วัฒนธรรมชุมชน



ตำบลยางสีสุราช อันว่าจาริตะนั้น ฮีตครองโบราณ เป็นประเพณีรรมเนียมสืบมาเดี๋ยวนี้ เป็นแบบแผนไว้ ความดีงามประพฤติชอบ เป็นประเพณีทำบุญ ๑๒ เดือน กล่าวไว้ในคัมภีร์ได้บ่ไข

ฮีตสิบสอง คองสิบสี่ เป็นขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวอีสานบ้านเฮาที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นวัฒนธรรมแสดงถึงความเป็นชาติเก่าแก่และเจริญรุ่งเรืองมานาน เป็นเอกลักษณ์ของชาติและท้องถิ่น และมีส่วนช่วยให้ชาติดำรงความเป็นชาติของตนอยู่ตลอดไป

ฮีตสิบสอง

ฮีตสิบสอง หมายถึงประเพณี 12 เดือนที่เกี่ยวเนื่องกับหลักทางพุทธศาสนา ความเชื่อและการดํารงชีวิตทางเกษตรกรรมซึ่งชาวอีสาน ยึดถือปฏิบัติกัน มาแต่โบราณ มีแนวปฏิบัติแตกต่างกันไปในแต่ละเดือนเพื่อให้เกิดสิริมงคลในการดําเนินชีวิต เรียกอย่างท้องถิ่น ว่างานบุญ ชาวอีสานให้ความสําคัญกับ ประเพณีฮีตสิบสองเป็นอย่างมากและยึดถือปฏิบัติมาอย่างสม่ำเสมอนับเป็นเอกลักษณ์ของ ชาวอีสาน อย่างแท้จริง คําว่า “ฮีตสิบสอง”มาจากคําว่า “ฮีต” อันหมายถึงจารีต การปฏิบัติที่สืบต่อกันมาจนกลายเป็นประเพณี “สิบสอง” คือประเพณีที่ปฏิบัติตามเดือนทางจันทรคติทั้งสิบสองเดือน

เดือนอ้าย – บุญเข้ากรรม

เดือนยี่ – บุญคูณลาน

เดือนสาม – บุญข้าวจี่

เดือนสี่ – บุญพระเวส หรือ บุญผะเหวด

เดือนห้า – บุญฮดสรง หรือ บุญสงกรานต์

เดือนหก – บุญบั้งไฟ

เดือนเจ็ด – บุญซำฮะ

เดือนแปด – บุญเข้าพรรษา

เดือนเก้า – บุญข้าวประดับดิน

เดือนสิบ – บุญข้าวสาก

เดือนสิบเอ็ด – บุญออกพรรษา

เดือนสิบสอง – บุญกฐิน

มาชมหมอลำชุด “ฮีตสิบ” ที่ได้กล่าวอธิบายถึงประเพณีทั้งสิบสองฮีตม่วนๆครับ

คองสิบสี่ เป็นคำและข้อปฏิบัติคู่กับฮีตสิบสอง คอง แปลว่า แนวทาง หรือ ครรลอง ซึ่งหมายถึง ธรรมเนียมประเพณี หรือแนวทาง และ สิบสี่ หมายถึง ข้อวัตรหรือแนวทางปฏิบัติสิบสี่ข้อ ดังนั้นคองสิบสี่จึงหมายถึง ข้อวัตรหรือแนวทางที่ประชาชนทุกระดับ นับตั้งแต่พระมหากษัตริย์ ผู้มีหน้าที่ปกครองบ้านเมือง พระสงฆ์ และคนธรรมดาสามัญพึงปฏิบัติสิบสี่ข้อ อาจสรุปได้หลายมุมมองดังนี้

1. เป็นหลักปฏิบัติกล่าวถึงครอบครัวในสังคม ตลอดจนผู้ปกครองบ้านเมือง

2. เป็นหลักปฏิบัติของพระมหากษัตริย์ในการปกครองบ้านเมือง และหลักปฏิบัติของประชาชนต่อพระมหากษัตริย์

3. เป็นหลักปฏิบัติที่พระราชายึดถือปฏิบัติ เน้นให้ประชาชนปฏิบัติตามจารีตประเพณี และคนในครอบครัวที่ปฏิบัติต่อกัน

4. เป็นหลักปฏิบัติในการปกครองบ้านเมืองให้อยู่เป็นสุขตามจารีตประเพณี