หญ้าคา

ยินดีตอนรับเข้าสู่เว็บไซต์หญ้าคา

การเเนะนำหญ้าคา

ลักษณะของหญ้าคา

  • มีเหง้าสีขาวแข็งอยู่ใต้ดิน ลำต้นตั้งตรงสูงถึง15 - 20 เซนติเมตร มีกาบใบโอบหุ้มอยู่และริมกาบใบจะมีขน ตัวใบจะเรียวยาวประมาณ 1 - 2 เมตร กว้างประมาณ 4 - 18 มิลลิเมตร มีขนเป็นกระจุกอยู่ระหว่างรอยต่อของตัวใบและกาบใบ ดอกมีสีขาวอมเหลือง หรือเป็นสีม่วง เป็นช่อยาวประมาณ5 เซนติเมตร

สรรพคุณของหญ้าคา

  • ใช้ลำต้นสดหรือแห้ง นำมาปรุงเป็นยาแก้โรคไต แก้โรคมะเร็งคอ และแก้ฝี , ดอก ใช้เป็นยาแก้ปัสสาวะแดง แก้ไอ แก้มะเร็งในลำไส้ แก้ริดสีดวงต่าง ๆ , ราก ใช้ปรุงกินเป็นยาแก้ร้อนใน แก้พิษอักเสบในกระเพาะปัสสาวะ แก้น้ำดีซ่าน ตาเหลือง และเบื่ออาหาร นอกจากนี้หญ้าคายังให้แร่ธาตุไนโตรเจน, ฟอสฟอรัส, โปแทสเซียมอย่างมาก , ทำให้ดินร่วนซุย ทำให้ออกซิเจนลงไปในดิน ได้สะดวก ทำให้ไม่แน่น , มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับพืชตระกูลถั่วคือ ถ้าเน่าเป็นปุ๋ยแล้ว จะสามารถป้องกันเพลี้ยและแมลงต่างๆได้

ประโยชน์ของหญ้าคา

  • ส่วนของใบ ใช้ปรุงเป็นยาต้มอาบ ผื่นคัน แก้ลมพิษ และแก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย ส่วนของดอก ใช้ปรุงเป็นยารับประทานแก้ปวด นำมาตำเป็นยาพอกแผลอักเสบ บวมฝีมีหนอง และ อุจจาระเป็นเลือด ราก ใช้ปรุงเป็นยา แก้ร้อนใน แก้ไอกระหายน้ำ เป็นยารับประทานเพื่อห้ามเลือด แก้เลือดกำเดาไหล และแก้พิษอักเสบในกระเพาะอาหาร
  • ชาวโอรังอัสลีในรัฐเปรัก ประเทศมาเลเซียใช้ผงแห้งของต้นใช้โรยแผลป้องกันการติดเชื้อ[1]
  • ในฐานะเป็นพืชเศรษฐกิจ ใช้ประโยชน์ในการมุงหลังคา กระท่อม คอกเลี้ยงหมู เล้าไก่ เล้าเป็ด สามารถกันแดดกันฝนได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้หลังคาหญ้าคายังให้ความเย็นได้ดีกว่าการมุงหลังคาจากกระเบื้อง และสังกะสีซึ่งมีราคาแพงกว่าหญ้าคาหลายเท่าตัว และอายุการใช้งานของหลังคาหญ้าคาสามารถใช้ได้นานถึง 3 - 5 ปี ขึ้นอยู่กับความหนาของคาที่ใช้และนอกจากนี้ยังใช้ประโยชน์ในการจักสานอีกด้วย จึงนับได้ว่าหญ้าคากลายเป็นพืชเศรษฐกิจที่สร้างรายได้แก่เกษตรกรเป็นอย่างมาก

โทษของหญ้าคา

1.หน่อของหญ้าคาแหลมคมมาก ถ้าเดินเข้าไปโดยไม่ระมัดระวัง จะทิ่มแทงฝ่าเท้า ทำให้เกิดความเจ็บปวดได้

2.เนื่องจากหญ้าคาเป็นวัชพืช สามารถขึ้นได้ตามพื้นที่รกกร้าง ไร่หรือท้องนา ทำให้ชาวไร่ชาวนาส่วนมากไม่ค่อยชอบ

3.เมื่อนำไปมุงหลังคาบ้าน หรือกระท่อม ไม่ค่อยทนทาน และถ้าดูแลไม่ดี อาจจะเกิดอัคคีภัย ก่อให้เกิดความเสียหาย แก่ทรัพย์สินได้

การเป็นพืชพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน

  • หญ้าคาสร้างความเสียหายต่อพรรณพืชดั้งเดิมคือ แก่งแย่งธาตุอาหารและน้ำ ทำให้กล้าไม้อื่น ๆ ไม่สามารถขึ้นอยู่ได้เป็นเหตุทำให้พืชดั้งเดิมลดจำนวนลง บริเวณที่มีหญ้าคาปกคลุม พื้นที่บริเวณนั้นจะไม่มีพืชชนิดอื่น เนื่องจากหญ้าคาจะมีการปล่อยสารยับยั้งการเจริญเติบโตของพืชอื่น ประกอบกับระบบรากที่มักแผ่กระจายหนาแน่นปกคลุมดินชั้นบนทำให้ยากแก่การงอกของพืชชนิดอื่น และในช่วงฤดูร้อน หญ้าคาที่แห้งเป็นเชื้อเพลิงได้ดีซึ่งเมื่อเกิดอัคคีภัย ทำให้เกิดความเสียหายกับพื้นที่ป่าธรรมชาติบริเวณรอบข้างอย่างมาก หญ้าคาระบาดได้ทั่วประเทศ โดยเฉพาะพื้นที่รกร้างหรือตามพื้นที่เกษตรกรรม พบระบาดมากในทุกพื้นที่ในประเทศไทย ยกเว้นภาคกลางที่มีการระบาดปานกลาง

การกำจัดและป้องกัน

1.ใช้วิธีการเขตกรรม เช่น การถาก ตัดให้สั้นไม่ให้ออกดอก หรือขุดทิ้ง

2.ใช้สารเคมีต่างๆ เช่น มาร์เก็ต ไกลโฟเสต ดาร์ไฟท์ (ไกลโฟเซต, ไอโซโพฟิลามีน ซอลต์) ดามาร์ค (ไกลโฟเลท) ทัชดาวน์ (ไกลโฟเซต ไตรมีเซียมซอลต์)