โครงการสนับสนุนการทำวิจัยในชั้นเรียน

ภายใต้สถานการณ์โควิด-19

รายละเอียดโครงการ

หลักการและเหตุผล

การวิจัย เป็นพันธกิจหนึ่งที่สำคัญหนึ่งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จากการประเมินผลการดำเนินงานและการประเมินผล ตามองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ ของสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา พบว่า คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ควรมีการพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัย และควรมีปริมาณจำนวนงานวิจัยที่เพิ่มขึ้น รวมถึงการเผยแพร่ผลงานวิจัยในรูปแบบของการตีพิมพ์ผลงานเผยแพร่ผ่านวารสารที่อยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ และระดับนานาชาติ ซึ่งการทำวิจัยในชั้นเรียนมีความสำคัญต่อการพัฒนาในด้านการเรียนการสอนเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากอาจารย์จำเป็นต้องมีการพัฒนาหลักสูตร วิธีการสอน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ การวิจัยในชั้นเรียนจึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการช่วยให้อาจารย์ผู้สอน สามารถพัฒนาการเรียนการสอนเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียนต่อไป

จากสถานการณ์ปัจจุบันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิท-19 ยังอยู่ในสถานะที่ต้องพึงระวังและต้องมีการป้องกันตัวเองสูงสุดเพื่อป้องกันการติดเชื้อ ส่งผลให้นักวิจัยที่ได้รับทุนจากแหล่งทุนต่าง ๆ ไม่สามารถลงพื้นที่เก็บข้อมูลวิจัยเพราะมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัส ส่งผลให้ต้องมีการขยายระยะเวลาดำเนินการวิจัยออกไปจนกว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดจะคลี่คลาย และจากการที่งานวิจัยจัดโครงการอบรม การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยในชั้นเรียน เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2564 โดยวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญ มีอาจารย์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เข้าร่วมโครงการจำนวน 53 ท่าน ซึ่งอาจารย์ที่เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจในการเข้าร่วมโครงการครั้งนี้ ในระดับมากที่สุด (ร้อยละ 92.94) อีกทั้งการทำวิจัยในชั้นเรียน เป็นการวิจัยที่อาจารย์ทุกคนสามารถดำเนินการได้ทันที เพราะกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้เรียนซึ่งทำการสอนอยู่แล้ว ไม่ต้องมีการเดินทางหรือลงพื้นที่เก็บข้อมูล เป็นการลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสที่อาจจะเกิดขึ้นได้

ในการนี้ งานวิจัยจึงจัดโครงการสนับสนุนการทำวิจัยในชั้นเรียนภายใต้สถานการณ์โควิท-19 เพื่อเป็นการสนับสนุนให้เกิดกิจกรรมการวิจัยในคณะ และเป็นการสนับสนุนให้อาจารย์สามารถดำเนินการวิจัยโดยมีผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษาตลอดเส้นทางการทำวิจัย มีฝ่ายวิจัยคณะ คอยให้การสนับสนุนและช่วยเหลือ รวมไปถึงการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่สนับสนุนให้การทำวิจัยในชั้นเรียนสำเร็จลุล่วงอย่างมีประสิทธิภาพ สามาถแก้ปัญหาการเรียนการสอน และเป็นการนำองค์ความรู้เกี่ยวกับการวิจัยไปใช้ประโยชน์อย่างแท้จริง เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพสูงสุดต่อไป

วัตถุประสงค์

1) เพื่อสนับสนุนการทำวิจัยในชั้นเรียน

2) ขับเคลื่อนกิจกรรมการวิจัยให้เกิดขึ้นในคณะ

ผู้รับผิดชอบโครงการ

รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบัณฑิตศึกษา

นายสันติ เส็นหมาน

เป้าหมายของโครงการ

เชิงปริมาณ

1) จำนวนโครงการวิจัยในชั้นเรียน 20 โครงการ

2) จำนวนผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ 10 เรื่อง

เชิงคุณภาพ

ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยในชั้นเรียนและสามารถทำวิจัยในชั้นเรียนได้

ลักษณะการดำเนินโครงการ

การเตรียมการ

1) เขียนโครงร่างกิจกรรม

2) ติดต่อวิทยากร

3) ประกาศประชาสัมพันธ์แก่คณาจารย์

4) อีเมลและไลน์เชิญคณาจารย์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ

การจัดกิจกรรม

1) ประกาศรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ

2) จัดประชุมการนำเสนอโครงร่างข้อเสนอโครงการวิจัย

3) จัดอบรมการสร้างเครื่องมือและการเก็บข้อมูลวิจัย

4) จับอบรมการเขียนวิเคราะห์ผลและการเขียนรายงานการวิจัย


เขื่อนไขการเข้าร่วมโครงการ

1) เป็นบุคลากรสังกัดคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

2) สนับสนุนงบประมาณ โครงการละ 20,000 บาท

3) การจ่ายเงินสนับสนุน แบ่งเป็น 2 งวด

3.1) งวดที่ 1 จำนวน 12,000 บาท จ่ายเมื่อเซ็นสัญญารับทุน

3.2) งวดที่ 2 จำนวน 8,000 บาท จ่ายเมื่อปิดโครงการ

4) การปิดโครงการให้เป็นไปตามเงื่อนไขของการรับทุนจากกองทุนวิจัยคณะ


ขั้นตอนการดำเนินการ

1. เปิดรับสมัครทุน ภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2564

2. กำหนดวันนำเสนอข้อเสนอโครงการวิจัย วันพฤหัสบดีที่ 1 กรกฎาคม 2564 เวลา 09.00 - 16.00 น.

3. นักวิจัยส่งข้อเสนอโครงการวิจัยฉบับแก้ไข ภายในวันที่ 5 กรกฎาคม 2564

4. จัดทำสัญญารับทุน ภายในวันที่ 9 กรกฎาคม 2564

5. จัดอบรมการสร้างเครื่องมือวิจัย ช่วงเดือนสิงหาคม 2564

6. นำเสนอความก้าวหน้าโครงการวิจัย ช่วงเดือนพฤศจิกายน 2564

7. จัดอบรมการเขียนรายงานการวิจัย ช่วงเดือนธันวาคม 2564

8. นักวิจัยส่งเอกสารเพื่อปิดโครงการภายในเดือนพฤษภาคม 2565


ดาวน์โหลดแบบฟอร์มข้อเสนอโครงการวิจัย

สมัครเข้าร่วมโครงการ