หน่วยการเรียนรู้ที่ 1

ภูมิศาสตร์ คืออะไร?

1.1 แผนที่  คือ สิ่งที่แสดงลักษณะของพื้นผิวโลกทั้งที่มีอยู่ตามธรรมชาติและที่ปรุงแต่งขึ้น โดยแสดงลงในพื้นแบนราบ ด้วยการย่อให้เล็กลงตามขนาดที่ต้องการและอาศัยเครื่องหมายกับสัญลักษณ์ที่กำหนดขึ้น

1.2 ลูกโลก คือ ใช้สำหรับการศึกษาวิชาภูมิศาสตร์ เป็นการจำลองลักษณะของโลกหรือเทห์ฟ้า อาจทำมาจากกระดาษ พลาสติกหรืออื่น ๆ ลูกโลกทำหน้าที่คล้ายกับแผนที่ แตกต่างกันตรงที่ลูกโลกจะไม่บิดเบือนความจริง เป็นเพียงการลดขนาดของโลกหรือเทห์ฟ้านั้น ๆ จึงทำให้สามารถแสดงภาพรวมของสภาพภูมิประเทศ 

1.3 เข็มทิศ คือ แสดงจุดทิศหลักที่ใช้สำหรับการเดินเรือและการกำหนดทิศทางด้านภูมิศาสตร์ โดยทั่วไปประกอบด้วยเข็มแม่เหล็กหรือส่วนประกอบอื่น ๆ อย่างหน้าปัดเข็มทิศหรือวงกลมแสดงทิศที่ใช้หมุนเพื่อจัดตำแหน่งตัวเองไปที่ทิศเหนือแม่เหล็ก ส่วนวิธีอื่น ๆ ได้แก่ ไจโรสโคป, แมกนีโตมิเตอร์ และตัวรับจีพีเอส 

แผนที่ มีอะไรบ้าง?

องค์ประกอบแผนที่

องค์ประกอบของแผนที่ โดยส่วนมากแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติเช่น ภูมิประเทศในรูปแบบต่างๆ อย่างภูเขา ป่าไม้ ทะเล เเม่น้ำลำธาร และสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น เมืองต่างๆ เส้นทางคมนาคม พื้นที่ทำการเกษตร โดยจะเเบ่งออกเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้

1. ชื่อประเภทของแผนที่      2. ทิศทาง        3. ขอบระวาง

4. สัญลักษณ์                       5. มาตราส่วน   6. เส้นโครงบนแผนที่     7. พิกัดภูมิศาสตร์


องค์ประกอบแผนที่ (click)

องค์ประกอบแผนที่

องค์ประกอบของแผนที่ โดยส่วนมากแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติเช่น ภูมิประเทศในรูปแบบต่างๆ อย่างภูเขา ป่าไม้ ทะเล เเม่น้ำลำธาร และสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น เมืองต่างๆ เส้นทางคมนาคม พื้นที่ทำการเกษตร โดยจะเเบ่งออกเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้

1. ชื่อประเภทของแผนที่

เป็นสิ่งที่สำคัญในการทำให้ผู้ใช้ได้ทราบว่าเป็นแผนที่ใช้กับเรื่องอะไร เเสดงรายละเอียดอะไรบ้าง เพื่อให้ผู้ใช้นำไปใช้งานได้อย่างถูกต้อง และตรงความต้องการ โดยปกติชื่อเเผนที่จะมีคำอธิบายกำกับไว้ด้วย เช่น เเผนที่ประเทศไทยเเสดงส่วนระดับความสูงของพื้นที่ภูมิประเทศ แผนที่โลกเเสดงเส้นทางการเดินเรือโดยสารและพาณิชย์ เป็นต้น

2. ทิศทาง

เป็นส่วนที่ขาดไม่ได้เลยในการองค์ประกอบของแผนที่ทุกชนิด เพราะมีความสำคัญต่อการค้นหาตำแหน่งที่ตั้งของสถานที่ใดๆ โดยจะกำกับด้วยทิศทั้งสี่ทิศ ประกอบไปด้วย ทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศตะวันออก และ ทิศตะวันตก และจากการอ้างอิงจากเข็มทิศ ซึ่งจะชี้ไปยังทิศเหนือตลอดเวลา ให้เเผนที่จะเเสดงทิศเหนือไว้ด้านบนของแผนที่เสมอ จะช่วยให้ง่ายต่อการค้นหาทิศทางและตำแหน่งที่ถูกต้องในแผนที่ได้

3. ขอบระวาง

แผนที่ทุกชนิดจำเป็นต้องมีขอบระวาง ซึ่งจะทำให้ทราบถึงขอบเขตของพื้นที่ในภูมิประเทศที่เเสดงบนเเผนที่นั้นๆ ซึ่งจะบอกด้วยเส้นขนานเพื่อแสดงตำเเหน่งละติจูดกับเส้นเมริเดียน เพื่อเเสดง ลองติจูด และจะแสดงตัวเลขเพื่อบอกค่าพิกัดภูมิศาสตร์ของตำแหน่งต่างๆบนแผนที่ผิวโลก รวมไปถึง สีในแผนที่ ที่จะบอกคุณลักษณ์ต่างๆของภูมิประเทศในส่วนนั้นด้วย

4. สัญลักษณ์

เป็นเครื่องหมายที่ใช้แทนสิ่งต่างๆ ในภูมิประเทศจริง เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถอ่าน แปล และเข้าใจความหมายจากแผนที่ได้อย่างถูกต้อง ทั้งนี้แผนที่จะต้องมีคำอธิบายสัญลักษณ์ประกอบไว้ด้วยเสมอ

5. มาตราส่วน

แน่นอนว่าในแผนที่ เราคงไม่สามารถที่จะเเสดงทุกอย่างตามขนาดจริงได้ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องย่อส่วนลงมาจากระยะทางจริงในภูมิประเทศ ตามมาตราส่วน ซึ่งจะเเสดงมาตราส่วนว่าย่อลงมาเท่าใด มาตราส่วนแผนที่โดยมากจะมี 3 ลักษณะ ได้แก่ มาตราส่วนแบบเศษส่วน มาตราส่วนคำพูด และมาตราส่วนแบบกราฟิก มาตราส่วนของแผนที่คือ อัตราส่วนของระยะทางราบบนแผนที่กับระยะทางราบบนภูมิประเทศจริง ซึ่งส่วนใหญ่จะสามารถเขียนได้หลายวิธี ตัวอย่างเช่น 1×70,000 หรือ 1/70,000 หรือ 1:70,000 การคำนวณนั้นก็ทำได้ง่ายดังนี้ : มาตราส่วน = ระยะบนแผนที่ x ระยะภูมิประเทศ นั้นเอง

6. เส้นโครงบนแผนที่

นั้นประกอบด้วย เส้นขนานและเส้นเมริเดียน ที่จะกำหนดตำแหน่งพิกัดภูมิศาสตร์อย่างเป็นสากลเเละมาตรฐาน ไว้ใช้เพื่ออ้างอิง ซึ่งประกอบด้วย

7. พิกัดภูมิศาสตร์

เป็นระบบที่จะบอกตำแหน่งของที่ตั้งหรือสิ่งต่างๆบนพื้นผิวโลก โดยอาศัยเส้นโครงบนแผนที่ 2 เส้น ดังที่กล่าวมาข้างต้นนั้น ตัดกันเป็นจุดต่างๆ โดยจะอ่านค่าจาก เส้นละติจูด (เส้นขนาน และเส้นลองติจูด (เส้นเมริเดียน) ซึ่ง ละติจูด ก็คือพิกัดจุดหนึ่งบนเส้นขนาน และลองติจูด ก็คือพิกัดจุดหนึ่งบนเส้นเมริเดียน


ลูกโลก คืออะไร?

ลูกโลก คืออะไร?

องค์ประกอบของลูกโลก (click)

1.) องค์ประกอบของลูกโลก องค์ประกอบหลักของลูกโลกจะประกอบไปด้วย

1.1) เส้นเมริเดียนหรือเส้นแวง เป็นเส้นสมมติที่ลากจากขั้วโลกเหนือไปจดขั้วโลกใต้ ซึ่งกำหนดค่าเป็น 0 องศา ที่เมืองกรีนิช ประเทศอังกฤษ

1.2) เส้นขนาน หรือเส้นรุ้ง เป็นเส้นสมมติที่ลากจากทิศตะวันตกไปทิศตะวันออก ทุกเส้นจะขนานกับเส้นศูนย์สูตร ซึ่งมีค่ามุมเท่ากับ 0 องศา 

เข็มทิศ คืออะไร?

เข็มทิศ (click)

ชื่อกันว่าเข็มทิศชิ้นแรกมีต้นกำเนิดในประเทศจีนมากกว่าปี 2000 ปีที่แล้ว ตามประวัติศาสตร์ สิ่งเหล่านี้ไม่ได้ใช้สำหรับการนำทาง แต่เป็นเครื่องมือในการจัดองค์ประกอบอาคารและโครงสร้างให้สอดคล้องกับหลักฮวงจุ้ย เข็มทิศยุคแรกนี้ทำจากเข็มแม่เหล็กที่ติดอยู่กับไม้ก๊อกและลอยอยู่บนน้ำ เข็มจะชี้ไปทางทิศเหนือเสมอ เนื่องจากแรงดึงของทิศเหนือ เข็มทิศยุคแรกๆ เหล่านี้ยังใช้เพื่อตรวจสอบดวงดาวและการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์

ในศตวรรษที่ 11 ชาวจีนเริ่มใช้เข็มทิศเป็นอุปกรณ์นำทางสำหรับการเดินทางทางบกและทางทะเล ในที่สุดอุปกรณ์ก็มาถึงยุโรปซึ่งการใช้งานเริ่มแพร่หลาย ต่อมา เข็มทิศถูกเปลี่ยนให้มีสี่ทิศทาง ได้แก่ เหนือ ตะวันออก ใต้ ตะวันตก และกลายเป็นเครื่องมือนำทางที่เชื่อถือได้และแม่นยำยิ่งขึ้น