdf

ลงชื่อ........................................................................
(นายชญานันท์ สุวรรณพรหม)
ตำแหน่ง ครู
ผู้จัดทำข้อตกลงในการพัฒนางาน
1  ตุลาคม  2566