อาณาจักร
ละโว้(ลวรัฐ)

อาณาจักรละโว้(ลวรัฐ)


ในจดหมายเหตุของจีน และอาหรับ คัมภีร์มิลินทปัญหา คัมภีร์มหานิเทศและข้อมูลของปโตเลมี

ใน พ.ศ.๗๐๘(ค.ศ.165) นั้นได้ระบุว่า มีเมืองท่าและแคว้นต่าง ๆ อยู่บริเวณคาบสมุทรไทย

หลายเมือง เช่น ลังกาสุกะ(Lang-ka su-ka) พันพัน (Pan-pan) กาลาห์( Kalah)

ตามพรลิงค์(Tam-bal-inga) ตักโกลา(Tacola) ตุนซุน (Tun-sun) เตียนซุน (Tien-sun)

เชียะโท้ (Chi-tu) เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีชื่อเมืองต่างๆของสยามปรากฏไว้บนแผนที่โบราณ

หลายแห่งของ เสปน ฮอลันดา ฝรั่งเศส และอังกฤษ เช่น ชื่อเมืองTacola(ตักโกลา),

Lakon(ละคร), Singora(สิงโกลาหรือสงขลา), Kui(กุย), Sian(เสียมหรือสยาม),

Yodia(โยเดียหรืออยุธยา), Tavoy(ทวาย).

ดังนั้นเมื่อมีการสำรวจทางโบราณคดี จึงพบว่ามีโบราณวัตถุจากต่างประเทศ

อยู่ตามแหล่งต่างๆ ในประเทศไทยมากมาย เมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบอายุของยุคสมัย

และอารยธรรมแล้ว พบว่า เครื่องประดับหินสีจากอินเดีย พบที่บ้านดอนตาเพชร

อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี มีอายุในสมัยพุทธศตวรรษที่ ๒ลูกปัดแก้วจากอินเดีย

พบที่เขาสามแก้ว จ.ชุมพร และควนลูกปัด อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่(ควนลูกปัด

นั้นเป็นแหล่งที่พบลูกปัดจำนวนมากและที่พบอยู่ในสภาพชำรุด จนเข้าใจว่า

น่าจะเป็นแหล่งผลิต) มีอายุอยู่ในสมัยพุทธศตวรรษที่ ๗ โบราณวัตถุด้านศาสนาจากอินเดีย

เช่นเทวรูปฮินดูและพระพุทธรูป พบที่อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ ควนพุนพินที่

สุราษฎร์ธานี ภูเขาทอง ที่ระนอง และอำเภอยะรัง ที่ปัตตานี อายุอยู่ในสมัยพุทธศตวรรษที่ ๘-๑๑

จารึกภาษามอญ บาลี สันสกฤต และเมืองโบราณ พบที่นครปฐม โนนกาเล็นที่อุบลราชธานี

สันป่าข่าที่เชียงใหม่ เมืองสทิงพระที่สงขลา และ เมืองยะรังที่ปัตตานี อายุอยู่ในสมัย

พุทธศตวรรษที่ ๑๒–๑๓ รูปเคารพของศาสนาฮินดูและศาสนาพุทธพบหลายแห่งในแถบ

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อายุอยู่ใน สมัยพุทธศตวรรษที่ ๑๓–๑๕ สำหรับในดินแดน

แหลมทองนั้นศาสนาฮินดูแพร่ไปทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนศาสนาพุทธเข้ามา

ทางภาคใต้และภาคกลาง การค้าระหว่างประเทศเจริญรุ่งเรือง มีท่าเรือทะเลสำคัญด้าน

ตะวันตกของแหลมทอง คือเกาะคอเขาที่พังงา ส่วนท่าเรือทะเลด้านตะวันออกคือ

แหลมโพธิ์ที่สุราษฎร์ธานี มีการค้าขายทางบกผ่านเมืองในลุ่มแม่น้ำมูล เช่นเมืองสตึก บุรีรัมย์

โดยมีเตาผลิตเครื่องปั้นดินเผา สำหรับจำหน่าย นอกจากนั้นแหล่งชุมชนโบราณในยุคนี้

ก็ยังมีเมืองดงละครที่นครนายก และดงศรีมหาโพธิ์ ที่ปราจีนบุรี ที่แหลมโพธิ์ ตำบลพุมเรียง

และที่อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่เกาะคอเขา อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา ที่ควนลูกปัด

อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ สำหรับที่ตำบลท่าเรือ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช

ถือว่าเป็นศูนย์การค้าที่สำคัญ ในพุทธศตวรรษที่ ๑๕ (คริสตศตวรรษ ที่๑๐) เนื่องจากมีการพบ

เศษเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์ถัง ผลิตจากกวางตุ้ง จากเตาฉางชา มณฑลหูหนาน และ

เครื่องถ้วยเปอร์เชียจำนวนมาก ผลจากการตรวจสอบเตาทุเรียงที่อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัด

สุโขทัย ของนักโบราณคดีไทย-ออสเตรเลีย ได้พบว่า เครื่องปั้นดินเผาที่ศรีสัชนาลัยเริ่มมี

การผลิตตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๕ แล้วมีการพัฒนาวิธีเผาต่อมา จนถึงพุทธศตวรรษที่ ๒๐

ซึ่งพบว่ามีการทำเตาทุเรียงซ้อนทับกันอยู่ถึงสิบชั้น ด้วยกัน โบราณสถานสำคัญอีกหลายแห่ง

ได้แก่วัดราง ที่นครศรีธรรมราช วัดเวียงที่สุราษฎร์ธานี และ ปราสาทเมืองสิงห์ที่กาญจนบุรีนั้น

พบว่ามีอายุอยู่ใน สมัยพุทธศตวรรษที่๑๖–๑๘ โดยเฉพาะ ปราสาทหินนครวัด ที่

พระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒ สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ ๑๗ ในอาณาจักรขอมนั้น

มีภาพจำหลักหินด้านหนึ่งเป็นภาพกองทัพสยาม ที่ส่งไปช่วยรบกับพวกจามและ

ร่วมในพิธีฉลองชัยชนะร่วมกับกองทัพอื่นๆ เป็นภาพแม่ทัพนั่งช้างและมีพลทหารเรียงแถวที่

ไม่เป็นระเบียบนัก มีอักษรจารึกไว้ว่า “สยำ กุก”(ปัจจุบันถูกเอาออก) สันนิษฐานว่า น่าจะ

หมายถึงกองทัพสยามจากลุ่มแม่น้ำกก กล่าวคือกำลังที่มาจากเมืองเชียงราย เมืองเชียงแสน

หรือจากสุพรรณบุรี และคำว่า “ โลว” สันนิษฐานว่าเป็นกองทัพจากเมืองละโว้

การเกิดของรัฐใหม่ขึ้นหลายแห่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น สุโขทัย อยุธยา

ในสมัยพุทธศตวรรษที่ ๑๘–๒๑ นั้น ได้พบว่าเมืองเหล่านั้นมีการสร้างเตาเครื่องปั้นดินเผา

ขึ้นหลายแห่งเช่น เตาเผาที่ศรีสัชนาลัยและสวรรคโลก เมืองสุโขทัย(เครื่องสังคโลก)

เตาบางปูนที่เมืองสุพรรณบุรี เตาแม่น้ำน้อยที่เมืองสิงห์บุรี และพบว่าแม่น้ำท่าจีน

แม่น้ำน้อยนั้นเป็นเส้นทาง ที่ใช้สำหรับติดต่อค้าขายทางทะเลกับจีน และประเทศตะวันตก

โดยมีกรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจอยู่ทางภาคกลาง และมีเมืองนครศรีธรรมราช

กับปัตตานีเป็นศูนย์กลางในดินแดนทางภาคใต้ โดยเฉพาะบริเวณแม่น้ำใกล้วัดเกาะลอย

จังหวัดราชบุรีนั้นได้สำรวจพบเศษภาชนะดินเผา จากการดูดเอาทรายในแม่น้ำ และ

พบอยู่ในเรือ ประมาณ ๔ ลำที่จมอยู่ในแม่น้ำราชบุรี หน้าวัดเกาะลอย เมื่อตรวจสอบภาชนะ

ที่พบแล้วปรากฏเป็นเครื่องถ้วยจีนจากมณฑลฟูเจี้ยน เครื่องถ้วยจากเตาหลงฉวน

เครื่องถ้วยจากเตากวางตุ้ง และจากเตาจิ่งเต๋อเจี้ยน ที่มีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘–๑๙

(คริสศตวรรษ ๑๓–๑๔ ) นอกจากนี้ยังพบเหรียญกษาปณ์จีนและปืนใหญ่สำริดของจีนโบราณ

๑ กระบอก รวมทั้ง แผ่นอิฐ ๓ แผ่นมีจารึกอักษรภาษาจีนเรื่อง พุทธศาสนา ด้วย

ก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๘นั้นบริเวณดินแดนของสุวรรณภูมิได้มีอาณาจักรโบราณสำคัญ

เกิดขึ้นหลายแห่ง ในแหลมทอง เช่นพุกาม ลังกา ชวา กัมโพช อโยธยา

ตามพรลิงค์(นครศรีธรรมราช) นครชัยศรี สุพรรณภูมิ และหริภุญชัย (ลำพูน)

ต่อมาได้มีการก่อตั้งรัฐใหม่ขึ้นหลายแห่งในพื้นที่ดังกล่าวได้แก่ อาณาจักรโยนก

สุโขทัย แพร่ น่าน และอาณาจักรล้านช้าง จึงทำให้เกิดชุมชนแห่งใหม่เพิ่มขึ้นในพื้นที่

ของเมืองอโยธยา เพชรบุรี สุโขทัย แพร่ และน่าน เป็นต้น



<< ย้อนกลับ ต่อไป อโยธยา..เมืองท่าสำคัญของอาณาจักรละโว้ >>