อาณาจักร
กรุงศรีอยุธยา
อาณาจักรกรุงศรีอยุธยา
ดินแดนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งอยู่ทางตอนใต้นั้น เดิมอาณาจักรสยามที่มีอำนาจลงไปถึงเมืองอู่ทอง
และมีเมืองอโยธยาเป็นเมืองอโยธยาเป็นเมืองท่าสุโขทัย ต่อมาพระเจ้าอู่ทองซึ่งครองเมืองทองเมื่อ พ.ศ. ๑๘๘๗
เห็นว่าอาณาจักรสยามฝ่ายเมืองสุโขทัยอ่อนแอ ไม่สามารถจะเข้มแข็งได้อีก ก็คิดเกรงว่าเมืองมอญและเมืองเชียงใหม่
จะเข้ามายึดอำนาจครอบงำเอาบ้านเมืองเป็นอาณาเขตด้านใต้ จึงทำการรวบรวมหัวเมืองด้านใต้ให้เข้มแข็ง
เมื่อมอญตั้งเป็นอิสระได้เมืองอู่ทองก็จะเข้มแข็งไม่ขึ้นกับเมืองสุโขทัยต่อไป
ต่อมาเมืองอู่ทองเกิดเหตุกันดารน้ำ เนื่องจากลำน้ำจระเข้สามพันตื้นเขิน ด้วยสายน้ำเปลี่ยนทาง
เดินมาทางแม่น้ำสุพรรณใหม่ และกันดารน้ำมากขึ้นจนถึงกับขุดกระพังขังน้ำไว้จำนวนมาก ก็ไม่มีน้ำเพียงพอ
จนเป็นเหตุให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บเป็นโรคห่า ผู้คนล้มตายพระเจ้าอู่ทองเห็นว่าจะแก้ไขรักษาผู้คนไว้ต่อไปไม่ได้แล้ว
จึงทิ้งเมืองอู่ทองอพยพขึ้นมาตั้งชุมพักหนีภัยพิบัติที่เมืองอโยธยาเก่า ตรงตำบลเวียงเหล็ก (บริเวณวัดพุทไธวรรย์)
เมื่อ พ.ศ. ๑๘๙๐ ด้วยเหตุที่เป็นเมืองอุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพรรณธัญญาหาร เนื่องด้วยพื้นที่ดังกล่าวเป็นท้องทะเลลุ่ม
และหนองน้ำขังอยู่ทั่วไป มีลำน้ำสำคัญทุกสายไหลมารวมกันที่เมืองอโยธยา จนเมืองอโยธยากลายเป็นเมืองสำคัญ
คือเป็นเมืองท่าเหมือนปากน้ำและประตูบ้านของอาณาจักรสยามฝ่ายเมืองสุโขทัย พระเจ้าอู่ทองจึงเมืองอโยธยาเดิม
เป็นที่ตั้งมั่น พระองค์ทรงพาชาวอู่ทองอพยพอยู่ที่เมืองอโยธยาเดิมเป็นที่ตั้งมั่น พระองค์ทรงพาชาวอู่ทองอพยพ
อยู่ที่เมืองอโยธยาได้ ๓ ปีก็เห็นว่าฝั่งตัวเกาะริมหนองโสน (บึงพระราม) มีทำเลดีจึงได้สร้างพระนคร และสร้างวัง
ที่ริมหนองโสนนั้น
พระอู่ทองได้ทำการสร้างกรุงศรีอยุธยาขึ้นใหม่ และตั้งเป็นอาณาจักรอิสระขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๑๘๙๑ อาณาจักร
ในสมัยนั้นด้านเหนือจดเมืองนครสวรรค์ ด้านตะวันตกได้เมืองทวาย และเมืองตะนาวศรี ด้านตะวันออกนั้น
ติดชายแดนขอม และด้านใต้มีอาณาเขตตลอดแหลมมาลายู
ครั้นเมื่ออาณาจักรสุโขทัยเริ่มเสื่อมอำนาจลง กรุงศรีอยุธยาก็เข้มแข็ง จึงสามารถสร้างอาณาจักรสยามฝ่ายใต้ขึ้น
หลังจากนั้นกรุงสุโขทัยต้องยอมอ่อนน้อมต่อกรุงศรีอยุธยาใน พ.ศ. ๑๙๒๑ แต่ก็ยังคงมีกษัตริย์ครองและ
สืบราชวงศ์กษัตริย์ครองเมือง จึงได้รวมเข้าเป็นอาณาจักรเดียวกัน โดยมีกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี
ต่อมาอาณาจักรสยามฝ่ายใต้จึงมีความเจริญรุ่งเรือง ถึงกับได้นามว่าเป็นอาณาจักรทองแห่งพุทธศาสนา
และศิลปวัฒนธรรม
กรุงศรีอยุธยา
กรุงศรีอยุธยานั้นเป็นราชธานีของอาณาจักรสยาม สร้างโดยพระเจ้าอู่ทองเมื่อพ.ศ.๑๘๙๓ ตัวพระนครนี้มี
แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสักและแม่น้ำลพบุรีล้อมรอบจนเป็นเกาะขนาดใหญ่ จึงมีเรือสินค้าจากต่างประเทศ
เดินทางเข้ามาติดต่อค้าขาย จนกรุงศรีอยุธยาได้กลายเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจสำคัญในแหลมอินโดจีน
หรือสุวรรณภูมิแห่งนี้
ภาพเขียนของราชธานีแห่งอาณาจักรสยามแห่งนี้ แสดงให้เห็นที่ตั้งของพระราชวัง วัดและถนนหนทาง
คูคลองในเมือง ตลอดจนชุมชนขนาดใหญ่ อยู่ภายในกำแพงเมืองที่ล้อมรอบตัวเกาะใหญ่
พระราชวังของกรุงศรีอยุธยานั้นมีแนวกำแพงพระราชฐานสูง ๑๐ ศอกทอดยาวไปข้างหน้า
แล้วหักมุมเป็นสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่วัดได้ยาวถึง ๙๕ เส้น ภายในกำแพงสี่เหลี่ยม มีพระมหาปราสาทราชมณเฑียร
ตั้งอยู่ภายในเห็นยอดแหลมเสียดฟ้าเหลืองอร่าม บนกำแพงนั้นหนาถึง ๔ ศอก ใช้เป็นชานให้ทหารรักษาวังยืน
ดูแลความสงบภายในเขตพระราชฐานทั้งหมด ด้านตะวันตกนั้นเป็นอาณาเขตของวังหน้าที่อยู่ติดกับ
เขตพระราชวังหลวง
ประตูพระราชวังทั้ง ๑๖ แห่งมีทหารเฝ้าดูแลเป็นอย่างดีเช่นเดียวกับป้อมสำคัญรอบเขตพระราชวัง
ที่มีป้อมท้ายสนม ป้อมท่าคั่น อยู่ด้านเหนือ ป้อมศาลาสารบาญชี ป้อมศาลาพระวิหารบพิตรป้อมมุม
วัดพระศรีสรรเพชญ์ และป้อมสวนองุ่น อยู่ด้านใต้
ป้อมท่าคั่นอยู่ตรงมุมพระราชวังด้านตะวันออกเฉียงเหนือใกล้วัดธรรมิกราชแนวกำแพงพระนครด้านนี้
มีประตูใหญ่ ๓ แห่ง คือ ประตูเสาธงไชย ประตูท่าปราบ ประตูช้างเผือก สำหรับใช้เข้าออกระหว่างกำแพงพระนคร
กับพระราชวังที่มีท้องสนามหลวงอยู่ด้านตะวันออก ศาลาลูกขุนตั้งอยู่ตรงมุมป้อมท่าคั่น สุดท้ายสนามหลวง
มีหอแปลพระราชสาสน์ตั้งอยู่ตรงกลาง แนวกำแพงพระราชวังด้านตะวันออกมีประตูจักรมหิมา ประตูศรีไชยศักดิ์
ประตูสวรรค์พิจิตร ประตูสมณพิศาล ประตูศิลาภิรมย์ ประตูอาคเนย์ และป้อมศาลาสารบาญชี อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้
แต่ประตูที่นำเข้าไปสู่พระที่นั่งนั้นเป็นประตูฉนวนชื่อ ประตูมหาไตรภพรสทวารอุทก (ประตูมหาไชยพยนต์ทวารอุทก)
ป้อมท้ายสนมอยู่ตรงมุมพระราชวังด้านทิศตะวันตกตรงคลองปากท่อ แนวกำแพงมีประตูท้ายสนม (ประตูดิน)
อยู่ทางกำแพงด้านเหนือ ภายในเป็นเขตของพระที่นั่งบรรยงค์รัตนาสน์ เป็นเขตพระราชวังด้านตะวันตก ซึ่งมีอ่างแก้ว
และพระที่นั่งทรงปืนอยู่ทางด้านเหนือถัดมาด้านตะวันตกนั้นมีสระน้ำขนาดใหญ่ตรงกลางเป็นพระที่นั่งบรรยงค์รัตนาสน์
อยู่กลางสระ พระที่นั่งองค์นี้สูง ๒๐ วา ส่วนยอดสร้างเป็นรูปพรหมพักตร์มีเครื่องยอด ๙ ชั้น ประดับฉัตรและ
มีหลังคากระเบื้องดีบุกสีเงินเช่นเดียวกับพระที่นั่งศรีสรรเพชญ์ปราสาท ถัดไปด้านใต้มีพระตำหนักขนาดเล็ก
ตั้งอยู่ ๒-๓ หลังอยู่แนวกำแพงที่แบ่งเป็นเขตพระราชฐานฝ่ายใน
เขตพระราชวังด้านตะวันออกนั้น พระที่นั่งศรีสรรเพชญ์ปราสาทตั้งตระหง่านอยู่ท่ามกลางพระที่นั่งทั้งหมด
ยอดปราสาทเป็นรูปพรหมพักตร์สูงเด่นประดับช่อฉัตร ๕ ชั้น สีทองส่วนยอดปราสาทยามต้องแสงอาทิตย์ในยามเช้านั้น
กลับส่องประกายตัดกับหลังคาดีบุกสีเงินซึ่งทอดยาวเป็นเชิงชั้น พระที่นั่งนี้สูง ๒๕ วา ถัดจากพระที่นั่งองค์นี้
ไปทางด้านหลังนั้นเป็นพระวิหารสมเด็จที่มีมุขยาวไปทางด้านตะวันออกและตะวันตกขนานไปกับแนวของ
พระที่นั่งพระศรีสรรเพชญ์ปราสาทด้านตะวันออกนั้นมีโรงช้างเผือกอยู่ ๒ หลัง ส่วนแนวกำแพงด้านใต้มีประตูออกไป
สู่เขตพระราชฐานฝ่ายใน
เขตพระราชฐานฝ่ายในของพระราชวังหลวงอยู่ถัดมาทางทิศใต้มีบริเวณยาวตามแนวกำแพงทั้งหมด
ภายในมีพระที่นั่งจักรพรรดิ์ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออก ส่วนด้านตะวันตกตรงกลางนั้นเป็นสระแก้วขนาดใหญ่
ที่มีประตูชลชาติทวารษาครออยู่ตรงป้อมสวนองุ่นลำเลียงน้ำเข้าสู่สระนั้น และกำแพงใกล้ป้อมสวนองุ่นด้านตะวันออก
มีประตูบรรเจษฎานารีใช้เข้าออกของนางสนมกำนัลฝ่ายใน ส่วนป้อมตรงมุมสระแก้วนั้นมีประตูเข้าไป
สู่วัดพระศรีสรรเพชญ์ประจำพระราชวัง พระพุทธรูปทององค์ขนาดใหญ่เป็นประธาน แนวกำแพงของวัดพระศรีสรรเพชญ์
ด้านใต้นั้นมีประตูเข้าออกหลายแห่ง ได้แก่ประตูบวรนิมิตร ประตูฤทธิ์ไพศาล ประตูมงคลพิศาล ประตูวิจิตรพิมาลย์
หากออกไปนอกกำแพงแล้วก็เป็นบริเวณของวัดมงคลบพิตรที่มีพระพุทธรูปสำริดขนาดใหญ่สำหรับชาวเมืองสักการบูชา
ตลาดในกรุงศรีอยุธยานั้นเป็นมีท่าเรือสินค้าสำคัญอยู่หน้าป้อมเพชร ซึ่งมีแม่น้ำสามสายมาชุมนุมกัน
จนเป็นน่านน้ำใหญ่ เรือสินค้าชาวต่างประเทศและเรือสำเภาพ่อค้าคนจีนพากันจอดเรียงรายอยู่แน่นขนัด
สินค้าจากเรือที่จอดอยู่ได้ลำเลียงลงเรือพายที่มาขนถ่ายสินค้า ไปยังตลาดใหญ่น้อยในกรุงที่มีกว่า ๓๐ แห่ง
เช่น ตลาดหน้าวัดมหาธาตุหลังขนอนบางหลวง ตลาดท่าเรือจ้างหน้าวัดนางชี ตลาดหลังตึกวิลันดาแถววัดหนู
ตลาดวัดท่าลาดหน้าบ้านเจ้าสัว ที่มีตึกแถวยาว ๖ ห้องสองชั้น ตลาดหน้าบ้านโปรตุเกส และตลาดบ้านเจียง
ซึ่งเป็นตลาดใหญ่มีตึกกว้างและมีร้านของพ่อค้าคนจีนมากมาย
หน้าป้อมเพชรนั้นมีวัดพนัญเชิงอยู่ตรงข้ามฝั่งแม่น้ำ พ่อค้าคนจีนต่างพากันเข้าไปไหว้พระพุทธรูปใหญ่
และเจ้าแม่สร้อยดอกหมาก พระธิดาของพระเจ้ากรุงจีนที่กลั้นพระทัยสิ้นพระชนม์ด้วยความน้อยใจ
ที่พระเจ้าสายน้ำผึ้งไม่เสด็จมารับพระนางที่ท่าน้ำ จนเป็นตำนานเล่าขานกันของเมืองอโยธยา
ซึ่งเป็นเมืองท่าสำคัญของอาณาจักรลพบุรี
กษัตริย์ที่ครองกรุงศรีอยุธยา นับตั้งแต่พระเจ้าอู่ทอง ปฐมกษัตริย์ผู้สร้างราชธานีศรีอยุธยามานั้น
มีราชวงศ์กษัตริย์ปกครองอาณาจักรสยามมากว่า ๔๐๐ ปี ดังนี้
ราชวงศ์เชียงราย
๑. สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง)พ.ศ. ๑๘๙๓–๑๙๑๒ (๑๙ ปี)
๒. สมเด็จพระราเมศวร (ครองราชย์ครั้งแรก)พ.ศ. ๑๙๑๒ (๑ ปี)
สมเด็จพระราเมศวร (ครองราชย์ครั้งที่สอง)พ.ศ. ๑๙๓๑–๑๙๓๘ (๗ ปี)
๓. สมเด็จพระรามราชาธิราช พ.ศ. ๑๙๓๘–๑๙๕๒ (๑๔ ปี)
ราชวงศ์สุพรรณภูมิ
๑. สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ (ขุนหลวงพะงั่ว)พ.ศ. ๑๙๑๓–๑๙๓๑ (๑๘ ปี)
๒. พระเจ้าทองจันทร์ หรือ พระเจ้าทองลัน พ.ศ. ๑๙๓๑ (๗ วัน)
๓. สมเด็จพระอินทราราชาธิราชที่ ๑ พ.ศ. ๑๙๕๒–๑๙๖๗ (๑๕ ปี)
๔. สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ (เจ้าสามพระยา) พ.ศ. ๑๙๖๗–๑๙๙๑ ( ๒๔ ปี)
๕. สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พ.ศ. ๑๙๙๑–๒๐๓๑ (๔๐ ปี)
๖. สมเด็จพระอินทราชาธิราชที่ ๒ พ.ศ. ๑๙๙๒–๒๐๓๔ (๒๒ ปี)
แทรก สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓ พ.ศ. ๒๐๓๑–๒๐๓๔ (๓ ปี)
ในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา ไม่มีรัชกาลนี้
๗. สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ (พระบรมราชา)พ.ศ.๒๐๓๔–๒๐๗๒ (๓๘ ปี)
๘. สมเด็จพระบรมราชาหน่อพุทธางกูร หรือ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๔พ.ศ. ๒๐๗๖
๙. สมเด็จพระรัษฎาธิราชกุมารพ.ศ. ๒๐๗๖ (๕ เดือน)
๑๐. สมเด็จพระชัยราชาธิราช พ.ศ. ๒๐๗๗–๒๐๘๙ (๑๒ ปี)
๑๑. สมเด็จพระยอดฟ้า หรือ พระแก้วฟ้าพ.ศ. ๒๐๘๙–๒๐๙๑ (๒ ปี)
แทรก ขุนวรวงศาธิราช พ.ศ. ๒๐๙๑ (๔๒ วัน) ไม่นับเป็นราชวงศ์
๑๒. สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ราชาธิราช (พระเจ้าช้างเผือก)ครองราชย์ครั้งแรก พ.ศ. ๒๐๙๑–
๒๐๙๗ (๖ ปี)
๑๓. สมเด็จพระมหินทราธิราชครองราชย์ครั้งแรก พ.ศ. ๒๐๙๗ (๑ ปี)
แทรก สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ราชาธิราชครองราชย์ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๐๙๗–๒๑๑๑
แทรก สมเด็จพระมหินทราธิราช ครองราชย์ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๐๙๘–๒๑๑๒
หมายเหตุ ศักราชตั้งแต่รัชกาลของสมเด็จพระชัยราชาธิราชถึงสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์
ยังมีข้อมูลที่ต้องศึกษาและตรวจสอบอีก ยังไม่มีข้อยุติ พบว่าบางแห่งสรุปศักราชรวมไว้ครั้งเดียวว่า
สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ราชาธิราชพ.ศ. ๒๐๙๑–๒๑๑๑ (๒๐ ปี)
สมเด็จพระมหินทราธิราช พ.ศ. ๒๑๑๑–๒๑๑๒ (๑ ปี)
สำหรับศักราชตั้งแต่รัชกาลของสมเด็จพระมหาธรรมราชาเป็นต้นไป น่าจะเป็นศักราชที่ถูกต้องกว่าศักราช
ที่ปรากฏในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา ดังนี้
ราชวงศ์สุโขทัย
๑.สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช หรือ สมเด็จพระสรรเพชญที่ ๑ พ.ศ. ๒๑๑๒–๒๑๓๓ (๒๑ ปี)
๒. สมเด็จพระนเรศวรมหาราชาธิราช หรือ สมเด็จพระสรรเพชญที่ ๒ พ.ศ. ๒๑๓๓–๒๑๔๘ (๑๕ ปี)
๓. สมเด็จพระเอกาทศ หรือ สมเด็จพระสรรเพชญที่ ๓ พ.ศ. ๒๑๔๘–๒๑๖๓ (๑๕ ปี)
๔. สมเด็จพระศรีเสาวภาคย์ หรือ สมเด็จพระสรรเพชญที่ ๔ พ.ศ. ๒๑๖๓ (ไม่ถึงปี)
๕. สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม หรือ สมเด็จพระบรมราชาที่ ๑ พ.ศ. ๒๑๖๓–๒๑๗๑ (๘ ปี)
๖. สมเด็จพระเชษฐาธิราช หรือ สมเด็จพระบรมราชาที่ ๒ พ.ศ. ๑๗๑–๒๑๗๓ (๒ ปี)
๗. สมเด็จพระอาทิตย์วงศ์ พ.ศ. ๒๑๗๓ (๓๖ วัน)
ราชวงศ์ปราสาททอง
๑. สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง หรือ สมเด็จพระสรรเพชญที่ ๕ พ.ศ. ๓๑๗๓–๒๑๙๘ ๒๕ ปี)
๒. สมเด็จเจ้าฟ้าชัย หรือ สมเด็จพระสรรเพชญที่ ๖ พ.ศ. ๒๑๙๘ (๑ ปี)
๓. สมเด็จพระศรีสุธรรมราชา หรือ สมเด็จพระสรรเพชญที่ ๗ พ.ศ. ๒๑๙๙ (๓ เดือน)
๔. สมเด็จพระนารายณ์มหาราช หรือ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๓ พ.ศ. ๒๑๙๙–๒๒๓๑ ๓๒ ปี)
ราชวงศ์บ้านพลูหลวง
๑. สมเด็จพระเพทราชา หรือ สมเด็จพระมหาบุรุษ พ.ศ. ๒๒๓๑–๒๒๔๖ (๑๕ ปี)
๒. สมเด็จพระเจ้าเสือ หรือ สมเด็จพระสรรเพชญที่ ๘ พ.ศ. ๒๒๔๖–๒๒๕๑ (๖ ปี)
๓. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระหรือ สมเด็จพระสรรเพชญที่ ๙ พ.ศ. ๒๒๕๑–๒๒๗๕ (๒๔ ปี)
๔. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์ หรือ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓ พ.ศ. ๒๒๗๕–๒๓๐๑ (๒๖ ปี)
๕. สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร หรือ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๔ พ.ศ. ๒๓๐๑ (๒ เดือน)
๖. สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ หรือ สมเด็จพระบรมราชาที่ ๓ พ.ศ. ๒๓๐๑-๒๓๐๙ (๙ ปี)
เป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายที่ครองกรุงศรีอยุธยา ก่อนเสียกรุงในพ.ศ.๒๓๑๐
ต่อมาสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พ.ศ.๒๓๑๐-๒๓๒๕(๑๔ปี) ได้กอบกู้ชาติและรวบรวมอาณาจักรสยาม
เป็นปึกแผ่น ภายหลังได้รับการสถาปนาเป็นกษัตริย์ครองอาณาจักรสยาม แต่สร้างกรุงธนบุรีเป็นราชธานี
แทนกรุงศรีอยุธยา ซึ่งปรากฏว่าที่ได้รับความเสียหายจากการเสียกรุงเมื่อพ.ศ.๒๓๑๐
จึงนับเป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของกรุงศรีอยุธยา
กรุงศรีอยุธยา มีกษัตริย์ในราชวงศ์ต่างๆ ครองราชย์ตามลำดับ ดังปรากฏในพระราชพงศาวดาร
ฉบับพระราชหัตถเลขา ดังนี้
(เนื่องจากศักราชช่วงครองราชย์-สวรรคตนั้นมีความแตกต่างกัน จึงตรวจสอบกับฉบับอื่น
กรณีแตกต่างกันนั้นได้ใช้ตัวเอนสำหรับเป็นข้อมูลศึกษา)
๑. สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์อู่ทองหรือเชียงราย (นัยว่าเป็นโอรสของ
พระเจ้าชัยศิริเชียงแสน) พระชันษาได้ ๓๖ พรรษา พระองค์ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาใน
วันศุกร์ ขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๕ เพลา ๓ นาฬิกา ๙ บาท ใน จ.ศ. ๗๑๒ (พ.ศ. ๑๘๙๓) ปีขาล โทศก
และสถาปนาเป็นกษัตริย์ขึ้นครองราช รัชกาลนี้ทรงให้พระราเมศวรพระโอรสยกทัพตีเขมร
แต่ไม่สามารถเอาชนะได้ จึงโปรดให้ขุนหลวงพะงั่วไปช่วยปราบเขมรจนสำเร็จ ซึ่งได้แต่งตั้งให้
ปาสัต พระโอรสของสมเด็จพระบรมลำพงค์ราชาครองเขมรต่อไป พระองค์ทรงสร้างวัดพุทไธศวรรย์วัดป่าแก้ว
อยู่ในราชสมบัติ ๒๐ ปี สวรรคต จ.ศ. ๗๓๑ (พ.ศ. ๑๙๑๒) ปีระกา เอกศก
(พ.ศ. ๑๘๙๓–๑๙๑๒ ครองราชย์รวม ๑๙ ปี ศักราชนี้ตรงกัน)
๒. สมเด็จพระราเมศวร (ครองราชย์ครั้งแรก) พระราชโอรสของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ หรือ
พระเจ้าอู่ทอง ซึ่งเดิมครองอยู่เมืองลพบุรี ได้ขึ้นครองราชครั้งที่ ๑ จ.ศ. ๗๓๑ (พ.ศ. ๑๙๑๒)
เมื่อขุนหลวงพะงั่วผู้เป็นลุงมาจากเมืองสุพรรณบุรี จึงถวายราชสมบัติให้ แล้วกลับไปครองเมืองลพบุรีตามเดิม
(พ.ศ. ๑๙๑๒ รวม ๑ ปี ศักราชนี้ตรงกัน)
๓. สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ เดิมชื่อ ขุนหลวงพะงั่ว ครองเมืองสุพรรณบุรี ครองราชย์
จ.ศ. ๗๓๒ (พ.ศ. ๑๙๑๒) เป็นกษัตริย์ต้นราชวงศ์สุพรรณภูมิ ได้ทำการตีเอาเมืองเหนือทั้งปวงไว้ในราชอาณาจักร
สถาปนาพระศรีรัตนมหาธาตุ อยู่ในราชสมบัติ ๑๓ ปี สวรรคตใน จ.ศ. ๗๔๔ (พ.ศ. ๑๙๒๕)
(พ.ศ. ๑๙๑๓–๑๙๓๑ ครองราชย์รวม ๑๘ ปี ศักราชไม่ตรงกัน)
๔. สมเด็จพระเจ้าทองจันทร์หรือพระเจ้าทองลัน พระราชโอรสของสมเด็จพระบรมราชาธิราชได้ครองราชย์ ๗ วัน
ถูกสมเด็จพระราเมศวรยึดอำนาจและสำเร็จโทษที่วัดโคกพระยาใน จ.ศ. ๗๔๔ (พ.ศ. ๑๙๒๕)
(พ.ศ. ๑๙๓๑ ครองราชย์ได้ ๗ วัน ศักราชไม่ตรงกัน)
๕. สมเด็จพระราเมศวร (ครองราชย์ครั้งที่ ๒) ได้เสด็จจากเมืองลพบุรีมายึดอำนาจ และครองราชย์ครั้งที่ ๒
ใน จ.ศ. ๗๔๔ (พ.ศ. ๑๙๒๕) ยกทัพไปตีได้เมืองเชียงใหม่ สถาปนาวัดมหาธาตุ วัดภูเขาทอง
มีพระราชพิธีประเวศพระนครครั้งแรก อยู่ในราชสมบัติ ๖ ปี สวรรคต จ.ศ. ๗๔๙ (พ.ศ. ๑๙๓๐)
(พ.ศ. ๑๙๓๑–๑๙๓๘ ครองราชย์รวม ๗ ปี ศักราชไม่ตรงกัน)
๖. สมเด็จพระยาราม หรือ สมเด็จพระรามราชาธิราช พระโอรสของสมเด็จพระราเมศวร
ได้ครองราชต่อมาเมื่อ จ.ศ. ๗๔๙ (พ.ศ. ๑๙๓๐) ครั้น จ.ศ. ๗๖๓ (พ.ศ. ๑๙๔๔) ได้ก่อการกบฏ
โดยเจ้ามหาเสนาบดี และเชิญพระอินทราชาจากเมืองสุพรรณบุรีขึ้นครองราชย์ ส่วนสมเด็จพระยารามนั้น
ให้ออกไปครองเมืองปทาคูจาม
(พ.ศ. ๑๙๓๘–๑๙๕๒ ครองราชย์รวม ๑๔ ปี ศักราชไม่ตรงกัน)
๗. สมเด็จพระอินทราชาธิราชที่ ๑ แห่งราชวงศ์สุพรรณภูมิ ถูกเชิญเข้ามาครองราชย์ใน
จ.ศ. ๗๖๓ (พ.ศ. ๑๙๔๔) หัวเมืองเหนือเกิดจราจล ยกทัพไปถึงเมืองหลวงพระบาง
แล้วพระองค์ทรงจัดการให้พระราชโอรสคืออ้ายพระยาไปครองเมืองสุพรรณบุรี
เจ้ายี่พระยาไปครองเมืองแพรกศรีราชา และเจ้าสามพระยาไปครองเมืองชัยนาท
พระองค์อยู่ในราชสมบัติ ๑๘ ปี จึงสวรรคต จ.ศ. ๗๘๐ (พ.ศ. ๑๙๖๑) เจ้าอ้ายพระยากับเจ้ายี่
พระยาเกิดแย่งชิงราชสมบัติกันเองจนสิ้นพระชนทั้งคู่ เหล่ามุขมนตรีเสนาอำมาตย์จึงเชิญ
เจ้าสามพระยาขึ้นเป็นกษัตริย์
(พ.ศ. ๑๙๕๒–๑๙๖๗ ครองราชย์รวม ๑๕ ปี ศักราชไม่ตรงกัน)
๘. สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ (เจ้าสามพระยา) พระโอรสของสมเด็จพระอินทราชาธิราชที่ ๑
ขึ้นครองราชย์ จ.ศ. ๗๘๐ (พ.ศ. ๑๙๖๑) พระองค์ทรงให้ทำการสถาปนาวัดราชบูรณะ สร้างวัดมเหยงค์
รัชกาลนี้ยกทัพไปตีเมืองพระนคร (นครธมของขอม) แล้วให้พระนครอินทร์ พระราชย์โอรสครองราชย์
เกิดไฟไหม้พระราชมนเฑียรและพระที่นั่งตรีมุข ได้ยกทัพไปตีเมืองเชียงใหม่ ๒ ครั้ง อยู่ในราชสมบัติ ๑๗ ปี
สวรรคต จ.ศ. ๗๙๖ (พ.ศ. ๑๙๗๗)
(พ.ศ. ๑๙๖๗–๑๙๙๑ ครองราชย์รวม ๒๔ ปี ศักราชไม่ตรงกัน)
๙. สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ คือ สมเด็จพระรามเมศวรพระราชโอรสของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒
ขึ้นครองราชย์ จ.ศ. ๗๙๖ (พ.ศ. ๑๙๗๗) พระองค์ทรงยกพระราชวังให้สถาปนาขึ้นเป็นวัดพระศรีสรรเพชญ
สถาปนาที่ถวายพระเพลิงปฐมกษัตริย์ผู้สร้างกรุงศรีอยุธยา (คือ พระเจ้าอู่ทอง) เป็นวัดพระราม
สร้างพระวิหารวัดจุฬามณี ทรงออกผนวช ๙ เดือน รัชกาลนี้ได้จัดตั้งตำแหน่งขุนนางจตุสดมภ์คือ
ให้ทหารเป็นสมุหกลาโหม พลเรือนเป็นสมุหนายก ขุนเมืองเป็นพระนครบาลเมือง
ขุนวังเป็นพระธรรมมาธิกรณ์และขุนคลังเป็นพระโกษาธิบดี แต่งทัพตีเอาเมืองมะละกา
เมืองศรีสพเถินทำการหล่อพระโพธิสัตว์ ๕๐๐ชาติ มีการจับได้ช้างเผือก
พระบรมราชาพระราชโอรสได้ทรงผนวชและตีเมืองทวาย สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถอยู่ในราชสมบัติ ๑๖ ปี
สวรรค จ.ศ. ๘๑๑ (พ.ศ. ๑๙๙๒) บางแห่งว่า จ.ศ. ๘๓๒ (พ.ศ. ๒๐๑๓) อยู่ในราชสมบัติ ๓๘ ปี
(พ.ศ. ๑๙๙๑–๒๐๓๑ ครองราชย์รวม ๔๐ ปี ศักราชไม่ตรงกัน และต่อมา และ
ต่อจากสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถนั้นบางแห่งมีกษัตริย์เพิ่มอีกรัชกาลคือ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓
ครองราชระหว่าง พ.ศ. ๒๐๓๑–๒๐๓๔ รวม ๓ ปี แล้วจึงจะถึงรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ และ
ในพงศาวดารพระราชหัตเลขานั้น มีแต่สมเด็จพระอินทราชาธิราชที่ ๒ อีกพระองค์)
๑๐. สมเด็จพระอินทราชธิราชที่ ๒ พระโอรสของพระบรมไตรโลกนาถ ได้ครองราชย์ พ.ศ. ๑๙๙๒
ครั้น พ.ศ. ๑๙๙๗ ทรงมีพระโอรส คือ พระบรมราชา ต่อมาทรงผนวชใน พ.ศ. ๒๐๐๙ และ
แต่ตั้งให้เป็นพระมหาอุปราชเมื่อ พ.ศ. ๒๐๑๐ พระบรมราชานี้ได้ยกไปตีเอาเมืองทวายเมื่อ พ.ศ. ๒๐๑๓
สมเด็จพระอินทราชาฯ เสด็จสวรรคตในปี จ.ศ. ๘๓๕ (พ.ศ. ๒๐๑๖) อยู่ในราชสมบัติ ๒๒ ปี
(พ.ศ. ๑๙๙๒–๒๐๑๖ ครองราชย์รวม ๒๒ปี บางแห่งไม่มีราชกาลนี้)
๑๑. สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ คือ พระบรมราชา พระราชโอรสของสมเด็จพระอินทราชาธิราชที่ ๒
(บางแห่งว่าเป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เพื่อตัดเอาสมเด็จพระอินทราชาธิราชที่ ๒ ออกไป)
ครองราชย์ จ.ศ. ๘๓๕ พระองค์ทรงสร้างพระวิหารและหล่อพระพุทธรูปพระศรีสรรเพชญด้วยทองหนัก ๕๓,๐๐๐ ชั่ง
ทองคำหุ้มหนัก ๒๘๓ ชั่ง ให้หุ้มด้านหน้าเป็นเนื้อทอง ๗ ด้านหลังเป็นเนื้อทอง ๖ สูง ๖ วา จากพระบาทถึงพระรัศมี
พระพักตร์ยาว ๔ ศอก กว้าง ๓ ศอก พระอุระกว้าง ๑๑ ศอก รัชกาลนี้เริ่มพระราชพิธีการเบญจเพส
พระราชพิธีปฐมกรรม ให้ทำตำราพิชัยสงคราม ทำบัญชีพระราชพิธี และขุดได้เทพรักษ์ ๒ องค์ ชื่อพระยาปแสนตา
กับบาทสังฆังกร ให้ปลูกศาลประดิษฐานที่เมืองพระประแดง เกิดคนทอดบัตรสนเท่ห์ให้ฆ่าขุนนางเป็นจำนวนมาก
ทรงแต่งตั้งให้พระอาทิตย์วงศ์เป็นมหาอุปราชครองเมืองพิษณุโลก พระองค์อยู่ในราชสมบัติ ๔๐ ปี
(พระองค์ครองราชแต่ยังไม่ราชาภิเษก ๓ ปี และราชาภิเษกแล้ว ๓๗ ปี) สวรรคต จ.ศ. ๘๗๑ (พ.ศ. ๒๐๕๒)
(พ.ศ. ๒๐๓๔–๒๐๗๒ ครองราชย์รวม ๓๘ ปี ศักราชไม่ตรงกัน)
๑๒. สมเด็จพระบรมราชาหน่อพุทธางกูร หรือ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๔ คือ พระอาทิตย์วงศ์
พระราชโอรสของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ครองราชย์ จ.ศ.๘๗๑ (พ.ศ. ๒๐๕๒) อยู่ในราชสมบัติ ๕ ปี
เป็นไข้ทรพิษถึงแก่สวรรคต จ.ศ. ๘๗๕ (พ.ศ. ๒๐๕๖)
(พ.ศ.๒๐๗๖ ครองราชย์ ๕ เดือน ศักราชไม่ตรงกัน)
๑๓. สมเด็จพระราชากุมาร หรือ สมเด็จพระรัษฎาธิราชกุมารพระราชโอรสของสมเด็จพระบรมราชาหน่อพุทธางกูร
ขึ้นครองราชย์ จ.ศ. ๘๗๕ (พ.ศ. ๒๐๕๖) ได้ ๕ เดือน ก็ถูกสำเร็จโทษถึงแก่พิราลัยในปีรุ่งขึ้น จ.ศ. ๘๗๖ (พ.ศ. ๒๐๕๗)
(พ.ศ. ๒๐๗๖ ครองราชย์ ๕ เดือน ศักราชไม่ตรงกัน)
๑๔. สมเด็จพระชัยราชาธิราช บุคคลในราชวงศ์เชียงรายได้เข้ายึดอำนาจจับสมเด็จพระรัษฎาธิราชกุมารสำเร็จโทษ
แล้วขึ้นครองราชย์ จ.ศ. ๘๗๖ (พ.ศ. ๒๐๕๗) ทรงให้ทำการพูนดินที่วัดชีเชียงเป็นครั้งแรก เสด็จไปตีเอาเชียงไตร
เชียงตราน (บ้างว่าเชียงไกร เชียงกราน) สมัยนี้พระนารายณ์ได้ทำการก่อกบฏที่เมืองกำแพงเพชรและ
เกิดไฟไหม้พระนครครั้งใหญ่เมื่อ จ.ศ. ๘๘๗ (พ.ศ.๒๐๖๗) ตั้งแต่ท่ากลาโหมไปจนถึงท้ายพระราชวังท้ายตลาดยอด
เพลิงลุกไหม้ตกลงตะแลงแกง แล้วลามไปป่าตองโรงครามฉะไกร ๓ วันจึงดับ บ้านเรือนศาลากุฏิวิหารไหม้ ๑๐๐,๐๕๐ แห่ง
พระองค์ยกทัพไปตีเมืองเชียงใหม่ ๒ ครั้ง ครั้งหลัง จ.ศ.๘๘๘ (พ.ศ. ๒๐๖๙) ตีได้เมืองเชียงใหม่และเกิดอุบาทว์นิมิต
พระองค์ทรงอยู่ในราชสมบัติ ๑๕ ปี สวรรคต จ.ศ.๘๘๙ (พ.ศ. ๒๐๗๐)
(พ.ศ. ๒๐๗๗–๒๐๘๙ ครองราชย์ รวม ๑๒ ปี ศักราชไม่ตรงกัน)
๑๕. สมเด็จพระยอดฟ้า หรือ พระแก้วฟ้า มีพระชนมายุ ๑๑ พรรษา เป็นพระโอรสของสมเด็จพระไชยราชา
ขึ้นครองราช จ.ศ. ๘๘๙ (พ.ศ. ๒๐๗๐) โดยมีเท้าศรีสุดาจันทร์ เป็นพระชนนีช่วยดูแลราชการแผ่นดิน
และเกิดแผ่ดินไหวปีนั้น สมเด็จพระยอดฟ้าถูกขุนวรวงศาธิราช ชู้รักของพระชนนียึดอำนาจแล้วเอาตัวไป
ประหารชีวิตที่ วัดโคกพระยาเมื่อ จ.ศ. ๘๙๑ (พ.ศ. ๒๐๗๒) รวมอยู่ในราชสมบัติได้ ๑ ปี ๒ เดือน
(พ.ศ. ๒๐๘๙–๒๐๙๑ ครองราชย์รวม ๒ ปี ศักราชไม่ตรงกัน)
๑๖. ขุนวรวงศาธิราช เดิมเป็น พันบุตรศรีเทพ ผู้เฝ้าหอพระต่อมาท้าวศรีสุดาจันทร์เกิดเสน่หาเป็นชู้
ทำการยึดอำนาจจากสมเด็จพระยอดฟ้า และตั้งตนเป็นกษัตริย์ อยู่ในราชสมบัติได้ ๕ เดือน (บางแห่งว่า ๔๒ วัน)
ก็ถูกขุนพิเรนเทพและพวกจับฆ่าเสีย แล้วนำศพไปเสียบประจานที่วัดแร้งใน จ.ศ. ๘๙๑ (พ.ศ. ๒๐๗๒)
ในประวัติศาสตร์ถือเป็นผู้ปล้นราชบัลลังก์ไม่นับเป็นราชวงศ์
(พ.ศ. ๒๐๙๑ ปล้นบัลลังก์ ๔๒ วัน ไม่นับเข้าราชวงศ์)
๑๗. สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ราชาธิราช (ครองราชย์ครั้งแรก) คือ พระเฑียรราชา
เป็นเชื้อพระวงศ์ของสมเด็จพระไชยราชาธิราช นัยว่าเป็นพระอนุชาธิราชต่างมารดา ออกผนวชหนีราชภัยจาก
เท้าศรีสุดาจันทร์ ได้ถูกเชิญขึ้นครองราชย์ครั้งที่ ๑ หลังจากกำจัดขุนวรวงศาธิราชแล้วเมื่อ จ.ศ. ๘๙๑ (พ.ศ. ๒๐๗๒)
ได้แต่งตั้งให้ขุนพิเรนเทพเป็นพระมหาธรรมราชารัชกาลนี้ได้ช้างเผือกมาสู่บารมี ๗ เชือก
ต่อมาได้เกิดศึกหงสาวดีขึ้น พระองค์ทรงสถาปนาวัดวังชัย จัดให้มีพิธีปฐมกรรม
พระราชพิธีมัธยม พระราชพิธีอาจาริยาภิเษก พระราชพิธิอินทราภิเษก พระสุริโยทัย พระมเหสีสิ้นพระชนม์
สถาปนาวัดสบสวรรค์ ตั้งเมืองสาครบุรี เมืองนนทรี เมืองนครชัยศรี เกิดสงครามช้างเผือก จนต้องมีการเจรจาสงบศึกกัน
และการแย่งชิงพระเทพกษัตริย์พระราชธิดา จนในที่สุดสมเด็จพระจักรพรรดิ์ ซึ่งขณะนั้นมีพระชนม์ ๕๙ พรรษา
ได้สละราชสมบัติเมื่อ จ.ศ.๙๑๔ (พ.ศ.๒๐๙๗) ให้พระมหินทราธิราชพระราชโอรสครองราชย์ต่อมา
ส่วนพระองค์นั้นเสด็จออกผนวชในเดือน ๘ ปีขาล พอ ๓ เดือนพระองค์ให้บูรณะอารามวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
เมืองลพบุรี (พ.ศ. ๒๐๙๑–๒๐๙๗ ครองราชย์ช่วงแรก ๖ ปี ศักราชไม่ตรงกัน ตรวจสอบแล้วปรากฏว่าศักราช
ตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ (ขุนหลวงพะงั่ว) ถึงสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ธิราชนี้น่าจะผิดพลาด
ช่วงใดช่วงหนึ่ง สรุปแล้วศักราชที่สอบใหม่ว่าสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ราชาธิราชครองราชย์ พ.ศ. ๒๐๙๑ นี้
น่าจะเป็นไปได้ เพราะสอบกับพระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์แล้วตรงกัน)
๑๘. สมเด็จพระมหินทราธิราช พระราชโอรสของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ มีพระชนม์ ๒๕ พรรษา
ได้ครองราชครั้งที่ ๑ เมื่อ จ.ศ. ๙๑๖ (พ.ศ. ๒๐๙๗) รัชกาลนี้มีเหตุการณ์ยกทัพตีเมืองพิษณุโลก และ
เกิดความขัดแย้งกับพระมหาธรรมราชา จนต้องเชิญสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ซึ่งทรงผนวชอยู่ต้องเสด็จลาผนวช
ในเดือน ๔ แรม ๑๓ ค่ำ ปีขาล ครองราชย์แก้ปัญหาดังกล่าว ใน จ.ศ. ๙๑๖ (พ.ศ. ๒๐๙๗)
(บางแห่งไม่นับว่าเป็นการครองครั้งแรก แต่ให้รวมอยู่ในรัชกาลของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์เป็นรัชกาลเดียว)
๑๙. สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ราชาธิราช ได้ลาผนวชกลับมาครองราชย์ครั้งที่ ๒ จ.ศ. ๙๑๖ (พ.ศ. ๒๐๙๗)
พระมหาธรรมราชาพาพระนเรศวรไปเมืองหงสาวดี และพระองค์รับพระวิสุทธิ์กษัตริย์และพระเอกาทศ
มากรุงศรีอยุธยาและเกิดศึกหงสาวดีข้าศึกล้อมกรุงขณะนั้นพระองค์ประชวรหนักอยู่ ๒๕ วัน และ
สวรรคตใน จ.ศ. ๙๑๗ (พ.ศ. ๒๐๙๘)
(พ.ศ. ๒๐๙๑–๒๑๑๑ ครองราชย์รวม ๒๐ ปี ศักราชไม่ตรงกัน ความนั้นพระองค์ทรงประชวรและ
สวรรคตในขณะที่ข้าศึกล้อมกรุงศรีอยุธยาน่าจะเป็น พ.ศ. ๒๑๑๑–๒๑๑๒ มากกว่าไม่ใช่ พ.ศ. ๒๐๙๘)
๒๐. สมเด็จพระมหินทราธิราช ครองราชย์ครั้งที่ ๒ ระหว่างสงครามเมื่อ จ.ศ.๙๑๗ (พ.ศ.๒๐๙๘)
มากกว่าพระมหาธรรมราชาให้พระยาจักรีเข้าไปเป็นใส้ศึกในกรุงศรีอยุธยา จนพระเจ้าบุเรงนองยึดกรุงศรีอยุธยาได้
และแต่งตั้งให้พระมหาธรรมราชาครองราชย์ต่อไปใน จ.ศ. ๙๓๑ (พ.ศ.๒๑๑๒) ส่วนสมเด็จพระมหินทราธิราช
และพระญาติวงศ์ถูกนำตัวไปกรุงหงสาวดีและสิ้นพระชนม์ที่นั่น
(พ.ศ.๒๐๙๘–๒๑๑๒ มีเหตุตรงกันเพราะเสียกรุงศรีอยุธยาแต่ไม่น่าทำศึกนานถึง ๔ ปี
ทำให้มีข้อศึกษาเรื่องศักราชที่สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์เสด็จสวรรคตว่าเสด็จสวรรคตช่วงไหน
หรือถูกจับไปหงสาวดีตามที่หลักฐานพม่ากล่างถึง)
ตั้งแต่รัชกาลนี้เป็นต้นไปศักราชในวงเล็บนั้น จึงน่าจะถูกต้องมากกว่าศักราชในราชพงศาวดาร
ฉบับพระราชหัตเลขา
๒๑. สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช หรือ สมเด็จพระสรรเพชญที่ ๑ เป็นเชื้อพระวงศ์กษัตริย์ทางเหนือ
พระเจ้าหงสาวดีได้จัดพระราชพิธีปราบดาภิเษกให้เป็นกษัตริย์เมื่อ จ.ศ. ๙๑๘ (พ.ศ. ๒๐๙๙) ถือเป็นกษัตริย์
จากราชวงศ์เชียงเดิม พระองค์ให้พระนเรศวรขึ้นไปทำศึกกับเขมร และพระนเรศวรยกทัพช่วยสงคราม
ให้เมืองหงสาวดี และประกาศอิสรภาพ ทำการต่อสู้กับพม่าเมืองหงสาวดีและป้องกันกรุงศรีอยุธยา
สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชอยู่ในราชสมบัติ ๒๒ ปี มีพระชนม์ ๗๖ พรรษาก็ทรงประชวร และ
สวรรคต จ.ศ. ๙๔๐ (พ.ศ. ๒๑๒)
(พ.ศ. ๒๑๑๒–๒๑๓๓ ครองราชย์รวม ๒๑ ปี ศักราชไม่ตรงกัน จึงมีข้อศึกษาเรื่องการขึ้นครองราชย์
ของสมเด็จพระธรรมราชาว่าน่าจะเป็น พ.ศ. ๒๑๑๒ มากกว่า ๒๐๙๙ ตามความในพระราชพงศาวดาร
ฉบับพระราชหัตเลขา และพระเจ้าหงสาวดีหษัตริย์พม่าคงไม่จักพระราชพิธีปราบดาภิเษกให้ก่อนได้
กรุงศรีอยุธยาไว้ในอำนาจแน่)
๒๒. สมเด็จพระนเรศวรมหาราชาธิราช พระโอรสของสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช
พระชนม์ ๓๕ พรรษา ขึ้นครองราช จ.ศ. ๙๔๐ (พ.ศ. ๒๑๒๑) มีศึกสงครามชนช้างกับพระมหาอุปราชา
และมีชัยชนะ ทำสงครามตีเมืองตะนาวศรี ตีเมืองทวาย ตีเขมรและตีเมืองหงสาวดี
ทรงทำสงครามตลอดรัชกาล พระองค์ทรงมีพระชนม์ ๕๐ พรรษา ทรงประชวรระหว่างตั้งทัพหลวง
ที่ตำบลทุ่งแก้ว เมืองหางหลวงและสิ้นพระจชนม์ที่นั่นในวันจันทร์ ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๖ เพลา
เช้าแล้ง ๒ บาท จ.ศ. ๙๕๕ (พ.ศ. ๒๑๓๖) รวมอยู่ในราชสมบัติ ๑๕ ปี
(พ.ศ. ๒๑๓๓–๒๑๔๘ ครองราชย์รวม ๑๕ ปี ศักราชไม่ตรงกัน)
๒๓. สมเด็จพระเอกาทศ พระอนุชาธิราชของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชาธิราช
ขึ้นครองราชย์ จ.ศ. ๙๕๕ (พ.ศ. ๒๑๓๖) พระองค์ทำสงครามเคียงคู่กับพระเชษฐาธิราชมาตลอด
เมื่อขึ้นครองราชย์จึงให้มีพระราชพิธีสงครามภิเษก พระราชพิธีประเวศพระนคร พระราชพิธีอาศวยุช
พระราชพิธีไสเรือ โปรดให้สถาปนาวัดพระวรเชษฐารามมหาวิหาร พระที่นั่งอรรณพ
มีการตั้งพระราชกำหนดกฏหมายพระอัยการ พระราชวังบวรสถานมงคล (เจ้าฟ้าสุทัศน์)
พระราชโอรสองโตเสวยยาพิษสวรรคต ต่อมา จ.ศ. ๙๖๓ (พ.ศ. ๒๑๔๔) ทรงพระประชวรหนักและสวรรคต
ในปีนั้น พระองค์อยู่ในราชสมบัติ ๙ ปี (พ.ศ. ๒๑๔๘–๒๑๖๓ ครองราชย์รวม ๑๕ ปี ศักราชไม่ตรงกัน)
๒๕. สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม หรือ สมเด็จพระบรมราชาที่ ๑ คือ พระพิมลธรรมอนันตปรีชา
ขึ้นครองราช จ.ศ. ๙๖๔ (พ.ศ. ๒๑๔๕) ให้จมื่นศรีเสารักษ์เป็นอุปราชได้ ๗ วัน ก็ประชวรอยู่ ๓ วัน
ต่อมาก็สวรรคต เกิดการต่อสู่กับญี่ปุ่นและตั้งให้พระมหาอำมาตย์ที่ขับไล่ญี่ปุ่น
เป็นพระเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ ชักพระมงคลบพิตรมาไว้ด้านตะวันตก เสียเมืองตะนาวศรีให้กับพม่า
พรานบุญพบรอยพระพุทธบาทและสถาปนามณฑป พระราชนิพนธ์มหาชาติคำหลวงและ
สร้างพระไตรปิฎกสำหรับพระพุทธศาสนา อยู่ในราชสมบัติ ๒๕ ปี พระองค์ทรงประชวรอยู่
๑ เดือน ๑๖ วัน จึงเสด็จสวรรคต จ.ศ. ๙๘๙ (พ.ศ. ๒๑๗๐)
(พ.ศ. ๒๑๖๓–๒๑๗๑ ครองราชย์รวม ๘ ปี)
๒๖. สมเด็จพระเชษฐาธิราช หรือ สมเด็จพระบรมราชาที่ ๒ คือ พระเชษฐาธิราชกุมาร
พระราชโอรสองค์แรกของสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ขึ้นครองราชย์ จ.ศ. ๙๘๙ (พ.ศ. ๒๑๗๐)
ทำให้พระพันปีศรีสิน (พระพันศรีศิลป์) พระอนุชาโกรธที่ไม่ได้ครองราชย์จึงพาพรรคพวก
ไปที่เมืองเพชรบุรีซ่องสุมผู้คนจะยึดอำนาจ แต่ถูกปราบปรามเสียก่อนทำการ จึงให้ประหารชีวิต
ที่วัดโคกพระยา ต่อมาข้าหลวงเดิมได้ยุว่า เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ทำการใหญ่โดย
ปลงศพมารดาบังหน้าไว้ ทำให้พระองค์ทรงมีความระแวงพระทัย แต่พระยากลาโหมฯนั้น
ได้รีบชิงทำการยึดอำนาจเสียก่อน พระองค์จึงถูกสำเร็จโทษใน จ.ศ. ๙๙๑ (พ.ศ. ๒๑๗๒)
รวมอยู่ในราชสมบัติ ๑ ปี ๗ เดือน
(พ.ศ. ๒๑๗๑–๒๑๗๓ ครองราชย์รวม ๒ ปี ศักราชไม่ตรงกัน)
๒๗. สมเด็จพระอาทิตย์วงศ์ พระราชโอรสองค์ที่สามของสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม
พระชนม์ ๙ พรรษา เจ้าพระยากลาโหมได้เชิญขึ้นครองราชย์ อยู่ได้ ๖ เดือน มุขมรตรีเห็นว่าการแผ่นดิน
จะเสียไปจึงให้ลงจากกษัตริย์ และถวายราชสมบัติให้เจ้าพระยากลาโหมสริยวงศ์ชึ่งปฏิเสธในครั้งแรก
โดยอ้างว่ามิว่าได้ชิงราชสมบัตินั้น (จึงให้แก่พระราชโอรสที่ยังอยู่ตามราชประเพณี)
ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ เมื่อ จ.ศ. ๙๙๒ (พ.ศ. ๒๑๗๓) ส่วนสมเด็จพระเจ้าอาทิตย์วงศ์นั้นยังคงอยู่
ต่อมาได้ถูกลดยศไปปลูกเรือนอยู่ริมวัดท่าทราย โทษฐานที่นั่งห้อยเท้าบนกำแพงในเวลาที่
กษัตริย์เสด็จไปนมัสการและจุดเทียนพรรษาถวายพระพุทธรูป ต่อมา จ.ศ. ๙๙๒ (พ.ศ. ๒๑๗๓)
สมเด็จพระอาทิตย์วงศ์ยกพวกเข้าปล้นพระราชวัง และถูกจับสำเร็จโทษ
(พ.ศ. ๒๑๗๓ ครองราชย์รวม ๓๖ วัน ศักราชไม่ตรงกัน)
๒๘. สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง หรือ สมเด็จพระสรรเพชญที่ ๕ คือ เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์
ครองราชย์ จ.ศ. ๙๙๒ (พ.ศ. ๒๑๗๓) ทรงสถาปนาพระอนุชาให้เป็นพระสุธรรมราชา สถาปนาวัดไชยวัฒนาราม
ให้จำลองพระนครวัตของขอมมาสร้าง พระนครหลวงเป็นพระราชวังประทับร้อนที่ข้างวัดเทพจันทร์
สร้างจักรวรรดิไชยยนต์มหาปราสาท วัดชุมพลนิกายาราม พระปรางค์วัดมหาธาตุ
สร้างพระมหาปราสาทพระวิหารสมเด็จ เสด็จทางชลมารคไปนมัสการพระพุทธบาท
เสด็จธารโศก ธารทองแดง และห้วยเขา เกิดอสุนีบาตไม่ถูกพระนารายณ์พระราชโอรส ๒ ครั้ง
จึงจัดงานสมโภช มีพระราชพิธีลบศักราช จ.ศ. ๑๐๐๐ (พ.ศ. ๒๑๘๑) ปีขาล เอากุนสัมฤทธิศกขึ้นดิถีวารจันทร์เถลิงศก
เป็นทวาปรายุค และเกิดอสุนีบาทต้องเหมมหาปราสาท เพลิงไหม้จนดีบุกหลังคาไหลลงห้องคลัง
เรือนหน้า เรือนหลัง ๑๐๐ หลังคาจึงดับ พระองค์ให้ทำคลังเรือนใน ๓ เดือนเสร็จและก่อพระมหาปราสาท ๑ ปี
เสร็จให้พระนามว่าพระวิหารสมเด็จ อยู่ในราชสมบัติ ๒๖ พรรษา จ.ศ. ๑๐๐๖ (พ.ศ. ๒๑๘๗) ปีวอก
ทรงพระประชวรหนักอยู่พระที่นั่งเบญจรัตน์และสวรรคต
(พ.ศ. ๒๑๗๓–๒๑๙๘ ครองราชย์รวม ๒๕ ปี ศักราชไม่ตรงกัน)
๒๙. สมเด็จเจ้าฟ้าชัย หรือ สมเด็จพระศรีสรรเพชญที่ ๖ พระโอรสของสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง
ที่ได้รับมอบพระแสงขรรค์ชัยศรี ก่อนพระบิดาสวรรคต ๓ วัน ขึ้นครองราชย์ จ.ศ. ๑๐๐๖ (พ.ศ. ๒๑๘๗)
พระนารายณ์ได้คบกับพระสุธรรมราชาผู้เป็นอาทำการยึดอำนาจ จับสมเด็จเจ้าฟ้าสำเร็จโทษที่วัดโคกพระยา ในปีนั้น
(พ.ศ. ๒๑๙๘–๒๑๙๙ ครองราชย์รวม ๑ ปี ศักราชไม่ตรงกัน)
๓๐. สมเด็จพระศรีสุธรรมราชา หรือ สมเด็จพระศรีสรรเพชญที่ ๗ คือ พระสุธรรมราชา
พระอนุชาของสมเด็จพระเจ้าปราสาททองครองราชย์ จ.ศ. ๑๐๐๖ (พ.ศ. ๒๑๘๗)
แต่งตั้งให้พระนายพระราชนัดดาเป็นอุปราช โดยอยู่ในพระราชวังบวรสถานมงคล
ต่อมาได้ขึ้นหาพระราชกัลยาณี พรขนิษฐาของพระนารายณ์ หวังจะร่วมสังวาสด้วย
พระราชกัลยาณีหลบในตู้พระสมุดออกมาแจ้งให้พระนารายณ์ทราบเรื่อง พระนารายณ์จึงทำการชิงอำนาจ
เกิดศึกกลางเมืองต่อสู้ระหว่างวังหลวงและวังหลัง ในที่สุดจับพระศรีสุธรรมราชาได้
จึงสมเร็จโทษที่วัดโคกพระยา รวมอยู่ในราชสมบัติได้ ๒ เดือน กับ ๒๐ วัน
(พ.ศ. ๒๑๙๙ ครองราชย์รวม ๓ เดือน ศักราชไม่ตรงกัน)
๓๑. สมเด็จพระนารายณ์มหาราช หรือ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๓ เป็นพระราชโอรสของ
สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ครองราชย์ จ.ศ. ๑๐๐๖ (พ.ศ. ๒๑๘๗) ขณะนั้นมีพระชนมายุได้ ๒๕ พรรษา
เกิดเหตุต้องกำจัดพระไตรภูวนาทิตย์และพระองค์ทอง มีพระราชพิธีเบญจาพิธ พระราชพิธีบัญชีพรหม
ได้ช้างพังเผือกจากเมืองศรีสวัสดิ์ส่งราชฑูตไทยเจริญไมตรีกับฝรั่งเศส ยกทัพไปตีเมืองเชียงใหม่สร้างพระราชวัง
ที่เมืองลพบุรี สร้างพระที่นั่งสุธาสวรรย์ พระที่นั่งหิรัญมหาปราสาท ให้พระยาวิไชเยนทร์สร้างป้อมเมืองพิษณุโลก
และเมืองธนบุรี เสด็จประพาสพระพุทธบาท เมื่อ จ.ศ. ๑๐๔๔ (พ.ศ. ๒๒๒๕) พระเพทราชา เป็นผู้สำเร็จราชการ
และขุนหลวงสุรศักดิ์ทำการกบฏและประหารพระปีย์ ทำให้สมเด็จพระนารายณ์ พระชนมมายุ ๕๑ พรรษา
ซึ่งกำลังประชวรอยู่ ณ พระที่นั่งสุทธาสวรรย์มหาปราสาทนั้นสวรรคตรวมอยู่ในราชสมบัติ ๒๖ ปี (บางแห่งว่า ๒๙ ปี )
ส่วนเจ้าฟ้าอภัยทศพระราชโอรสอีกองค์ซึ่งถูกแจ้งให้ขึ้นไปเมืองลพบุรีก็ถูกจับสำเร็จโทษที่ตำบลวัดทราก
(พ.ศ. ๒๑๙๙–๒๒๓๑ ครองราชย์รวม ๓๒ ปี ศักราชไม่ตรงกัน)
๓๒.สมเด็จพระเพทราชา หรือ สมเด็จพระมหาบุรุษ มีพระชนมายุ ๕๖ พรรษา ขึ้นครองราชย์ จ.ศ. ๑๐๔๔ (พ.ศ. ๒๒๒๕)
รัชกาลนี้มีพระราชพิธีพระบรมศพสมเด็จพระนารายณ์ เกิดเหตุปราบกบฏธรรมเสถียรข้าหลวงเดิมของเจ้าฟ้าอภัยทศ
ได้ยกทัพไปตีเมืองนครราชศรีมา สร้างพระที่นั่งบรรยงก์รัตนาสน์ มีการส่งราชฑูตไปฝรั่งเศส
ได้ช้างเผือกจากเมืองสวรรคโลก เขมรอสวามิภักดิ์ เกิดกบฏบุญกว้าง ปลายรัชกาลสมเด็จพระเพทราชาประชวร ๑๕ วัน
อาการโรคกำเริบ ขุนหลวงสรศักดิ์จึงสำเร็จโทษเจ้าพระขวัญ พระองค์อยู่ในราชสมบัติได้ ๑๕ ปีก็สวรรคต
จ.ศ. ๑๐๕๖ (พ.ศ. ๒๒๔๐)
(พ.ศ. ๒๒๓๑–๒๒๔๖ ครองราชย์รวม ๑๕ ปี ศักราชไม่ตรงกัน)
๓๓. สมเด็จพระเจ้าเสือ หรือ สมเด็จพระสรรเพชญที่ ๘ คือ ขุนหลวงสรศักดิ์ มีพระชนมายุ ๓๖ พรรษา
ขึ้นครองราชย์ จ.ศ. ๑๐๕๙ (พ.ศ. ๒๒๔๐) รัชกาลนี้ มีพระราชพิธีพระบรมศพพระราชบิดา ให้สร้างพระอาราม
ที่บ้านโพธิ์ประทับช้าง อสุนีบาตต้องยอดพระมณฑปวัดมงคลบพิตร เสด็จนมัสการพระพุทธบท
เสด็จประพาสเมืองเพชรบุรี เมืองสาครบุรี และเกิดคดีประหารพันท้ายนรสิงห์ จึงโปรดให้ขุดครองโคกขาม
ปลายรัชกาล เมื่อ จ.ศ. ๑๐๖๘ (พ.ศ. ๒๒๔๙) สมเด็จพระเจ้าเสือมีพระชนมายุได้ ๔๕ พรรษาทรงประชวรอยู่
ณ พระที่นั่งสุริยามรินทร์และสวรรคตในปีนั้น
(พ.ศ. ๒๒๔๖–๒๒๕๑ ครองราชย์รวม ๕ ปี ศักราชไม่ตรงกัน)
๓๔. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ หรือ สมเด็จพระสรรเพชญที่ ๙ พระราชโอรสของสมเด็จพระเจ้าเสือ
มีพระชนมายุ ๒๗ พรรษา ขึ้นครองราชย์ จ.ศ. ๑๐๖๘ รัชกาลนี้มีการสำเร็จโทษพระองค์เจ้าดำ
ที่เข้าไปในพระราชฐานต้องห้าม จัดพระราชพิธีพระบรมศพสมเด็จพระพุทธเจ้าเสือ พระบรมศพกรมหลวงโยธาทิพ
มีการขุดคลองมหาชัย ขุดคลองเตร็ดน้อย โปรดให้ปฏิสังขรณ์วัดมเหยงค์ ทำการหล่อพระพุทธไสยาสน์วัดป่าโมก
เสด็จนมัสการพระพุทธบาท พระอนุชา กรมพระราชวังบวรฯ บูรณะและฉลองวัดกุฏิดาวเตรียมทำศึกชิงราชสมบัติ
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ พระชนมายุ ๕๔ พรรษา ทรงประชวรหนักและสวรรคต จ.ศ. ๑๐๙๔
อยู่ในราชสมบัติได้ ๒๖ ปีเศษ ภายหลังเกิดเหตุการณ์เจ้าฟ้าอภัยและเจ้าฟ้าบรมเมศ พระราชโอรสกับกรมพระราชบวรฯ
ได้ทำการชิงอำนาจกันในที่จับเจ้าฟ้าทั้งสองสำเร็จโทษเสีย
(พ.ศ. ๒๒๕๑–๒๒๗๕ ศักราชรวม ๒๔ ปี ศักราชไม่ตรงกัน)
๓๕. สมเด็จพระบรมโกษฐ์ หรือ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓ คือ กรมพระราชวังบวรสถานมงคล
ผู้เป็นพระอนุชาของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ มีพระชนมายุ ๕๑ พรรษา ได้ขึ้นครองราชย์ จ.ศ. ๑๐๙๔ (พ.ศ. ๒๒๗๕)
รัชกาลที่ทรงตั้งข้าราชการและราชวงศ์ มีการล้อมจับช้างที่เมืองลพบุรี พวกจีนในไข่ยกคนปล้นพระราชวัง
เขมรถวายช้างเผือก ตั้งกรมขุนเสนาพิทักษ์ (เจ้าฟ้ากุ้ง) เป็นมหาอุปราชต่อมาต้องพระอาญาทิวงคต
ทำการปฏิสังขรณ์วัดพระศรีสรรเพชญ์ วัดภูเขาทอง มอญอพยพเข้ามาพึ่งกรุงศรีอยุธยา
ตั้งกรมขุนพรพินิตเป็นกรมพระราชวังบวรฯ มีการสมโภชพระพุทธบาท ปลายรัชกาลสมเด็จพระบรมโกษฐ์
มีพระชนมายุ ๗๘ พรรษา (บางแห่งว่า ๗๗ พรรษา) ทรงประชวร สวรรคต จ.ศ. ๑๑๒๐ (พ.ศ. ๒๓๐๑)
อยู่ในราชสมบัติ ๒๖ ปี (บ้างว่า ๒๑ ปี) เนื่องจากสมเด็จพระบรมโกษฐ์ทรงมีพระราชโอรสหลายพระองค์
ดังนั้นกรมขุนอนุรักษ์มนตรี จึงได้จับกุมกรมหมื่นจิตรสุทร กรมหมื่นสุนทรเทพ และกรมหมื่นเสพภักดี
สำเร็จโทษที่ตึกพระคลังศุภรัตน์ แต่ให้กรมขุนพินิตรครองราชสมบัติตามที่สมเด็จพระราชบิดาสั่งไว้
กรมขุนอนุรักษ์มนตรีเสด็จไปอยู่พระที่นั่งสุริยาสน์อัมรินทร์
(พ.ศ. ๒๒๗๕ - ๒๓๐๑ ครองราชย์รวม ๒๖ ปี ศักราชตรงกัน)
๓๖. สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร หรือ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๔ คือ กรมขุนพรพินิต (ขุนหลวงหาวัด)
เป็นพระโอรสของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ครองราชย์ จ.ศ. ๑๑๒๐ (พ.ศ. ๒๓๐๑)
รัชกาลนี้กรมพระเทพามาตย์ (กรมหลวงพิพิธมนตรี) ได้เสด็จทิวงคต ทรงสร้างวัดอุทุมพร และ
ทำการสังขรณ์หลังคามณฑปพระพุทธบาทโดยหุ้มทอง ๒ ชั้น สิ้นทอง ๑๔๔ ชั่ง
ต่อมาพระองค์ทรงคิดว่าพระองค์เองทรงเป็นพระอนุชา หาควรรับราชบังลังค์ไม่จึงถวายคืน
ให้สมเด็จพระเชษฐาธิราช แล้วเสด็จทรงเรือพระที่นั่งกิ่ง ทรงผนวชอยู่ที่วัดเดิมและจำพรรษาอยู่วัดประดู่
(พ.ศ. ๒๓๐๑ ครองราชย์ ๒ เดือน ศักราชตรงกัน)
๓๗. สมเด็จพระที่นั่งสุริยาสน์อัมรินทร์ (สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์) หรือสมเด็จพระบรมราชาที่ ๓
กรมขุนอนุรักษ์มนตรี สมเด็จพระเชษฐาธิราชของสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร ครองราชย์ จ.ศ. ๑๑๒๑ (พ.ศ. ๒๓๐๒)
รัชกาลนี้ ได้เนรเทศกรมหมื่นเทพพิพิธไปเกาะลังกาต่อมาไปตั้งมั่นอยู่ปราจีนบุรีและนครราชสีมา
เกิดมอญที่เขานางบวชเป็นกบฏ เสียเมืองเชียงใหม่แก่พม่าและยกทัพมาตีเมืองมะริด เมืองตะนาวศรี
เพชรบุรี ราชบุรี กาญจนบุรี ทำให้ชาวบ้านบางระจันรวมตัวสู้พม่า กองทัพพม่าทำการล้อมกรุง
จนเสียกรุงในที่สุดเมื่อวันอังคาร ขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๕ ปีกุน นพศก จ.ศ. ๑๑๒๙ (พ.ศ. ๒๓๑๐)
สมเด็จพระที่นั่งสุริยาสน์อัมรินทร์ หนีออกจากกรุงไปได้และทนทุกข์ทรมานจนถึงพิราลัย
(พ.ศ. ๒๓๐๑–๒๓๑๐ ครองราชย์รวม ๙ ปี ศักราชตรงกัน)
หมายเหตุ ศักราชในวงเล็บนั้นเป็นศักราชที่มีการตรวจสอบกันภายหลัง ซึ่งก็ยังแตกต่าง
จากศักราชที่ปรากฏในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชเลขา ที่มีคำอธิบายและตรวจสอบกันมาก่อนแล้ว
ศักราชที่มีปัญหาอยู่ไม่ตรงกันนั้นเกิดจากการคำนวณแต่ละผู้รู้ และมีการเปลี่ยนศักราชที่เริ่มต้นจากเมษายน
เป็นเดือนแรกของปีอย่างไทยขอให้ศีกษาและตรวจสอบกับข้อมูลอื่นที่มีการตรวจสอบแล้วมาเพิ่มเติม
ด้วยยังมีข้อผิดพลาดอยู่
อาณาจักรอยุธยาถึงกาลสิ้นสุดราชวงศ์กษัตริย์เมื่อ จ.ศ. ๑๑๒๙ (พ.ศ. ๒๓๑๐) พระยาตาก (สิน)
ได้รวบรวมกำลังไพร่พลกู้ชาติจากพม่า และสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานีเป็นราชธานีแห่งใหม่ของอาณาจักรสยาม
พระยาตาก (สิน) ได้ครองราชย์สมบัติเป็นกษัตริย์ทรงพระนามว่า สมเด็จพระบรมราชาที่ ๔ หรือ
สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเมื่อ จ.ศ. ๑๑๓๐ (พ.ศ. ๒๓๑๑) พระองค์ทรงสร้างราชธานีที่กรุงธนบุรี
พระองค์ทรงรวมกำลังกอบกู้ชาติ และทำการปราบปรามก๊กต่างๆ ปรับปรุงบ้านเมืองจนเป็นปึกแผ่นมั่นคง
ปลายรัชกาลนั้นเกิดจลาจลภายในกรุงธนบุรี พระองค์เสด็จสวรรคตในปี จ.ศ. ๑๑๔๔ (พ.ศ. ๒๓๒๕)
รวมอยู่ในศิริราชสมบัติ ๑๔ ปี
<< ย้อนกลับ ต่อไป กรุงธนบุรี >>