กระเป๋าย่าม












ความเป็นมา

ในอดีตคนกะเหรี่ยงส่วนใหญ่ไม่ได้มีฐานะร่ำรวยส่งผลกระทบให้ผู้คนไม่มีปัจจัยในการซื้อเครื่องนุ่งห่ม และของใช้ต่างๆ ผู้หญิงชนเผ่ากะเหรี่ยงที่แต่งงานแล้วจึงมีหน้าที่ในการทอผ้าและถ่ายทอดความรู้ให้บุตรที่เป็นเพศหญิง โดยเริ่มจากการทอเสื้อ และมีการแปรรูปให้เกิดความหลากหลายสนองความต้องการ เช่น ย่าม ผ้าห่ม ผ้าโพกหัว เป็นต้น การทอทั้งหมดนี้ใช้วิธีการทอในลักษณะของการทอกี่เอว

การทอผ้าของชนเผ่าชาวกะเหรี่ยง เป็นการทอแบบวิถีดั้งเดิม เรียกว่าทอแบบ กี่เอว หรือการทอแบบห้างหลัง โดยใช้อุปกรณ์เครื่องทอขนาดเล็กเรียกว่า กี่เอว ลักษณะการทอผ้าแบบกี่เอวนี้ผู้ทอจะต้องนั่งกับ พื้น เหยียดขาขนานตรงไปข้างหน้าทั้งสองข้าง มีสายคาด (สายคาดอาจทําด้วยแผ่นหนัง หรือผ้าที่ทบกัน หลายๆ ชั้น หรือเชือกที่ฝั้นเป็นเกลียวให้แข็งแรง) ที่ผูกติดด้วยด้ายเส้นยืนคาดรัดโอบไปด้านหลังของเอว อีกด้านหนึ่งจะผูกมัดกับเสาเรือน หรือโคนต้นไม้หรือหลักที่มีความเข็งแรงก็ได้การทอด้วยกี่เอวจะใช้การขยับ เคลื่อนตัวของผู้ทอบังคับเส้นด้ายยืดให้ตึงหรือหย่อนได้ตามต้องการทําให้ผู้ทอสามารถเลือกสถานที่ทอได้ตามความพอใจ โยกย้ายได้สะดวก ผ้าที่ทอด้วยกี่เอวจะมีขนาดผ้าหน้าแคบๆ 




โครงการดำเนินงานพัฒนาการทำงานร่วมกับแหล่งฝึกประสบการณ์วิชาชีพและครูพี่เลี้ยง

หลักสสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการประถมศึกษา

คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

69 หมู่ 1 ต.นครชุม อ.เมือง จ.กำแพงเพชร 62000 โทร.055706519-2010 http://elementary.kpru.ac.th

Design by Darawan Panalaicharu