บทที่2

บทที่ 2


เอกสารที่เกี่ยวข้อง

https://millionaire-academy.com/%E0%B8%98%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B8%AB%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%87/

https://region3.prd.go.th/problempoor/sme_yung.htm

http://www.otoptoday.com/wisdom/7990/%E0%B8%98%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%87

ยุง”มีหลายชนิด บางชนิดเป็นตัวนำเชื้อโรคร้ายมาสู่เรา เช่น ยุงลายนำโรคไข้เลือดออกซึ่งออกหากินในตอนกลางวัน ยุงก้นปล่องนำเชื้อไข้มาลาเรีย ยุงดำนำเชื้อโรคเท้าช้าง ยุงบางชนิดก็นำเชื้อไข้เหลือง ซึ่งยุงเหล่านี้จะมีช่วงเวลาในการออกหากิน แต่ยุงที่มาตอม แล้วส่งเสียงดังที่ข้างหูและดูดเลือดเราให้คันนั้นเรียกว่า ยุงรำคาญ

ยุง เป็นแมลงชนิดหนึ่ง เฉพาะตัวเมียเท่านั้นที่ดูดกินเลือดเป็นอาหาร เพราะถ้าไม่ได้เลือดก็ไม่สามารถสืบพันธุ์วางไข่แพร่ลูกหลานได้ ยุงตัวผู้ไม่กินเลือด แต่จะกินน้ำหวานดอกไม้ ต้นไม้หรือขนมหวาน

ธรรมชาติของยุงรำคาญนั้นไม่ชอบแสงสว่าง โดยเฉพาะแสงสีเหลืองก็จะไล่ยุงชนิดนี้ให้หนีไปได้ ดังนั้นเพียงแต่เราเปิดไฟสีเหลืองไว้ ก็จะขับยุงชนิดนี้ให้หนีไปได้(แต่ยุงชนิดอื่นไม่กลัวแสงสีเหลือง) ยุงรำคาญยังเกลียดกลิ่นฉุนของการบูร กลิ่นฉุนของส้ม


การป้องกันไม่ให้ยุงกัด

1. โดยใช้สารไล่แมลง หรือสารป้องกันแมลง (Repellents) ซึ่งผลิตจากสารธรรมชาติ เช่น ตะไคร้หอม ไพล ขมิ้นชัน มะกรูด ยูคาลิปตัส ฯลฯ

2. การใช้สารเคมีชนิดกระป๋องแบบหัวฉีด เนื่องจากเป็นวัตถุมีพิษ จึงควรใช้ความระมัดระวังก่อนใช้ ควรอ่านฉลากให้เข้าใจและทำตามคำแนะนำ โดยเฉพาะห้ามฉีดพ่นในขณะที่มีเด็กหรือผู้ป่วยอยู่ในบริเวณนั้นหรือใกล้เคียง การใช้จำเป็นต้องมีการปิดห้องให้มิดชิดหลังจากการพ่นโดยปิดห้องทิ้งไว้ 15-20 นาที เมื่อมีอุบัติเหตุที่เกี่ยวกับการใช้ หรือรู้สึกไม่สบายให้หยุดฉีดพ่นแล้วควรรีบไปพบแพทย์พร้อมนำกระป๋องสารเคมีนั้นไปด้วย

ส้ม

"ส้ม" เปลี่ยนทางมาที่นี่ บทความนี้เกี่ยวกับผลไม้ สำหรับความหมายอื่น ดูที่ ส้ม (แก้ความกำกวม)

ส้ม เป็นไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็กหลายชนิด เป็นพืชใบเลี้ยงคู่ สกุล Citrus วงศ์ Rutaceae มีด้วยกันนับร้อยชนิด เติบโตกระจายอยู่ทั่วโลก โดยมากจะมีน้ำมันหอมระเหยในใบ ดอก และผล และมีกลิ่นฉุน หากนำใบขึ้นส่องกับแสงแดด จะเห็นจุดเล็กๆ เต็มไปหมด ซึ่งจุดเหล่านั้นก็คือแหล่งน้ำมันนั่นเอง ส้มหลายชนิดรับประทานได้ ผลมีรสเปรี้ยวหรือหวาน มักจะมีแคลเซียม โปแทสเซียม ไวตามินเอ และไวตามินซี มากเป็นพิเศษ ถ้าผลไม้จำพวกนี้มี มะ อยู่หน้า ต้องตัดคำ ส้ม ออก เช่น ส้มมะนาว ส้มมะกรูด เป็น มะนาว มะกรูด

อนุกรมวิธานของส้มนั้น มีความยุ่งยากและสับสนมาช้านาน และเป็นที่ถกเถียงในการจำแนกและตั้งชื่อชนิด (สปีชีส์) ของส้มอยู่เสมอ และการจำแนกกลุ่มยังขึ้นกับนักอนุกรมวิธานด้วย เช่น สวิงเกิล (Swingle) จำแนกได้ 16 ชนิด, ทานาคา (Tanaka)จำแนกได้ 162 ชนิด และฮอจสัน (Hodgson) จำแนก 36 ชนิด ขณะที่บางท่านเสนอว่าส้มทั้งหลายจัดเป็นพืชชนิดเดียวกัน ที่สามารถผสมพันธุ์ระหว่างกันได้ ขณะเดียวกัน การจำแนกอย่างละเอียดของทานาคา ก็สร้างความสำเร็จได้ เนื่องจากพบในภายหลังว่า บางชนิดเป็นเพียงการผสมข้ามสายพันธุ์เท่านั้น ด้วยเหตุนี้จึงไม่แปลกหากเราจะพบชื่อวิทยาศาสตร์ของส้มหลายชนิดที่แตกต่างกัน ดังนั้นเพื่อความแน่นอน จึงมักจะระบุถึงนักอนุกรมวิธานผู้จำแนกเอาไว้ด้วยพืชตระกูลส้ม

ปัจจุบันนี้ มีการใช้เทคนิคในการระบุเอกลักษณ์ด้วยดีเอ็นเอ (DNA) และมีการเสนอว่าอาจจะมีชนิดพื้นฐานของส้มอย่างกว้างๆ 4 ชนิด ด้วยกัน คือ

· C. halimii - พบทางภาคใต้ของไทย และตะวันตกของมาเลเซีย อาจเป็นชนิดต้นกำเนิดของส้ม Poncirus และ Fortunella

· C. medica - ส้มโอมือ หรือส้มมือ อาจเป็นต้นกำเนิดของมะนาว หรือเลมอน (lemon)

· C. reticulata - อาจเป็นต้นกำเนิดของส้มจำพวกส้มเขียวหวานทั้งหลาย

มะกรูด

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

การใช้ประโยชน์

มะกรูดหวาน

มะกรูด (อังกฤษ: Kaffir lime) เป็นพืชในสกุลส้ม (Citrus) มีถิ่นกำเนิดในประเทศลาว อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นิยมใช้ใบมะกรูดและผิวมะกรูดเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องปรุงอาหารหลายชนิด นอกจากในประเทศไทยและลาวแล้ว ยังมีความนิยมในกัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย และอินโดนีเซีย (โดยเฉพาะบาหลี)

เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก เป็นไม้เนื้อแข็ง ลำต้นและกิ่งมีหนามยาวเล็กน้อย ใบเป็นใบประกอบชนิดลดรูป มีใบย่อย 1 ใบ เรียงสลับ รูปไข่ คือมีลักษณะคล้ายกับใบไม้ 2 ใบ ต่อกันอยู่ คอดกิ่วที่กลางใบเป็นตอนๆ มีก้านแผ่ออกใหญ่เท่ากับแผ่นใบ ทำให้เห็นใบเป็น 2 ตอน กว้าง 2.5-4 เซนติเมตร ยาว 4-7 เซนติเมตร ใบสีเขียวแก่พื้นผิวใบเรียบเกลี้ยง เป็นมัน ค่อนข้างหนา มีกลิ่นหอมมากเพราะมีต่อมน้ำมันอยู่ ซึ่งผลแบบนี้เรียกว่า hesperitium (ผลแบบส้ม) ใบด้านบนสีเข้ม ใต้ใบสีอ่อน ดอกออกเป็นกระจุก 3 – 5 ดอก กลีบดอกสีขาว เกสรสีเหลือง ร่วงง่าย มีกลิ่นหอม มีผลสีเขียวเข้มคล้ายมะนาวผิวเปลือกนอกขรุขระ ขั้วหัวท้ายของผลเป็นจุก ผลอ่อนมีเป็นสีเขียวแก่ เมื่อผลสุกจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองสด พันธุ์ที่มีผลเล็ก ผิวจะขรุขระน้อยกว่าและไม่มีจุกที่ขั้ว ภายในมีเมล็ดจำนวนมากๆ

การใช้มะกรูดสระผมน่าจะรู้จักกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ วิธีการสระ บ้างก็ใช้ผลดิบผ่าแล้วบีบน้ำสระโดยตรง บ้างก็นำไปเผา หรือต้มก่อนสระ มะกรูดยังมีใช้ในพระราชพิธีสำคัญ เช่น พระราชพิธีโสกันต์ ซึ่งระบุไว้ในพระราชพิธีสิบสองเดือนไว้ ว่าจะต้องมีผลมะกรูดและใบส้มป่อยประกอบในพิธีด้วย เข้าใจว่าน่าจะใช้เพื่อการสระผมนั่นเอง และก็สามารถนำไปล้างพื้นได้ด้วย ซึ่งเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งเช่นกัน

น้ำมะกรูดมีรสเปรี้ยว กลิ่นฉุนคล้ายใบ แต่ใช้น้อยกว่าน้ำมะนาว ใช้ปรุงรสเปรี้ยวแทนมะนาวได้ เช่นในปลาร้าหลน น้ำพริกปลาร้า น้ำพริกมะกรูด มะกรูดมีส่วนเปลือกที่หนา ส่วนเปลือกนิยมนำผิวมาประกอบอาหารบางชนิดด้วย ในมะกรูดมีน้ำมันหอมระเหยอยู่มาก ใบมะกรูดนั้นใส่ในต้มยำทุกชนิด น้ำยาขนมจีน ยำหอย ใส่ในแกงเช่น แกงเผ็ด แกงเทโพ แต่ถ้าใส่มากเกินไปจะมีรสขมมีกลิ่นฉุน ทั้งในใบ และผล บางครั้งสามารถนำไปใช้ไล่แมลงบางชนิดได้ผลมะกรูดผ่าซีกที่บีบน้ำออกแล้ว ใช้เป็นยาดับกลิ่นในห้องสุขาได้[1]

มะกรูดหวาน (อังกฤษ: Sweet kaffir lime) เป็นมะกรูดสายพันธุ์หนึ่ง ใบนิ่ม ผิวใบเรียบ ผลใหญ่กว่ามะกรูดเปรี้ยว ผลมีรสหวาน ใช้รับประทานเป็นผลไม้ ไม่นิยมใช้ปรุงอาหาร เป็นผลไม้ท้องถิ่นในจังหวัดสมุทรสงคราม[2]


ประโยชน์ของมะกรูด


ประโยชน์ของมะกรูดมะกรูดมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายแข็งแรงและต้านทานโรค

ประโยชน์ของมะกรูดช่วยทำให้เจริญอาหาร

น้ำมันหอมระเหยจากมะกรูดมีสรรพคุณช่วยผ่อนคลายความเครียด คลายความกังวล ทำให้จิตใจสงบนิ่ง ด้วยการสูดดมผิวมะกรูดหรือน้ำมันมะกรูดจะช่วยได้ระดับหนึ่ง แต่การใช้ไม่ควรจะใช้ความเข้มข้นมากกว่า 1% เพราะอาจจะทำให้เกิดการระคายเคืองได้

ช่วยแก้อาการนอนไม่หลับ ด้วยการใช้ผิวมะกรูด รากชะเอม ไพล เฉียงพร้า ขมิ้นอ้อย ในปริมาณเท่ากัน นำมาบดเป็นผง นำมาชงละลายน้ำร้อนหรือต้มเป็นน้ำดื่ม

สรรพคุณมะกรูดใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ ด้วยการใช้ผิวมะกรูดสดฝานเป็นชิ้นเล็กๆ ประมาณ 1 ช้อนแกง เติมการบูรหรือพิมเสน 1 หยิบมือ ชงด้วยน้ำเดือด แช่ทิ้งไว้ แล้วนำน้ำที่ได้มาดื่ม 1-2 ครั้ง (เปลือกผล)

ช่วยแก้ลม หน้ามืด วิงเวียนศีรษะ ด้วยการใช้เปลือกมะกรูดฝานบางๆ ชงกับน้ำเดือดใส่การบูรเล็กน้อย แล้วนำมารับประทานแก้อาการ (เปลือกผล)

ช่วยแก้อาการไอ ขับเสมหะ ด้วยการใช้ผลมะกรูดนำมาผ่าซึกเติมเกลือ นำไปลนไฟให้เปลือกนิ่ม แล้วบีบน้ำมะกรูดลงในคอทีละน้อยๆ จะช่วยแก้อาการไอได้ สูตรนี้ก็สามารถใช้เป็นยาขับเสมหะได้ด้วยเช่นกัน

สรรพคุณของใบมะกรูดสามารถใช้แก้อาเจียนเป็นเลือด แก้ช้ำในได้อีกด้วย

ช่วยฟอกโลหิต ด้วยการนำผลมะกรูดสดมาผ่าเป็น 2 ซีกแล้วนำไปดองกับเกลือหรือน้ำผึ้งประมาณ 1 เดือน แล้วรินเอาแต่น้ำดื่ม จะช่วยฟอกโลหิตได้เป็นอย่างดี

ใบมะกรูดสรรพคุณช่วยยับยั้งหรือชะลอการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง ช่วยต่อต้านมะเร็งได้ เนื่องจากใบมะกรูดนั้นอุดมไปด้วยเบต้าแคโรทีน

สรรพคุณของมะกรูดช่วยแก้เสมหะเป็นพิษ ด้วยการใช้ผิวมะกรูดสดฝานเป็นชิ้นเล็กๆ ประมาณ 1 ช้อนแกง เติมการบูรหรือพิมเสน 1 หยิบมือ ชงด้วยน้ำเดือด แช่ทิ้งไว้ แล้วนำน้ำที่ได้มาดื่ม 1-2 ครั้ง (เปลือกผล,ราก)

น้ำมะกรูดใช้แก้อาการเลือดออกตามไรฟันได้ โดยหลังแปลงฟันเสร็จให้ใช้น้ำมะกรูดถูบางๆ บริเวณเหงือก

ใช้ปรุงเป็นยาช่วยขับลมในลำไส้ แก้อาการจุกเสียด ท้องอืด แน่นท้อง ด้วยการใช้ผิวมะกรูดสดฝานเป็นชิ้นเล็กๆ ประมาณ 1 ช้อนแกง เติมการบูรหรือพิมเสน 1 หยิบมือ ชงด้วยน้ำเดือด แช่ทิ้งไว้ แล้วนำน้ำที่ได้มาดื่ม 1-2 ครั้ง (เปลือกผล)

ช่วยแก้อาการปวดท้อง หรือใช้เป็นยาแก้ปวดท้องในเด็กอ่อน หรือการนำผลมะกรูดมาคว้านไส้กลางออก นำมหาหิงส์ใส่และปิดจุก แล้วนำไปเผาไฟจนดำเกรียมและบดจนเป็นผงละลายกับน้ำผึ้งไว้รับประทานแก้อาการปวดได้ หรือจะนำมาป้ายลิ้นเด็กอ่อน ใช้เป็นยาขับขี้เทาก็ได้เช่นกัน

ช่วยขับระดู ขับลม ด้วยการใช้ผลมะกรูดนำมาดองทำเป็นยาดองเปรี้ยวไว้รับประทานแก้อาการ

สรรพคุณมะกรูดช่วยกระทุ้งพิษ ช่วยรักษาฝีภายใน (ราก)

มะกรูด สรรพคุณช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ได้เป็นอย่างดี

น้ำมันมะกรูดมีฤทธิ์อ่อนๆ ช่วยยับยั้งการหดเกร็งของกล้ามเนื้อได้

ใช้สระผมเพื่อทำความสะอาด ทำให้ผมดกเงางาม ป้องกันผมหงอก แก้ปัญหาผมร่วง ความเปรี้ยวของน้ำมะกรูดยังมีฤทธิ์เป็นกรดช่วยขจัดคราบแชมพู หรือชำระล้างสิ่งอุดตันต่างๆ ตามรูขุมขนบนหนังศีรษะ แล้วยังทำให้ผมหวีง่ายอีกด้วย ด้วยการผ่ามะกรูดเป็น 2 ชิ้น เมื่อสระผมเสร็จ ให้เอามะกรูดสระผมซ้ำ ด้วยการใช้มะกรูดยีให้ทั่วบนผม แล้วล้างออก จะช่วยทำความสะอาดผมได้

ช่วยล้างสารเคมีในเส้นผม เนื่องจากในแต่ละวันเราต้องโดนทั้งฝุ่นระออง แสงแดด ยาสระผม ซึ่งเป็นสาเหตุที่อาจทำให้ผมแห้งกรอบได้ แม้จะใช้ครีมนวดผมหรือทรีทเม้นท์บำรุงและซ่อมแซมผมก็ตาม แต่สิ่งเหล่านี้ก็ยังส่วนผสมของสารเคมีอยู่ สำหรับวิธีการปกป้องเส้นผมและล้างสารเคมีก็ง่ายเพียงแค่ใช้น้ำมะกรูดมาชโลมบนผมที่เปียกชุ่ม แล้วหมักทิ้งไว้ประมาณ 10 นาทีแล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด แล้วล้างซ้ำอีกรอบด้วยน้ำเย็นจะทำให้ผมเงางามและมีน้ำหนักขึ้น และยังช่วยถนอมเส้นผมและบำรุงเส้นผมไปในตัวอีกด้วย

ใช้รักษารังแคและชันนะตุ ด้วยการนำมะกรูดมาเผาไฟ นำมาผ่าเป็นซีกแล้วใช้สระผม จะช่วยรักษาอาชันนะตุได้

ใช้ผสมเป็นน้ำอาบเพื่อทำความสะอาด ช่วยทำให้ผิวไม่แห้ง ด้วยการนำมะกรูดมาผ่าซึกลงในหม้อต้มเป็นน้ำอาบ

มีอาหารบางชนิดที่นิยมใช้น้ำมะกรูดเป็นส่วนผสม

ประโยชน์ของใบมะกรูด เนื่องจากน้ำมะกรูดมีน้ำมันหอมระเหยอยู่มาก มีกลิ่นฉุน สามารถนำไปใช้ไล่แมลงบางชนิดได้ เช่น มอดและมดในข้าวสาร ด้วยการใช้ใบมะกรูดสดๆ ประมาณ 4-5 ใบต่อข้าว 1 ถัง แล้วฉีกใบเป็น 2 ส่วน ให้กลิ่นออก แล้วใส่ลงในถังข้าวสาร เมื่อใบมะกรูดแห้งแล้วก็ให้เปลี่ยนใบใหม่ เพียงแค่นี้ก็จะไม่มีแมลงมอดมากวนใจท่านแล้วครับ

มะกรูดสามารถใช้ในการไล่ยุงและกำจัดลูกน้ำได้ เมื่อทานหรือคั้นเอาน้ำแล้วก็อย่าทิ้งเปลือก ให้นำเปลือกมาตากแห้งและเผาไฟจะช่วยไล่ยุงได้ดีนัก (เปลือกผล)

ในปัจจุบันมีการผลิตน้ำมันหอมระเหยในรูปแบบแคปซูลเพื่อใช้ไล่แมลงและหนอนสำหรับเกษตรกร ด้วยการใช้โปรยไว้ใต้ต้นไม้ที่ต้องการไล่แมลง แคปซูลก็จะค่อยๆปล่อยน้ำมันออกมา แถมยังไม่มีอันตรายอีกด้วย

น้ำมันจากใบมะกรูดมีส่วนช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของเชื้อราบางชนิด เช่น ช่วยกระตุ้นการสร้างเส้นใยของราพวกมูเคอร์ แอสเปอร์จิลลัส อัลเทอร์นาเรีย และกระตุ้นการสร้างสปอร์ของแอสเปอร์จิลลัส

ประโยชน์ใบมะกรูด ใบมะกรูดและน้ำมะกรูดสามารถใช้ดับกลิ่นคาวในอาหารได้

ใช้ในการประกอบอาหารและแต่งกลิ่นคาวหวานของอาหาร เช่น ต้มยำ แกงเผ็ด ผัดเผ็ด ฉู่ฉี่ ห่อหมก ทอดมัน โรยหน้าข้าวเหนียวหน้ากุ้ง ฯลฯ

น้ำมะกรูดสามารถใช้แทนน้ำมะนาว หรือใช้ร่วมกับมะนาวได้ จะได้รสเปรี้ยวและความหอมของน้ำมันหอมระเหยที่ผิวมะกรูดเพิ่มขึ้นไปด้วย

มะกรูดยังใช้ในพระราชพิธีสำคัญ เช่น พระราชพิธีโสกันต์ ซึ่งระบุไว้ว่าจะต้องมีผลมะกรูดและใบส้มป่อยในการประกอบพิธี

ยาฟอกเลือกสตรี ขับระดู ยาบำรุงประจำเดือน หรือยาแก้ผอมแห้งแรงน้อย มักจะมีมะกรูดอยู่ในตำรับยาเสมอ

มีการนำเปลือกของมะกรูดมาใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางบางชนิด อย่างเช่น สบู่ แชมพูมะกรูด หรือ ยาสระผมมะกรูด ผลิตภัณฑ์ป้องกันยุงและแมลง เป็นต้น

หากถูกปลิงกัด ไม่ควรดึงออก เพราะจะทำให้แผลฉีกขาดและเลือดจะไหลไม่หยุด แต่วิธีที่ควรทำในเบื้องต้นให้ใช้น้ำมะกรูดมาราดใส่ตรงที่ถูกปลิงเกาะ ก็จะทำให้ปลิงหลุดออกมาเอง

มะกรูดมะกรูดประโยชน์ช่วยแก้ปัญหากลิ่นเท้าเหม็น มีกลิ่นอับเชื้อรา ด้วยสูตรมะกรูด ขิง ข่า เกลือ อย่างละเท่าๆกัน นำมาต้มรอให้อุ่นสักนิดแล้วแช่เท้าทิ้งไว้ประมาณ 15 นาทีก็จะช่วยลดกลิ่นอับแถมยังคลายความปวดเมื่อยได้อีกด้วย

ประโยชน์มะกรูดช่วยดูดกลิ่นในรองเท้าหรือตู้รองเท้า ด้วยการใช้ผิวมะกรูด ตะไคร้หอม ถ่านป่น และสารส้ม อย่างละ 1 ส่วน นำมาใส่ถุงที่ทำจากผ้าขาวบางหรือผ้าที่มีช่องระบายอากาศ แล้วนำไปใส่ไว้ในตู้รองเท้าหรือในรองเท้า จะช่วยดูดกลิ่นได้อย่างหมดจดเลยทีเดียว

ช่วยทำความสะอาดครบตามซอกเท้า เพื่อลดความหมกไหม้ด้วยการใช้ สับปะรด 2 ส่วน / สะระแหน่ 1/2 ส่วน / น้ำมะกรูด 1/2 ส่วน / เกลือ 2 ส่วน นำมาปั่นรวมกันแล้วนำไปขัดเท้า

การอบซาวนาสมุนไพร เพื่อขับสารพิษผ่านเหงื่อและรูขุมขน มักจะมีสมุนไพรที่ประกอบไปด้วย ขมิ้นอ้อย ขมิ้นชัน ไพล ตะไคร้ พิมเสน การบูร และผิวมะกรูดผสมอยู่ด้วย ซึ่งแต่ละตัวก็มีสรรพคุณในการช่วยขับสารพิษทั้งสิ้น

แหล่งอ้างอิง : เว็บไซต์ rspg.or.th, เว็บไซต์ learners.in.th , สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)




การบูร

ชื่อสมุนไพร

การบูร

ชื่ออื่นๆ

อบเชยญวน พรมเส็ง

ชื่อวิทยาศาสตร์

Cinnamomum camphora (L.) Presl.

ชื่อพ้อง

Camphora officinarum Nees, Laurus camphora L.

ชื่อวงศ์

Lauraceae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ไม้ยืนต้น ขนาดใหญ่ สูงได้ถึง 30 เมตร ทุกส่วนมีกลิ่นหอม โดยเฉพาะที่ราก และโคนต้น ทรงพุ่มกว้าง ทึบ ลำต้นมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 1.5 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาล ผิวหยาบ เปลือกกิ่งสีเขียว หรือน้ำตาลอ่อน ลำต้นและกิ่งเรียบ ไม่มีขน เนื้อไม้สีน้ำตาลปนแดง ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปรี หรือรูปรีแกมรูปไข่ กว้าง 2.5-5.5 เซนติเมตร ยาว5.5-15 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลม โคนใบป้านหรือกลม ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย แผ่นใบค่อนข้างเหนียว ด้านบนสีเขียวเข้ม เป็นมัน ด้านล่างสีเขียวอมเทาหรือนวล ไม่มีขน เมื่อขยี้จะมีกลิ่นหอมคล้ายกลิ่นการบูร เส้นใบขึ้นตรงมาจากโคนใบประมาณ 3-8 มิลลิเมตร แล้วแยกออกเป็น 3 เส้น ตรงมุมที่มีเส้นใบแยกออกนั้นมีต่อม 2ต่อม และตามเส้นกลางใบอาจมีต่อมเกิดขึ้นตรงมุมที่มีเส้นใบแยกออกไป ก้านใบยาว 2-3เซนติเมตร ไม่มีขน ตาใบมีเกล็ดซ้อนเหลื่อมหุ้มอยู่ เกล็ดชั้นนอกเล็กกว่าเกล็ดชั้นในตามลำดับ ดอกช่อแบบแยกแขนงออกตามเป็นกระจุกบริเวณง่ามใบ ดอกเล็กสีขาวอมเหลืองหรืออมเขียว ก้านดอกสั้นมาก กลีบรวมมี 6 กลีบ เรียงเป็น 2 วง วงละ 3 กลีบ รูปรี ปลายมน ด้านนอกเกลี้ยง ด้านในมีขนละเอียด เกสรเพศผู้มี 9 อัน เรียงเป็น 3 วง วงละ 3 อัน อับเรณูของวงที่ 1 และวงที่ 2 หันหน้าเข้าด้านใน ก้านเกสรมีขน ส่วนอับเรณูของวงที่ 3หันหน้าออกด้านนอก ก้านเกสรค่อนข้างใหญ่ มีต่อม 2 ต่อมอยู่ใกล้โคนก้าน ต่อมรูปไข่กว้างและมีก้าน อับเรณูมีช่องเปิด 4 ช่อง เรียงเป็น 2 แถว แถวละ 2 ช่อง มีลิ้นเปิดทั้ง 4ช่อง เกสรเพศผู้เป็นหมันมี 3 อัน อยู่ด้านในสุด รูปร่างคล้ายหัวลูกศร มีขนแต่ไม่มีต่อม รังไข่รูปไข่ ไม่มีขน ก้านเกสรเพศเมียยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร ไม่มีขน ปลายเกสรเพศเมียกลม ใบประดับเรียวยาว ร่วงง่าย มีขนอ่อนนุ่ม ผลรูปไข่ หรือกลม เป็นผลมีเนื้อ ยาว6-10 มิลลิเมตร สีเขียวเข้ม เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีดำ มีฐานดอกซึ่งเจริญเติบโตขึ้นมาเป็นแป้นรองรับผล มีเมล็ด 1 เมล็ด ออกดอกราวเดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคม


ลักษณะวิสัย


เปลือกลำต้น


ใบ


ยอดอ่อน


ใบและดอก


กิ่ง และ ดอกตูม


ใบ และ ดอก


ดอกตูม


ดอก


ดอก


ภาพแสดงตัวอย่างพรรณไม้


Herbarium specimen number : UBUPH00054 at Herbarium of Ubonratchathanee University, Ubonratchathanee, Thailand



สรรพคุณ

ตำรายาไทย เนื้อไม้ นำมากลั่นจะได้ “การบูร” รสร้อนปร่าเมา ใช้ทาถูนวดแก้ปวด แก้เคล็ดบวม ขัดยอก แพลง แก้กระตุก แก้ปวดข้อ แก้ปวดเส้นประสาท แก้รอยผิวหนังแตก แก้พิษแมลงต่อย และโรคผิวหนังเรื้อรัง เป็นยาระงับเชื้ออย่างอ่อน ขับเหงื่อ ขับเสมหะ ขับปัสสาวะ แก้ไข้หวัด และขับลม บำรุงธาตุ บำรุงกำหนัด ยากระตุ้นหัวใจ บำรุงหัวใจ เป็นยาชาเฉพาะที่ เป็นยาระงับประสาท แก้อาการชักบางประเภท ใช้ผสมเป็นยาเพื่อป้องกันแมลงบางชนิด เปลือกและราก กลั่นได้การบูร ใช้ 1-2 เกรน แก้ปวดขัดตามเส้นประสาท ข้อบวมเป็นพิษ แก้เคล็ดบวม เส้นสะดุ้ง กระตุก ขัดยอกแพลง แก้ปวดท้อง ท้องร่วง ขับน้ำเหลือง แก้เลือดลม บำรุงกำหนัด ขับเหงื่อ ขับเสมะหะ บำรุงธาตุ แก้โรคตา กระจายลม ขับผายลม นำมาผสมเป็นขี้ผึ้ง เป็นยาร้อน ใช้ทาแก้เพื่อถอนพิษอักเสบเรื้อรัง ปวดยอกตามกล้ามเนื้อ สะบักจม ทรวงอก ปวดร้าวตามเส้นเอ็น โรคปวดผิวหนัง รอยผิวแตกในช่วงฤดูหนาว แก้พิษสัตว์กัดต่อย


องค์ประกอบทางเคมี

เนื้อไม้ เมื่อนำมากลั่นด้วยไอน้ำ จะได้การบูรและน้ำมันหอมระเหย รวมกันประมาณ 1% ประกอบด้วย limonene, p-cymol, orthodene, salvene, caryophyllen, linalool, cineole, eugenol, acetaldehyde และ betelphenol ราก มีน้ำมันหอมระเหย3% ประกอบด้วย camphor, safrole, carvacrol, phellandene, limonene, pinene, camphene, fenochen, cadinene, azulene, citronellol, piperonylic acid, cineol, terpineol, piperiton, citronellic acid ใบ พบ camphor และ camperol


ข้อมูลเครื่องยา : www.thaicrudedrug.com

ข้อมูลที่ควรทราบคือ

- เครื่องไล่ยุง (Ultrasonic Devices) กับดักยุง (Light Traps) มักใช้ไม่ได้ผลกับยุงลายและยุงรำคาญ

- เสื้อสีอ่อนๆหรือสีจางจะดึงดูดยุงน้อยกว่าสีเข้ม

- มุ้งหรือมุ้งลวดสามารถกันยุงไม่ให้เข้ามากัดได้ จึงควรตรวจดูไม่ให้ชำรุด

- การควบคุมวิธีอื่น โดยเฉพาะการใช้กระป๋องเคมีที่มีหัวฉีดพร้อมควรใช้เท่าที่จำเป็นและระมัดระวัง


วิธีการสร้างเว็ปไซต์

-