อาณาจักรศรีโคตรบูรณ์
ล้านช้างและลาว

อาณาจักรศรีโคตรบูรณ์ ล้านช้างและลาว

(พุทธศตวรรษที่ ๑๔-ปัจจุบัน)



"ในราว พ.ศ.๗๐๐ ประเทศพนม เป็นประเทศรุ่งเรืองขึ้นมาใหม่ในอินโดจีน

ทางทิศตะวันตกของพนมมีประเทศเจนละ(เขมร) ถัดจากประเทศเจนละ คือ

ประเทศกิมหลินทางเหนือประเทศกิมหลินคือประเทศบูหลุน พระมหาราชกรุงพนม

ได้ยกกองทัพเรือไปปราบประเทศในคาบมหาสมุทรมลายาได้กว่า ๑๐ ประเทศ

ภายหลังให้รัชทายาทนามว่ากิมแซ ไปปราบประเทศกิมหลินได้(ราวพ.ศ.๗๗๓)

ประเทศสุวรรณภูมิและประเทศเล็กๆในสุวรรณภูมิทวีป(คาบมหาสมุทรมลายา)

เป็นอิสระตั้งแต่สมัยพระเจ้าอโศกอยู่ได้ ๕๐๐ ปี ก็เป็นประเทศราชของประเทศพนม

พระพุทธศาสนายังคงรุ่งเรืองอยู่ในดินแดนสุวรรณภูมิทวีปตลอดมา เพราะปรากฏ

ตามหนังสือของภิกษุจาริกจีนว่า ดินแดนแถบนี้ยังคงมีพุทธศาสนารุ่งเรืองดีอยู่

ภิกษุอี้จิงจึงเรียกแถบนี้ว่า ดินแดนกิมหลิน ตามชื่อเก่า" (จากนิตยสารพุทธศาสนา

เดือนพฤศจิกายน ๒๔๙๐) แต่ในตำนานพระธาตุพนมเล่าว่า"ในราว พ.ศ.๘ ศรีโคตรบูร

ตั้งเมืองหลวงอยู่ใต้ปากเซบ้องไฟ อยู่เหนือสุวรรณเขตประเทศลาว ครั้นต่อมาได้ย้ายเมือง

หลวงมาตั้งอยู่เหนือธาตุพนม ในดงไม้รวกจึงมีนามว่า" มรุกขนคร"มีกษัตริย์ครองเมือง

๕ องค์ องค์สุดท้ายชื่อ พระยานิรุฏฐราช บ้านเมืองเลยเกิดวิบัติล่มร้างเป็นบึงและป่า

ต่อมาในราวพ.ศ.๑๘๐๐ ปรากฏว่าได้ไปตั้งเมืองขึ้นใหม่อยู่ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง แต่เหนือที่เดิมมาก

ได้แก่เมืองเก่าใต้ท่าแขกประเทศลาวเดี๋ยวนี้" การที่อาณาจักรศรีโคตรบูรตั้งเมืองหลวง

ในพ.ศ.๘ นั้นน่าจะผิดพลาดเนื่องจากเวลาห่างจากปีที่พระเจ้าอโศกมหาราชส่งพระสมณฑูต

ออกไปประกาศพระศาสนาในปี พ.ศ.๒๓๖ ถึง ๒๒๘ ปี (หากเป็นพุทธศตวรรษที่ ๘ คือ

พ.ศ.๘๐๐ ก็น่าจะพอเชื่อถือได้บ้าง) แต่มีข้อสนับสนุนตามตำนานว่า การสร้างพระธาตุพนมนั้น

พระพุทธเจ้าเสด็จไปประกาศพระศาสนาด้วยพระองค์เอง และในพ.ศ.๘ พระมหากัสสปะและ

ท้าวพญาทั้งห้าพระองค์ได้สร้างพระธาตุโดยอัญเชิญพระอุรังคธาตุบรรจุไว้ในพระเจดีย์สูง

ประมาณ ๘ เมตร สำหรับ ท้าวพญา ๕ พระองค์ที่ร่วมสร้างพระธาตุพนมเมื่อพ.ศ.๘นั้น คือ

พญานันทเสน ครองเมืองศรีโคตรบูร พญาจุลณีพรหมทัต ครองแคว้นจุลณี พญาอินทปัตถ์

ครองอินทปัตนคร พญาคำแดง ครองเมืองหนองหารน้อย และพญาสุวรรณภิงคาร

ครองเมืองหนองหารหลวง ซึ่งล้วนแต่เป็นผู้ครองเมืองในอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์โบราณ

เมื่อครั้งที่ตั้งเมืองหลวงอยู่ใต้ปากเซบ้องไฟ ฝั่งสุวรรณเขตประเทศลาว

จากตำนานพระธาตุพนมนั้น อาณาจักรศรีโคตรบูรณ์โบราณได้ตั้งขึ้นก่อนแล้วเมื่อพ.ศ.๘

ต่อมาได้มีการย้ายเมืองหลวงมาอยู่เหนือพระธาตุพนมฝั่งอาณาจักรสยาม ดังนั้นเรื่องของ

อาณาจักรแห่งนี้จึงมีความแตกต่างกัน ดังนี้

ในพุทธศตวรรษที่ ๑๔–๑๕ ครั้งสมัยอาณาจักรทวารวดีมีอำนาจอยู่นั้น บริเวณสองฟาก

แม่น้ำโขงได้มีการตั้งอาณาจักรขึ้นใหม่เรียกว่าอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์ หรือ โคตรปุระ

แปลว่า เมืองตะวันออก โดยมีพระยาโคตรบอง เป็นผู้ครองนคร ดินแดนแห่งนี้มี

เมืองสำคัญคือ เวียงจันท์ หรือเวียงจันทน์ หนองหานหลวง(สกลนคร) มรุกขนคร(นครพนม)

เมืองจันทบุรี ศรีสัตนาคนหต ล้านช้างร่มขาว(หลวงพระบาง) เชียงใหม่ เชียงแสน เชียงรุ้ง

เป็นต้น พ.ศ.๑๘๙๖ สมัยอยุธยาตอนต้น พระเจ้าฟ้างุ้มทรงสถาปนานครเวียงจันท์ขึ้น

เป็นเมืองหลวงของราชอาณาจักรลาว พ.ศ. ๑๙๙๑ พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช

ซึ่งเป็นกษัตริย์ครองอาณาจักรล้านนา ภายหลังได้อภิเษกพระธิดาของกษัตริย์

ผู้ครองอาณาจักรล้านช้างและได้ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์อาณาจักรล้านช้าง

ร่วมกันสร้างพระเจดีย์ศรีสองรักษ์ เพื่อเป็นสัญญลักษณ์แห่งมิตรภาพ (ปัจจุบันอยู่ที่

อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย) อาณาจักรศรีโคตรบูรณ์นี้ได้เจริญรุ่งเรืองสืบต่อกันมา และ

ภายหลังได้เป็นอาณาจักรล้านช้าง(ปัจจุบันคือพระราชอาณาจักรลาว) ในสมัยกรุงธนบุรี

นั้นอาณาจักรลานช้างได้ตกเป็นประเทศราชของอาณาจักรสยาม ในสมัยรัชกาลที่ ๕

นั้นอาณาจักรสยามต้องเสียดินแดนให้ฝรั่งเศสจึงทำให้อาณาจักรแห่งนี้ตกอยู่ใต้อำนาจ

ฝรั่งเศสต่อมา โบราณสถานสำคัญของอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์นั้นคือ พระธาตุพนม

ที่จังหวัดนครพนม ซึ่งเป็นปูชนีย์สถานพุทธศาสนาสำคัญ โดยสร้างทับบนปราสาทขอม

สมัยโบราณ มีตำนานพระธาตุพนมว่า พระธาตุนี้ได้สร้างขึ้นในพ.ศ.๘ สมัยอาณาจักร

ศรีโคตรบูรณ์โบราณฅโดยก่ออุโมงค์เป็นรูปเตามีประตูปิดเปิด๔ด้านสูง ๕เมตร

สำหรับบรรจุพระอุรังคธาตุโดยมีผ้ากัมพลห่อไว้ภายในอุโมงค์ ต่อมาพ.ศ.๕๐๐

พระอรหันต์ทั้ง ๕ องค์คือ พระสังขวิชาเถระ พระมหารัตนเถระ พระจุลรัตนเถระ

พระมหาสุวรรณปราสาทเถระ และพระจุลสุวรรณปราสาทเถระ พร้อมด้วย

พระยาสุมิตธรรมวงศา แห่งเมืองมรุกขนคร ได้ร่วมกันบูรณะพระธาตุพนมสูง

ประมาณ ๒๔ เมตรและอัญเชิญพระอุรังคธาตุออกมาประดิษฐานบนพานทองคำ

อมรฤาษีและโยธิกฤาษีไปเอาอุโมงศิลาบนยอดเขาภูเพ็กมาตั้งไว้ชั้นบนของพระธาตุ

ชั้นที่ ๒ซึ่งอยู่สูง ๑๔ เมตรแล้วพระสุมิตธรรมวงศาได้อัญเชิญพระอุรังคธาตุฐาปนาไว้

บนเจดีย์ศิลานั้น ต่อมาพระโพธิศาล ซึ่งครองเมืองหลวงพระบางเมื่อพ.ศ.๒๐๗๓-๒๑๐๓

นั้นได้ตำนานอุรังคธาตุ(ที่พระธาตุพนม)มาจากกัมพูชา จึงเกิดความศรัทธาและ

ได้มาสร้างบริเวณภูกำพร้าขึ้นเป็นวัด อุทิศข้าทาสให้แก่พระธาตุ พระไชยเชษฐาธิราช

โอรสของพระโพธิศาล ซึ่งสร้างเมืองเวียงจันทน์เป็นเมืองหลวง ได้เสด็จมานมัสการ

พระธาตุพนมเมื่อพ.ศ.๒๑๕๗ ต่อมาพ.ศ.๒๒๓๓-๒๒๓๕ เจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก

แห่งนครเวียงจันทน์ได้นำช่างมาจากเวียงจันทน์มาทำการบูรณะพระธาตุพนมต่อเติม

จนสูง ๔๗ เมตรโดยพ่อออกพระขนานโคตพร้อมด้วยบุตรภริยาได้"นำเอาอูบพระชินธาตุ

เจ้าที่จันทรปุระ(เวียงจันทน์)มาฐาปนาที่ธาตุปะนม"และบรรจุพระพุทธรุปเงิน-ทอง

แก้วมรกต อัญมณีมีค่าไว้มากมาย และพ.ศ.๒๔๘๓-๘๔ กรมศิลปากรได้ทำบูรณะพระธาตุ

ให้สูงขึ้นเป็น ๕๗ เมตร หลังจากนั้นก็มีการบูรณปฏิสังขรณ์อยู่เสมอ ครั้นเมื่อ

วันที่ ๑๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๑๘ เวลา ๑๙.๓๐ น. เศษ องค์พระธาตุพนมได้ล้มทลายลงมา

ทั้งองค์ ยอดพระธาตุฟาดมาทางทิศตะวันออก กรมศิลปากรได้บูรณะตามแบบเดิมเสร็จใน

พ.ศ. ๒๕๒๒






<< ย้อนกลับ ต่อไป อาณาจักรเวียดนาม >>