ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน

ประเด็นที่ท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนของผู้จัดทำข้อตกลง ซึ่งปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ ต้องแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังของวิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ คือ การริเริ่ม พัฒนา การจัดการเรียนรู้และการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นหรือมีการพัฒนามากขึ้น (ทั้งนี้ ประเด็นท้าทายอาจจะแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังในวิทยฐานะที่สูงกว่าได้) 

ประเด็นท้าทาย เรื่อง การพัฒนาทักษะความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ด้วยบทเรียนออนไลน์ รายวิชา วิทยาการคำนวณ 2 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

การจัดการเรียนการสอนในโลกของศตวรรษที่ 21 เป็นโลกที่ไม่หยุดนิ่ง เกิดการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว และบางครั้งพลิกผัน คนที่จะอยู่ได้อย่างสอดคล้องกับสังคมในยุคใหม่จึงจำเป็นต้องทำสิ่งเดิม ฝึกฝนเป็นประจำเพื่อให้เกิดความเข้าใจและทักษะการใช้งาน ซึ่งที่จริงมีอยู่แล้วในความเป็นมนุษย์แต่การเรียนรู้และการฝึกฝนที่ดีจะช่วยให้เกิดความคิดที่แหลมคม ฉับไว และอดทน ทักษะความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล จึงเป็นทักษะหนึ่งที่จำเป็นในการใช้ชีวิตประจำวันและการเรียนรู้ในสังคมยุคดิจิทัล

จากสภาพการจัดการเรียนการสอน รายวิชา วิทยาการคำนวณ 2 รหัสวิชา ว32102 พบว่า การจัดการเรียนการสอนไม่ได้เน้นให้ลงมือฝึกปฏิบัติอย่างเป็นประจำและต่อเนื่องทำให้ทักษะความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของนักเรียนไม่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ วิชา วิทยาการคำนวณ 2 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สามารถอำนวยความสะดวกด้านทรัพยากรการเรียนรู้ผสานกับสื่อสังคมที่ต้องมีการเรียนรู้ที่ล้ำสมัยเป็นแหล่งความรู้ที่อำนวยความสะดวกให้กับรูปแบบการเรียนในปัจจุบันที่คำนึงถึงทักษะการเรียนรู้ในด้านต่าง ๆ ที่สนับสนุนทักษะสร้างสรรค์ อันจะเป็นตัวผลักดันหนึ่งที่จะช่วยเพิ่มและพัฒนาการศึกษาต่อไป

การวางแผน (Plan)

1. ศึกษา วิเคราะห์ และสังเคราะห์ข้อมูล แนวคิด และทฤษฎีพื้นฐานเกี่ยวกับกระบวนการจัดการเรียนการสอนแบบบทเรียนออนไลน์ ที่ส่งผลต่อการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน

2. จัดทำแผนการสอนที่สอดคล้องกับตัวชี้วัด

3. ออกแบบกิจกรรมการจัดการเรียนรู้บทเรียนออนไลน์

3. แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อตรวจสอบคุณภาพบทเรียนออนไลน์

4. ปรับปรุง/พัฒนาบทเรียนออนไลน์ 

การปฏิบัติ (Do)

นําบทเรียนออนไลน์บนคลาวด์คอมพิวติงที่ผ่านการปรับปรุงแล้วไปจัดการเรียนรู้กับกลุ่มเป้าหมาย

การตรวจสอบ (Check)

1. ศึกษาประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนออนไลน์

2. ศึกษาข้อมูลตอบกลับของผู้เรียนต่อกระบวนการจัดการเรียนรู้

การปรับปรุงแก้ไข (Act)

1. ปรับปรุงแก้ไขกระบวนการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนออนไลน์

1.1 รวบรวมข้อมูลตอบกลับจากผู้เรียนต่อกระบวนการจัดการเรียนรู้

 เพื่อแยกประเด็นในการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้

1.2 นําประเด็นดังกล่าวเข้าสู่วง PLC เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและแนวทางการพัฒนาตามประเด็น

1.3 ศึกษาตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาแล้วจัดทําเป็นสารสนเทศ

เชิงคุณภาพ   นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนโกสัมพีวิทยา มีทักษะความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในระดับมากขึ้นไป